INSURANCETHAI.NET
Fri 19/04/2024 22:23:03
Home » การประกันภัย » ธุรกิจประกันภัยปี 2560 ปีแห่งการขับเคลื่อนการประกันภัยในยุคดิจิทัล\"you

ธุรกิจประกันภัยปี 2560 ปีแห่งการขับเคลื่อนการประกันภัยในยุคดิจิทัล

2017/04/19 1159👁️‍🗨️

ธุรกิจประกันภัยปี 2560 ถือเป็นปีแห่ง “การขับเคลื่อนการประกันภัยในยุคดิจิทัล”
ซึ่งได้คำนึงถึง
– การรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย
– การส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมดิจิทัลในอุตสาหกรรมประกันภัย
– การเปลี่ยนผ่าน สำนักงาน คปภ. ไปสู่การเป็น “Digital Insurance Regulator”
ควบคู่ไปกับการมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย สามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นจากการลงทุนในโครงการสำคัญและกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนภาคเอกชนมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ

ปี 2560 สำนักงาน คปภ. มีแนวนโยบายกำกับและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม อาทิ…
– ยกระดับแนวทางการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit)
– มีการพัฒนาการกำกับธุรกิจประกันภัย Insurance Regulatory Sandbox  ซึ่งถือเป็นการยกระดับการกำกับและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล รวมทั้งมีการกำกับดูกิจกรรมของบริษัทประกันภัยที่จะทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร มีการผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 และ ฉบับที่ 17 มีการส่งเสริมการประกันภัยเชิงรุก ผ่านโครงการ คปภ.เพื่อชุมชน” มีการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส  มีการขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผลและโครงการประกันภัยข้าวนาปี  มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนโครงการฐานข้อมูลกลางด้านการประกันภัย (Insurance Bureau System) มีการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย ตลอดจนการเพิ่มกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามแนวนโยบายประชารัฐ ฯลฯ

สำนักงาน คปภ. คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เมื่อสิ้นปี 2560 เบี้ยประกันภัยรวมทั้งปี 825,485 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6.14 –
– เบี้ยประกันชีวิตจำนวน 605,367 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6.58
– เบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 220,118 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.95

โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยระหว่าง (เดือนมกราคม – กันยายน 2560 ) มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 599,148 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.93 แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 439,290 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.24 ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 159,858 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตที่มีอัตราการเติบโตโดดเด่น เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแบบยูนิตลิงค์ ขยายตัวร้อยละ 104.16 และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ขยายตัวร้อยละ 27.91 รวมถึงการประกันชีวิตที่มีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ขยายตัวร้อยละ 8.41 ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคนไทยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออม การลงทุน และด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัย พบว่า เบี้ยประกันภัยรถและเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด มีอัตราการเติบโตโดดเด่น จากการประกันภัยประเภทรถ มาจากการนโยบายการชะลอตัวการส่งออก รถยนต์และส่วนประกอบ เพื่อเพิ่มการผลิตภายในประเทศ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.11 รองลงมาเป็นการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.98 และการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง โดยเฉพาะเบี้ยประกันภัยตัวเรือ ขยายตัวร้อยละ 6.40

ธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,680,751 ล้านบาท โดยสินทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 8.78
เป็นสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น จำนวน 3,367,401 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยแบ่งเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 3,224,343 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.08 สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ลงทุน จำนวน 3,050,082 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.6 ของสินทรัพย์รวม โดยเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาครัฐ จำนวน 1,871,200 ล้านบาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาคเอกชน 618,165 ล้านบาท และหุ้นทุน จำนวน 230,552 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 142,814 ล้านบาท เงินฝากกับสถาบันการเงิน 54,009 ล้านบาท สำหรับอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรอง ของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ที่ร้อยละ 123.56 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์ลงทุนเพียงพอต่อหนี้สินผู้เอาประกันภัย

สินทรัพย์ของธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวน 456,408 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4
สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ลงทุน จำนวน 317,319 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.53 ของสินทรัพย์รวม
เป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาครัฐ จำนวน 73,254 ล้านบาท
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาคเอกชน 32,021 ล้านบาท
หุ้นทุน จำนวน 92,506 ล้านบาท
เงินให้กู้ยืม 2,044 ล้านบาท
เงินฝากกับสถาบันการเงิน 90,365 ล้านบาท

อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธุรกิจประกันวินาศภัย อยู่ที่ร้อยละ 178.26 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.02 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันวินาศภัยมีสินทรัพย์ลงทุนเพียงพอต่อหนี้สินผู้เอาประกันภัยด้วยเช่นกัน





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow