ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)
1209

ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)

คปภ.เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย แห่งแรกในอาเซียน
ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยโดยเฉพาะแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างระเบียบสำนักงาน คปภ.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. ... โดยมีข้อสังเกตให้ปรับปรุงในบางประการ ซึ่งสำนักงานคปภ.จะได้รับดำเนินการและเสนอให้เลขาธิการคปภ.ลงนามเพื่อให้ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว

ทั้งนี้การออกระเบียบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนที่จะสามารถระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย โดยผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

แม้ปัจจุบัน สำนักงาน คปภ. มีระเบียบสำนักงานคปภ.ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว แต่ระเบียบดังกล่าวพูดถึงการไกล่เกลี่ยเพียงข้อเดียว ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่และไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบ ทั้งยังไม่ได้จัดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยจากภายนอก ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยตามวิธีการและขั้นตอนที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ จึงจำเป็นต้องออกระเบียบโดยเฉพาะเรื่องการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า ระเบียบนี้ได้วางขั้นตอนเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งจะคัดเลือกจากบุคคลภายนอกผู้ชำนาญการที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยเป็นอย่างดีมาขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้  ทั้งนี้การแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยสำหรับข้อพิพาทด้านการประกันภัยแต่ละกรณี จะแต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อดังกล่าว โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ยนอกจากนี้ระเบียบฯยังกำหนดเหตุในการคัดค้าน ผู้ไกล่เกลี่ยกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางและระเบียบฯยังกำหนดกรอบจริยธรรมสำหรับผู้ไกล่เกลี่ย กระบวนการไกล่เกลี่ย วิธีการไกล่เกลี่ย การสิ้นสุดแห่งกระบวนการ ไกล่เกลี่ย ฯลฯ อย่างเป็นระบบ จึงนับเป็นมิติใหม่ของการระงับข้อพิพาททางเลือกด้านการประกันภัย อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ทำให้ประชาชนที่มาร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาท ด้านประกันภัยสามารถมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาทได้ครบวงจร ทั้งนี้เมื่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. รับเรื่องร้องเรียนจะทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่กรณี หากในขั้นตอนนี้สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามระเบียบฯนี้รองรับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากคู่กรณีตัดสินใจใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย กลไกของระเบียบฯนี้ก็จะเริ่มทำงาน และหากสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ  ข้อพิพาทก็จะยุติด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะส่งเรื่องกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนตามปกติ โดยที่คู่กรณีจะไม่เสียสิทธิใดๆทั้งสิ้น หรือคู่กรณีจะเลือกนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ทางสำนักงาน คปภ.ก็มีระบบอนุญาโตตุลาการรองรับไว้เช่นกัน

“เพื่อเป็นการรองรับการบังคับใช้ระเบียบไกล่เกลี่ยฯ สำนักงานคปภ.อยู่ระหว่างเตรียมการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยขึ้น ณ ที่ทำการสำนักงาน คปภ. กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยเฉพาะเป็นแห่งแรก ในภูมิภาคอาเซียน ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมระบบธุรการ บุคลากร และปรับปรุงสถานที่เพื่อให้มีความพร้อม โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยได้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้” ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย

https://www.youtube.com/v/nrqVmUiMzuI

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยในครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยโดยนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องเรียนกับบริษัทประกันภัย โดยมีนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนที่จะสามารถระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย โดยผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบสากลและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ซึ่งก่อนที่จะมีการเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ได้มีการออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่า ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559  โดยมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ย  วิธีการไกล่เกลี่ย การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย  ฯลฯ ไว้อย่างเป็นระบบและครบวงจร ทำให้ประชาชนที่มาร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านประกันภัยสามารถมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาท และระเบียบนี้ยังได้วางแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. ด้วยว่า เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้วจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่กรณี หากในขั้นตอนนี้สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามระเบียบฯนี้เข้าไปรองรับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งหากคู่กรณีตัดสินใจใช้กระบวนการไกล่เกลี่ย กลไกของระเบียบฯนี้ก็จะเริ่มทำงาน และหากสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จข้อพิพาทก็จะยุติด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ คู่กรณีก็สามารถเลือกเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากสำนักงาน คปภ.มีระบบอนุญาโตตุลาการรองรับไว้เป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีด้วยเช่นกัน                                                             

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติม ว่า การขึ้นทะเบียนผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯนั้นสำนักงาน คปภ.ได้เปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่เป็นผู้ชำนาญการ มีความรู้และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยในช่วงเดือนมีนาคม 2559 โดยมีผู้สมัครและผ่านคุณสมบัติทั้งสิ้น 58 คน และสามารถผ่านการสอบคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์จำนวน 40 คน จากนั้น สำนักงาน คปภ.จึงได้จัดอบรมติวเข้มต่อยอดความรู้ด้านการประกันภัยพร้อมขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ยฯไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยสำหรับข้อพิพาทด้านการประกันภัยแต่ละกรณีนั้นจะแต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อดังกล่าว โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ระเบียบฯยังกำหนดเหตุในการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลาง และระเบียบฯยังกำหนดกรอบจริยธรรมสำหรับผู้ไกล่เกลี่ยไว้อย่างรัดกุมอีกด้วย ดังนั้นคู่กรณีที่เข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยฯจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน

สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัยทั้ง 40 คน ได้แก่  นายกฤษฏิ์นิธิ อุดมศักดิ์พศิน  นางเกศรินทร์ คณาวิชยานนท์ นางสาวเกษรา รื่นภิรมย์ นายเขมชาติ สถิตตันติเวช นางสาวจรินทร์รัตน์ จีระภัทรวรรธน์ นายจอมพจน์ ภู่รักศักดิ์ศรี นางจุฬาลักษณ์ แก้วศิวะวงศ์ นายเฉลิมพล โชติเมธากุล นายชินวัฒน์ ญาณสุภาพ นายชูศักดิ์ จึงพานิช นางสาวณัฐชรัตน์ ทวีโชติวรรัชต์ นางดวงจันทร์ บุญรอดชู นายธีรพันธ์ ดวงพลอย นายบุญเลิศ นิติวัฒนานนท์ นายบุญโชค รุ่งโชติ  นางปิยวรรณ ญาณสุภาพ นายพิชญา เพิ่มทอง นางสาวพิณลัพธพร นาคสมบูรณ์ นางสาวพูลสุข ปรีชาเดช นายเผด็จ บุญรอด นางสาวลัดดา สัพพัญญูสิริ นางเลื่อมใส ใจแจ้ง นางสาววรวิวรรณ พรหมเจริญ นายราเชนทร์ จารี นายวรนิติ์ เลิศคอนสาร นายวชิรวิทย์ เจียมพิริยะ นายวิพัฒน์ รภาจิตติกุล นายโวหาร ยะสารวรรณ นายสมชัย รักษ์ธรรมกิจ นางสาวสาครรัชต์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายสุธี สุวรรณโพธิ์ นางสุพานิช พิสุทธิภักดิ์ นางสุภาพร ภคสิริกุล นางสาวสุภารัตน์ ดีศีลรักษ์ นายสมคิด สมตน นายสมบูรณ์ รุ่งฤทธิไกร นายสุรพันธ์ ฉันทแดนสุวรรณ พ.ต.อ.อดิศักดิ์ วิบูลชัยโยธิน นายอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล และนายพิชัย โชติชัยพร

Re: ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)
1209

Re: ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)

คปภ.ชี้ "ศูนย์ไกล่เกลี่ย" 1 ปี ยุติข้อพิพาท 78%
แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม
สำนักงานกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย” ถือได้ว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบสากล มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
“สุทธิพล ทวีชัยการ” เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) บอกว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยได้เปิดบริการประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2559 และครบรอบการดำเนินงาน 1 ปี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา
โดยมีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการไกล่เกลี่ยจากภายนอก ทั้งสิ้น 160 เรื่อง สามารถยุติข้อพิพาทได้จำนวน 125 เรื่อง คิดเป็น 78.13% โดยแบ่งเป็นเรื่องร้องเรียนด้านประกันวินาศภัย ยอดนิยม 5 อันดับแรก ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยฯ คือ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กรณีราคาค่าซ่อมรถยนต์ (ตกลงราคากันไม่ได้) กรณีการซ่อมล่าช้า กรณีค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บเสียชีวิต และกรณีค่ารักษาพยาบาล
ส่วนเรื่องร้องเรียนด้านประกันชีวิต ยอดนิยม 4 อันดับแรก ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยฯ คือ กรณีการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 กรณีค่าชดเชยรายวันตามสัญญาพิเศษเพิ่มเติมกรณีเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ และกรณีการเสนอขายกรมธรรม์
สุทธิพล บอกว่า สำนักงาน คปภ. มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และมีความตั้งใจจริงที่จะคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัยอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประกันภัยให้กับผู้ไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
โดยเห็นได้จาก เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2560 ได้จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะและถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย ตลอดจนการศึกษาประเด็นปัญหาข้อพิพาทและเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้กับผู้ไกล่เกลี่ยและพนักงานของ สำนักงาน คปภ. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังนั้นในโอกาสที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยฯเปิดทำการครบ 1 ปี ก็น่าจะถึงเวลาที่ สำนักงาน คปภ. จะได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาคประชาชน ผู้แทนจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย และหน่วยงานกำกับดูแล คือ สำนักงาน คปภ. โดยผู้ไกล่เกลี่ย มาพบกันในเวทีที่เป็นกลาง ในวันที่ 16 พ.ค.2560 ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ.
ทั้งนี้เพื่อรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ว่าศูนย์ไกล่เกลี่ยได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงการทำงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการให้ความคุ้มครองด้านการประกันภัยแก่ประชาชนอย่างแท้จริง
สำหรับการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559
โดยมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ย วิธีการไกล่เกลี่ย การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย ฯลฯ ไว้อย่างเป็นระบบครบวงจร ทำให้ประชาชนที่มาร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านประกันภัยมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาท และระเบียบนี้ยังได้วางแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คปภ. ด้วยว่า เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้วจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่กรณี หากในขั้นตอนนี้สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน
ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้และหากคู่กรณีตัดสินใจใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กลไกของระเบียบฯนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที และหากคู่กรณีสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ ก็จะทำให้ข้อพิพาทนั้นยุติลงด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ในชั้นไกล่เกลี่ย คู่กรณีก็ยังสามารถเลือกเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจาก สำนักงาน คปภ. มีระบบอนุญาโตตุลาการรองรับไว้เป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีด้วยเช่นกัน

