พรบ คอมพิวเตอร์ 2560
1191

พรบ คอมพิวเตอร์ 2560

ม.11
ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายขยะ ในลักษณะสแปม
โดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิกหรือปฏิเสธ ปรับสูงสุด 200,000
O0


ม.15
เจ้าของเว็บไซต์ ที่ปล่อยให้บุคคลอื่นมาแสดงความเห็น
ในลักษณะผิดกฏหมาย ต้องรับโทษเท่ากับผู้แสดงความเห็น
^-^

Re: พรบ คอมพิวเตอร์ 2560
1191

Re: พรบ คอมพิวเตอร์ 2560

อ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า

“สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจาก พรบ.คอม ฉบับใหม่ เมื่อเทียบกับ พรบ.คอม ฉบับเก่า นั้น ออกมาเพื่อแก้ปัญหาเก่าๆในตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ พรบ.คอมพิวเตอร์ปี 2550 บังคับใช้คือ แก้ปัญหาหมิ่นประมาทออนไลน์ เห็นความแตกต่างง่ายๆ

ถ้าฟ้องหมิ่นประมาทโทษมันน้อย ถ้าฟ้องด้วย พรบ.คอม โทษหนัก 5 ปี อายุความมันนานกว่าโทษหนักกว่า

ฟ้องหมิ่นประมาท ตามกฎหมายไทยไม่มีกระบวนการเรียก Log file ได้ แต่ถ้าฟ้องด้วย พรบ.คอม ขอเรียก Log File ย้อนหลังมาพิสูจน์ได้
คือใช้ความกำกวมของกฎหมายให้เป็นประโยขน์ในการฟ้องร้อง ก็เลยมีการแก้ ร่างพรบ.คอม ให้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อไม่ให้มีเรื่องเกี่ยวกับหมิ่นประมาทอยู่ใน พรบ.คอม อีก

ปี 2550 มีปัญหาเรื่องสแปม ปัญหาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่มีปลอม ip address แต่ส่งสแปมตรงไปเลย ขายตรงผ่าน sms ผ่าน line ในเมื่อส่งกันจริงแก้ไขไม่ได้  ในพรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ได้เพิ่มวรรค 2 คือ

ห้ามส่งสแปมเด็ดขาด ส่งสแปมไม่ได้เลย ถ้าจะส่งต้องขออนุญาตผู้ใช้ก่อน
ถ้าผู้ส่งแอบส่งสแปมโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งอีเมล sms line Social Network โดนปรับ ข้อความละ 2 แสนบาท
::)

ถ้ากรณีผู้ส่งสแปมส่งไป แล้วเราอนุญาตให้เค้าส่งสแปมได้ ต้องมีฟีเจอร์ block หรือ ยกเลิกการรับสแปมได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

พรบ.ใหม่ จะมีข้อที่เพิ่มเติมขึ้นมา 2 ย่อหน้า ให้เว็บต้องมีกำหนดมาตรการแจ้งเตือนลบกระทู้ไม่เหมาะสม หรือที่ก่อให้บุคคลเสียหาย แจ้งเจ้าของเว็บได้ และเมื่อเจ้าของเว็บลบแล้ว จะพ้นการรับโทษ ไม่มีความผิด การกลั่นแกล้งออนไลน์ก็จะน้อยลง

เรื่องการขอ Block เว็บไซต์นั้น จะมีคณะกรรมการกลั่นกรอง 9 คนในการพิจารณา Block เว็บไซต์ โดย 9 คนนี้จะพิจารณาสำหรับปิด Block เว็บไซต์ที่ไม่ผิดกฎหมายแต่มีคนร้องเรียนเข้ามาให้ขอปิด ซึ่งเปิดโอกาสให้เจ้าของเว็บมาชี้แจงแทนที่จะโดน Block ทันที

