ตัวอย่างคำถามประกันวินาศภัย
729

ตัวอย่างคำถามประกันวินาศภัย

ตัวอย่างคำถามประกันวินาศภัย
นายAทำสัญญาประกันวินาศภัยทุกชนิดที่เกิดกับรถยนต์ของตนไว้ กับบริษัทB1
วงเงินประกัน 100,000 บาท  ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00น. และ
ได้ทำสัญญาประกันวินาศภัยทุกชนิดที่เกิดแก่รถยนต์ของตน ไว้กับบริษัท B2 ลงเงินประกัน 200,000 บาท ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 12.00น.

ระหว่างที่อยู่ในอายุสัญญาประกันภัย นายx ขับรถด้วยความประมาทชนรถของนายA คันที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 90,000 บาท โดยนายx ยอมรับผิดใช้ค่าเสียหาย แต่นายxไม่มีเงินในขณะนั้น จึงขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ต่อมานายxไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหาย 

นายAจึงร้องต่อบริษัทB1 และบริษัทB2 ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเอาไว้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า

ก. บริษัท B2 อ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายA มีแต่เพียงบริษัทB1 เท่านั้น ที่จะต้องรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวเนื่องจาก นาย Aได้ทำสัญญากับทางบริษัท B1 ก่อนที่จะทำสัญญากับบริษัทของตน ข้ออ้างของบริษัท B2 ถูกต้องหรือไม่ เหตุใด

ข. หากบริษัทประกันภัยได้นำรถยนต์ของนายA เข้าส่งซ่อม จนรถยนต์สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว และได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นาย A แล้ว หากแต่ว่าทางบริษัทประกันภัย จะสามารถอ้างว่าตนรับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากนาย A ต่อนายหมากตามกฎหมายได้หรือไม่ นาย x ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่บริษัทหรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ
ก. ข้ออ้างฟังไม่ขึ้นเนื่องจาก ถึงแม้ว่าจะทำประกันคนละเวลากันแต่ก็ย่อมถือได้ว่านาย Aได้ทำประกันภัยในวันเดียวกัน จึงถือว่าได้ทำประกันพร้อมกัน ตาม มาตรา 870 ว.2 จึงต้องรับผิดร่วมกันแบ่งตามส่วนมากน้อย ตามมาตรา 870 ว.1
ข. บริษัทประกันภัยสามารถรับช่วงสิทธิจากนาย A ได้และนายx จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทประกันภัย เนื่องจากการที่บริษัทประกันภัยได้ทำการซ่อมแซมและส่งรถคืนแก่นายA นั้นย่อมถือได้ว่าบริษัทรับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมให้แก่นาย A ไปแล้ว ตามมาตรา 880 ว.1

อ้างอิง
จิตติ  ติงศภทิย์. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545
ไชยยศ  เหมะรัชตะ. ย่อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ประกันภัย พร้อมด้วยกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2543
พรชัย  สุนทรพันธุ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย. กรุงเทพฯ : พลสยามพริ้นติ้ง, 2555
พรชัย  สุนทรพันธุ์ และสุเมธ  จานประดับ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะประกันภัย. กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์, 2544
ประสิทธิ์  โฆวิไลกูล. การตีความกฎหมายสัญญา และกรมธรรม์ประกันภัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2538.



INSURANCETHAI.NET
Line+