ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
586

ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ปัจจุบันมีการค้นพบยาใหม่ที่สามารถพิชิตโรคมะเร็ง ร้ายได้แล้ว จากรายงานพบว่าคนไข้หญิงป่วยด้วยโรคมะเร็งชนิด chronic myeloid leukemia ซึ่งแพทย์ทำนายว่าจะมีชีวิตอีกเพียง 2-3 เดือนได้ทดลองใช้ยา Glivec (ชื่อสามัญ Imatinib mesylate) พบว่ามีอาการดีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ หลังจากใช้ยา 6 เดือนตรวจไม่พบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก และในอีก 5 เดือนต่อมาก็กลับมีร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิม นอกจากนี้คนไข้ชายอีก 1 รายที่เกือบฆ่าตัวตายเพราะปวดกระดูกที่ถูกฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เมื่อรับยา Glivec ก็หายดีเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ยาชนิดนี้แล้ว และนักวิจัยกำลังอยู่ระหว่างศึกษาว่าจะสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง กระเพาะอาหารได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ดียังไม่สามารถสรุปว่าจะใช้ยานี้ได้กับทุกคน และยังไม่มีข้อมูลเรื่องช่วงเวลาที่ต้องใช้ยาซึ่งไม่แน่ว่าอาจต้องใช้ตลอด ชีวิต หรือการได้รับยาอย่างต่อเนื่องก็ไม่แน่ใจว่าโรคยังอาจจะย้อนกลับมาได้ในภาย หลังหรือไม่
ยา Glivec นี้ใช้เวลาทำการวิจัย 30 ปี นับตั้งแต่ประธานาธิบดี Nixon ประกาศสงครามกับโรคมะเร็ง แต่เดิมการรักษาส่วนใหญ่มักจะล้มเหลวหรือได้ผลน้อย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด ฉายแสง หรือใช้สารเคมี (chemotherapy) เพราะมีผลข้างเคียงและกำจัดเซลล์มะเร็งได้ไม่หมด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีการศึกษาวิจัยจนมีองค์ความรู้ทางวิชาการของมะเร็ง ในระดับโมเลกุลอย่างมากมาย และมีการทดลองผลิตยาเพื่อรักษาและรอการทดสอบทางคลินิคหลายตำรับซึ่งได้รับ การยอมรับจากสมาคมแพทย์นานาชาติสาขามะเร็ง ยาที่นำมาทดลองมีทั้งชนิดที่มุ่งเน้นการป้องกันสารที่เรียกว่า Growth factor ไม่ให้มีโอกาสเข้าสู่เซลล์มะเร็ง การหยุดยั้งสัญญานที่กระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งโดยขาดการควบคุม การบังคับให้มีจำนวนเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติเท่าๆกันเพื่อบังคับให้เซลล์ มะเร็งบางส่วนต้องถูกทำลาย หรือการสกัดกั้น enzyme ที่มีหน้าที่เปิดประตูเซลล์ปกติให้ถูกทำลาย เป็นต้น และที่น่าสนใจคือพบยาที่มีคุณสมบัติเป็น angiogenesis inhibitor ทำลายหลอดเลือดฝอยของเซลล์มะเร็งซึ่งค้นพบโดยทีมนักวิจัยเรื่อง human genome เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้ทดลองยานี้กับลิง พบว่าสามารถทำให้อาการป่วยใกล้ตายทุเลา
