นวัตกรรม "ภูมิคุ้มกันบำบัด" ความหวังใหม่พิชิตโรคมะเร็ง !?
432

นวัตกรรม "ภูมิคุ้มกันบำบัด" ความหวังใหม่พิชิตโรคมะเร็ง !?

นวัตกรรม "ภูมิคุ้มกันบำบัด" ความหวังใหม่พิชิตโรคมะเร็ง !?
นพ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรศิริ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางคลินิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ความรู้ถึงการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวว่า การรักษามะเร็งสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยรังสี เคมีบำบัด อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยนำความก้าวหน้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ ยารักษาเฉพาะจุด ส่วนที่อาจทำให้มะเร็งหายไป คือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายไปเป็นตัวทำลายเซลล์มะเร็ง  ที่หลงเหลืออยู่และจากความรู้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ทราบว่ามะเร็งมี ต้นตอที่มีสภาพเป็นเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ของมะเร็ง และเซลล์นี้ก็ดื้อต่อยาเคมีบำบัด การฉายรังสีกับเคมี  ทั้งหลายจึงเป็นสาเหตุของ  การกลับคืนหรือการกระจายของโรค
 
ตาม ทฤษฎีการที่ร่างกายมีภูมิต้านทานไปควบคุมไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่ขยายตัว ได้ก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้มะเร็งไม่กลับมาอีก เป็นแนวความคิดการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ผ่านมาจากการวิจัยพบว่า การให้ภูมิต้านทาน หรือการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจเป็นวิธีการควบคุมโรคมะเร็งหรือทำให้ โรคมะเร็งถูกควบคุมได้และเมื่อถูกควบคุมได้ก็ไม่มีการ กลับมา ซึ่งมะเร็งส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นและที่คร่าชีวิตคนไข้ คือมะเร็งที่กลับมาใหม่ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ตรวจพบว่ามะเร็งกลับมา มะเร็งเหล่านั้นก็มักจะไม่หายขาดเป็นส่วนใหญ่
 
“การรักษาโรคมะเร็ง อาจจะยากกว่าโรคติดเชื้อ มะเร็งจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น มีการ    เปลี่ยนแปลงและ  มีการหลั่งสารบาง    อย่างออกมาทำให้เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวป้องกันเชื้อโรคหรือเซลล์ร้ายต่าง ๆ ไม่สามารถรับรู้จดจำได้ว่าเป็นมะเร็ง แต่ด้วยวิทยาการใหม่ ๆ สามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้กลับมาทำงานและต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ อย่างเช่น มะเร็งไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไฝดำ ฯลฯ ซึ่งการกระตุ้นภูมิ  คุ้มกันการให้เซลล์บางอย่างที่ผ่านการกระตุ้นจะมีประสิทธิภาพ ควบคุมเซลล์มะเร็งตลอด จนสามารถทำลายและคุมมะเร็งได้โดยมีผลข้างเคียงน้อย”
 
ความ รู้จากงานวิจัยจึงแสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันมีบทบาทที่จะควบคุมการกลับ มาของมะเร็ง โดยเฉพาะกรณีที่พบมะเร็งไม่มากหรือหลงเหลืออยู่ในร่างกายก็น่าจะเป็นบทบาท ที่ดีของการใช้ภูมิคุ้มกันเข้ามาบำบัด เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้ เพียงแต่ว่าจะต้องเลือกนำมาใช้ให้ถูกต้องโดยให้เหมาะต่อบุคคล ถูกต่อโรค
 
“การ รักษาโดยวิธีใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดยังอยู่ขั้นกึ่งวิจัยเนื่องจากมี ข้อมูลที่สนับสนุนงานวิจัยและ      มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งนี้  มีความสำคัญจึงพยายามที่ จะคิดค้นนวัตกรรมด้านนี้ออกมาและจากที่ผ่านมาที่ทำการวิจัยในสัตว์ทดลองระยะ เบื้องต้นพบว่าให้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจโดยผลข้างเคียงแทบจะไม่มี อย่างที่ผ่านมาก็มีเทคโนโลยีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเซลล์ในร่างกาย ให้มีความสามารถพิเศษในการทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเซลล์อย่างอื่น”
 
ใน วิธีการรักษารูปแบบนี้แน่นอนว่าจะต้องดูว่ามีความเหมาะสมกับมะเร็งชนิดไหน บางชนิดที่ทางคณะผู้วิจัยคิดว่าน่าจะได้ผล อย่าง มะเร็งไต มะเร็งไฝ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งลำไส้ ขณะที่มะเร็งตับ ก็ควรจะ  ได้ผลเช่นกัน เพราะเป็นที่ทราบกันว่ามะเร็งตับที่เกิดในประเทศไทยเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่ง ไวรัสทำให้ภูมิต้านทาน  ผิดปกติไป ฯลฯ
 
นอกจากนี้จากทฤษฎียัง พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตราความเสี่ยงของการกลับคืนของโรคหลังการรักษาจบ ลง หากตัดตอนการเกิดมะเร็ง    นำกลุ่มคนไข้เหล่านี้โดยเพิ่มภูมิต้านทานอาจทำให้ผู้ป่วย    มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรียก    ว่าหากรู้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดมะเร็งซ้ำหรือมีอัตราความเสี่ยงสูง การเพิ่มภูมิต้านทาน กลุ่มนี้อาจเป็นวิธีการป้องกันรักษาโรคได้ดี
 
แต่ อย่างไรก็ตาม การรักษาภูมิคุ้มกันบำบัดแม้จะเป็นงานวิจัยก็ต้องมีการควบคุมประเมินผลมี ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ส่วนเมื่อไหร่จะเห็นผลแล้วนำมาใช้ได้นั้น ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นการวิจัยเพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งซึ่ง ถ้ามีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นก็อยากจะนำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความจำเพาะที่จะ ทำลายเซลล์มะเร็ง การวิจัยนี้จึงเป็นเหมือนการสร้างวัคซีนให้กับคนไข้และในกระบวนการเหล่านี้ อาจเป็นวิธีการที่ดีในกรณีที่นำมาใช้รักษาตั้งแต่เริ่มต้น
 
การทำ วิจัยมีการควบคุมผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มีการติดตามผลมีรายงานชัดเจนเพราะต้องการสร้างสิ่งนี้ให้เป็นนวัตกรรมเป็น แนวทางการรักษาเสริมให้กับผู้ป่วยซึ่งการเสริมก็เท่ากับเป็นการป้องกัน อย่างในผู้ป่วยบางคนที่ไม่เหมาะกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือการรักษาใดเลย การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันอาจจะเป็นวิธีที่เหมาะสมเป็นการชะลอการเติบโตของ เชื้อโรค แม้ว่าโรคจะยังอยู่แต่ภูมิ  ต้านทานจะไปควบคุมโรคเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไข้ อีกทั้งเป็นความหวังการรักษา ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นทางออก อย่างหนึ่งและแม้ขณะนี้จะยังไม่สรุปผล แต่ทั้งนี้การวิจัยก็มีแนวโน้มไปในทางที่ดี
 
ท้ายที่สุดก่อนต้อง เผชิญหรือเสี่ยงต่อโรคมะเร็งร้าย แพทย์ท่านเดิมให้มุมมองแนะนำเพิ่มเติมว่า การรักษาด้วยวิธีทางเลือกซึ่งมีอยู่ไม่น้อยควรที่จะศึกษาเลือกในสิ่งที่ เหมาะสม มีหลักการสนับสนุน เลือกในสิ่งที่มีการวิจัยที่ถูกต้องตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษา การแปรผลอย่างถูกต้อง อีกทั้งควรขอคำแนะนำการรักษากับแพทย์เจ้าของไข้ว่า สิ่งที่กำลังสนใจมีเหตุผลหรือไม่
 
ส่วนการป้องกันนอกเหนือจากการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณ ค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกายและพักผ่อนที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว อีกสิ่งที่ต้องไม่ละเลยปฏิบัติ และพึงระมัดระวังโดยเฉพาะหากมีประวัติ มีความเสี่ยงควรได้รับการตรวจแต่เนิ่น ๆ เตือนตนเองไม่มองข้ามในสิ่งเหล่านี้.
รักษาโรคมะเร็งวิธีใหม่ ด้วยภูมิต้านทาน
(น.พ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรสิริ)

ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ใหม่ๆ และยารุ่นใหม่ที่
ถูกนำมาใช้เพื่อประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งมีมากขึ้น ยาเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ก็กำลังเริ่มใช้น้อยลง ขณะ
เดียวกันยาที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เริ่มแสดงบทบาทสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งร้ายเหล่านี้อย่างชัดเจนขึ้น
ความหลากหลายของการรักษาโรคเหล่านี้มีมากก็จริงอยู่ แต่ที่แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญ
ถึง หรือฝากความหวังว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย” อาจจะมีประสิทธิผลใน
การรักษาโรคมะเร็งให้หาย หรือรักษาให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวออกไปได้ การรักษาเหล่านี้มักจะมีผลข้าง
เคียงน้อยลง แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
เพื่อที่จะนำผู้อ่านให้เข้าใจถึงบทบาทของการใช้ภูมิต้านทาน (Immune) ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่าง
ไรนั้น เรามาเข้าใจถึง Concept ของภูมิต้านทาน (Immune) ต่อเซลล์มะเร็งเป็นอย่างไรก่อน
ปัจจุบันเรายังมีความเชื่อว่าเซลล์ของคนนั้นอาจจะกลายพันธุ์ หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
ด้วยผลจากยีนส์ที่ผิดปกติ หรือจากสิ่งแวดล้อมข้างเคียง (Environment) แต่เนื่องจากร่างกายมีเซลล์ภูมิต้านทาน
(Cellular Immune System) ที่คอยตรวจสอบทั่วไป เมื่อเซลล์ภูมิต้านทานเหล่านี้พบเซลล์ที่กำลังกลายพันธุ์ไปเป็น
มะเร็งนั้น เซลล์ภูมิคุ้มกันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งเหล่านี้เพื่อไม่ให้มีโอกาสขยายพันธุ์ได้ต่อไป เป็นการ
ควบคุมการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย แต่หากว่าร่างกายมีเซลล์ภูมิต้านทานที่ผิดปกติ เช่น เกิดจากความ
ผิดปกติของภูมิต้านทานอย่างไม่มีสาเหตุ , การติดโรคเอดส์ , อัตราการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วยเหล่านี้จะมีสูง
มากกว่าคนปกติอย่างชัดเจน ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) , วงการแพทย์เชื่อว่า
ยาเคมีบำบัดไม่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้หมดเอง แต่จะช่วยลดจำนวนเซลล์เหล่านี้ให้เหลือน้อยมากๆ จนเซลล์
ภูมิต้านทานสามารถจะกำจัดเซลล์มะเร็งได้หมด ซึ่งเป็นผลทำให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคมะเร็ง (Curable)
เหล่านั้นได้ แนวคิดเรื่องการปรับปรุงเพิ่มภูมิต้านทานต่อเซลล์มะเร็งจึงเป็นงานที่มีผู้สนใจ และศึกษากันอย่าง
กว้างขวาง และนำมาใช้ในทางคลินิกเพื่อรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
วิธีที่มีในปัจจุบันอาจจะยังแยกออกอย่างชัดเจนไม่ได้ ผู้เขียนขอสรุปแนวทางการรักษาโรคมะเร็งด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิต้านทานอย่างคร่าว ๆ ให้เห็นภาพรวมอย่างชัดเจน
การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูก และการให้เซลล์ภูมิต้านทานในการรักษาโรคมะเร็ง
การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกปัจจุบันทำได้ง่ายกว่าเดิมมาก เนื่องจากเรามีความรู้เกี่ยวกับเซลล์ต้น
กำเนิด (Stem Cell) อย่างมากมาย เราสามารถนำเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) มาขยายจำนวนได้ในหลอด
ทดลองแล้วนำไปให้ผู้ป่วยได้ Stem Cell นี้สามารถนำมาจากการคัดกรองเม็ดเลือดขาวของผู้บริจาค (Donor)
โดยเพียงแต่ให้เลือดผ่านเข้าเครื่องปั่น และคัดกรองเม็ดเลือด (Apheresis) หรืออาจจะเก็บจากเลือดของสาย
สะดือและรก (Umbilical Cord Blood) ในกรณีจากผู้บริจาค (Donor) เราไม่จำเป็นต้องเจาะโดยตรงจากไขกระดูก
ของผู้บริจาค แล้ว Stem Cell ที่ได้จากการทำ Apheresis จะให้ผลที่ดีในผู้ป่วย (Recipient) ในการเข้าไปเจริญ
เติบโต และทดแทนไขกระดูกของผู้ป่วยได้อย่างดีและรวดเร็วกว่า การปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกจะมีบทบาทมาก
ในการรักษาโรคมะเร็งของเม็ดเลือดทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน (Chronic and acute Leukemia) และโรค
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s and Non-Hodgkin’s Lymphome) เป็นส่วนใหญ่ ความเชื่อเนื่องจากการ
ให้ยาเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งร่วมกับการให้เซลล์ภูมิต้านทาน (T-Cell) จะสามารถช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งออก
ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเซลล์ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเอง ไม่มีความสามารถที่จะกำจัดเซลล์มะเร็ง
เหล่านั้นออกไปได้ ต้องใช้เซลล์ภูมิต้านทาน (T - Cell) จาก Donor เพื่อไปฆ่า หรือ ควบคุมเซลล์มะเร็งอย่าง
ได้ผล สิ่งที่ได้รับความสนใจในเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์นี้ คือ ขบวนการของ “Non-myeloabative Stem cell
Transplantation” ในการรักษาโรคมะเร็ง วิธีนี้บางทีเราเรียกแบบเล่น ๆ ว่า “Mini Transplantation” เพราะ
ขบวนการมีเพียงแต่การให้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย เพื่อให้เราสามารถที่จะนำเอาเซลล์ภูมิต้านทาน (T - Cell)
ใส่เข้าไปในผู้ป่วย และให้ขยายตัว เพื่อไปทำลายหรือควบคุมเซลล์มะเร็งตามทฤษฎีของภูมิต้านทานต่อโรค
มะเร็ง ขบวนการนี้พบว่าจะมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกอย่างเดิมอย่างมาก เพราะไม่
ต้องใช้ยาเคมีบำบัดในขนาดที่สูง และทำให้อัตราตายในระยะแรกของการรักษาต่ำลงอย่างชัดเจน การทำ
Minitransplant เพียงแต่ปรับร่างกายของผู้ป่วยให้ยอมรับเซลล์จาก Donor ได้ในขนาดที่พอเหมาะ เพื่อให้
T-Cell เติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งร้ายออกไปจากร่างกาย, การทำการรักษาวิธีนี้จะต้องหา Donor ที่เหมาะสม
จึงจะทำให้ผลการรักษาออกมาดี รายงานที่แสดงถึงประโยชน์ของการทำ Minitransplant นี้มีเพิ่มขึ้น ทั้งในการ
รักษาโรคมะเร็งของเม็ดเลือดขาว ทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง และรายงานล่าสุด
ที่แสดงถึงความสามารถที่จะควบคุมโรคมะเร็งของไตที่แพร่กระจายได้อย่างดี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Mini-
transplant คือ สามารถทำการรักษาได้ในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีได้ เพราะเดิมการทำ Stem Cell transplant
ในผู้ป่วยเกิน50 - 55 ปี มักจะมีอัตราตายที่สูงมาก
การใช้สารภูมิต้านทาน (Passive antibody) ในการรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันนี้มีสารภูมิต้านทาน (Antibody) ใหม่ๆ ที่มีบทบาทในการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่
ที่เห็นว่ามีการนำมาใช้มาก คือ การรักษาโรคมะเร็งเต้านม และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การใช้สารภูมิต้านทานในการรักษามะเร็งเต้านม - บทบาทของ antibody ต่อ Growth factor receptor,
ที่ชื่อว่า Her-2/Neu มีมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่ามะเร็งของเต้านมพบมากในสตรี และเป็นโรคที่สามารถรักษา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้เรื่องของ Her-2/Neu Expression ในตัวเซลล์มะเร็งมักจะเป็นเครื่องหมายที่บอก
ถึงความร้ายแรงของเซลล์มะเร็ง Her-2/Neu จะแสดงออกใน 20 - 30% ของผู้ป่วยมะเร็งของเต้านม แต่มักจะมี
การต้านยาเคมีบำบัดบางชนิดอย่างชัดเจน การใช้ยาชื่อ Herceptin ร่วมไปกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่า
ได้ผลที่ดีกว่าการใช้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว การนำ Herceptin มาใช้ทางคลินิกปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยนี้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษานั่นเอง ยานี้มีราคาค่อนข้างแพง แม้ว่าผลข้าง
เคียงมีไม่มาก แต่พบว่าสามารถทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติได้ในผู้ป่วยบางราย รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
ของเซลล์ไขกระดูกด้วย การใช้ยานี้จึงควรอยู่ในการดูแลใกล้ชนิดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การรักษาโรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองด้วย Antibody
ปัจจุบันเรามีประสบการณ์ที่จะใช้สารภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อ CD-20 recepter ของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ชนิด B-Cell อย่างได้ผล ยานี้โดยตัวเองสามารถนำมาใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-Cell ได้อย่างได้ผล
และมีผลข้างเคียงน้อยมาก โดยจะใช้เดี่ยวหรือร่วมกับยาเคมีบำบัดก็ได้ ยาที่มีชื่อว่า Rituximab ซึ่งเชื่อว่ายาจะ
ไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เกิดขบวนการตายของเซลล์ (Program Cell Death) ทำให้รักษาหรือควบคุมเซลล์มะเร็ง
ได้ ยาในกลุ่มนี้ได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง โดยการเพิ่มสารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้าไปที่ Antibody เพื่อที่ยาจะเข้า
ไปจับเฉพาะกับเซลล์มะเร็ง และรังสีที่มีขนาดน้อยๆ นี้จะไปฆ่าเซลล์มะเร็งในเฉพาะที่อย่างได้ผล ในงานวิจัย
ของยาในรุ่นใหม่นี้ พบว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากไขกระดูกได้หมดในผู้ป่วยบางราย
ยา Rituximab เองมีจำหน่ายและใช้ในประเทศไทยแล้วแต่ราคาเป็นปัญหา เพราะมีราคาแพง จึงควร
จะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
การใช้วัคซีนในการรักษาโรคมะเร็ง
บทบาทในการใช้ และการพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคมะเร็งนี้เกิดมาจากความรู้ที่ว่าถ้าเราสามารถเพิ่ม
ประสิทธิภาพของเซลล์ภูมิต้านทาน (Cellular Immune Response) ให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งแล้ว
จะทำให้ร่างกายมีความสามารถที่ทำลาย หรือควบคุมเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลเหล่านี้สามารถ
แสดงให้เห็นได้ในสัตว์ทดลอง วัคซีนปัจจุบันนี้มี 2 แบบใหญ่ ๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
1. วัคซีนโดยใช้เซลล์มะเร็ง (Tumor Vaccine) การที่เราทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนตัวลง หรือตาย รวมถึง
หมดสภาพที่จะขยายพันธุ์ต่อไป , หรืออาจจะเป็นเพียงบางส่วนของเซลล์ หรือสารจากเซลล์มะเร็ง (Peptide) เพื่อ
กระตุ้นหรือสอนให้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยสามารถต่อต้าน หรือกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ขบวนการนี้ได้นำมาทดลอง
ในการรักษาโรคมะเร็งของผิวหนัง melanoma , มะเร็งของเต้านม , มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และมะเร็งของต่อม
น้ำเหลือง , การศึกษาวิจัยกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางรายงานที่แสดงว่าการใช้วัคซีนที่กระตุ้นจาก
เซลล์มะเร็งของผู้ป่วยเองสามารถทำให้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่มีชีวิตที่ยืนยาวออกไป หรือช่วยป้องกัน
การกลับคืนมาของมะเร็งได้บางส่วน คงจะต้องติดตามดูบทบาทเหล่านี้ของวัคซีนชนิดนี้ต่อไป
2. การใช้ Dendritic Cell Vaccine , Dendritic Cell (DC) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สำคัญในการส่งป้อนข้อมูล
เกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอมให้กับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเฉพาะทางด้าน Cellular Immune System หรือ
T-Cell DC เป็นตัวกระตุ้น T-Cell ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทำให้ T-Cell สามารถเรียนรู้ว่าเซลล์แปลกปลอม
หรือเซลล์มะเร็งเป็นอย่างไร และยังผลให้ T-Cell มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น DC เป็นเซลล์
ที่มีอยู่ในร่างกายสามารถกระตุ้นได้ด้วยสาร Cytokine บางตัวให้เพิ่มปริมาณ DC ในร่างกาย การที่จะป้อนข้อมูล
ผ่าน DC เป็นขบวนการที่ไม่ซับซ้อนนัก เช่นการใช้ peptide หรือสารสกัดจากมะเร็งของเต้านมต่อ DC ในหลอด
ทดลอง และนำกลับไปฉีดคืนให้ผู้ป่วยเพื่อสารภูมิต้านต่อมะเร็งของเต้านม, การใส่ยีนส์บางชนิดที่เป็นส่วนสำคัญ
ของเซลล์มะเร็งเข้าไปใน DC แล้วให้ DC แสดงส่วนของยีนส์นี้ออกมาที่ผิวของเซลล์แล้วนำไปสอนหรือป้อนให้
กับ T-Cell เพื่อสุดท้ายทำให้ T-Cell มีประสิทธิภาพที่จะทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะชนิดนั้นๆ ได้ ขบวนการนี้คือ
“Gene Therapy” หรือ การรักษาด้วยยีนส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิต้านทานโรคต่อมะเร็งร้ายนั่นเอง
โดยสรุป การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ขบวนการใหม่นำไปสู่ผลลัพธ์ของ
การรักษาโรคมะเร็งให้ดีขึ้น , การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด , ฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดอาจจะไม่ใช่
เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะรักษาโรคนี้ ท่านต้องถามตัวท่านเองว่าเราได้ศึกษาหาวิธีการรักษา (Option) ได้ครบ
ถ้วนหรือยัง, ผู้ป่วย คือ ผู้ที่ต้องการความกระจ่าง และต้องการทราบแนวทางที่เราสามารถจะให้ได้เพื่อตัวของ
ผู้ป่วยเอง แพทย์และผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นต้องค้นหาคำตอบเหล่านี้ตลอด จริงไหมครับ.
การรักษามะเร็งผิวหนัง ด้วยวิธี Mohs
(Mohs Micrographic Surgery)
ภาควิชาตจวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มะเร็งผิวหนัง
    มะเร็ง ผิวหนังเป็นมะเร็งที่เจริญช้า ๆ อย่างไร้ทิศทาง มีการแพร่กระจายไปทางกระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองน้อยมาก มักพบบริเวณศีรษะ คือ ประมาณ 80-90% และที่ใบหน้า 65% ได้แก่ ตา หู จมูก การรักษามะเร็งผิวหนังจะได้ผลดีถ้าพบในระยะแรกเริ่มมีอาการ

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งผิวหนัง
1. แสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลตทั้ง UVA และ UVB
2. สารเคมี เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ
3. แผลเป็นเนื่องจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาจทำให้กลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
4. มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
1. ผื่นหรือก้อนที่เป็นอยู่เดิมมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไป
2. มีผื่นหรือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่และไม่หายใน 4-6 สัปดาห์
3.ไฝ ปานที่โตเร็ว มีสีและรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการคันแตกเป็นแผล และมีเลือดออก
4. แผลเรื้อรังไม่หายภายใน 4 สัปดาห์

การรักษามะเร็งผิวหนัง
    การรักษามะเร็งผิวหนัง วิธีที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังออกให้หมด ถ้ารอยโรคมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร อาจใช้วิธีรักษาโดยการขูดออกร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว แต่ถ้ามะเร็งกระจายไปส่วนอื่นแล้วต้องใช้เคมีบำบัด บางครั้งอาจต้องใช้การฉายแสงร่วมด้วย เช่น มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูกและสมอง การผ่าตัดมะเร็งผิวหนังออกให้หมดยังมีปัญหาเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ขอบเขต การกระจายของมะเร็ง นายแพทย์ Frederic E Mohs จึงคิดค้นวิธีการผ่าตัดที่เรียกว่า Mohs Micrographic Surgery (MMS) ซึ่ง จะช่วยผ่าตัดมะเร็งผิวหนังออกได้หมด ถึงแม้ขอบเขตของมะเร็งจะเห็นไม่ชัด และสูญเสียเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบ ๆ รอยโรคได้น้อยที่สุด การรักษาวิธีนี้ได้ผลดี 90-95%
การทำผ่าตัดด้วยวิธี MMS
    เป็น การตัดเฉพาะมะเร็งผิวหนังออกได้หมด โดยมีการเสียผิวหนังปกติที่อยู่ข้างเคียงน้อยที่สุดด้วยวิธีการตัดมะเร็งออก ทีละชั้นเป็นชั้นบาง ๆ และจี้ด้วยไฟฟ้าเพื่อห้ามเลือดก่อนปิดแผลด้วยผ้ากอซแล้วน้ำชิ้นเนื้อไปตรวจ ทางพยาธิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูว่าตำแหน่งใดที่ยังมีมะเร็งเหลืออยู่ ผู้ป่วยนั่งรอผลการตรวจชิ้นเนื้อประมาณ 2 ชั่วโมง ถ้ายังพบเซลล์มะเร็ง แพทย์จะกลับไปตัดซ้ำด้วยวิธีเดิมในตำแหน่งที่มีมะเร็งเหลืออยู่จนกว่าจะไม่ พบเซลล์มะเร็งผิวหนังเหลืออยู่ที่บริเวณรอยโรคนั้น บางครั้งอาจต้องทำผ่าตัดซ้ำด้วยวิธีเดิม 2-3 ครั้งหรือมากกว่านั้น หลังจากนั้นทำการปิดแผลโดยการเย็บแผลหรือปล่อยให้แผลหายเองตามความเหมาะสมแต่ละราย

