ความเสี่ยง การทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
228

ความเสี่ยง การทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะที่ใดก็มีความเสี่ยง
เรา ไม่ควรนำบัญชีที่มีเงินอยู่จำนวนมากในการทำธุรกรรม ในการทำธุรกรรมควรจะแบ่ง หรือกระจายความเสี่ยงออกไปในหลายบัญชี การใช้คอมพิวเตอร์ก็ควรจะติดตั้งโปรแกรมตรวจจับไวรัส และอัพเดทอยู่เสมอ หมั่นล้างข้อมูล เช่น ในต่างประเทศจะมีการคลีนนิ่งข้อมูลโดย backup ข้อมูลสำคัญเอาไว้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำธุรกรรมการเงินก็ไม่ควรไปดาวน์โหลดโปรแกรม ใช้ฟรีต่าง ๆ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมทั้งการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลที่เราไม่รู้จัก และ ถ้าเห็นความผิดปกติแล้วหากเป็นไปได้ก็ควรหยุดการดำเนินการทันที ตรวจสอบให้เเน่ใจก่อน

เมื่อทำธุรกรรมการเงินแล้วพบหมายเลขบัญชีแปลก ๆ โผล่ขึ้นมาระหว่างการขั้นตอนการดำเนินการแล้ว ก็ควรหยุดตรวจสอบ หรือหากไม่มั่นใจก็ควรรีบชักปลั๊กไฟฟ้าออก อย่าลืมว่าคนร้ายได้ remote (การควบคุมระยะไกลโดยอาจจะใช้โปรแกรม) เข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตามธนาคารรยืนยันว่า มีการปรับปรุง และป้องกันปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้ทางแฮกเกอร์รู้ขั้นตอน หรือดักจับข้อมูลจากจุดอ่อนต่าง ๆ ของระบบธนาคารได้

ระบบของธนาคาร หลายแห่ง มีการป้องกันการแฮกข้อมูลเป็นอย่างดี มีระบบการป้องกันความปลอดภัยเป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ แต่ความผิดพลาดเกิดจากลูกค้าผู้ใช้บริการ และแฮกเกอร์ก็เข้ามาโจรกรรมข้อมูลในส่วนของลูกค้าไม่ใช่ของทางธนาคาร

เรื่อง การป้องกันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น  คงไม่มีลูกค้าธนาคารรายใด ที่อยากสูญเสียเงินไป  แต่หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการทำธุรกรรมก็ควรหยุดการดำเนินการต่อไปอีก และลูกค้าผู้ใช้บริการ มักจะไม่ทราบ หรือมั่นใจว่าเกิดความผิดปกติในขั้นตอนใด ดังนั้นก่อนใช้งานต้องศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อนเสมอ



INSURANCETHAI.NET
Line+