หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"
644

หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

หลายคนพอรู้ตัวว่าเป็น “มะเร็งระยะสุดท้าย” อยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ตาย
เพราะรับรู้ได้ถึงเงาของมัจจุราชที่ยืนอยู่ใกล้ร่างเต็มที
จากร่างที่เคยมีแรง กลับทรุดตัวลง เหมือนคนไร้วิญญาณไปชั่วขณะ
ผวา หวาดกลัว สมอง ณ ห้วงเวลานั้น
สร้างภาพความคิดสลับขึ้นมามากมาย
“เราจะตายหรือเปล่า” “ไม่ตายสิ มันไม่จริง” “หมอตรวจผิดหรือเปล่า”
“สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยลูกช้างด้วย”
“ถ้าเป็นมะเร็งจริง จะมีทางรักษามั้ยเนี่ย” “โอ๊ย...เครียด” ??


ความคิด ดังกล่าวผุดขึ้นลงซ้ำซาก เวียนวนนึกคิดอยู่ตลอดเวลา
เหมือนคนจิตไม่ปกติ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
ส่งผลให้สภาพจิต และสภาพกายแย่ลงทุกวัน
แย่จนไม่อยากทนความเจ็บปวด และทนทรมานกับโรคร้ายที่เป็นอยู่ได้อีกต่อไป


“มะเร็ง” โรคร้ายรักษาได้ ด้วยอาหารบำบัด


นพ.สำราญ อาบสุวรรณ อายุ 58 ปี
หนึ่งในผู้ป่วยที่เคยตรวจพบมะเร็ง เมื่อปี พ.ศ.2546
โดยตรวจพบมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง
และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกายเกือบทุกส่วนแล้ว
จนหมอต้องบอกว่า สามารถยื้อชีวิตได้เพียง 3-4 เดือนเท่านั้น


“ขณะนั้นผมอายุ 54 ปี หลังได้ยินประโยคคำพูดของหมอ
บอกตามตรงว่าหัวใจเต้นถี่ และแรงมาก
จากร่างกายที่เคยเป็นคนแข็งแรง กลับต้องมาทรุดตัวลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
จึงหวนคิดกับตัวเองว่า เราเป็นมะเร็งได้อย่างไร
เพราะตรวจสุขภาพ กินอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด”
นพ.สำราญ เผยถึงความรู้สึก


ก่อนจะไปพบหมอ นพ.สำราญ เล่าอาการว่า จะเจ็บชายโครงด้ายขวา
หอบเหนื่อยผิดปกติ หลังจากวินิจฉัยแล้ว พบก้อนที่ปอดข้างขวา
มีน้ำท่วมปอด 200 ซีซี เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังเยื้อหุ้มปอด
ต่อมขั้วปอด กระดูกซี่โครงที่ 7 กระดูกไขสันหลังที่ 5 กระดูกสะบัก 2 ข้าง
ต่อมหมวกไตข้างขวา และไหปลาร้า 2 ข้าง ถูกมะเร็งกินหมด
หมอบอกว่า อยู่ได้อย่างมาก 4 เดือน
ตอนนั้นคิดมาก หัวใจหดหู่จนไม่อยากทำอะไร แม้กระทั่งข้าวก็ไม่อยากกิน


หลายปีผ่านไป นพ.สำราญ ได้ย้อนนึกถึงน้องสาว
ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเหมือนกัน แต่กลับรักษาหายได้อย่างปาฏิหาริย์
จึงขอคำแนะนำ และพบว่า เธอใช้การแพทย์แบบผสมผสาน หรือแพทย์ทางเลือก
ซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลอีกรูปแบบหนึ่ง
แตกต่างไปจากแพทย์แผนปัจจุบัน เน้นการรักษาตามธรรมชาติแทนการใช้ยาเคมี
เช่น เลือกสรรอาหาร พืชผัก สมุนไพร ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
การออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ การพักผ่อน
การฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจเหล่านี้
ล้วนเป็นวิถีเพื่อสุขภาพที่ประหยัดตามแนวรักษาแบบธรรมชาติ
เพื่อสร้างเสริมภูมิชีวิต และภูมิต้านทานต่อโรคที่แข็งแรง


