INSURANCETHAI.NET
Tue 16/04/2024 18:45:00
Home » ความรู้รถยนต์ อัพเดทประกันภัย » รถกระบะ รหัส 210 รหัส 320 ต่างกันอย่างไร\"you

รถกระบะ รหัส 210 รหัส 320 ต่างกันอย่างไร

2016/05/29 32882👁️‍🗨️

ตัวเลขที่1
1 ประเภทรถยนต์นั่ง
2 ประเภทรถยนต์โดยสาร
3 ประเภทรถยนต์บรรทุก

ตัวเลขที่2และ3
10 ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล
20 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์
30 ชนิดรถยนต์ใช้รับจ้างสาธารณะ

210 คือ รถยนต์โดยสาร ใช้ส่วนบุคคล (ไม่ใช้เพื่อการพาณิชย์)
320 คือ รถยนต์บรรทุก ใช้เพื่อการพาณิชย์

รหัสรถยนต์ใช้กับประกันภัยรถยนต์ คืออะไร

การทำประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภทจะให้ “ความคุ้มครอง” และเงื่อนไข “การใช้รถ” ที่ต่างกัน

การนำรถไปใช้งานหรือการทำประกันผิดประเภทอาจทำให้บริษัทประกันภัยรถยนต์ปฏิเสธความรับผิดชอบได้
ความเสียหายจะตกอยู่กับผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์

เมื่อซื้อประกันภัยรถยนต์ นอกจากการตรวจดู
– ชื่อผู้เอาประกัน
– หมายเลขสำคัญต่างๆ เช่น ..
— หมายเลขทะเบียน
— หมายเลขตัวรถ
— หมายเลขเครื่องยนต์
— ต้องตรวจดูว่ารหัสรถถูกต้องหรือไม่
1. รถเก๋ง / รถกระบะ 4 ประตู (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง) ป้ายสีขาวตัวอักษรสีดำ
รหัส 110 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า
รหัส 120 คือรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือ จดทะเบียนบุคคลเพื่อการใช้งานรับจ้าง หรือ ให้เช่า

2. รถกระบะบรรทุก(รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน) ป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว
รหัส 210 คือรถยนต์ใช้ส่วนบุคคล ไม่มีโครงเหล็ก/โครงหลังคา
รหัส 320 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้างหรือให้เช่า (ใช้งานบรรทุก / ใช้โดยสาร)
รหัส 340 คือรถยนต์บรรทุกใช้เพื่อการพาณิชย์ ใช้บรรทุกวัตถุอันตราย

3. รถตู้โดยสาร(รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล) ป้ายสีขาวตัวอักษรสีฟ้า
รหัส 210 คือรถยนต์โดยสารใช้ส่วนบุคคล ไม่สามารถนำมาใช้รับจ้างหรือให้เช่า หรือใช้เป็นรถประจำตำแหน่ง
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารเชิงพาณิชย์ ใช้เพื่อรับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงาน นักเรียน

4. รถตู้โดยสาร(รถยนต์โดยสารรับจ้าง) ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรเป็นตัวเลขทั้งหมด ตัวเลขสีดำ
รหัส 220 คือรถยนต์โดยสารใช้รับจ้างรับส่งคน เช่น พนักงานบริษัท นักเรียน
รหัส 230 คือรถยนต์โดยสาร ใช้รับจ้างประจำทางและรับจ้างสาธารณะ

รหัสรถยนต์
รหัสรถยนต์ที่บริษัทต้องระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์สมัครใจ
เป็นตัวเลขมีความหมาย ดังนี้
– ตัวเลขที่1 แสดงถึงประเภทรถยนต์
ตัวเลขที่2,3 แสดงถึงลักษณะการใช้รถยนต์

ตัวเลขที่หนึ่ง
1 ประเภทรถยนต์นั่ง
2 ประเภทรถยนต์โดยสาร
3 ประเภทรถยนต์บรรทุก
4 ประเภทรถยนต์ลากจูง
5 ประเภทรถพ่วง
6 ประเภทรถจักรยานยนต์
7 ประเภทรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ
8 ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด

ตัวเลขที่ 2,3
10 ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล
20 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์
30 ชนิดรถยนต์ใช้รับจ้างสาธารณะ
40 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ

ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด ตัวเลขที่ 2,3 กำหนดไว้ดังนี้
01 รถยนต์ป้ายแดง
02 รถพยาบาล
03 รถดับเพลิง
04 รถใช้ในการเกษตร
05 รถใช้ในการก่อสร้าง
06 รถอื่นๆ

ยกตัวอย่าง
รหัส 110 รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เช่น รถเก๋ง รถกระบะสี่ประตูจดเก๋ง ซึ่งบริษัทประกันจะต้องเขียนข้อความระบุการใช้งานรถไว้ในตารางให้ตรงกับรหัสรถ กรณีรหัส 110 จะมีข้อความระบุไว้ว่า ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า เป็นต้น

ตารางแสดงรหัสรถยนต์ สำหรับประกันภาคสมัครใจ
210-320

รถเก๋ง รถกระบะสี่ประตูจดเก๋ง ใช้รหัส 110
รถเก๋ง ที่ชื่อในทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้รหัส 120 หากแนบบัตรประชาชนเป็นรถประจำตำแหน่ง บางแห่งใช้ 110 ได้

รถกระบะมีCAB หรือกระบะตอนครึ่ง ไม่ต่อเติมโครงเหล็กหรือหลังคา ทะเบียนพื้นขาวอักษรเขียว
– บางแห่งใช้รหัส 210
– บางแห่งใช้รหัส 320 ได้ทั้งสองแบบ

รถกระบะตอนเดียว หรือกระบะติดหลังคา โครงเหล็ก ป้ายพื้นขาวอักษรเขียว
– ใช้รหัส 320 ,เน้นใช้งานบรรทุก

รถตู้ หรือกระบะแต่ติดแค็บด้านหลังและเสริมเก้าอี้เพิ่มรวมเกิน 7 ที่นั่ง ป้ายทะเบียนพื้นขาว อักษรสีฟ้า จะใช้รหัส 210
รถตู้ใช้เชิงพาณิชย์ เช่น วิ่งทัวร์ รับส่งนักท่องเที่ยว หรือรับส่งพนักงาน รับส่งนักเรียน ใช้รหัส 220
รถตู้ ป้ายเหลืองเช่น รถตู้ร่วม บขส.ขสมก. รถสองแถว รับจ้างสาธารณะ ใช้รหัส 230

รถแท็กซี่ บุคคลหรือ นิติบุคคล รับจ้างสาธารณะ ใช้รหัส 730
รถหัวลาก ที่ไม่มีกระบะบรรทุกของตัวเอง ต้องไปลากพ่วง ใช้รหัส 420 ตัวลูกใช้ 520 หรือ 540
รถบรรทุก หกล้อ สิบล้อ ทั่วไปที่วิ่งเดียวๆ ก็ใช้รหัส 320 เช่นเดียวกับกระบะตอนเดียว แต่แบ่งที่ นน.รวมบรรทุก เช่น 4-12 ตัน เกิน 12 ตัน
รถบรรทุก ที่มีกระบะบรรทุกของตัวเอง และมีปากลำโพงต่อไปลากคันลูก โดยทั่วไปถ้ามองตามลักษณะรถใช้ 320(นิยม) ถ้ามองตามการใช้รถ ใช้ 420(บางบริษัทเท่านั้นใช้แบบนี้) ส่วนคันลูกใช้ 520 หรือ 540
รถพยาบาล 802 ต้องไว้ใช้รับส่งผู้ป่วย refer ผู้ป่วย ถ้าเป็นรถโรงพยาบาลแต่เอาไปไว้ขนอาหาร ขนยา หรือไว้รับส่งผู้บริหาร พนักงาน ก็ใช้รหัสตามปกติด้านบน





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow