INSURANCETHAI.NET
Fri 29/03/2024 14:16:04
Home » อัพเดทประกันภัย » ถูกรถชนแล้วหนี ทำอย่างไรดี\"you

ถูกรถชนแล้วหนี ทำอย่างไรดี

2017/03/07 1429👁️‍🗨️

1.มองทะเบียนไม่ชัด (ดูจากกล้อง ได้ภาพมา) ต้องทำอย่างไร?
ตรงนี้ต้องถามประกันที่เราใช้บริการอยู่ โดยทั่วไป หากแจ้งทะเบียนไม่ได้ อาจจะต้องจ่ายค่า excess ในการซ่อม แต่หากเจรจากับทางบริษัทประกันได้ก็อาจไม่ต้องเสีย กรณีนี้ควรต้องใช้บริการของ ตัวแทน/นายหน้า ที่เราใช้บริการอยู่ช่วยแก้ปัญหาให้ด้วย แต่หากซื้อตรงกับบริษัทประกันก็อาจจะคุยเอง (นี่เป็นข้อดีอย่างหนึ่งของการซื้อผ่านช่องทาง ตัวแทน/นายหน้า)

ตัวแทน/นายหน้า ทำงานเป็นอาชีพ หรือ บางคนเป็นมืออาชีพ ย่อมต้องมีประสบการณ์ ความรู้ และเข้าใจ ขั้นตอนระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ ยังไม่นับรวม ความสามารถในการติดต่อประสานงาน ภายในบริษัทฯ (ถ้าเบี้ยประกันพอๆกันแล้วท่านไปเลือกซื้อโดยตรงกับบริษัท คุณอาจพลาดอะไรสำคัญบางอย่าง)

2.ถ้ารถส่งซ่อม จะเรียกค่าเสียประโยชน์กับประกันของเราได้หรือไม่?
สามารถเรียกได้ ,โดยเรียกกับประกันคู่กรณีที่เป็นฝ่ายละเมิด(ถ้าคู่กรณีมีประกัน ถ้าไม่มีก็ต้องฟ้องร้องกันตามกฏหมายต่อไป)

3.กรณีจับคู่กรณีได้ เราไม่ยอมความเขาจะถูกจับแบบติดคุกหรือไม่?
การชนแล้วหนีเป็นโทษทางอาญา เป็นคดีอาญา ก็ย่อมแจ้งดำเนินคดีติดคุกได้

4.เราสามารถเรียกค่าเสียหายและค่าตกใจได้หรือไม่?
สามารถเรียกค่าเสียหายได้ ค่าตกใจได้ เพราะเป็นผู้ถูกละเมิด แต่จะจ่ายหรือไม่หรือจ่ายเท่าไร อย่างไร ก็อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องว่ากันตามกฏหมาย และการสู้คดี

5.เราสามารถเอาผิดกับผู้ที่ยุยงให้ขับหนีได้หรือไม่?
ได้ , การยุยงเป็นการสนับสนุน ส่งเสริม หรือ เป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้ที่ให้การช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้ที่กระทําผิด
อาจเข้าข่าย สมรู้ร่วมคิดก็ได้ ก็แล้วแต่การสู้คดีความกันตามกฏหมาย ผู้ยุยงจะตกเป็นผู้ต้องหาร่วมด้วย

ยุยงให้คนลงมือทำผิด มีความผิดเหมือนคนที่ลงมือ ต้องรับโทษ 2 ใน 3

ผู้ใช้และผู้สนับสนุน กฎหมายอาญากำหนดไว้ดังนี้
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสาม ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้ สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

เราจะตกเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด หรือตกเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ในขณะนั้น ว่าผู้กระทำความผิดเขามีเจตนาที่จะกระทำผิดนั้นอยู่แล้วหรือว่าทำไปเพราะว่าเรายุยง เพราะถ้าเขามีเจตนาอยู่แล้วเราก็จะกลายเป็นผู้สนับสนุน แต่ถ้าทำไปเพราะแรงยุยงของเรา เราก็จะกลายเป็นผู้ใช้ทันที

6. ถ้าเรามีแต่ประกันฝ่ายเรา จะเรียกค่าเสียประโยชน์จากการใช้รถได้หรือไม่?
ไม่ได้ เพราะต้องเรียกจากคู่กรณีที่ละเมิด ถ้าคุ่กรณีไม่มีประกันก็ต้องฟ้องเรียกจากคู่กรณีที่เป็นผู้ละเมิดต่อไป

เมื่อเราขับรถชนอะไรก็ตามไม่ว่าจะเป็น คน หรือ รถด้วยกัน สิ่งแรกที่ต้องทำให้ได้คือการตั้งสติ และอย่าได้คิดที่จะหนีเพราะแค่การขับรถประมาทนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องเจตนาที่ทำให้เกิดขึ้น ผู้ขับรถชนไม่อาชญากร เราต้องอยู่ต่อสู้กับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ถ้าหลบหนีอาจต้องได้ติดคุกนานถึง 15 ปี ในกรณีมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น และอาจจะได้ข้อหาเพิ่มเติมอีก ดังนั้นต้องอยู่ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ และมอบตัวสู้คดีต่อไป บางคดีความอาจจะยอมความกันได้ และศาลอาจจะพิจารณาลดโทษให้แก่คุณอีกด้วย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow