ยาใหม่ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง (melanoma)
420

ยาใหม่ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง (melanoma)

ยาใหม่ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง (melanoma)

Ipitimumab

เป็นยาใหม่ตัวแรกในกลุ่มที่สามารถยืดอายุผู้ป่วยเนื้องอกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68 ในคนไข้ที่โรคได้แพร่กระจายจากผิวหนังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
            นับเป็นข่าวใหญ่ ในวงการวิจัยโรคเนื้องอก melanoma ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตไม่ลดลงแม้ว่าจะมีความพยายามค้นหาวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคมะเร็งผิวหนังทั่วไป และมะเร็งผิวหนังชนิด รุนแรงถึงชีวิตในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
            ยาใหม่ที่ใช้ รักษาโรคมะเร็งผิวหนังระยะกระจายตัวพบเมื่อ 12 ปีก่อน และร้อยละ 85 ของผู้ใช้ยานี้ไม่ค่อยได้ผลนัก จึงมีความพยายามค้นหายาตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การค้นพบยา Ipitimumab มีรายงานในวารสาร N England J Med
            Ipitimumab เป็นยาตัวแรกในกลุ่มที่มุ่งเป้าที่ T-Cell antibodies ซึ่งมีศักยภาพที่จะใช้รักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นได้ด้วย อุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งผิวหนังและการสูญเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา และผู้ป่วยที่อาการหนักมักไม่มีทางเลือกในการรักษา
            Ipitimumab เป็นยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ของคนต่อ CTLA-4 ที่อยู่บนผิวของเซลล์ T-Cell (ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรค) CTL เป็นตัวสำคัญที่หยุดระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อ CTL ถูกสกัดด้วยยา ipitimumab จะเร่งและเสริมฤทธิ์ T-Cell ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ออกไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ยานี้มีเป้าหมายมิใช่ที่มะเร็งโดยตรง แต่ทำให้ T-Cell มีฤทธิ์ซึ่งต่างจากยาเคมีบำบัดทั่วไปและการรักษาก็มุ่งเป้าไปที่เซลล์มะเร็ง
            ในการศึกษานี้ทำ ในคนไข้ 676 ราย ที่ศูนย์การแพทย์ 125 แห่งทั่วโลก โดยสุ่มให้การรักษา 3 แบบ คือ ipitimumab ร่วมกับ gp100 ซึ่งเป็นเปปไทด์วัคซีนที่มีผลต่อมะเร็งผิวหนังบางชนิด และให้ยาเดี่ยว ipitimumab หรือ gp100 คนไข้ทุกรายเป็นมะเร็งผิวหนังระยะ 3 หรือ 4 และเคยได้รับการรักษามาก่อน กลุ่มที่ได้รับยาผสมและกลุ่มที่ใช้ยาเดี่ยว ipitimumab โดยเฉลี่ยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น 10 เดือน ขณะที่กลุ่มที่ใช้ gp100 อยู่ได้อีก 6.4 เดือน คิดเป็นการยืดชีวิตได้ร้อยละ 68
            ผลการรักษาที่ ได้นี้นับว่ามีความสำคัญ เพราะอายุเฉลี่ยคือ 6-9 เดือน หากสามารถยืดอายุได้อีก 4 เดือน ถือว่ามีความแตกต่างกันมาก และที่สำคัญกว่าคือต้องดูการรอดชีวิตในปีที่ 1 และในปีที่ 2 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในกลุ่มที่ใช้ยา ipitimumab คือจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 46 เมื่อครบ 1 ปี และจากร้อยละ 14 เป็น 24 ในปีที่ 2
            คนไข้ 14 ราย (คิดเป็นร้อยละ 2.1) เสียชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาต่อการรักษา ในจำนวนนี้มี 7 รายที่มีปัญหาของระบบภูมิคุ้มกัน ขณะนี้คนไข้ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากยานี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าคนไข้แบบใดจะได้รับผลดีที่สุด ขณะที่การรักษาด้วยวิธีอื่นได้ผลเพียงร้อยละ 5-15
            ยานี้ยังไม่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ อเมริกา แต่คนไข้จะได้รับยานี้จากศูนย์การแพทย์หลายแห่ง

โดย วงการยา ฉบับ 144



INSURANCETHAI.NET
Line+