แต่เดิมมียารักษามะเร็งหลายชนิดที่มีผลต่อการทำลายเซลล์มะเร็งโดยไปยับยั้งการทำงานของ growth factor แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายเซลล์ปกติของร่างกายได้ด้วย ดังนั้นยา Glivec และ Tarceva (รักษามะเร็งปอด) จึงเป็นทางเลือกใหม่เพราะมีบทบาทในการยับยั้งการทำงานของ enzyme tyrosine kinase และ enzyme caspaces ทำให้เซลล์มะเร็งไม่เจริญเติบโตเพราะไม่มีการสร้างซ่อม DNA ในกระบวนการแบ่งเซลล์ของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้มีการค้นพบว่าสารที่มีชื่อว่า proteosomes สามารถช่วยให้เซลล์มะเร็งมีอายุยืน บริษัทยาจึงได้ผลิตสารที่ยับยั้งการทำงานของ proteosomesนี้ขึ้นมา ซึ่งนำมาใช้ยับยั้งเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็งบางประเภทในระยะที่ 1 และ 2 ได้
จากข้อเท็จจริงที่ว่าสารกลุ่ม angiogenesis ช่วยกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดของเซลล์มะเร็งเพื่อแย่งออกซิเจนและสารอาหาร จากหลอดเลือดกับเซลล์ปกติ ดังนั้นในปี ค.ศ.1970 จึงมีการวิจัยเพื่อค้นหาสารยับยั้งกระบวนการนี้ และมีการทดลองทั้งทางห้องปฏิบัติการ ใช้สัตว์ทดลอง และทางคลินิคกับผู้ป่วย ปัจจุบันได้มีการทดลองสารนี้ไปแล้วประมาณ 402 ชนิด พบว่าคนไข้บางรายหายขาดจากโรคมะเร็ง บางรายเซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโตหรือฝ่อลง ซึ่งในกรณีไม่หายขาดนี้หากมีการใช้วิธีรักษาอื่นๆร่วมด้วยก็จะสามารถหายขาด จากโรคมะเร็งได้ จากการประชุมของผู้เชี่ยวขาญด้านเนื้องอกวิทยานานาชาติ (Oncologist Meeting) มีข้อเสนอแนะว่าให้ทำการศึกษาโดยมุ่งเน้นไปที่ dendritic cell ซึ่งเป็นเซลล์เล็กๆในกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยให้นำเซลล์มะเร็งออกมาจากคนไข้แล้วดัดแปลงพันธุกรรมในส่วนของฮอร์โมนให้ ไม่สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งได้ แล้วนำไปผสมกับ dendritic cell ทำเป็นวัคซีนฉีดให้แก่ผู้ป่วย พบว่าในกรณีของผู้ป่วยมะเร็งปอด 22 ราย อาการหายขาด 3 ราย และมะเร็งหยุดเจริญ 4 ราย เมื่อทดลองในผู้ป่วยโรคมะเร็งอื่นก็พบว่าหายจากโรคได้เช่นเดียวกัน
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เริ่มเป็นระยะแรก และสามารถรักษาด้วยยาที่นอกจากจะต่อต้านมะเร็งแล้วยังช่วยบรรเทาอาการปวดได้ด้วย มีข้อคิดเห็นจากนักวิจัยว่าใน 5 ปีข้างหน้าอาจจะมีการรักษามะเร็งโดยใช้ยาเฉพาะสำหรับคนไข้แต่ละคน โดยตรวจความผิดปกติของยีนในคนไข้นั้นแล้วใช้ยารักษาที่มีผลเฉพาะเจาะจงซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่ายาทั่วไป มีการทำนายว่าแม้แต่ยา Glivec ที่เพิ่งค้นพบใหม่ก็อาจจะล้าสมัยเร็วเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมากประมาณ 3,000 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งราคายาที่แพงนี้เนื่องมาจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา 15 ปีในด้านนี้ใช้จ่ายเงินไปประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ มียาที่ประสบความล้มเหลวประมาณ 5,000 ชนิด และสหรัฐอเมริกามีแผนการวิจัยยาโดยลงทุนปีละ 150 ล้านดอลลาร์ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2011 จะมียารักษามะเร็งที่ได้ผลและใช้ง่ายจนผู้ประกอบอาชีพ oncologist อาจจะตกงานได้

http://www.dmsc.moph.go.th



INSURANCETHAI.NET
Line+