การซื้อของทางอินเตอร์เน็ต ตรวจสอบ ป้องกันการโกง
229

การซื้อของทางอินเตอร์เน็ต ตรวจสอบ ป้องกันการโกง

การซื้อของทางอินเตอร์เน็ต ตรวจสอบ ป้องกันการโกง

ตรวจสอบผู้ขายที่เปิดบริษัทมาเพื่อโกง!!

1.Contact information
ข้อมูลในการติดต่อผู้ผลิต ในกรณีเป็นผู้ผลิตที่ตั้งใจเปิดบริษัทมาโกง มักจะไม่ใช้ที่อยู่จริง โดยเราสามารถแกล้งทดสอบโดยแจ้งผู้ผลิตว่าเราจะไปเยี่ยมชมบริษัท หรือเราจะให้เพื่อนไปพบที่บริษัท เป็นต้น ถ้าเป็นบริษัทที่ทำมาหากินสุจริตจะยินดีให้เราไปพบอย่างไม่มีเงื่อนไข (อย่าลืมว่าผู้ผลิตก็กลัวโดนผู้ซื้อโกงเหมือนกัน จึงเป็นผลดีกับผู้ขายด้วยหากเราจะไปเยี่ยมชม) ส่วนเบอร์โทรศัพท์ที่ให้กับผู้ซื้อมักจะเป็นเบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะ ง่ายต่อการหลบหนี

2.ราคาที่ต่ำมากเกินความเป็นจริง
โดยมากจะเป็นสินค้ามียี่ห้อ และพบบ่อยจะเป็นสินค้าในหมวดเทคโนโลยี เช่นโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป เครื่องเสียง เป็นต้น (จากประสบการณ์ของผู้เขียน website ที่ขาย โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป เครื่องเสียง โดยอ้างว่าเป็นสินค้ายี่ห้อจริงไม่ใช่ของcopy และมีราคาต่ำมากๆๆ 100%เปิดมาเพื่อโกง เช่นส่งของcopyมาให้,ส่งของจริงมือสองมาให้ หรือไม่ส่งอะไรมาเลย) เพราะฉะนั้นก่อนจะตกลงซื้อขายต้องพิจารณาด้วยว่าราคาสมเหตุสมผล และเปรียบเทียบราคากับผู้ผลิตหลายๆราย รวมทั้งเปรียบเทียบกับราคาในประเทศไทยด้วย

3.การชำระเงิน
ผู้ผลิตที่ตั้งใจฉ้อโกงจะไม่ใช้ L/C รูปแบบการชำระเงินมักจะผ่านทาง western union, paypal หรือ T/T (จ่าย100%ก่อนส่งของ) และให้โอนไปเป็นUSDเท่านั้น ไม่รับเงินหยวน ส่วนบัญชีธนาคารก็จะใช้ชื่อบัญชีส่วนบุคคล

    * วิธีการตรวจสอบคือให้ถามวิธีการชำระเงินในแบบต่างๆ เช่นชำระโดยใช้ L/C ได้หรือไม่ (แม้ว่าเราจะไม่ได้จะชำระโดย L/C ก็ตาม)
    * ชำระเงินสดได้หรือไม่ โดยอ้างว่าจะให้เพื่อนหรือญาติเข้าไปจ่ายเงินที่บริษัทของผู้ผลิต ถ้าบริษัทที่ตั้งใจโกงจะไม่ยอมให้ไปพบที่บริษัทอย่างแน่นอน
    * ชำระโดยใช้เงินหยวนได้หรือไม่ โดยให้อ้างว่าเรามีบัญชีธนาคารจีน หรือมีเพื่อนในจีน จะใช้บัญชีธนาคารจีนโอนให้ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งใจโกงจะไม่รับชำระเงินโดยเงินหยวนเนื่องจากหลักฐาน การโอนเงินในประเทศจะสามารถใช้เป็นหลักฐานตามตัวมาดำเนินคดีได้ ในขณะที่หลักฐานการโอนเงินมาจากต่างประเทศจะไม่มีผลทางคดีแต่อย่างใด

4.การขนส่ง
บริษัทที่ฉ้อโกงจะใช้บริการขนส่งระหว่างประเทศเท่านั้น เช่น TNT,EMS,DHL และFedEx เป็นต้น โดยจะไม่ผ่านช่องทางการขนสงในประเทศ เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากศุลกากรประเทศจีน วิธีตรวจสอบมำโดยให้แจ้งผู้ขายว่าจะให้เพื่อน หรือญาติไปรับสินค้าเองที่ผู้ผลิตได้หรือไม่ ซึ่งแน่นอนครับ ถ้าเป็นบริษัทที่ฉ้อโกงจะไม่ยอมแน่นอน

จากจุดนี้ทำให้สรุปได้คร่าวๆว่าสินค้าที่มักจะใช้เป็นช่องทางในการฉ้อโกง จะเป็นสินค้าขนาดไม่ใหญ่ และมีน้ำหนักเบา (เพราะค่าบริการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทเช่น TNT, EMS, DHL และFedEx เป็นต้น มีราคาสูงถ้าส่งสินค้าน้ำหนักมากๆ) และต้องมีมูลค่าสูง ซึ่งคงหนีไม่พ้นสินค้าในหมวดเทคโนโลยีนั่นเอง

บริษัทที่มีแนวโน้มฉ้อโกง ให้ท่องไว้แล้วค่อยสังเกตจับพิรุจเมื่อมีการติดต่อกับทางผู้ผลิต

    * สินค้ามียี่ห้อ
    * สินค้าหมวดเทคโนโลยี
    * สินค้าขนาดเล็กน้ำหนักเบาแต่-มูลค่าสูง
    * ราคาถูกกว่าท้องตลาดอย่างมาก
    * ผู้ขายรวบรัดสรุปการซื้อขายเกินไป
    * ผู้ขายเร่งรัดการชำระเงินอย่างผิดปกติ
    * ให้ข้อมูลสินค้าไม่ละเอียด
    * ลดราคาสินค้าอย่างมาก และรวดเร็ว (โดยปกติผู้ผลิตจะไม่ลดราคาสินค้าลงมาก และจะไม่ลดราคาง่ายๆ
    * ไม่รับเงินหยวน
    * ไม่รับ L/C
    * รับเฉพาะUSD
    * ชำระผ่าน Western  Union, PayPal หรือโอนจากธนาคารในต่างประเทศ (ไทย โอนไป จีน เป็นต้น)
    * TNT, EMS, DHL และFedEx

วิธีทดสอบ ลองแกล้งๆถามผู้ผลิตดังนี้
    * จะส่งคนไปพบ
    * จะส่งคนไปจ่ายเงินสด
    * จะใช้เงินหยวนจ่ายจากธนาคารจีน
    * จะใช้ L/C
    * จะให้ส่งของไปที่ที่อยู่ในจีน

คำแนะนำในการ "ซื้อ" ของผ่านอินเตอร์เน็ต

1. ควรตรวจสอบราคาหลายๆที่ เพื่อให้ได้ของที่ถูกและดีที่สุด (อาจจะตรวจสอบจากค้นดูราคาสินค้าประเภทเดียวกัน ในเว็บก่อนการซื้อ)
2. ควรซื้อ-ขายกับสมาชิกที่เป็น VIP โดยจะมีสัญญาลักษณ์ () ด้านหลังประกาศ เพราะสมาชิกเหล่านี้ ได้ส่งข้อมูลเสาเนาบัตรประชาชน มายืนยันตัวตนไว้กับทางเว็บไซต์ ทำให้การซื้อขาย น่าเชื่อถือมากขึ้น
3. อย่างเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกจนเกินไป จนรีบตัดสินใจ หากมีผู้ที่แจ้งขายสินค้า ที่ราคาถูกมากเป็นพิเศษ และพยายามเร่งรัดการซื้อ-ขาย กรุณาเพิ่มความระมัดระวัง ในการซื้อ-ขายมากขึ้น
4. ควรเก็บหลักฐานในการซื้อขายไว้และตรวจสอบที่มาของผู้ที่ต้องการจะขาย เช่น สำเนาบัตรประชาชน สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จ ไว้เพื่อใช้ในการติดตาม และตรวจสอบ ในกรณีที่ สินค้ามีปัญหา ในภายหลัง เพราะชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ ที่ให้ไว้ ในตอนแรก อาจมีการเปลี่ยนแปลง ในภายหลัง หรืออาจจะมีการโทรเช็ค 13 ว่าบ้านเลขที่ที่ส่งมาตรงกันหรือไม่
5. ควรนัดพบผู้ขาย เพื่อรับของโดยตรง ไม่ควรโอนเงิน ให้ผู้ขายก่อน เพราะได้มีกรณี ที่ผู้ซื้อ โอนเงินไปแล้ว ไม่ได้รับของ หรือได้รับของ ที่ไม่ได้สั่ง และทางธนาคาร ไม่สามารถ อายัดเงิน ให้ท่านได้ แต่หากจำเป็นจริงๆ ท่านสามารถ ใช้บริการ ส่งมอบสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ ได้
6. กรณีที่ถูกหลอกลวง ท่านสามารถ แจ้งความ กับทางตำรวจ ได้ทันที โดยแจ้งสน. พื้นที่ ที่ท่าน ทำการโอนเงิน โดยอาศัย หลักฐานต่างๆ ที่ท่านได้เก็บไว้

คำแนะนำในการ"ขาย"สินค้า
  1. ก่อนตั้งราคาควรเสนอราคาอย่างสมเหตุสมผล
  2. เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ท่านจะขายให้พร้อม เช่น คู่มือ, ใบรับประกัน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมากับสินค้า
  3. เปรียบเทียบราคากับราคาตลาด อย่าลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายหากมีการการปรับปรุง ซ่อมแซม ส่วนที่จำเป็น เป็นต้นในกรณีที่ท่านไม่ได้ดำเนินการซ่อมแซมใดๆ ควรแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้า
  4. เมื่อนัดหมายให้ผู้ซื้อมาดูสถานที่ ไม่ควรอยู่ตามลำพัง นัดหมายเพื่อนของท่านมาด้วย และเก็บเงินหรือของมีค่าไว้กับตัวท่าน
  5. ควรขอชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และติดต่อกลับไปเพื่อเป็นการตรวจสอบว่า บุคคลที่สนใจนั้นมีตัวตนจริง

คำแนะนำในการ ส่ง-มอบ สินค้า
1. ในกรณี ที่อยู่ใน กทม. เหมือนกัน แนะนำให้นัดเจอกันครับ โดยคุยโทรศัพท์ติดต่อ เพื่อนัดหมายสถานที่ และเวลากัน โดยมีข้อควรระวังดังนี้
            1. ควรนัดพบในที่สาธารณะที่ๆมีคนมาก เช่นห้างสรรพสินค้า
            2. ไม่ควรนัดยามวิกาลจนเกินไป
            3. อาจจะพาเพื่อนไปด้วย เพื่อความปลอดภัยในการ รับหรือส่งสินค้า
            4. ไม่ควรนัดมารับสินค้าที่บ้าน
            5. หากไม่แน่ใจ ควรจะให้เค้าแสดงหลักฐานบัตรประชาชน หรือ ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามได้ในอนาคต ก่อนทำการซื้อ-ขาย

2. ถ้าไม่สะดวกในการนัดเจอ จำเป็นต้องใช้บริการส่งทางไปรษณีย์
    ควรหีบห่อสินค้า ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะสินค้าที่เสียง่าย เช่น ฮาร์ดดิสค์, มือถือ กับ แท่นซาร์ตถ้าใส่รวม ควรมีอุปกรณ์กันกระแทก และการส่งสินค้ามีหลายแบบได้แก่

