ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์
734

ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

            มีคำกล่าวว่าประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยตัวมันเองเสมอซึ่งมีลักษณะเป็นวัฎจักร์ ดังนั้นการปรับตัวของ
ดัชนีราคาจะมีการปรับตัวคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมีโอกาสซ้ำรอยสูง การศีกษาความเป็นไปของดัชนีราคา
ที่ผ่านมาจึงมีความน่าสนใจ เพื่อทำนายความน่าจะเป็นทีเกิดขี้นในอนาคตได้ ตลาดหุ้นไทยตั่งแต่ปี 2518 ได้
ประสบกับภาวะต่างๆมากมายซึ่งแบ่งเป็นช่วงเวลาได้ดังนี้

                      1.ยุคเริ่มต้น (2518-2519)
                      2.ยุคตลาดบูมครั้งแรก (2520-2521)
                      3.ยุคตกต่ำครั้งที่ 1 (2522-กลางปี2525)
                      4.ยุคฟื้นตัว (2525-2528)
                      5.ยุคเฟื่องฟูครั้งที่ 2 (2529-2536)
                      6.ยุคตกต่ำครั้งที่ 2 (2537-2544)
                      7.ยุคฟื้นตัวครั้งที่ 2 (2545-2550)
                      8.ยุคตกต่ำครั้งที่ 3 (2551-กลางปี2552)

ยุคเริ่มต้น (2518-2519)

            วันที่ 30 เมษายน 2518 เริ่มต้นมีการซื้อขายหุ้นในสมัยนั้นมีบริษัทจดทะเบียนและได้รับอนุญาติจำนวน 21 บริษัท นักลงทุนไม่คุ้นเคยและขาดความรู้จึงมีปริมาณการซื้อขายตลอดทั้งปีเพียง 559.54 ล้านบาทเท่านั้นดัชนี ราคามีจุดสูงสุดเท่ากับ 100.11 ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2518 และ มีจุดต่ำสุดที่ 84.07 ในวันที่ 30 ธันวาคม 2518

            ต่อมาในปี 2519 มีปริมาณการซื้อขายมีปริมาณการซื้อขาย 993.54 ล้านบาท ดัชนีราคามีจุดสูงสุด 83.95 ในวันที่ 2 มกราคม 2519 และมีจุดต่ำสุดที่ 76.43 ในสมัยนั้นเป็นยุคแห่งการผจญภัยของนักลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ ผู้กำกับดูแล ท่ามกลางความไม่แน่นอนของกฎระเบียบการซื้อขาย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและ ความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะในปี 2519

ยุคตลาดบูมครั้งแรก (2520-2521)

            ในปี 2520 การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คึกคักเป็นประวัติการณ์ทั้งราคาและปริมาณการซื้อขายปรับ ตัวก้าวกระโดดสูงขึ้นถึง 26282.1 ล้านบาทโดยมีดัชนีราคาเท่ากับ 205.8 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 ซึ่งการซื้อ ขายในสมัยนั้นจะเป็นไปในลักษณะการเก็งกำไรระยะสั้น ประกอบกัยราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆเป็นโอกาสดี สำหรับบริษัท จดทะเบียนที่ต้องการเพิ่มทุน การที่ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอันเกิดจากการเก็งกำไร ระยะสั้นท่ำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเกิดความเสียหายตามมาได้ รัฐบาลจึงออกกฏหมายว่าด้วยการจัดเก็บ ภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ10 ของกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับผู้ที่ถือไว้ไม่เกิน 6 เดือน โดยมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 ทำให้ปริมาณการซื้อขายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

              ปี 2521 ภาวะการซื้อขายยังคงคึกคักราะคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายไม่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมา
จากภาวะเงินตึงตัวในประเทศ ในเดือนมีนาคม ตลาดหลักทรัพยได้ออกประกาศให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้
เงินกู้ยื้มได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาซื้อประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์

              อย่างไรก็ตามบริษัทสมาชิกดังกล่าวยินยอมรับภาระแทนผู้ลงทุนด้วยการลดค่านายหน้าการขายหลักทรัพย์ ในอัตราเดียวกับภาษีการขายหลักทรัพย์ ดั้งนั้นค่านายหน้าจาการซื้อขายหุ้นจำนวนรอยละ 0.50 ของจำนวนเงินที่ ซื้อขายและค่านายหน้าการขายหลักทรัพยจึงเหลือร้อยละ 0.39 % แต่การซื้อขายค่าแต่ละครั้งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาท

ยุคตกต่ำครั้งที่ 1 (2522-กลางปี2525)

              ปี 2522 เป็นปีที่ภาวะตลาดตกต่ำลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2521 อันผลสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันส่ง ผลทำให้เกิดเงินเฟ้อ ภาวะเงินตึงตัวเริ่มมีความรุ่นแรงมากขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมีอัตราสูงขึ้น เกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำหลายประเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดัชนีราคา สูงสุด 259.81 ในวันที่ 2 มกราคม 2522 ปรัยตัวลดลงมาต่ำสุด 146.11 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2522

