โบรกเกอร์เจอศึกหนักแบงก์คอมม์หด
60

โบรกเกอร์เจอศึกหนักแบงก์คอมม์หด

โบรกเกอร์เจอศึกหนักแบงก์คอมม์หด

2553 ธุรกิจนายหน้าประกันภัยหืดจับไม่แพ้ปีก่อนหน้า โดยนายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย (โบรกเกอร์) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจนายหน้าประกันภัยในปี 2553 ว่า ยังคงเติบโตได้อยู่ตามการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย แต่การแข่งขันจะหนักหน่วงมาก โดยเฉพาะจากช่องทางธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) เพราะเชื่อ ว่าธนาคารพาณิชย์จะรุกขายประกันผ่านธนาคารมากขึ้นเพราะฐานยังต่ำอยู่มาก สามารถแนะนำลูกค้าธนาคาร ซื้อประกันเพิ่มได้อีกทำให้การขยายตัวของแบงก์แอสชัวรันส์มีมาก

ทั้งนี้ โบรกเกอร์ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือนิติบุคคลรายเล็กรวมถึงนายหน้าบุคคลธรรมดาที่มีอยู่จำนวนมาก

หากเป็นนายหน้าที่ขายประกันรถ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันรถภาคบังคับ) อย่างเดียวหรือขายประกัน พ.ร.บ. เป็นหลักผลกระทบไม่ใช่มีแค่การแข่งขันจากแบงก์เท่านั้น แต่ ยังมีแรงกดกันจากประกันตาม พ.ร.บ. ที่มีการเพิ่มความคุ้มครองกว่าเท่าตัวทำให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสิน ไหมทดแทนเพิ่มขึ้นจะลดผลตอบแทนที่จ่ายให้กับนายหน้าทำให้นายหน้ากลุ่มนี้มี รายได้ลดลงมากรายได้อาจจะหายไป 50% อาจจะต้องปิดบริษัทลงหรือออกไปจากวงการ

สำหรับนายหน้านิติบุคคลที่ทำธุรกิจจริงจังให้บริการลูกค้าต่อเนื่องยัง ดำเนินธุรกิจได้ดีอยู่เพราะนายหน้ากลุ่มนี้ไม่ได้เน้นขายประกันพ.ร.บ.หรือ แบบประกันง่ายๆ ที่พนักงานแบงก์ทั่วไปสามารถขายได้ แต่จะขายแบบประกันที่มีความซับซ้อนต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ อาทิ ประกันสรรพภัย (All Risk) ประกันทางทะเลและขนส่ง (มารีน) ประกันความ รับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (liability)

“ถามว่าปีหน้านายหน้าจะทำธุรกิจลำบากกว่าปีนี้หรือไม่คงไม่เพราะปีนี้ เศรษฐกิจไม่ดีทำธุรกิจยาก แต่ปีหน้าเศรษฐ กิจดีก็จริง แต่จะเจอการแข่งขันรุนแรงจาก แบงก์ กอปรกับรายได้จากการขาย พ.ร.บ. ลดไปเยอะจากที่เคยได้ 100 บาทอาจจะเหลือ 50 บาทแถม 50 บาทอาจจะไม่ได้เพราะเจอคู่แข่งตัดหน้าเอาลูกค้าไป หาก นายหน้ากลุ่มนี้อยากอยู่ในอาชีพต่อไปต้องพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญหันไปขายแบบประกันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้มีช่องทางหา รายได้ใหม่”

นายเรืองวิทย์กล่าวว่า กฎกติกาใหม่ๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เริ่มใช้บังคับแล้วซึ่งจะเข้มงวด มากขึ้นในปี 2553 นี้หลังจากปี 2552 อยู่ ในช่วงผ่อนผันจะส่งผลกระทบต่อการขยายธุรกิจของโบรกเกอร์เช่นกัน
   
ที่มา : สยามธุรกิจ



INSURANCETHAI.NET
Line+