“ผมใช้แพทย์ทางเลือกแนวธรรมชาติบำบัดควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน 2 เดือน
ก้อนมะเร็งยุบไป 20% ให้ยาเคมี 6 ชุด
จนกระทั่ง 9-10 เดือน หลังให้เคมีบำบัดก้อนยุบไปหมด
จากนั้นจึงใช้แพทย์ทางเลือก โดยใช้หลักของ เกอร์สัน เทอราปี
(อาหารบำบัดรักษามะเร็ง) ในการดูแลตัวเองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ผมอยากจะบอกคนที่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง อย่าคิดในกรอบ ให้คิดนอกกรอบ
เพราะมะเร็งคือโรคที่หายโดยเรา 50% หมอ 50% ด้วยการปรับวิถีการกิน
เลือกอาหารสุขภาพ เช่น ผัก และผลไม้ มีการล้างพิษ หรือทำดีท็อกซ์บ้าง เป็นต้น”
นพ.สำราญ แนะนำพร้อมเผยวิธีการดูแลตัวเอง


นอกจากนี้ นพ.สำราญ ยังให้ความรู้เสริมว่า ปกติร่างกายของมนุษย์ทุกคน
จะมีเซลล์ที่กลายพันธุ์ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งกระจัดกระจาย
อยู่ตามเนื้อเยื่อตามอวัยวะของร่างกายอยู่แล้ว
ซึ่งคาดการณ์ว่า ทุกหนึ่งวินาที
จะมีเซลล์มะเร็งแตกตัวออกมาประมาณ 1,000-10,000 เซลล์
แต่ทั้งนี้ ปัจจัยเร่งให้เกิดเซลล์มะเร็ง
ส่วนหนึ่งมาจากยีนมะเร็งที่ได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ของพ่อแม่คิดร้อยละ 5
ส่วนพฤติกรรม และวิถีชีวิตจากสิ่งแวดล้อม
ก็เป็นเหตุปัจจัยหลักถึง 90-95% ของการเกิดเซลล์มะเร็ง
เช่น การกินอาหาร วิตามิน เกลือแร่ แร่ธาตุ น้ำ อากาศที่ไม่บริสุทธิ์
สารพิษ สารเคมี ยาสังเคราะห์ สารอนุมูลอิสระ ระบบภูมิคุ้มกัน
ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ เคร่งเครียด
หรือแม้กระทั่งขาดการสะสมบุญ ล้วนมีอิทธิพลต่อการเกิด “โรคมะเร็ง” ได้ทั้งสิ้น

เว็บคุณหมอ
http://www.bmess.com/page14.html

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"
644

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

เป็นมะเร็ง...ไม่จำเป็นต้องตายเร็ว

ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

ก่อนที่เราจะไปรู้จัก "โรคมะเร็ง"
ผมอยากจะพาท่านผู้อ่านไปเข้าใจเรื่องของสุขภาพของมนุษย์
ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้บัญญัติไว้ว่า สุขภาพของมนุษย์เราทั่วโลกนั้น
จะมีองค์ประกอบด้วยปัจจัย 4 อย่าง คือ

1. กาย (Physical หรือ Body)

2. จิตใจ (Mental หรือ Mind)

3. สังคมและสิ่งแวดล้อม (Social และ Environment)

4. จิตวิญญาณ(Spirit)


เราคงได้ยินคนพูดบ่อยๆ ว่า ทุกอย่างมี "เหตุ" ของการเกิด
"การเกิด" เป็นขบวนการและเมื่อมีเหตุ ขบวนการเกิด,
ก็ต้องมีผลลัพธ์การเกิดจากเหตุ
ฉะนั้นเวลาที่เราเจ็บไข้ได้ป่วยทุกอย่าง
ต้องมีปัจจัยของการเป็นเหตุของการเกิดโรค(หรือของการเจ็บไข้ได้ป่วย)
แล้วมีขบวนการเกิดโรคแล้วก็เกิดมาเป็นโรค
ฉะนั้น ในศาสนาพุทธของเรา พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ได้ดีมาก
ฉะนั้น เวลาผมเรียนแพทย์ เวลาอาจารย์แพทย์สอนเรื่องโรคต่างๆ
บางทีอาจารย์ก็บอกว่าโรคนี้ยังไม่รู้สาเหตุ
แสดงว่าเรายังหาสาเหตุของโรคไม่เจอ
เพราะฉะนั้น เวลาเราจะรักษาโรคมันก็เลยไม่หาย
รักษาไม่จบ รักษาไม่ถูกเป้าซักที
ผมยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน ประชาชนทั่วๆไป ก็รู้แต่ว่าเป็นโรคเบาหวาน
ให้ไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอก็จะจ่ายยาลดน้ำตาลให้ทุกครั้ง
คนไข้ก็มาบ่นให้ฟังว่า ไปหาหมอทีไรก็ให้ยามาทุกที หมอไม่เห็นพูดอะไร
นับวันหมอก็จะจัดยาลดน้ำตาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บางครั้งล่าสุดมีอาการอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก
เช่น ตามองไม่ค่อยเห็น,เป็นแผลเรื้อรังที่ปลายเท้า,
สุดท้ายไตวายตามมาอีก และสุดท้ายก็เพิ่มยาจนคนไข้เบื่อกินยา
คนในประเทศไทยก็เพิ่มทวีการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น มากขึ้น
จนเกิดการเบื่อหน่ายทั้งหมอผู้รักษาคนไข้และคนไข้ผู้ถูกรักษา
คนไข้ก็แน่นโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐบาล
บางครั้งมากจนการบริการไม่ทั่วถึง
เกิดการฟ้องร้องของคนไข้ต่อแพทย์ผู้รักษามากยิ่งขึ้น
และทุกวันนี้เราจะเห็นแพทย์ถูกฟ้องร้อง
บางคดีถึงกับเป็นคดีติดคุกติดตารางมีให้เห็นบ่อยๆ
แพทย์บางท่านถึงกับถอดใจ เปลี่ยนอาชีพไปเลยก็มี
บ่อยครั้งเราจะได้ยินโรคของมนุษย์
ถ้าจะแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 2 อย่าง คือ โรคทางกาย และทางใจ


โรคทางกาย เช่น โรคเป็นมาแต่กำเนิด,โรคที่มาจากเชื้อโรค,
โรคที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค,โรคจาก การเสื่อม ฯลฯ
ส่วนโรคอีกอันหนึ่งก็คือ โรคทางใจ เช่น โรคประสาท,โรคจิต เป็นต้น


มะเร็ง เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มของโรคไม่ได้มาจากเชื้อโรค
บางท่านก็ถือว่ามะเร็งเป็นโรคแห่งการเสื่อม,โรคภาวะเรื้อรัง


ในประเทศไทย อัตราการเกิดโรคมะเร็งรายใหม่ 1 แสนคนต่อปี
(หรือ8,000คนต่อเดือน)
เสียชีวิตปีละ 60,000 คน ปี พ.ศ.2547-2548
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า เป็นโรคที่มีอัตราป่วย ตาย เป็นอันดับหนึ่ง
ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง (ผู้ชาย 149.5 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน,
ผู้หญิง 125 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน)


ที่จริงแล้วโรคมะเร็งมีประวัติความเป็นมาตั้ง 5,000 ปีแล้ว
โดยเราจะพบลักษณะรอยโรคในศพมัมมี่ที่ประเทศอียิปต์ เปรู และประเทศกรีก
มะเร็งมาจากภาษากรีกว่า "Karcinos หรือ Karkinoma" หมายถึง Crab(ปู)


ผมได้ไปค้นหนังสือวิชาอิมมูโนโลยีที่สอนในนักศึกษาแพทย์ปีที่ 2-3
ในสมมตุฐาน Survillance Hypothesis ของมนุษย์ทุกคน
มีเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่มีรูปร่างผิดปกติอยู่
มีการแตกตัวในระดับที่ไม่เกิดการทำลายตัวเอง
ในนาทีละ 1000-10000 ตัวต่อนาที
ในหนังสือการแพทย์ทางเลือกหลายๆ เล่ม
บอกว่า มะเร็งจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มทวีคูณ
ถ้าหากภาวะสมดุลในร่างกายเสียไป ผนวกกับภูมิคุ้มกันของคนนั้นๆตก
จนกระทั่งทำให้รหัสพันธุกรรมของเซลล์ที่เรียกว่า ดี เอ็น เอ (DNA)
เกิดการกลายพันธ์ จนไม่สามารถควบคุมได้
จนเกิดการบุกรุกทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง และแพร่กระจายไปสู่อวัยยะต่างๆ


ในปีคศ.1852-1922ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาโรคมะเร็งในแนวใหม่
โดยมีทฤษฏีหนึ่งชื่อทางภาษาอังกฤษว่า"Halstead Theory of Cancer"
(ทฤษฎีฮาละเตดของโรคมะเร็ง)
โดยนายแพทย์ท่านหนึ่งชื่อ นายแพทย์ จี.ซาจีเซ็ค(G Zajiak)
จากศูนย์ทดลองการแพทย์ เอช.เอช.ฮัมฟรี
และศูนย์วิจัยโรคมะเร็งมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาดาสสาห์
ที่เฮปริว เมืองเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล
นายแพทย์ท่านนี้บอกว่า สมมติฐานทางการแพทย์ที่เข้าใจว่า
การ "ตัดเอาก้อนมะเร็งออก"จะทำให้คนไข้หายจากการเป็นโรคมะเร็งนั้น
เป็นการเข้าใจผิดในวงการแพทย์มานานเป็นเวลาตั้ง 60ปี
แท้จริงแล้ว การตัดก้อนมะเร็งออกไปนั้น
ไม่ได้ทำให้ชีวะโมเลกุลในร่างกายมนุษย์เปลี่ยนไป
นายแพทย์จี.ซาจีเซ็ค กล่าวว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้(not cure)
แต่สามารถทำให้สงบหรือยุบได้(Remission) เ
พราะโรคมะเร็งคือ โรคซึ่งเกิดจากการระบบเผาผลาญ
หรือระบบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเสียไป


มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ
ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต
มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ
ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ
และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น
เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการเจริญเติบโตของหลอดเลือด
ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้น
เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น


เท่าที่มีรายงานไว้ในขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด
มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน
เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของโรคที่รุนแรง
ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น


ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน
มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง
และการดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"
644

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ

1.เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็งส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่

1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม
เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin)
สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon)
สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหารชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine)
สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า

1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด

1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา

1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ

1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น

2.เกิดจากความผิด ปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น
จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987)
ถ้าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้วพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น
สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ทราบว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็นมะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่ สำคัญ มี 2 ข้อ

ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้

1.ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น

2.ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอ

3.ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น

4.ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก

5.ผู้ ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

6.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อ ไวรัสเอดส์จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น

7.ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิว และส่วนไหม้เกรียมของอาหารเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่

8.ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น

9.ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดด ที่มีปริมาณของแสงอุลตราไวโอเลตจำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"
644

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

ปัจจัยทำให้เซลล์กลายพันธุ์

สาเหตุของการเกิดมะเร็งนั้น ยังไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน เพียงแต่มีข้อสันนิษฐาน และมีเหตุผลที่พอเชื่อถือได้ว่า
มีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหลายอย่าง ที่สามารถทำให้ร่างกายมีโอกาสเกิดมะเร็งขึ้น
ได้แก่ พันธุกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลดีเอ็นเอในระดับยีนของโครโมโซม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
โดยอาจพบกับสมาชิกหลายคนในครอบครัว เช่น เนื้องอกของลำไส้ใหญ่ จากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 5
มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งในช่องท้อง สัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 8
มะเร็งไต จากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11
มะเร็งจอภาพของลูกตา จากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13
โรคทางกรรมพันธุ์ที่มีฝ่ามือฝ่าเท้าหนาเกิดร่วมกับมะเร็งหลอดอาหาร
โรคด่างขาวเกิดร่วมกันกับมะเร็งผิวหนัง โรคโลหิตจางบางชนิด
และกลุ่มอาการดาวน์ เกิดร่วมกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นต้น


สารเคมีที่พบมาก เป็น  น้ำมันดินจากสารไฮโดรคาร์บอนในบุหรี่
มีผลต่อการเกิดมะเร็งปอด ช่องปาก กล่องเสียง และกระเพาะปัสสาวะ


แร่ใยหิน
ซึ่งมีเส้นใยแอสเบสตอสที่ใช้ทำกระเบื้อง ฝ้าเผดาน ท่อระบายน้ำ
ผ้าเบรคและคลัตช์รถยนต์
ทำให้เกิดมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอด และเยื่อบุช่องท้อง


สารแนฟธีลามีนในอุตสาหกรรมยางสังเคราะห์และสีย้อมชนิดอะนีลีนเมื่อขับออกทางน้ำปัสสาวะทำให้เกิดมะเร็งของกรวยไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ

ฝุ่นไม้ในโรงงานฟอร์นิเจอร์ ทำให้เกิดมะเร็งโพรงไซนัสของจมูกเขม่าจากปล่องไฟทำให้เกิดมะเร็งลูกอัณฑะ

คราบน้ำมันหล่อลื่นที่ติดตามผิวหนังบ่อยๆทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

เบนซินจากควันไอเสียของรถยนต์ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การสัมผัสสารพวกโครเมตนิเกิล ทำให้เกิดมะเร็งปอด

การสัมผัสสารอาร์เซนิก หรือสารหนู ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอด

การรับประทานถั่วลิสง เมล็ดข้าวโพด เมล็ดธัญพืช หรืออาหารที่ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน จากเชื้อราชนิดแอสเปอร์จิลลัสฟลาวัส ทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร

การสัมผัสสารไวนีลคลอไรด์จากอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมะเร็งของเส้นเลือดในตับ

การใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ก็อาจทำให้เกิดมะเร็งของเม็ดเลือดขาวในเวลาต่อมา

ปัจจัยทางกายภาพ รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวีในแสงแดดทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

รังสีแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้า พบในก๊าซเรดอน จากการสลายตัวของธาตุยูเรเนียน ที่ใช้ในพลังงานปรมาณู หรือจากแหล่งที่มีหินแกรนิตเป็นจำนวนมากเมื่อสูดหายใจเข้าไป อาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งปอด

ผลของระเบิดปรมาณูทำให้เกิดมะเร็งเต้านม การกลืนสารกัมมันตรังสีทอเรียมเพื่อการวินิจฉัยโรค ทำให้เกิดมะเร็งตับและมะเร็งโพรงไซนัสของจมูก

การฉายรังสีเพื่อการรักษาโรค อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง เต้านม หรือต่อมไทรอยด์

สตรีที่เปิดไฟนอน มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

ความร้อนจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังบริเวณแผลเป็น

ความร้อนจากกล้องยาสูบ ทำให้เกิดมะเร็งริมฝีปาก

มะเร็งของผิวหนัง หรือเยื่อบุผิว ที่เกิดจากการระคายเคือง หรือเสียดสีกับของแข้ง การอักเสบจากการระคายเคืองอยู่นานของฟันปลอมหรือฟันที่แหลมคม ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก

แผลอักเสบเรื้องรัง เช่น แผลซิฟิลิส ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง การเกิดไซนัสอักเสบเรื้องรัง แผลในกระเพาะอาหาร ร่วมกับการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดเฮลิโคแบกเตอร์ไพโรไล แผลอักเสบของเส้นเลือดที่ขา แผลอักเสบเรื้องรังที่ลำไส้ใหญ่ นิ่วร่วมกับการติดเชื้อในถุงน้ำดี และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะก็ทำให้เกิดมะเร็งของอัวยวะนั้นๆ


เชื้อไวรัส เชื้อไวรัสบางชนิดมีส่วนของโมเลกุลดีเอ็นเอ
ที่สามารถแทรกโมเลกุลดีเอ็นเอของเซลล์ปกติ
ทำให้เซลล์กลายพันธุ์ จนกลายเป็นมะเร็งได้
เช่น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดบี
ทำให้เกิดมะเร็งในตับ


เชื้อไวรัสชนิดเอปสไตน์บาร์ หรือ อีบีวี ทำให้เกิดมะเร็งของลำคอเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแพพพิลโลมา หรือเอชพีวี ซึ่งพบในโรคหูดที่ผิวหนัง ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งช่องทวารหนัก

เชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนทีเซลล์ลิมโฟโตรปิกไทป์-1หรือเอช ทีแอลวี-1 ในผู้ป่วยโรคเอดส์ ทำให้เกิดมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง

ภูมิคุ้มกัน บางครั้งระบบภูมิคุ้มกัน ที่ใช้กำจัดหรือทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ ถูกรบกวนหรือถูกยับยั้งการทำงาน ทำให้เซลล์ที่กลายพันธุ์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่เซลล์เม็ดเลือดขาว
ซึ่งทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย ทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนัง และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การใช้ยากดภูมิต้านทานในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
ก็อาจทำไห้เกิดมะเร็งของผิวหนังและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ฮอร์โมน เซลล์ต่างๆมักมีตำแหน่งของผิวเซลล์ เนื้อเซลล์ และนิวเคลียสในการจับกับฮอร์โมนบางชนิดเป็นการเฉพาะ ถ้าตัวรับฮอร์โมนถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนจากภายนอกหรือภายในร่างกายก็อาจทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากขึ้น จนกลายเป็นมะเร็ง ได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิงจากยาคุมกำเนิด

การทดแทนฮอร์โมนในผู้ป่วยขาดฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งโพรงมดลูก
สตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีระบบฮอร์โมนผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยที่ขาดสารไอโอดิน ทำให้เกิดโรคคอพอก และมีการกระตุ้นฮอร์โมนที่สมองมาก ทำให้เป็นมะเร็งของต่อมไทรอยด์

โรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่เป็นโรคอ้วนอยู่ด้วย มักมีอาการลุกลามเร็วกว่า และเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคอ้วน

ในบรรดาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ อัตราการเกิดมะเร็งจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูงและมีเส้นใยต่ำ
มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งได้มาก ถึงร้อยละ 30-35
รองลงมาเป็นบุหรี่และควันบุหรี ร้อยละ 30-32
ปัจจัยทางพันธุ์กรรม ร้อยละ 15
การติดเชื้อต่างๆ ร้อยละ 10 ที่เหลือเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น

แต่มะเร็งมักเกิดจากหลายปัจจัย ร่วมกันทำการโจมตีไปที่เซลล์ปกติ ครั้งแล้วครั้งเหล่า โดยมีตัวเริ่มต้นก่อเหตุก่อน ที่เรียกว่า"ปัจจัยเริ่มต้น"ได้แก่ บุหรีและควันบุหรี น้ำมันดิน รังสีเอ็กซเรย์ รังสีที่มีประจุไฟฟ้าแสงแดด ยากดภูมิต้านทาน สารพิษจากโรงงาน มลพิษจากสิ่งแวดล้อมสารพิษจากอาหาร และการปรุงอาหารที่ไม่ถูกต้องและเมื่อได้รับการกระตุ้นต่อด้วย "ปัจจัยส่งเสริม" ได้แก่ สารพวกเส้นใยแอสเบสตอส ฮอร์โมนและยาบางชนิดอาหารประเภทไขมันสูงอาหารเส้นใยต่ำ สุรา ความเครียด ความอ้วน บาดแผล การติดเชื้อไวรัสหญิงที่มีเพศสัมพันธ์และมีบุตรเมื่ออายุน้อย เป็นต้น ก็จะทำให้เกิดการกลายพันธ์มากขึ้น จนกลายเป็นมะเร็ง


ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ซึ่งทำให้เกิดการโจมตีหลายครั้ง จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าคนปกติ 7เท่า แต่ถ้าดื่มสุราจัดร่วมด้วย ก็จะเพิ่มความเสี่ยงเป็น 50 เท่า

ผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าเด็ก เพราะจำนวนครั้งในการแบ่งตัวมีมากกว่า และถูกโจมตีมากกว่า

ส่วนระยะในการเกิดมะเร็งนั้น อาจเร็วหรือช้าก็ได้ บางครั้งใช้เวลาเพียง 5 ปี เช่น ผลของรังสีจากระเบิดปรมาณู ทีทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว บางอย่างก็ใช้เวลานานถึง 40 ปี ที่น่าแปลกก็คือ ยังหาเหตุผลไม่ได้ว่า ทำไมบางคน ทั้งที่สูบบุหรีและดื่มสุราจัด หรือกลุ่มที่ใช้ชีวิตเสี่ยงต่อมะเร็งอยู่ประจำ จึงสามารถรอดพ้นจากการเป็นมะเร็ง และก็ยังมีอายุยืนได้

เพื่อความไม่ประมาท พยายามทำตัวให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงไว้ก่อนจะดีกว่า

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"
644

Re: หนีความตายจาก "มะเร็งระยะสุดท้าย"

5 ประการเพื่อการป้องกัน

1.รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มากเช่นกะหล่ำปลีกะหล่ำดอกผักคะน้าหัวผักกาดบรอคโคลี่ฯลฯเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ลำไส้ส่วนปลายกระเพาะอาหารและอวัยวะระบบทางเดินหายใจ

2.รับประทานอาหารที่มีกากมากเช่นผักผลไม้ข้าวข้าวโพดและเมล็ดธัญพืชอื่นๆเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีนและไวตามินเอสูงเช่นผักผลไม้สีเขียว-เหลืองเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหารกล่องเสียงและปอด

4.รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูงเช่นผักผลไม้ต่างๆเพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร

5.ควบคุมน้ำหนักตัวโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูกถุงน้ำดีเต้านมและลำไส้ใหญ่

การออกกำลังกายและการลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงจะช่วยป้องกันมะเร็งเหล่านี้ได้

7ประการเพื่อลดการเสี่ยง

1.ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้นอาหารที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว-เหลืองจะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ

2.ลดอาหารไขมัน อาหารไขมันสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมาก

3.ลดอาหารดองเค็มอาหารปิ้ง-ย่างรมควันและอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท-ไนไตร์ทอาหารเหล่านี้จะทำให้เสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่

4.ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆเช่นก้อยปลาปลาจ่อมฯลฯจะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีในตับ

5.หยุดหรือลดการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดกล่องเสียงฯลฯการเคี้ยวยาสูบจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและช่องคอ

6.ลดการดื่มแอลกอฮอล์ดื่มแอลกอฮอล์จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับถ้าทั้งดื่มและสูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากช่องคอกล่องเสียงและหลอดอาหาร

7.อย่าตากแดดตากแดดจัดมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง



INSURANCETHAI.NET
Line+