ประกันอัคคีภัยร้านค้า ราคาถูก (2011)
150

ประกันอัคคีภัยร้านค้า ราคาถูก (2011)

ประกันอัคคีภัยร้านค้า’ ราคาถูก

บอร์ดทรัพย์สิน ส.วินาศภัยสวมลูกขยัน ผนึก คปภ. ทำคลอด “ประกันอัคคีภัยร้านค้าย่อยราคาประหยัด” เบี้ยไม่เกิน 1,000 บาท ตามคอนเซปต์ “ไมโคร อินชัวรันส์” ใช้จุดขายเบี้ยต่ำซื้อง่ายดึงร้านค้าในชุมชนหลายแสนทั่วไทยซื้อประกัน

เพิ่มจำนวนผู้ทำประกัน สร้างความคุ้มครองครอบคลุมทุกพื้นที่ เตรียมถกรูปแบบกรมธรรม์เบี้ยคาดเริ่มขายไตรมาสสามนี้ พร้อมปรับกรมธรรม์ ประกันวิศวกรรมคุ้มครองความเสี่ยงระหว่างก่อสร้างบ้านตึกแถว

นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม ประธานคณะกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน สมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ในปี 2553 นี้ คณะกรรมการฯจะร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออก

แบบประกันใหม่ กรมธรรม์ผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อย (เอสเอ็มอี) จะเป็นประกันอัคคีภัยราคาประหยัดเบี้ยประกันภัยเบื้องต้นไม่เกิน 1,000 บาทต่อปีอยู่ใน กลุ่มแบบประกันภัยใหม่ “ไมโคร อินชัวรันส์” อีกตัวหนึ่งเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นทาง

เลือกแก่ผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็กซึ่งเป็นธุรกิจราก หญ้าของสังคมไทยให้มีการประกันภัยอัคคีภัยอย่างทั่วถึง

“หลังจากเราออกอัคคีภัยบ้านที่อยู่อาศัยราคาประหยัดเบี้ย 600 บาทให้แล้วก็ถึงคิวของธุรกิจประเภทร้านค้ารายย่อย ทุนประกันภัยยังไม่กำหนดชัดเจน ส่วนเบี้ยคงไม่เกิน 1,000 บาทแต่ถามว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ต้องมาดูต้นทุนความเสียหายแท้

จริง (Loss Cost) ซึ่งปกติร้านค้ารายย่อยมีสถิติอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) สูงกว่าบ้านอยู่อาศัยอยู่แล้ว โดยเบี้ยราคานี้ต่ำหากเทียบกับในท้องตลาดที่ขายกันอยู่ตอนนี้ทุนประกันร้าน บ้าน ราคาเบี้ยประมาณ 2,000 บาทเศษต่อปี”

อย่างไรก็ดี การกำหนดเบี้ยประกัน ภัยอัคคีภัยร้านค้ารายย่อยไม่ให้เกิน 1,000 บาท เพื่อให้สามารถนำไปจัดจำหน่าย ผ่าน ช่องทางขายแบบประกันไมโคร อินชัวรันส์ที่จะเปิดช่องทางขายขึ้นมาเฉพาะได้ทำให้สินค้าเข้าถึงกลุ่มเป้า หมายร้านค้า

รายย่อยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนคาดว่าทั่วประเทศน่าจะมีอยู่หลายแสนแห่ง โดย จะเริ่มหารือรูปแบบกรมธรรม์กันภายใน 1-2 เดือนนี้ซึ่งนับระยะเวลาผ่านขั้นตอนอนุมัติกรมธรรม์จากสำนักงานคปภ.คาดว่า น่าจะขายได้ประมาณไตรมาสสามนี้

นายอานนท์ กล่าวว่า ถ้าแบบประกันอัคคีภัยร้านค้ารายย่อยราคาประหยัดออกมาจะส่งผลดีกับทุกฝ่าย แง่ผู้บริโภคมีหลักประกันเพิ่มขึ้น ขณะที่อุตสาห กรรมประกันภัยมีจำนวนผู้ซื้อประกันกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเพราะที่ผ่านมาร้านค้า ย่อยที่ทำประกันภัย

ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่กู้สินเชื่อแบงก์ซึ่งธนาคารให้ทำ ประกันอัคคีภัยอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินธนาคาร มีทำบ้าง ซึ่งแบบประกันใหม่ที่จะ ออกมาจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากขึ้น ทำให้ร้านค้ารายย่อยมีโอกาสเข้าถึงประกันภัยราคาเบี้ยไม่

แพง หาซื้อไม่ยาก

“ช่องทางขายไมโคร อินชัวรันส์สอด คล้องกับการกระจายสินค้าประกันภัยไปถึงผู้บริโภคโดยเร็ว ถ้าไม่มีไมโคร อินชัวรันส์การขายผ่านช่องทางตัวแทนทั่วไป มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่คุ้ม เพราะเบี้ยไม่แพงมาก” นายอานนท์ กล่าวว่า นอกจากแบบ

ประกันข้างต้นแล้ว คณะกรรมการฯยังเตรียมจะปรับปรุงกรมธรรม์วิศวกรรมคุ้มครองการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะเงื่อนไขคุ้มครองให้เข้าใจง่ายเพื่อเจาะเข้าไปให้ถึงความต้องการของ ชาวบ้านมากขึ้น อาทิ ประชาชนที่ต้องการสร้างบ้าน ตึกแถว

ซึ่งมีความเสี่ยงระหว่างการก่อสร้างบ้านอยู่แล้ว เช่น ไฟไหม้ ภัยธรรม ชาติรวมไปถึงความรับผิดต่อบุคคลภาย นอก จากเดิมกรมธรรม์ประเภทนี้พุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมรายใหญ่มากกว่า

“เรามองว่าประชาชนฐานรากทั่วไปมีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ไม่ได้ซื้อประกันคุ้มครองความเสี่ยงระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งรวมไปถึงความเสี่ยงจากการติดตั้งเครื่อง ต้องมาดูว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ตัวเบี้ยประกันคงไม่ต้องปรับเพราะ

ไม่ได้มีพิกัดอัตรา ปรับแค่เงื่อนไขถ้อยคำให้ง่ายและรัดกุม”

นายอานนท์ กล่าวว่า จากการที่บริษัท ประกันภัยปรับลดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย สำหรับทุกกลุ่มภัยให้กับประชาชนทั่วไปลง อีก 5% ส่วนเจ้าของธุรกิจหากมีระบบการจัดการความเสี่ยงภัย หรือมีระบบป้องกันไฟไหม้อย่างดี จะได้รับการ

พิจารณาลดเบี้ยประกันมากกว่า 5% ตามคำสั่งคปภ.เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 ที่ผ่านมาจะทำให้ เบี้ยประกันอัคคีภัยทั้งระบบในปีนี้เติบโตไม่สูง มากเพิ่มขึ้นประมาณ 5% เบี้ยรวม 1.61 หมื่นล้านบาท แยกเป็นประกันอัคคีภัย 8,100 ล้านบาท

และประกันเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risk : IAR) อีก 8,000 ล้านบาท

จากปี 2552 ที่คาดว่าเบี้ยทั้งสองประเภทจะมีจำนวน 1.47 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นประกันอัคคีภัยประมาณ 7,700 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 4% เทียบกับกับปี 2551 และประกันเสี่ยงภัยทรัพย์สินอีกประมาณ 7,000 ล้านบาท เติบโต

เพิ่มขึ้นเกือบ 20% เทียบกับปี 2551 เพราะแม้เศรษฐกิจไม่ดีแต่ประกันทั้ง 2 ประเภทยังขยายตัวได้ดีอยู่
   
ที่มา : สยามธุรกิจ



INSURANCETHAI.NET
Line+