จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street
733

จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street

19 ตุลาคม 1987 ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเงินกับเหตุการณ์ Black Monday ที่โลกไม่มีวันลืม Classical crisis

ขอเปิดด้วยบทสนทนาระหว่างชาย 2 คน ซึ่งเป็นทั้งนักการเงินและนักลงทุน Marc Faber (MBA เคยสัมภาษณ์ลง MBA Talk ฉบับเดือนมกราคม 2552) และ Robert Bovet ต่างเป็นบุคคลที่อยู่ในช่วงเหตุการณ์ Black Monday ทั้งคู่
Marc Faber นักลงทุนระดับเซียนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทำนายด้านการเงินได้แม่นยำ เรื่องค้าเงิน ทอง และน้ำมัน เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ
Robert Bovet ที่ปรึกษาการลงทุนระดับนานาชาติ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานให้กับสถาบันการเงินทั่วโลก มีความสนใจเป็นพิเศษเรื่องศิลปะ

เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นที่บ้าน Marc Faber
คุณอยู่ไหนหนะโรเบิร์ต?
เจนีวา
ได้ยินข่าวที่เกิดขึ้นที่นิวยอร์กหรือยัง?
ไหนเล่ามาสิ?
ตลาดหุ้นลดฮวบลงไป 508 จุด?
เหรอ? (มาร์ค เฟเบอร์ พูดด้วยน้ำเสียงไม่ยี่หระต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเหมือนจะรู้ล่วงหน้าแล้วว่ามันต้องเกิดขึ้น)
ผมไม่ได้ล้อเล่นนะมาร์ค ผมมีลูกค้าที่ต้องการขายหุ้นนิกเกอิล่วงหน้าใน Simex ที่สิงคโปร์เป็นเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ผมต้องการให้คุณช่วยจริงๆ?
มาร์ครู้แล้วว่าโรเบิร์ตกำลังเครียด เขาพูดโพล่งออกมาว่า Jesus? โอเค ผมจะช่วย?

หลังจากวางหูโทรศัพท์เสร็จ Marc Faber ก็ต่อสายโทรศัพท์ไปยัง Edmond Yeung เทรดเดอร์ตลาดซื้อขายหุ้นล่วงหน้าของญี่ปุ่น ให้ขายหุ้นนิกเกอิล่วงหน้าให้กับลูกค้าครึ่งหนึ่งเป็นจำนวน 30 หน่วยในราคาใดก็ได้ ประมาณ 10% ที่ลูกค้าของ Bovet ต้องการขาย ขณะที่ Marc Faber คาดการณ์ว่าหุ้นนิกเกอิยังขึ้นลงผันผวน

ข่าวร้ายที่สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้กับคนใน Wall Street ในวันที่ตลาดหุ้นหล่นตุบจาก 2246 มาอยู่ที่ 1738.7 แรงเทขายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนใน Wall Street ตลาดหุ้นดาวโจนส์หล่นมาถึง 22.6% วันเดียวหล่นลงมามากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งถือเป็นวันที่เจ็บปวดมากสำหรับนักเล่นหุ้นใน Wall Street

Date Close Change Change%
10/19/87 1,738.70 -508.00 -22.6
10/20/87 1,841.00 102.30 5.9
10/21/87 2,027.90 186.90 10.2

ความผันผวนของหุ้นที่ขึ้นลงในวันนั้นยังไม่จบ เพราะเมื่อ Marc Faber กลับไปสำนักงาน เขาก็ได้รับข่าวร้ายอีกระลอกหนึ่ง หุ้นนิกเกอิซื้อขายล่วงหน้าปิดที่ระดับ 25210 ก่อนเปิดตลาดใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้นที่ระดับแค่ 10000 ล่วงหล่นไปถึง 5000 ก่อนที่จะดีดกลับมาอยู่ที่ 14000 และปิดที่ 18200 เป็นอันว่าโชคไม่เข้าข้างนักลงทุนที่เทขายหุ้นไปก่อนหน้านั้นเพียงเล็กน้อยตอนเปิดตลาด ทำให้สูญเงินไป 30000 เหรียญต่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหลังจากปิดตลาด

แต่นับว่าเป็นโชคของ Marc Faber ที่มีสายตาอันชาญฉลาดในการจับทิศทางของหุ้น เพราะการที่เขาไม่ได้ให้ลูกค้าของ Bovet ขายหุ้นทิ้งเมื่อตอนเปิดตลาดในช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นลงผันผวนก็ทำให้ไม่ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ลูกค้าอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ระบุนามก็โชคดีเหมือนกัน ได้ซื้อหุ้นนิกเกอิล่วงหน้าตอนที่หุ้นอยู่ที่ระดับ 9000 และก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทำให้ได้เงินไปแบบชิล ชิล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ

แน่นอนว่าจากเหตุการณ์นี้ย่อมมี winner และ loser เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการเล่นหุ้น Faber กับผองเพื่อนเป็นผู้ชนะในเกมนี้ได้รับเงินไปเต็มๆ แต่อีกหลายคนก็เป็นผู้แพ้อย่างราบคาบเมื่ออ่านเกมไม่ออกและฟังแต่เสียง (noise) ที่เซ็งแซ่ในการให้เทขายหุ้นออกตลอดเวลา

ส่วนพวกที่บาดเจ็บปางตายไปกับเหตุการณ์นี้ เมื่อรู้ข่าวต่างก็โทรหาโบรกเกอร์ของตัวเอง แต่มันก็ไม่ทันกาลเพราะโบรกเกอร์แต่ละรายมีลูกค้าอยู่ในมือเพียบ นักลงทุนหลายคนเสียเงินเป็นล้าน บางคนถึงกับไปหาโบรกเกอร์ที่สำนักงานและขู่ที่จะยิงทิ้ง จากเหตุการณ์ความปั่นป่วนทางการเงินใน Wall Street ทำให้โบรกเกอร์หลายคนถูกฆ่าตาย แม้ว่าความจริงแล้วบรรดาโบรกเกอร์เหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้ที่ควบคุมตลาด อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ก็เทขายหุ้นโดยที่ไม่รู้ว่าขายทำไม เพียงเพราะเหตุผลที่ว่า ?เห็นทุกคนต่างพากันเทขาย? ความไร้เหตุผลแบบนี้นี่เองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นล้มทั้งกระดาน ตลาดหุ้นและการซื้อขายล่วงหน้าจึงต้องปิดลงไปโดยปริยาย

ต้นตอแห่งวิกฤต

?ความแน่นอนก็คือความไม่แน่นอน? ไม่มีสัญญาณบอกเค้าลางว่าหุ้นจะลดลงอย่างฮวบฮาบเมื่อใด ชนิดที่นักลงทุนทั้งหลายต่างคาดคิดไม่ถึง เพราะเมื่อดูสถิติหรือข้อมูลในตลาดหุ้น Wall Street ก็ไม่มีทีท่าว่าจะเกิดความผิดปกติแต่อย่างใด ช่วงครึ่งปีแรกของ 1987 ตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่าหุ้นจะลดลง เดือนเมษายน-มิถุนายน ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นทำสถิติ new high วันที่ 25 สิงหาคม ที่ 2722 เพิ่มขึ้น 43% นับตั้งแต่เปิดศักราชใหม่

ไม่ใช่แค่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเท่านั้นที่กำลังบูม ตลาดหุ้นเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 692.4% ตลาดหุ้นยุโรปไต่ระดับสูงขึ้นเช่นกัน ตลาดหุ้นนอร์เวย์ก็เพิ่มขึ้นถึง 65% ในสหราชอาณาจักร (FTSE) ไต่มาถึง 45% ส่วนตลาดหุ้นเอเชียอย่าง ไต้หวันเพิ่มขึ้น 349% ไทย 126.79% เกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 92% สิงคโปร์ที่ระดับ 68.9% ฮ่องกง 53.8% ญี่ปุ่น 42.5% ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น ?sick man of Asia? อย่างฟิลิปปินส์ ตลาดหุ้นการค้าและอุตสาหกรรมก็พุ่งขึ้นไปถึง 115% ส่วนดัชนีหุ้น mining index ก็เพิ่มขึ้นถึง 268% เลยทีเดียว

แล้วอะไรล่ะที่เป็นสาเหตุของความล่มสลาย?

คำตอบก็คือ ทั้ง portfolio insurance กับ index arbitrage เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดหุ้น ประกอบกับการนำ Program trading ซึ่งเป็นชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการเสนอซื้อขายได้โดยอัตโนมัติที่นำมาใช้ ไม่สามารถรองรับข้อมูลการซื้อขายหุ้นได้ทั้งหมดกับจำนวนสินทรัพย์กว่า 1 ล้านเหรียญที่ใส่ลงไปในหลักทรัพย์ ทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญ (pension funds) กองทุนรวม (mutual funds) และ กองทุนประกันความเสี่ยง (hedge funds) ทั้งหมดต่างก็ขึ้นอยู่กับการซื้อขายทางคอมพิวเตอร์ ประกอบกับมีแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง

การนำโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์มารองรับระบบการซื้อขายในตลาดหุ้นนี้ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยประหยัดเงินให้กับนักลงทุนรายย่อย โปรแกรมจะปล่อยให้เทรดเดอร์จับคู่หุ้นได้เองโดยอัตโนมัติ การที่ราคาหุ้นลดฮวบและดัชนีตลาด (market index) ขายโดยอัตโนมัติจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้หุ้นดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ

จะโทษว่าเป็นความผิดของระบบคอมพิวเตอร์อย่างเดียวก็ไม่ถูก เพราะยังมี ?เสียง? ที่สอดแทรกขึ้นในช่วงเวลาคับขันเสมอ เสียงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการซื้อขายหุ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่สามารถวัดเสียงที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปริมาณน้ำหนักมากน้อยแค่ไหนที่จะส่งผลให้คนเราตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่าง แต่แน่นอนว่าจากหลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตทั้งเหตุการณ์ที่ MBA เคยเสนอไปแล้ว อย่าง Tulip Mania, The South Sea Bubble มาจนถึงเหตุการณ์ Black Monday 1987 เสียงก็มีอิทธิพลไม่น้อยเช่นกัน

หายนะที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่พังพินาศเพราะเสียงที่ได้ฟังมา ระคนกับความกลัวของมนุษย์ ยิ่งพลอยทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก ดังนั้น พลังของเสียงจึงไม่ธรรมดา เพราะมันสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนในวงการหุ้นได้อย่างแทบไม่น่าเชื่อ ด้วยคนหมู่มาก บางครั้งเสียงก็มีอิทธิพลเหนือหลักการและความคิดของนักลงทุนเสียด้วยซ้ำไป ยิ่งนักลงทุนคนไหนไม่มีหลักการลงทุนเป็นของตัวเองแล้วล่ะก็ เสียงนี้ก็ได้เข้าไปครอบงำความคิดโดยไม่รู้ตัว เสียงที่เกิดขึ้นยังเพิ่มการคาดหวังให้กับเหล่านักลงทุนในการถือครองหุ้นอีกด้วย ทั้งหมดทั้งมวลเป็นอิทธิพลของเสียงที่จะทำให้ทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลงในการลงทุน ก็เหมือนๆ กับข่าวลือที่ออกมา ยิ่งกระพือมากเท่าไหร่ ข่าวลือนั้นก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และเชื่อตามกันได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องอิงกับข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

หากช่วงเวลานั้น ?เสียง? จะลดลงบ้างก็น่าจะดีกว่านี้ อาจช่วยบรรเทาเบาบางความโกลาหลของเหตุการณ์ Black Monday ก็ได้ เพราะการเอาแต่นั่งฟังเสียงก็ไม่มีประโยชน์อันใด เสียเวลาไปเปล่าๆ แถมยังมีความคลุมเครือของข้อมูลอีกต่างหากว่าจริงเท็จแค่ไหน

ตัวอย่างคนที่ได้รับประสบการณ์เรื่องการฟังเสียง คือ Marc Faber ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยได้รับโทรศัพท์จากหญิงคนหนึ่ง ทำให้ Faber กว้านซื้อหุ้นในบริษัทที่พอจะหาได้ในเวลานั้น และเมื่อราคาหุ้นประกาศออกมา เขาแทบหงายหลัง เพราะไม่ได้เป็นหุ้นที่น่าลงทุนเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งราคาหุ้นก็มีแต่จะลดลง Faber กล่าวว่า ?ผมคงเป็นเพียงคนเดียวที่เสียเงินไปให้กับพวกวงใน? จากประสบการณ์นี้เองทำให้ Faber รังเกียจที่จะซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน (insider trading) ไม่ใช่เพราะตระหนักในเรื่องจริยธรรมอะไรหรอก แต่เป็นเพราะความรู้สึกและเป็นการกระทำของคนขี้ขลาดต่างหาก Faber วิพากษ์วิจารณ์ว่า ?คนมักจะละโมบโลภมากเมื่อตลาดหุ้นกำลังบูมสุดขีด?



บทเรียน Black Monday

ความล่มสลายที่เกิดขึ้นกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในวันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) เป็นเหตุการณ์ที่กระทบกับหลายประเทศ เพราะไม่เพียงแต่สหรัฐเท่านั้นที่กระโจนลงไปสู่ภาวะถดถอย หลังจาก ?1929 Black Thursday? and ?Black Tuesday? แต่วันนี้เกือบจะเป็นสาเหตุความผิดพลาดด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

Black Monday ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกซวนเซ เนื่องจากข่าวเรื่องตลาดหุ้นล้มทั้งกระดานแพร่สะพัดไปตามสถานีโทรทัศน์ชื่อดัง โดยเฉพาะสถานี CNN เสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเวลานั้น David Ruder ซึ่งเป็น Head of the Securities and Exchange Commission (SEC) เสนอให้ปิดการซื้อขายหุ้นซะก่อนจะดำดิ่งไปมากกว่านี้

ช่วงเวลาที่ตลาดหุ้น Wall Street กำลังปั่นป่วน นักลงทุนเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง เฟดต้องเข้ามาแทรกแซง อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่ำเกินกว่าจะช่วยไม่ให้เกิดความตกต่ำทางเศรษฐกิจและวิกฤตการเงิน แต่ก็น่าสังเกตได้ว่าตลาดฟื้นตัวเร็วมากจากวันที่หุ้นพัง ไม่เหมือนกับวันที่หุ้นพังเมื่อปี 1929 แนวทางการแก้ไขของเฟดมุ่งไปที่การแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้รองรับข้อมูลได้?มากขึ้น อีกทั้ง The New York Stock Exchange และ The Chicago Mercantile Exchange ได้นำระบบ circuit breakers เข้ามาใช้ เพื่อเป็นมาตรการที่หยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว

ฟากฝั่งพรรคเดโมแครตกล่าวตำหนิประธานาธิบดี Ronald Reagan ถึงสาเหตุของหายนะในการปล่อยเงินงบประมาณและขาดดุลการค้า เลขานุการกระทรวงการคลัง อย่าง James Baker ตอกกลับพรรค?เดโมแครตไปว่าเป็นเพราะการขึ้นภาษีต่างหาก ด้าน Alan Greenspan ประธานเฟด ก็หุบปากเงียบ ไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ส่วนนักการตลาดคนอื่นๆ ต่างก็พากันกังวลถึงการซื้อขายหุ้นผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ที่มากเกินไปและไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพหรือดูถึงความสำเร็จของบริษัทแต่ละแห่ง และวิพากษ์วิจารณ์กันว่า จะไว้ใจได้แค่ไหนกับการอาศัยการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ที่เรารู้กันดีว่า algorithms

ประธานาธิบดี Ronald Reagan ก็ออกมาประกาศว่าตนเองรู้สึกงงกับเหตุการณ์นี้มาก เพราะไม่มีทีท่าว่าจะมีสัญญาณความผิดปกติใดเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ทำได้แค่บอกให้ชาวอเมริกันไม่ต้องตื่นตระหนก

คนในวงการต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์นี้ เช่น Alan Skrainka หัวหน้านักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดจาก Edward Jones แสดงความเห็นว่า ?รู้สึกแปลกใจอย่างมากเมื่อรู้ว่ามันจบลงอย่างรวดเร็ว ไม่รู้ว่าจะเอาคำพูดไหนมาบรรยายได้แล้ว ก็ขอยกคำพูดของ John Templeton ที่ว่า ตลาดหมีจบลงแล้ว ไม่รู้ว่าจะกล่าวเป็นคำพูดใดก็ในเมื่อทุกคนต่างอยู่ในภาวะขวัญหนีดีฝ่อกันไปตามๆ กัน?

ก็แน่ล่ะในเมื่อเกิดความตื่นตระหนกที่เล่นกับอารมณ์ของมนุษย์แล้วก็คงไม่มีสิ่งใดมาทัดทานไว้ได้ ในเมื่อตลาดหุ้นลดลงอย่างชนิดที่แทบตั้งตัวไม่ทัน ขณะที่เมื่อหุ้นปั่นป่วนที่นิวยอร์ก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะสหรัฐแต่เพียงเท่านั้น ทั้งลอนดอน ตลาดหุ้นฮ่องกง ก็มีเอี่ยวไปด้วย ปลายเดือนตุลาคม นักวิเคราะห์บางรายถึงกับออกมาบอกว่า ?วันนั้นเป็นวันที่เรียกได้ว่าเป็นความล่มสลายของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลไปยังตลาดหุ้นอื่นๆ?

ขณะที่ Jason Hsu ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและจัดการลงทุนของ Research Affiliates ก็ออกมากล่าวว่า ?ถ้าหากว่า?ดาวโจนส์หล่นฮวบลงไปในวันนี้ อาจจะเป็นสาเหตุของการเทขายหุ้น และผมก็จะขอเดาว่า Black Monday ของสหรัฐนำไปสู่ Global Black Tuesday"


Skrainka ให้แง่คิดบทเรียนที่ได้จาก Black Monday เอาไว้อย่างน่าคิดว่า ?คนที่เล่นหุ้นและเสี่ยงกับการคาดเดาในการเล่นหุ้น ก็ต้องอิงอยู่กับหลักการลงทุนของตัวเอง ไม่ใช่การคาดเดา หลักสำคัญ 3 ประการคือ ระยะยาว ความน่าสนใจของหลักทรัพย์ และเน้นไปที่คุณภาพของการลงทุน?

Ed Green, partner, Foster Group, West Des Moines, IA. แสดงความเห็นว่า ความเหมือนกันของเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งทั้ง Black Monday และการร่วงของหุ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมปี 2007 ก็ตรงที่ แม้ว่ามนุษย์จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคอมพิวเตอร์ใช้กันทั่วหน้า ประกอบกับความเร็วในการสื่อสาร ข้อมูลงานวิจัยวิเคราะห์ตลาดหุ้น แต่เราก็ยังคงไม่มี sense อยู่วันยังค่ำ ก็ลองคิดดูว่าใครบางคนกับสถานที่บางแห่งต้องมีข้อมูลที่แท้จริงถืออยู่ในมือที่ทำให้นักลงทุนพวกที่ชอบเสี่ยงยอมรับผลของการทำนาย ?market strategists? แม้ว่าจะล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็ตาม มาถึงตอนนี้เวลาผ่านมากว่า 20 ปีแล้ว นักลงทุนต้องการแสวงหาสิ่งที่มั่นคง ซึ่งสิ่งนั้นโดยตัวมันเองแล้วมีความไม่แน่นอน

การตื่นตระหนกน่าจะเป็นอย่างสุดท้ายที่นักลงทุนควรจะทำเมื่อตลาดหุ้นกำลังจะพัง การลดลงของตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนกับเพื่อนนักลงทุน เพราะนักลงทุนก็ยังมีโอกาสที่จะลงทุนในระดับราคาที่ลดลงได้ และมันเป็นเรื่องของนักลงทุนคนที่เทขายหุ้นในช่วงที่เกิดความ panic สำหรับคนที่ต้องเป็นผู้สูญเสียรายใหญ่ในตลาดตอนหุ้นลดฮวบ (เพราะปรากฏการณ์นี้ถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว) จึงแสดงให้เห็นว่านักลงทุนไม่ควรเน้นให้มากเกินไปนักกับการขึ้นลงของตลาดหุ้นในแต่ละวัน

ตลาดหุ้นมีขึ้นลงเป็นเรื่องธรรมดา และนักลงทุนก็ไม่ควรที่จะเชื่อว่าหุ้นจะพุ่งขึ้นตลอดไป หรืออาจเป็นเพราะว่าชาวอเมริกันต่างใจจดใจจ่อกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ที่จะมีขึ้นในปี 1988 (George Bush จากพรรครีพับลิกัน ขึ้นแท่นประธานาธิบดีคนต่อมา) คนถึงคิดแต่แง่บวก ธุรกิจร้านค้าต่างๆ พลอยได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย ใน Battery Park ธุรกิจบูมมาก ร้าน Caf? หลายแห่ง ?serve น้ำแร่ที่มีราคาแพงระยับ มีคลับและโรงยิมไว้ออกกำลังกาย เงินเดือนสำหรับ traders หนุ่มๆ ปาเข้าไปปีละ 200,000-500,000 เหรียญสหรัฐ รถลีมูซีนจอดเรียงรายเป็นทิวแถวหน้า Wall Street แต่ใครเลยจะทันสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันได้เกิดวิกฤตขึ้นแล้ว เพราะคนจะได้คิดก็ต่อเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติแล้วนั่นเอง

.................................................

เรียบเรียงโดย ธนาวรรณ อยู่ประยงค์

http://www.mbamagazine.net/home/inde...ay-wall-street

Re: จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street
733

Re: จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street

เหตุการณ์ Black monday เกิดขึ้นในวันจันทร์ 19 ตุลาคม ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตกภายในวันเดียว 22.6 %วิกฤตการณ์ครั้งนั้นทำให้นักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องขายหุ้นในประเทศต่างๆออกมาเพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์คทำให้ ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำ จนทำให้นักลงทุนภายในประเทศแห่ขายตามเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งทำให้ดัชนีราคาตลาดหุ้นตกจากระดับ 472.86 มาเหลือ 249.97 ในระยะเวลา 2 เดือน

สาเหตุสำคัญของ Black Monday 4 ประการ

1) เกิดการปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงจากระดับ 2,000 จุด และขึ้นไปถึง 2,747 จุด ภายในระยะเวลา 3 เดือน
2) อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ หรือ CPI ปรับตัวขึ้นมากกว่า 4%
3) ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 100% จากระดับ 10.80 ไปสู่ 22.40 เหรียญ ต่อบาร์เรล
4) อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 6%

ปี 2531 ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำจาก Black Monday เดือน ตุลาคม 2530 และเด่นชัดขึ้นระดับราคาหลักทรัพย์อยู่ในลักษณะทรงตัวในตอนต้นปี แล้วสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมกับปริมาณการซื้อขาย ซึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวส่งเสริม คือ อัตราการเจริญเติบโตของประเทศไทยที่ขยายตัวมากถึงร้อยละ 11 ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่สูงขึ้น พร้อมๆกับการฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังวิกฤตการณ์ Black Monday ภาวะการเงินระหว่างประเทศอยู่ในลักษณะที่ควบคุมได้ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์มีระดับสูงสุด 471.45 ในวันที่ 8 สิงหาคม โดยมีมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งปีมากถึง 156457.23 ล้านบาท

ปี 2532 ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ยังมั่นคงต่อไป ภาวะตลาดหุ้นสำคัญของโลกมีแนวโน้มพร้อมๆกับ อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ดัชนีราคาผ่านจุดสูงสุงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ Black Monday ในวันที่ 18 เมษายน และขยับสูงขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 879.19 ในวันที่ 29 ธันวาคม ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 377028.18 ล้านบาท

Re: จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street
733

Re: จันทร์ทมิฬ (Black Monday) ที่ Wall Street

เราได้เรียนรู้อะไรจาก Black Monday ในวันนั้นบ้าง?
1. ไม่มีอะไรในโลกแน่นอน – ถึงแม้ระบบเทรดจะถูกทำ Back Test มานับครั้งไม่ถ้วน แต่มันก็แค่อ้างอิงจากสถิติย้อนหลังที่เราเชื่อว่ายิ่งยาวก็ยิ่งดี แต่ในอนาคตปัจจัยที่กระทบภาวะตลาดนั้นแตกต่างออกไปเรื่อยๆตลอดเวลา
2. เมื่อความกลัวเข้าครอบงำ เมื่อนั้นก็หายนะ – ในช่วงแรกของการลงแรงๆ ผู้ขายไม้แรกๆมักจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันที่เก็บกำไรในระยะยาวมาได้แล้ว แต่หลังจากนั้นแรงขายมักจะผสมมาจากนักลงทุนรายย่อยซึ่งทนกับภาวะตลาดดิ่งลงไม่ได้ ทำให้สุดท้ายไปขายตรงราคาต้ำสุด แล้วมองหุ้นดีดกลับโดยคาดหวังว่ามันคงจะไม่ยั่งยืน สุดท้ายก็เกลียดหุ้นเลิกลงทุนไปโดยปริยาย
3. Super Bull Market มันเกิดหลัง Super Bear Market ทุกครั้ง – หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง จุดสิ้นสุดของ Bear Market ก็คือจุดเริ่มต้นของ Bull Market นั่นเอง หลังจาก Dow Jones ทำจุดต่ำสุดเมื่อปี 1987 ในเหตุการณ์ Black Monday ครั้งนั้น นั้นคือจุดเริ่มต้นของ Asia Miracle ให้ตลาดหุ้นในเอเชีย รวมถึงหุ้นไทย ทะยานขึ้นต่ออีก 10 ปี ไปจนถึงปี 1997 ทำจุดสูงสุดที่ 1,700 จุด ก่อนโดยวิกฤตต้มยำกุ้งจนเละเป็นโจ๊กกันทั้งโลก (แต่ก่อนฟองสบู่ลูกปี 2530 จะแตก ใช้เวลาถึง 10 ปีทีเดียว เห็นไหมครับ)



INSURANCETHAI.NET
Line+