INSURANCETHAI.NET
Wed 24/04/2024 22:43:41
Home » อัพเดทประกันภัย » เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss)\"you

เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss)

2016/12/10 5591👁️‍🗨️

การคืนทุนประกัน กรณีรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง (Total Loss)

กรณีรถยนต์คันเอาประกันเกิดอุบัติเหตุชนหนัก เสียหายสิ้นเชิง (เสียหายตั้งแต่ 70% ของราคารถ ณ ขณะนั้นขึ้นไป) บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมโดยคืนทุนประกันเต็มจำนวนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และหากในกรมธรรม์มีการระบุชื่อผู้รับประโยชน์เอาไว้ เช่น ให้บริษัทไฟแนนซ์เป็นผู้รับประโยชน์ (ในกรณีที่รถยังผ่อนอยู่) เป็นต้น บริษัทประกันจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ก่อนตามส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อจ่ายสินไหมแล้ว ให้ถือว่าความคุ้มครองสิ้นสุด

หากค่าสินไหมที่ชดเชยคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่ารถในขณะนั้น ผู้เอาประกันจะต้องโอนรถยนต์ให้บริษัทด้วย โดยบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการโอนทั้งหมด

หากไม่ต้องการโอนรถให้บริษัทประกัน ต้องการเก็บรถไว้ และขอเงินสินไหมมาซ่อมรถเองได้หรือไม่?
ต้องเจรจากับบริษัท แต่ทั้งนี้สินไหมที่ได้รับจะไม่ถึง 70% ของราคารถ ณ ขณะนั้น เนื่องจากถ้าถึง 70% ก็จะเข้าเงื่อนไขรถยนต์เสียหายสิ้นเชิง ต้องคืนทุนประกันและโอนรถ และในความเป็นจริง ซากรถก็สามารถนำไปขายได้

total-loss

ประกันสามารถ เอาไปซ่อมแล้วขายต่อ หรือ เอาซากไปประมูลก็ได้ อาจจะมีคนในใจเอาไปซ่อมขายต่อ เช่นอู่รถเอาไปซ่อม แล้วขายเต็นท์ก็ได้

ความเสียหายสิ้นเชิง (total loss) บริษัทประกันจะตีเป็นloss สภาพที่ไม่สามารถซ่อมกลับคืนดังเดิมได้ บริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายเงินให้ผู้เอาประกัน เต็มทุนประกัน และรถคันนั้นจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย แต่ถ้าเราซื้อผ่อนกับไฟแนนซ์ ก็จะมีสัญญาให้เราโอนเงินที่ได้จากประกันนี้ ให้ไฟแนนซ์โดยตรง แล้วค่อยมาเคลียร์ส่วนต่างกันภายหลัง

สมมุติ
รถทำทุนประกัน 1,000,000 บาท และทุนประกันนั้นไม่น้อยกว่า 80% ของราคาตลาดของรถในขณะที่รับประกันภัย

1. กรณีบริษัทประกันประเมินราคาความเสียหายแล้วต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70% คือ 700,000 บาท ขึ้นไป
บริษัทประกันจะพิจารณาจ่ายคืนทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย จำนวน 1,000,000 บาท และผู้เอาประกันภัยต้องโอนซากรถให้บริษัท กรมธรรม์จะสิ้นผลความคุ้มครองทันที

2. กรณีบริษัทประกันประเมินราคาความเสียหายแล้วต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70% คือ 700,000 บาท ขึ้นไป แต่ผู้เอาประกันไม่ต้องการโอนซากรถให้บริษัท
โดยปกติ บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมให้ประมาณ 65-70% ของทุนประกัน คือ 650,000-700,000 บาท ส่วนซากรถให้ผู้เอาประกันภัยนำไปจัดการเอง และกรมธรรม์จะสิ้นผลความคุ้มครองทันทีเช่นกัน

3. กรณีบริษัทประกันประเมินราคาความเสียหายแล้ว หากเห็นว่าค่าซ่อมไม่เกิน 70%
ก็จะพยายามเจรจากับลูกค้าเพื่อให้จัดซ่อมรถยนต์คันนั้น ส่วนกรมธรรม์ก็ยังมีผลบังคับต่อไปจนหมดอายุ ซึ่งหากซ่อมกับอู่ในเครือของบริษัทก็ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่หากลูกค้าจะนำไปซ่อมเอง ก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อน โดยควรคุมราคาจัดซ่อมกับบริษัทประกันให้ชัดเจนด้วย จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันภายหลัง เมื่อซ่อมเสร็จแล้วก็นำรถมาตรวจสภาพและตั้งเบิกค่าซ่อมที่สำรองจ่ายไป

4. การคุมราคาเหมาซ่อมและบริษัทจ่ายเงินให้ไปเลยนั้น จะใช้สำหรับรถคู่กรณี เพราะตอนจ่ายเงินจะมีการเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ ทำให้ความรับผิดชอบของบริษัทประกันที่มีต่อรถคู่กรณีจบไป แต่ในส่วนของรถประกันยังไม่จบ เพราะกรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองอยู่ (ตามกรณีในข้อ 3.) บริษัทประกันจึงต้องตรวจดูว่าคุณนำรถไปจัดซ่อมเรียบร้อยแล้วจริงๆ

จึงต้องพิจารณาว่ารถมีความเสียหายมากกว่า 70% จริงหรือไม่ หากมีหลักฐาน เช่น ศูนย์บริการที่นำรถเข้าซ่อมประเมินราคาค่าซ่อมมาให้แล้วมากกว่า 70% ของทุนประกัน แต่คุยกับบริษัทประกันไม่จบสักที ก็นำหลักฐานต่างๆเข้าร้องเรียน คปภ. ในพื้นที่ได้เลย

การคืนทุนประกันต้องคืนเต็มตามที่ระบุไว้หน้ากธ. เพราะตอนพิจารณารับประกันภัย ฝ่ายรับประกันภัยต้องเป็นคนพิจารณาทุนประกันภัยให้เหมาะสมกับรถยนต์ที่เอาประกันภัยเอง (ระหว่าง 70-90% แล้วแต่นโยบายแต่ละบริษัท)

“ต้องคืนทุนเต็ม100% เพราะทุนประกันก็ทำในวงเงินประกันประมาณ80%ของราคารถขณะนั้นอยู่แล้ว”

การที่เสียหายเกินหรือไม่เกิน 70% บริษัทประกันภัยไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างในคารคืนทุนไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุได้ ดังนั้น
ถ้าพิจารณาว่าคืน ต้องคืนเต็มร้อยของทุนประกัน ถ้าไม่คืน ต้องซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม
ถ้าประกันกับผู้เอาประกันเห็นไม่ตรงกันก็ต้องให้อู่กลางตีราคาค่าซ่อมว่าเกิน 70% หรือไม่ ถ้าเกิน ต้องคืนทุนเต็ม 100% ของทุนประกัน

ถ้าทุนประกันไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่ารถยนต์ขณะที่ทำประกัน ซากเป็นของบริษัท
ถ้าต่ำกว่านั้น ซากเป็นของผู้เอาประกัน (อ้างอิงตามข้อ 2.การชดใช้ความเสียหายต่อรถยนต์)





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow