ฟัน
1078

ฟัน

ศ.ดร.โมฮัมเม็ด บาสซิเอานี ผู้เชี่ยวชาญสาขาทันตกรรมฟื้นฟู (restorativ dentistry) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเทมเพิล (Temple U) ทำการศึกษาพบว่า เครื่องดื่มหลายชนิดได้แก่ น้ำผลไม้ ชา เครื่องดื่มกระตุ้นกำลังงานเพิ่มเสี่ยงฟันสึก เสียวฟัน ฟันผุได้ ทั้งจากน้ำตาล และกรด

วิธีป้องกันฟันสึกจากการกินผลไม้ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง และน้ำอัดลม คือ อย่าให้อาหาร-เครื่องดื่มเหล่านี้สัมผัสฟันนาน

ตัวอย่างเช่น ใช้หลอดดูดช่วย ดื่มแล้วบ้วนปากหลายๆ ครั้งทันที ไม่แปรงฟันหลังอาหาร-เครื่องดื่มเหล่านี้ 30-60 นาที บ้วนปากบ่อยๆ รอให้ความแข็งแรงของฟันกลับคืนก่อนค่อยแปรงฟัน (หลัง 30-60 นาที)

การดื่มชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียวหรือชาดำ (ได้แก่ ชาฝรั่ง ชาจีน) ชนิดไม่เติมน้ำตาล (unsweetened; un- = ไม่; sweeten = ทำให้หวาน เติมน้ำตาล) ทำให้ฟันสึกได้หลังดื่มไปจนถึงสัปดาห์ที่ 16, ชาดำทำให้ฟันสึกได้เร็วกว่าชาเขียว

เรื่องชาทำให้ฟันสึกนั้น... ผลการศึกษายังไม่แน่นอน ชาบางชนิดทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น บางชนิดทำให้ฟันสึก ขึ้นกับความเป็นกรดด่าง ซึ่งชาแต่ละชนิดมีความเป็นกรดไม่เท่ากัน ทางที่ดีคือ ดื่มชาแล้วบ้วนปากตาม

ส่วนน้ำมะนาว น้ำส้มสายชู และน้ำอัดลมทำให้ฟันสึกตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2

อ.บาสซิเอานิแนะนำว่า ทางที่ดีคือ เดินสายกลาง ('The key is to practice moderation; practice = ปฏิบัติ ฝึกฝน; moderate = ปานกลาง; moderation = การอยู่ในทางสายกลาง)

ตัวอย่างเช่น ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กรดเกินสัปดาห์ละ 5 ส่วนบริโภค (1 ส่วนบริโภค = 120 มิลลิลิตร; 5 ส่วน = 600 มล.) และไม่ควรดื่มชาบรรจุกระป๋อง ชาที่ชงเองมีคุณค่าสูงกว่าและปลอดภัยกว่าชาที่คนอื่นชงหรือชาบรรจุกระป๋อง

สาเหตุของฟันสึกส่วนใหญ่มาจากการกินอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง น้ำผลไม้ ฯลฯ
เรื่องสำคัญ คือ น้ำอัดลม ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีน้ำตาลหรือไม่ มีฤทธิ์เป็นกรด และทำให้ฟันสึกได้ทั้งนั้น

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Dentistry (ทันตกรรม) รายงานว่า น้ำส้มทำให้เคลือบฟันชั้นนอก (enamel) อ่อนลง 84%, น้ำผลไม้อื่นๆ ก็ทำให้เคลือบฟันชั้นนอกอ่อนลง 1/2-1 ชั่วโมงได้คล้ายๆ กัน
:)
- ชาเขียว เพราะมีฟลูออไรด์ซึ่งช่วยเสริมสร้างฟันให้แข็งแรง
- นมและโยเกิร์ต เพราะมีแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของฟัน
- ชีส เพราะชีสมีฟอสเฟต ซึ่งช่วยป้องกันแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของฟันผุ นอกจากนี้ฟอสเฟตในชีสยังช่วยรักษาความสมดุลของกรดและด่างในช่องปากอีกด้วย
- ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะ เพราะวิตามินซีจะช่วยรักษาเหงือกให้แข็งแรง
- งา ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง เช่น มะละกอ มะเขือเทศ แครอท เพราะวิตามินเอจะช่วยการก่อรูปของผิวเคลือบฟัน
- เนื้อไม่ติดมัน เพราะมีฟอสฟอรัส อันเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีส่วนต่อความแข็งแรงของฟัน
- บรอคโคลีและกะหล่ำปลี เพราะเป็นแหล่งของวิตามินเค ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม อันเป็นองค์ประกอบของฟัน
- กล้วย มันฝรั่ง หรือผักมีใบ อุดมด้วยวิตามินบี ซึ่งช่วยรักษาเนื้อเยื่ออ่อนๆ ในช่องปาก เช่น เหงือก ลิ้น เยื่อเมือก
- น้ำ นอกจากจะช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานเป็นปกติแล้ว น้ำยังมีต่อสุขภาพช่องปากด้วย เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อใช้ในการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีประโยชน์ต่อฟันมาก เพราะน้ำลายจะลดความเป็นกรดในช่องปาก จึงช่วยป้องกันฟันผุ อย่างไรก็ดีคำแนะนำที่ว่าคนเราควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว อาจจะเป็นคำแนะนำที่ไม่จริงเสมอไป เพราะบางครั้ง ร่างกายของคนบางคนก็ต้องการน้ำมากกว่านี้ เช่น นักกีฬาที่ต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจต้องการน้ำน้อยกว่า เช่น ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ดังนั้นวิธีที่จะรู้ว่าคุณควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร คือให้สังเกตจากสีของปัสสาวะ หากมีสีเข้มแสดงว่าคุณดื่มน้ำน้อยไป ควรดื่มให้มากขึ้น

นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว การกินดื่มอย่างถูกวิธียังช่วยประหยัดเงินค่าทำฟันอีกด้วย

1. ผลไม้รสเปรี้ยวเพิ่มวิตามินซี
วิตามินซีช่วยเชื่อมเซลล์ให้แข็งแรงขึ้น และดีต่อเนื้อเยื่อเหงือกของน้องๆ มีการวิจัยคนกว่า 12,000 คนในอเมริกาพบว่า คนที่กินวิตามินซีน้อยกว่า 60 มิลลิกรัมต่อวัน จะมีโอกาสเป็นโรคเหงือกมากกว่าคนที่กินวิตามินซี 180 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อวัน ถ้าวันนี้น้องๆ ยังไม่แน่ใจว่าได้รับวิตามินซีเพียงพอ อาจเริ่มง่ายๆ ด้วยการดื่มน้ำส้ม 1 แก้ว หรือส้มหนึ่งผล ซึ่งมีวิตามินซีมากกว่า 80 มิลลิกรัม แถมมีใยอาหารอีกต่างหาก

2. แคลเซียม 800 มิลลิกรัมทุกวัน ทั้งน้องๆ ที่มีอาการของโรคเหงือกและฟัน หรือน้องๆ ที่มีสุขภาพปากและฟันที่แข็งแรง อาหารที่มีแคลเซียมมาก ก็มีนม ชีส โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กๆ ผักใบเขียวเข้ม นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว แคลเซียมส่วนหนึ่งยังถูกแบ่งมาใช้สร้างความแข็งแรงให้กับเหงือกและฟันของน้องๆ ด้วย

3. ดื่มชาบางชนิด ที่ผ่านมาน้องๆ คงเคยรู้ว่า ชาอาจทำให้ฟันเป็นคราบ นั่นเป็นปัญหาของคนที่ไม่แปรงฟันหรือบ้วนปากให้สะอาดค่ะ แต่น้องๆ รู้มั้ยว่า การดื่มชาดำหรือชาเขียว ซึ่งมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) มีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันคราบฟัน ลดการเกิดฟันผุให้น้อยลง ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้ และชายังช่วยลดกลิ่นปาก เพราะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก ชาบางชนิดยังมีฟลูออไรด์ช่วยปกป้องผิวฟันด้วย

เลือกกินอาหารที่เหมาะสม แปรงฟันหรือบ้วนปากหลังอาหารเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงอาหารหวานๆ เพียงเท่านี้ก็จะมีสุขภาพปากและฟันที่แข็งแรงแล้ว

ชาเขียว
โพลีฟีนอลในใบชา ช่วยป้องกันฟันผุ โดยยับยั้งการเกาะติดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ

CPP – ACP
เป็นโปรตีนที่มีอยู่ในนมวัว ช่วยซ่อมแซมฟันผุระยะแรกและกระตุ้นแร่ธาตุให้กลับคืนสู่ผิวฟัน ทำให้ฟันแข็งแรง
1. แอปเปิ้ล รสหวานลิ้น ไม่เหนียว ช่วยเรียกน้ำลายได้ดี เพราะน้ำลายคือ กลไกธรรมชาติที่ร่างกายใช้ชะล้างเศษอาหารและปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในปาก
2. แครอท ความกรอบจะช่วยให้เหงือกสะอาดและฟันแข็งแรง ช่วยกำจัดเศษอาหาร มีเส้นใยช่วยให้ปากสะอาด ช่วยเรียกน้ำลาย
3. แครนเบอร์รี่ มีสารประกอบที่สามารถป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเกาะติดฟัน และสกัดกั้นการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์
4. กีวี เป็นหนึ่งในสิบของสุดยอดอาหารเพื่อความงาม มีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงฟัน
5. ลูกเกด คืออาหารที่นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยด์ในชิคาโก สหรัฐอเมริกาพบว่า มีกรดโอเลียโนอิก ซึ่งเป็นสารพฤษเคมีที่การทดลองในห้องแล็ปพบว่า ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก โดยกรดโอเลียนิกที่ความเข้มข้น 31 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ช่วยป้องกันแบคทีเรีย เอส.มิวแทนส์ไม่ให้เกาะผิวฟัน และที่ความเข้มข้น 62 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อพอร์ฟีโรโมนาส กิงกิแวลิส อันเป็นตัวการสำคัญของโรคเหงือกอักเสบ
6. วาซาบิ ซึ่งจากผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า วาซาบิมีสารไอโซธิโอเซียเนต ซึ่งยับยั้งการเติบโตของเชื้อ เอส.มิวแทนส์

:)

1. ต้องดื่มน้ำมากๆ เพราะเป็นการล้างปากตามธรรมชาติที่จะช่วยลดคราบชา กาแฟ และไวน์ที่ติดอยู่ที่ฟัน
2. ควรกินผักผลไม้ ให้มากสักหน่อย เพราะว่าผักผลไม้กรอบๆ เช่น แอปเปิ้ล เซเลอรี แตงกวา และแครอท จะช่วยทำความสะอาดปากโดยธรรมชาติ พวกเศษอาหารหรือคราบที่ติดค้างตามเหงือกและฟันจะถูกดึงออกระหว่างที่เคี้ยว
3. ให้ กินชีสหลังอาหารค่ำ เพื่อช่วยลดสภาพความเป็นกรดในปากให้เป็นกลาง
4.  เคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาล ระหว่างเคี้ยวหมากฝรั่งจะมีน้ำลายออกมา จะช่วยล้างคราบกรดและทำให้เคลือบฟันแข็งแรง ควรแปรงฟันหลังดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรด แต่อย่าแปรงทันที ต้องทิ้งช่วงห่างอย่างน้อย 20 นาที
5. บ้วนปากด้วยน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เล็กน้อยผสมน้ำหลังแปรงฟัน จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและทำให้ฟันขาวขึ้น แต่ห้ามกลืนลงท้อง
6. ใช้หลอดดูด กาแฟ หรือไวน์ ฟังดูแปลกหน่อย แต่เขาบอกว่าช่วยลดการทิ้งคราบลงบนฟันขาวได้ดี
7. ใช้แปรงนิ่มๆแปรงฟัน โดยอาจใช้น้ำร้อนลวกแปรงก่อนจะแปรงฟันก็ได้
8. การทำความสะอาดลิ้น ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะลดกลิ่นปากและทำให้สุขอนามัยในช่องปากดีขึ้น
9. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เพราะมันเป็นอาหารชั้นดีให้แบคทีเรีย อันเป็นเหตุให้ฟันผุได้
10. เมื่อ แปรงฟันแล้วต้องใช้ไหมขัดฟันด้วย พร้อมกันนั้นก็ต้องหมั่นไปพบทันตแพทย์ให้ตรวจฟัน หรือขูดหินปูนเป็นระยะๆ.

กลไกที่ช่วยป้องกันฟันสึกที่สำคัญ คือ น้ำลาย (saliva) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีแคลเซียม, วิธีป้องกันไม่ให้น้ำลายน้อยลง คือ ดื่มน้ำให้มากพอทั้งวัน

การป้องกันฟันสึก (tooth erosion) ได้แก่
(1). ดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ฯลฯ รวดเดียว ไม่ดื่มแบบจิบ (sip) ทั้งวัน
(2). ใช้หลอดดูด (straw) แทนการดื่มจากขวดหรือแก้ว
(3). ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มเติมน้ำตาลหรือน้ำอัดลม
(4). กินผลไม้ทั้งผลหรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก แทนน้ำผลไม้กรองกาก
(5). กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือขนมปังโฮลวีท(เติมรำ)แทนขนมปังขาว
(6). บ้วนปากทันทีหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด และบ้วนปากตามเป็นระยะๆ อีกหลายๆ ครั้ง
(7). ไม่แปรงฟันทันทีหลังกินผลไม้ เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด อาหารที่มีฤทธิ์กรด เช่น น้ำส้มสายชู อาหารประเภทยำ น้ำมะนาว ฯลฯ > บ้วนปาก แล้วรอเวลาให้ผ่านไป 1/2-1 ชั่วโมงก่อนแปรงฟัน
(8). แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อน แปรงให้ถูกวิธี แปรงเบาๆ และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ นาน 2-3 นาที วันละ 2-3 ครั้ง < แปรงฟันระวังเหงือก >
(9). ตรวจช่องปากกับอาจารย์ทันตแพทย์ทุกๆ 6-12 เดือน
(10). ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีโพแทสเซียมหรือสตรอนเทียม เช่น เซนโซดายน์, ฟลูโอคาริลบางรุ่น, คอลเกตบางรุ่น ฯลฯ เพื่อลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันที่ช่วยลดเสียวฟันมักจะมีคำว่า 'sensitive' = เซนซิทีฟ หรือไวต่อความรู้สึกพิมพ์อยู่ในฉลาก
(11). ใช้แปรงขนอ่อนมาก (extrasoft; extra- = พิเศษ; soft = อ่อน) หรือขนอ่อน (soft) แทนขนแปรงแข็งปานกลาง (medium)
(12). ยาน้ำส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรด และเติมน้ำตาล เช่น ยาลดไข้-แก้ปวดเด็ก ฯลฯ ยาน้ำส่วนน้อยมีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น ยาลดกรด ฯลฯ, ควรบ้วนปากหลายๆ ทันทีหลังกินยา
(13). ถ้าท่านเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือท้องอืดบ่อย... ควรใช้คำแนะนำสำหรับคนไข้โรคกรดไหลย้อน (GERD) เพื่อลดโอกาสเกิดกรดไหลย้อนทำให้ฟันสึก
(14). ใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธีวันละครั้ง
(15). ถ้าฟันห่างหรือเหงือกสึก ควรพิจารณาใช้แปรงซอกฟัน

อาหารบำรุงกระดูก "ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรง" VS อาหารทำลายกระดูก
กระดูกของคนเราถือว่าเป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยพยุงร่างกายให้ทรงตัวอยู่ได้และยังเป็นเกาะของกล้ามเนื้อ ถึงแม้ในความเข้าใจของคนส่วนมากจะคิดว่ากระดูกเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายก็ตาม แต่จะบอกว่ากระดูกของคนเรานี้ใช่ว่าจะแข็งแรงเสมอไปถ้าไม่ได้รับการดูแล วันนี้เราก็เลยนำเอาเรื่องน่ารู้ที่ควรรู้กับ อาหารบำรุงกระดูก และ อาหารทำลายกระดูก มาฝาก ซึ่งในการกินอาหารก็มีส่วนที่จะดูแลกระดูกหรือส่งผลถึงการทำลายกระดูกของเราได้ด้วยเพราะฉะนั้นแล้วคุณควรที่จะใส่ใจกับอาหารของคุณสักนิดเพื่อการมีกระดูกที่แข็งแรง ว่าแล้วเราก็เข้าไปรู้จักกับ อาหารบำรุงกระดูก และ อาหารทำลายกระดูก กันเลยดีกว่านะค่ะว่าจะมีประเภทใดบ้าง แล้วอาหารในแต่ละมื้อที่คุณเลือกรับประทานหรือว่าเป็นอาหารจานโปรดของคุณอยู่ในประเภท อาหารบำรุงกระดูก หรือ อาหารทำลายกระดูก กันแน่

6 อาหารบำรุงกระดูก
1. แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง พบในนมสด ปลาป่น กุ้งแห้ง งาดำ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ผักใบเขียว ฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกแข็งแรง พบใน เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดฟักทอง
2. แมกนีเซียม ช่วยให้กระดูกดึงแคลเซียมเข้ามาเก็บสะสมไว้ พบในผักใบเขียว รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง
3. Lysine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟื้นฟู พบในยีสต์ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง แป้งถั่วเหลือง นมไขมันต่ำ และปลา
4. โบรอน เป็นแร่ธาตุที่ช่วยไม่ให้กระดูกเสียแคลเซียมมากเกินไป พบในผักผลไม้และถั่วเปลือกแข็ง
5. แมงกานีส เป็นองค์ประกอบของกระดูกช่วยไม่ให้กระดูกเสียแคลเซียมมากเกินไป พบในน้ำผลไม้อย่างน้ำสับปะรด
6. วิตามินดี ช่วยให้กระดูกดึงแคลเซียมเข้ามาเก็บสะสมไว้ พบในน้ำมันตับปลา ปกติแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจะช่วยให้ผิวหนังสร้างวิตามินดีขึ้นได้

2 อาหารทำลายกระดูก
1. กาแฟ จากงานวิจัยจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการะบุว่า กาแฟแค่ 2 ถ้วย ก็มากพอที่จะทำให้กระดูกเปราะบางได้ เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟจะทำให้ร่างกาย ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
2. น้ำอัดลม ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักง่าย โดยผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำจะมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 3-4 เท่า

สำหรับผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ความหนาแน่นของกระดูกนอกจากจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วยังเริ่มลดลงด้วยหากช่วงก่อนหน้านี้ไม่ได้บำรุงกระดูกให้แข็งแรงเต็มที่ก็อาจทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพกซึ่งจะเจ็บปวดและทรมานมาก ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนกระดูกจะบางลงราวๆ 2 เปอร์เซ็นต์ทุก 1 ปี ในขณะที่การกินแคลเซียมเมื่ออายุมากขึ้นไม่ได้ช่วยความเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกแต่อย่างใดเพียงแต่ช่วยชะลอการสูญเสียปริมาตรของกระดูกลง



INSURANCETHAI.NET
Line+