กรณี Block เว็บถูกกฎหมาย โดยมีพบข้อความที่ผิดกฎหมาย พรบ.คอม ผิดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันและความมั่นคง ยังคงมีเหมือนเดิม แต่เพิ่ม 2 ส่วนคือ ผิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และ ผิดกฎหมายอื่นๆเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ( เช่น การทำแท้ง ยาเสพติด ค้ามนุษย์ การพนัน ) ซึ่งทั้งหมดนี้ Block ได้ทันที  โดยเรื่องการขอ block กรณีผิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ต้องขอที่ศาลทรัพย์สิน

เรื่องการลบข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์ เวลาเค้าคนนั้นมีคดี ข่าวร้ายมักขึ้นเป็นข่าวเด่นหน้า 1 อยู่เสมอ แต่พอศาลยกฟ้อง กลับเงียบๆไม่มีใครแก้ข่าวเลย เวลาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเค้าคนนั้นจะรันเรื่องราวในอดีต ก็กลับโดนกลั่นแกล้งจากข้อมูลเก่าที่เป็นคดีอยู่ทั้งๆคดีนั้นศาลยกฟ้องไปแล้ว เค้ามองที่ google ว่าทำไมไม่ลบออก ใน กรณีศาลออกคำพิพากษาตัดสินสิ้นสุด พวก Google ต้องลบออกจากระบบ รวมถึงพวกสื่อข่าวออนไลน์ด้วย ผู้เสียหายต้องนำผลพิพากษาไปให้สื่อออนไลน์เพื่อใช้แจ้งลบออกจากระบบ เพื่อแก้ปัญหาคนถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์

ผู้ใช้งานทั่วไปจะใช้ชีวิตอย่างไรไม่ให้ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์
อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า “ในมุมผู้ใช้คอม ก็ใช้งานคอมปกติ แต่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังมากขึ้น หากในมุม Hacker นั้น กฎหมายดำเนินคดีเหมือนเดิม เพิ่มโทษให้มากขึ้น เช่นทำ DDOS ทำคนอื่นเสียชีวิต ซึ่งเป็นไปได้ยากมากในการพิสูจน์หลักฐาน”

เรื่องปัญหาที่หลายท่านกังวลรัฐบาลจะเจาะรหัส SSL เพื่อแอบดูข้อมูลต่างๆเช่นข้อมูลการเงินนั้น
สรุปคือรัฐไม่สามารถทำได้หากจะทำต้องมีหมายศาลก่อน และความจริงเป็นเรื่องเดิมใน พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี2550

ผู้ประกอบการเว็บไซต์กระทู้ ต้องมีประกาศคือ
ต้องมี Notice Takedown ( User Agreements ) และข้อตกลงเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเว็บรอดพ้นจากการถูกฟ้องร้อง แต่ที่แน่ๆคือการประกาศขายของ ผ่าน Instagram เป็นสแปมนี้จะลำบากมากขึ้น เพราะกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ ฉบับนี้

การกด Like สถานะบน facebook ที่เห็นด้วยกับข้อความเสี่ยงผิดกฎหมาย ถือว่าผิด พรบ.คอมมั้ย ?
ความจริงแล้วคือกด Like ไม่ผิดกฎหมายเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพความเห็นตัวเองว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกรณีนี้ แต่ด้วยกลไกว่าการกด like จะทำให้คนอื่นเห็นความเห็นเราใน feed ด้วย ขึ้นอยู่กับเจตนาเพื่ออะไร ส่วนการแชร์ต่อเกี่ยวกับเรื่องผิดกฎหมายนี้ ถือว่าผิดกฎหมายชัดเจน

พรบ.คอมพิวเตอร์นั้น ไม่ใช่ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์
เรื่อง พรบ.คอม ช่วยให้รัฐบาลสามารถดูข้อมูลใดๆของผู้ใช้คอมก็ได้ เรื่องนี้ไม่จริง ยังคงเหมือนเดิมตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ปี 2550 หากต้องการดูข้อมูลคนอื่นต้องมีหมายศาลเท่านั้น แต่ก็ยังจับตาว่าจะมี พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์จะเกิดขึ้นด้วยหรือไม่ ถ้าเกิดนี่เรื่องใหญ่แน่นอนยิ่งกว่า พรบ.คอมพิวเตอร์



INSURANCETHAI.NET
Line+