        2.1 ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ ไปรษณีย์ EMS
        โดยให้ผู้ซื้อชำระเงินทาง ธนานัติ/โอนเงินเข้าบัญชีผู้ขาย ก่อน หรือหลังส่งสินค้า แล้วแต่ตกลงกัน วิธีนี้จำเป็นที่ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ไว้ใจกันและกัน!!! โดยควรมีการพูดคุยกัน ทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่นใด เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีการโกง

        2.2 ส่งทางพัสดุไปรษณีย์เก็บเงินปลายทาง (พกง.)
        คล้ายกับส่งทางพัสดุไปรษณีย์ จะมีแบบฟอร์มให้กรอก รายละเอียดว่าต้องการให้ส่ง พัสดุไปที่ ไปรษณีย์ไหน (ต้องสอบถามจาก ผู้ซื้อว่าสะดวกไปรับ ที่ไปรษณีย์ไหน), และมีฟอร์มธนานัติให้กรอก รายละเอียดของผู้ขาย จากนั้นนำใส่ซอง ที่จ่าหน้าถึงผู้ขายเอง เพื่อที่ไปรษณีย์ จะได้ส่งธนานัติกลับ (ค่าบริการส่ง พกง. 60 บาท)

        จากนั้น เมื่อพัสดุไปถึง ไปรษณีย์ปลายทาง ทางไปรษณีย์ปลายทาง จะแจ้งไปยังผู้ซื้อ ให้ไปรับพัสดุ เมื่อผู้ซื้อไปถึงไปรษณีย์ ต้องชำระเงิน ก่อนที่จะได้รับห่อสินค้า จากนั้นไปรษณีย์จะส่งเงินที่ได้ มาทางธนานัติ โดยใส่ซอง ที่ผู้ขายแนบไป เพื่อให้ผู้ขายนำไปขึ้นเงิน ในกรณีที่ผู้รับ ไม่ไปรับสินค้าใน 30 วัน พัสดุจะตีกลับ ไปยังไปรษณีย์ต้นทาง และจะมี จม. แจ้งให้ไปรับคืน (ต้องเสียค่าส่ง พกง. ครึ่งนึง)
        ** ดูวิธีและขั้นตอนการส่ง พ.ก.ง. (พัสดุเก็บเงินปลายทาง)

        2.3. การโอนเงินเข้าบัญชีไปก่อน แล้วส่งสินค้าตามไป
        วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่อยุ่ห่างกันคนละจังหวัด โดยเป็นการโอนเงินไปให้กับผู้ขายก่อน แล้วหลังจากนั้นผู้ขายก็จะทำการส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ หรือตามแต่การตกลงกัน ซึ่งวิธีนี้อาจจะ ต้องวัดดวงกันนิดนึง หากคุณซื้อขายกับคนที่คุณไม่เคยซื้อด้วยมาก่อน เพราะหากคุณโอนเงินไปแล้วเค้าไปให้สินค้ามา ก็ถือว่าคุณ ต้องเสี่ยงกับการส่งสินค้าแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วคุณควรจะซื้อกับ สมาชิก หรือ สมาชิก VIP () เพื่อสามารถตรวจสอบ ประวัติการซื้อขายของเค้า และคำติ-ชม ในบริการของเค้าได้