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/755150



Re: ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)
1209

Re: ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย insurance mediation center (IMC)

คปภ.เปิดเวทีการมีส่วนร่วม 4 ฝ่าย เพิ่มประสิทธิภาพคุ้มครองประชาชน ผ่านช่องทาง“ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านประกันภัย”

เผย 1 ปี ข้อพิพาทสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย“ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ รถยนต์ - การบอกล้างสัญญา” ขึ้นแท่นแชมป์วินาศภัย-ชีวิต

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากแนวคิดที่ตกผลึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครองตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้จัดตั้ง“ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย” ซึ่งถือได้ว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยโดยผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นผู้ชำนาญการจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมีความเป็นกลางมาช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยตามกติกาที่เป็นระบบสากล มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ทั้งนี้ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยได้เปิดบริการประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 และครบรอบการดำเนินงาน 1 ปี เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา มีเรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ชำนาญการไกล่เกลี่ยจากภายนอก ทั้งสิ้น 160 เรื่อง สามารถยุติข้อพิพาทได้จำนวน 125 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 78.13 โดยแบ่งเป็นเรื่องร้องเรียนด้านประกันวินาศภัย ยอดนิยม 5 อันดับแรก  ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยฯ คือ กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ กรณีราคาค่าซ่อมรถยนต์ (ตกลงราคากันไม่ได้) กรณีการซ่อมล่าช้า กรณีค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บเสียชีวิต และกรณีค่ารักษาพยาบาล

ส่วนเรื่องร้องเรียนด้านประกันชีวิต ยอดนิยม 4 อันดับแรก ที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยฯ คือ กรณีการบอกล้างสัญญาประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 กรณีค่าชดเชยรายวันตามสัญญาพิเศษเพิ่มเติมกรณีเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ และกรณีการเสนอขายกรมธรรม์

เลขาธิการ คปภ.กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และมีความตั้งใจจริงที่จะคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัยอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประกันภัยให้กับผู้ไกล่เกลี่ยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเห็นได้จาก เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะและถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย ตลอดจนการศึกษาประเด็นปัญหาข้อพิพาทและเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้กับผู้ไกล่เกลี่ยและพนักงานของ สำนักงาน คปภ. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นในโอกาสที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยฯเปิดทำการครบ 1 ปี ก็น่าจะถึงเวลาที่ สำนักงาน คปภ. จะได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาคประชาชน ผู้แทนจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนจากสมาคมประกันชีวิตไทย และหน่วยงานกำกับดูแล คือ สำนักงาน คปภ. โดยผู้ไกล่เกลี่ย มาพบกันในเวทีที่เป็นกลาง ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงาน คปภ. ทั้งนี้เพื่อรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ว่าศูนย์ไกล่เกลี่ยได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเพื่อร่วมกันหาแนวทางปรับปรุงการทำงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการให้ความคุ้มครองด้านการประกันภัยแก่ประชาชนอย่างแท้จริง     

สำหรับการดำเนินงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัยเป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559 โดยมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาทด้านประกันภัยไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ย วิธีการไกล่เกลี่ย การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย ฯลฯ ไว้อย่างเป็นระบบครบวงจร ทำให้ประชาชนที่มาร้องเรียนเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านประกันภัยมีทางเลือกในการระงับข้อพิพาท และระเบียบนี้ยังได้วางแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คปภ. ด้วยว่า เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้วจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นและชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่กรณี หากในขั้นตอนนี้สามารถตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน

ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้และหากคู่กรณีตัดสินใจใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กลไกของระเบียบฯนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที และหากคู่กรณีสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ ก็จะทำให้ข้อพิพาทนั้นยุติลงด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ในชั้นไกล่เกลี่ย คู่กรณีก็ยังสามารถเลือกเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เนื่องจาก สำนักงาน คปภ. มีระบบอนุญาโตตุลาการรองรับไว้เป็นทางเลือกให้กับคู่กรณีด้วยเช่นกัน



INSURANCETHAI.NET
Line+