กินอาหารเป็นยา
590

กินอาหารเป็นยา

Let food be your medicines and medicines be your food” หรือ “จงทำอาหารให้เป็นยา และทำยาให้เป็นอาหาร” เป็นคำที่ ฮิปโปรเครตีส บิดาแห่งการแพทย์ของชาวกรีกได้กล่าวไว้เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล แม้ ว่าทุกวันนี้โลกจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากในหลายด้าน รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่คำกล่าวนี้ไม่ได้ล้าสมัยไปตามกาลเวลา กลับเป็นศาสตร์ที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง

ใน อดีตมีหลายวัฒนธรรมที่นำพืชผักสมุนไพร เครื่องเทศ และสัตว์ชนิดต่างๆ มาใช้ในการประกอบอาหารเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพและรักษาอาการโรคบางชนิด หรือที่ทุกวันนี้มีการจัดศาสตร์เหล่านี้ว่าเป็นแพทย์แผนโบราณหรือภูมิปัญญา ชาวบ้าน จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการค้นคว้าเชิงลึก ถึงสารในอาหารที่มีสรรพคุณช่วยในการป้องกันหรือรักษาโรค ซึ่งสารเหล่านั้นแบ่งได้หลายประเภทและมีชื่อเรียกมากมาย เช่น สารพฤกษเคมี สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น และมีการสกัดสารทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปของเม็ดยาราคาแพงหลากหลาย ชนิดอีกด้วย

อย่างไรก็ดีสารทุกชนิดที่อยู่ใน อาหารมีการทำงานร่วมกันอย่างสมดุล การกินอาหารเป็นยาย่อมให้ผลดีต่อสุขภาพโดยรวมมากกว่ามีรสชาติอร่อย และราคาถูกกว่าการกินในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดสารเพียงชนิดเดียว ออกมา ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารบางชนิดมากเกินไปด้วย ลอง มาดูกันซิคะว่าอาหารที่คุณชอบมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร และมีเหตุผลดีๆ อะไรบ้างที่จะทำให้คุณเปลี่ยนใจมารับประทานอาหารที่ไม่ค่อยชอบให้บ่อยมาก ขึ้น

อาหารองค์ ประกอบหลัก ประโยชน์ต่อสุขภาพ

กระเทียม
o สารประกอบออกาโนซัลเฟอร์ (แอลลิซิน)
o ลดเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล
o ฆ่าเชื้อในปากและลำคอ รักษาทอนซิลอักเสบที่เริ่มเป็น

กล้วย
o บรรเทาโรคกระเพาะ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แก้ท้องเสีย

กะหล่ำปลี และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บร็อคโคลี ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก และ หัวบีท
o Glucocinolates indoles
o ป้องกันและลดความรุนแรงของมะเร็งลำไส้
o Gefarnate
o บรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

ขมิ้น
o เคอร์คิวมิน
o ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ข้าวโอ๊ต
o ใยอาหารชนิดละลายน้ำ
o ลดเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล

ขิง
o ป้องกันอาการเมารถ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยยับยั้งการจับตัวของลิ่มเลือด

แครอท
o เบตาแคโรทีน
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปอด

ชา
o คาเฟอีน
o แทนนิน
o ฟลูออไรด์
o กระตุ้นสมอง
o แก้ท้องเสีย
o ป้องกันฟันผุ

ชาเขียว
ชาดำ
o แคททีซิน
o โพลีฟีนอล
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ เป็นต้น
o กรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินอี
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

น้ำแครนเบอร์รี่
o โปรแอนโธไซยานิดินส์
o ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

น้ำองุ่น / ไวน์
o ฟีนอล / เรสเวอร์ราทรอล
o ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ต้านไวรัสและมะเร็ง

ปลาทะเล
o กรดโอเมกา 3
o ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ผักโขม / คะน้า
o ลูทีน / ซีแซนทิน
o ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม

พริก
o แคปไซซิน
o ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งเมื่อเป็นหวัด ช่วยลดอาการหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยขับลม ทำให้อยากอาหาร

พริกไทย
o โอลีโอเรซิน / ไพเพอรีน
o ฟีนอลิก
o ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
o ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิด
o ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

พรุน
o เป็นยาระบาย รักษาอาการท้องผูก

มะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ

o ไลโคพีน
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โยเกิร์ต
o โพไบโอติคส์
o ช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อแล็กโทบาซิลลัสในลำไส้ จึงช่วยป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย

สตรอเบอร์รี
o โพลีฟีนอล / วิตามินซี
o ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด

หอมแดง / หอมใหญ่
o ไซโคลอัลลิอิน
o ช่วยละลายลิ่มเลือด
o เพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (คอเลสเตอรอลชนิดดี) และลดระดับคอเลสเตอรอลรวม

แอปเปิล
o เพกทิน (ใยอาหารชนิดละลายน้ำ)
o ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด



INSURANCETHAI.NET
Line+