การรับสินค้าผ่านทาง พ.ก.ง. อย่างปลอดภัย
  1. ไปที่ไปรษณีย์แต่เช้า ตรวจสอบกล่องหรืออะไรอื่นๆ ที่ส่งมาให้ก่อน ถ้ารูปทรงของกล่องหรืออะไรอื่นๆ ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ที่ซื้อก็รับได้ แต่ถ้าไม่ ก็ไม่ต้องรับ
  2. ในกรณีที่รับ ต้องจ่ายเงินก่อนถึงจะเปิดดูได้ ให้เปิดดูเลย เพื่อจะให้ทางเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์เป็นพยาน พยายามให้ กล่องหรืออะไรอื่นๆ บุบสลายน้อยที่สุด เพราะถ้าไม่ใช่ของที่ซื้อ ควรให้เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งของคืน ไม่รับ และจะได้เงินคืน ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ ไม่ยอม อ่านข้อที่ 3 (การแกะหีบห่อแล้วไม่สามารถคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น*)
  3. ในกรณีที่จ่ายเงินแล้ว แต่ของไม่ใช่ตามที่ซื้อ หรือไม่ทำงาน ( ถูกหลอก ) ให้ไปแจ้งความ
  4. นำใบบันทึกประจำวัน (ใบแจ้งความ) มาที่ไปรษณีย์มาหาหัวหน้าศูนย์ไปรษณีย์ (คุยกับเขาก่อนเรื่องรายละเอียด) เพื่อขออายัดเงินที่ไปรษณีย์ ที่เดิม
  5. จะได้รับเงินคืน ภายใน 2 เดือน

วิธีการป้องกันและการตรวจสอบก่อนการโอนเงินหาผู้ขาย
1. หากในการติดต่อของผู้ขาย ควรระมัดระวังผู้ขายที่ใช้บริการต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
      1. เบอร์โทรจากโทรศัพท์ บัตรเติมเงิน (Prepaid) จะไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่ใช้ได้
      2. เบอร์โทรศัพท์จากระบบ Analog อาจจะมีการแอบจูนเบอร์ เพราะจะทำให้การติดตามได้ยาก และเจ้าของเบอร์จริงอาจจะไม่ทราบ
      3. เพจเจอร์ อาจจะมีการจูน เพื่อใช้ในการปลอมแปลงได้เช่นกัน
      4. Email เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะติดตามได้ยาก

      ในกรณีนี้ คุณควรจะขอข้อมูลผู้ขายเพิ่มเติม เพื่อสร้างความมั่นใจมากขึ้น เช่น
      - เบอร์โทรศัพท์บ้าน (จริงๆ)
      - เบอร์โทรศัพท์ระบบ Digital เพราะโทรศัพท์ที่จดทะเบียนจะสามารถยืนยันตัวบุคคลจริงได้ (ในระดับนึง)
      - เสาเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      - อื่นๆ เป็นต้น
2. ตรวจสอบเบอร์โทรของผู้ขาย หากเป็นเบอร์ธรรมดาว่า เป็นเบอร์ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับที่ที่คุณจะโอนเงินไปหรือเปล่า เพราะอาจจะมีการ หลอกล่วงได
3. ควรโอนเงินผ่านหน้า เคาเตอร์ของธนาคาร เพราะจะสามารถติดตามหรือ อาญัติเงินได้ โดยการแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่ ในกรณีที่คุณ "สงสัยว่ามีการฉ้อโกงเกิดขึ้น" เพราะหากคุณใช้บริการโอนเงินผ่าน ATM การติดตามจะเป็นไปได้ลำบากกว่า

หากโอนเงินไปแล้ว ผู้ขายไม่ส่งสินค้ามาควรจะทำอย่างไร ?
  1. ควรเข้าไปแจ้งตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน ว่าถูกฉ้อโกง หรือ สงสัยว่าถูกฉ้อโกง เพื่อที่จะนำหลักฐานจากตำรวจ ไปดำเนินการในขั้นตอนอื่นๆ
  2. หากมี Email ผู้ขาย อาจจะติดต่อไปยังเว็บที่ให้บริการ Email เพื่อขอข้อมูลผู้ใช้บริการ (หากเป็น Email ในเมืองไทยจะสะดวกกว่าเมืองนอก) ในการติดตาม
  3. ตรวจสอบหมายเลข IP จากทางเว็บไซต์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม ในกรณีที่ผู้ขายได้ลงประกาศไว้ ในเว็บไซต์



INSURANCETHAI.NET
Line+