มะเร็วผิวหนังที่ควรรักษาด้วยวิธี MMS
1. มะเร็งผิวหนังที่กลับเป็นซ้ำ
2. มะเร็งผิวหนังมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร
3. มะเร็งผิวหนังปฐมภูมิ
4. มะเร็งผิวหนังที่เจริญอย่างรวดเร็วและรุนแรง
5. มะเร็งผิวหนังที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน
6. มะเร็งผิวหนังที่เกิดบนแผลเป็น
7. มะเร็วผิวหนังที่ตัดออกไม่หมด หลังทำการผ่าตัดด้วยวิธีธรรมดา

คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนทำผ่าตัด
- การผ่าตัดวิธีนี้ สามารถทำเสร็จในวันเดียวไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ดังนั้น ผู้ป่วยควรพาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเวลากลับบ้าน
- พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันผ่าตัด
- ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ในวันผ่าตัด
- ถ้ามีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เช่น โรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำควรงดรับประทานยานี้อย่างน้อย 10 วัน ก่อนวันผ่าตัด เพื่อป้องกันเลือดออกมากเวลาทำการผ่าตัด
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 วันก่อนวันผ่าตัด

คำแนะนำหลังการทำผ่าตัดด้วยวิธี MMS
- กรณีที่ไม่เย็บปิดแผล ไม่ควรให้แผลถูกน้ำภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทำผ่าตัด และควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือ (normal saline) แล้วเช็ดแผลให้แห้ง หาครีมปฏิชีวนะก่อนปิดแผลเช้าและเย็น จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- กรณีที่เย็บปิดแผล ไม่ควรให้แผลถูกน้ำจนถึงวันนัดตัดไหม ถ้าแผลเปียกน้ำให้ทำแผลเปลี่ยนผ้าปิดแผลใหม่
- ถ้าพบว่ามีเลือดออกจากแผลที่ทำผ่าตัด ให้ใช้ผ้าสะอาดกดตรงบริเวณบาดแผลนานประมาณ 20 นาที เลือดที่ออกจะหยุด ถ้าเลือดไม่หยุดไหลให้รีบมาพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการห้ามเลือดและปิดแผลใหม่
- ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับแผล เช่น บวมมาก มีหนองไหลออกจากแผล ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
- ถ้ามีอาการปวดแผล ให้รับประทานยาพาราเซตามอล (paracetamol) 500 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกง่าย
- มารับการตรวจตามที่แพทย์นัดทุกครั้งคือ 1 สัปดาห์ 1 เดือน หลังจากนั้นปีละครั้ง เป็นเวลา 3-5 ปี เพื่อติดตามการเกิดมะเร็งเป็นซ้ำขึ้นมาอีก
- ถ้ามีก้อนหรือผื่นเกิดขึ้นมาใหม่ในบริเวณรอยโรคเดิม ต้องรีบมาพบแพทย์ตรวจไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
การป้องกัน
แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังเราควรหลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมใด ๆ กลางแจ้ง ในช่วงเวลาประมาณ 9.00-17.00 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่แสงแดดแผ่รังสีสูงสุด
-ใช้ยากันแดดที่มีค่า SPF มากกว่าหรือเท่ากับ 15 โดยใช้ทาก่อนออกแดด 15 นาที และหลังว่ายน้ำหรือออกกำลังกายควรทายากันแดดซ้ำอีกครั้ง
- ก่อนออกนอกบ้านควรสวมหมวกปีกกว้าง และใส่เสื้อปกปิดเพื่อป้องกันแสงแดด
- ผู้ป่วยมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรมาพบแพทย์เพื่อการตรวจค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก



INSURANCETHAI.NET
Line+