              เหตุการณ์สำคัญในปี 2522 ปัญหาฐานะการเงินของบริษัทราชาเงินทุนจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์เริ่มเด่นชัดขึ้นในเดือน เมษายนตลาดหลักทรัพย์จึงสั่งพักการซื้อขายหุ้นบริษัทดังกล่าว และ
ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาความคุมการดำเนินงาน เหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความตื่นตกใจกับนักลงทุนส่งผลกระทบต่อ
ทั้งระบบ นักลงทุ่นเร่งนำหุ้นที่ถืออยู่ขายออกมาโดยไม่คำนึงถึงราคา ปัญหาของบริษัทราชาเงินทุนยังส่งผล
กระทบต่อบริษัทเงิน ทุนอื่นๆด้วย เนื่องมาจากประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินพากันไถ่ถอนตั๋วเงินทั้งๆที่ยังไม่ครบ
กำหนด ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องของบริษัทเงินทุนหลายบริษัทเป็นปัญหาตามมาอีก ในขณะที่สถาบันการเงิน
ที่ให้เงินกู้ได้เรียกคืนเงินกู้ชนิดทวงถามจากบริษัทเงินทุนต่างๆทำให้เกิดภาวะเงินตึงตัวที่ตังตัวอยู่แล้วมีสภาพย่ำ
แย่ไปทั้งระบบ ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินมาตรการช่วยเหลือเพื่อเพิ่มเติมสภาพคล่องของตลาดเงินและตลาด
หลักทรัพย์ ได้แก่ การยกเว้นภาษีดอกเบี้ย เงินกู้จากต่างประเทศ เปิดการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดภาระผูก
พันจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน การพิจารณาให้ บริษัทเงินทุนลงทุนในหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 60
ของเงินกองทุนของบริษัท การลดอัตราส่วนเงินประกันที่ลูกค้าต้องนำมาวางกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อกู้ยืมเงินเพื่อ
ซื้อหลักทรัพย์จากร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 25 ของมูลค่าหลักทรัพย์ จัดตั้งกองทุนพัฒนาตลาดทุน ซึ่งขณะ
เดียวกันสมาคมธนาคารไทยได้จัดตั้งกองทุนเพื่อเสริม สร้างสภาพคล่องให้แก่สมาชิกตลาดหลักททรัพย์

              กรณีการจองหุ้นที่ฉาวโฉ่มากที่สุดคือหุ้นจองของ บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค จำกัด ซึ่งจดทะเบียน
เพิ่มทุนให้เสนอขายให้นักลงทุนทัวไปราคาหุ้นละ 400 บาทขณะที่ราคาซื้อขายในกระดานเคลื่อนไหวอยู่ที่ 800
บาท หุ้นจองไทย – เยอรมัน เซรามิคได้รับความนิยมสูงดังนั้นเมื่อถึงวันที่บริษัทกำหนดเปิดให้จอง นักลงทุนจึง
รอคิวหน้าบริษัทกันตั้งแต่ตีหน่งแต่เมื่อบริษัทเปิดทำการ กลับไม่มีหุ้นไทย – เยอรมัน เซรามิคให้จองแต่อย่างใด
โดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าใบจองหุ้นเพิ่มทุนได้เสนอขายหมดแล้วจึงไม่มีใครได้รับจัดสรรแม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นการฮุบ
หุ้นจองของกลุ่มคนบางกลุ่มแล้วแบ่งสรรกันเอง ทำให้นักลงทุนยื่นเรื่องร้องเรียน ดร.มารวย ผดุงศิษย์ กรรมการ
ผู้จัดการบริหารตลาดหลักทรัพย์ ซึงแก้ปัญหาโดยขอให้มีการคายหุ้นออกมาแล้วจัดสรรให้นักลงทุนคนละ 50 หุ้น
เรื่องจึงยุติลง

              ปี 2523 – 2524 ปริมาณการซื้อขายยังไม่ดีขึ้นเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิต
สินค้าสูงขึ้น ส่งผลทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ (stagfation) รัฐบาลจึงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ
12 และอัตราดอก เบี้ยเงินกู้ยืมจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 18 และ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ
13 ในปีถัดมารวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 19 นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดดุล บัญชี
เดินสะพัดในระดับสูงมากภาวะเงินตึงตัวทวีความรุนแรงการลงทุนภาคเอกชนซบเซาอย่างหนัก การขาดดุลการค้า
ยังเป็นผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอลงจนถึงระดับวิกฤติในที่สุดรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ต้องตัดสินใจลดค่าเงินบาทลง9%เมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2524

ยุคฟื้นตัว (กลางปี 2525-2528)

            ปี 2525 ปริมาณการซื้อขายยังคงซบเซา สภาพตลาดหลักทรัพย์ได้เริ่มมีแนวโน้มกระเตื้องดีขึ้นในเดือน กันยายน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อได้คลายตัว อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลง แต่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศยัง ลดลงได้ไม่มากทั้งนี้เนื่องจาก รัฐบาลยังต้องการกู้เงินด้วยการขายพันธบัตรเพื่อไปชดเชยการขาดทุนงบประมาณ จำนวนมาก โดยให้ผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจให้ประชาชนซื้อพันธบัตร ส่งผลทำให้ ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถลด อัตราดอกเบี้ยได้

            ปี 2526 อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกครั้ง เงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่ามากขึ้นอีก รัฐบาลยังคงขาด
ดุลการค้าและบัญชีเดินดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้เกิดข่าวลือว่ารัฐบาลจะลดค่าเงินบาทและเกิดปัญหาการล้มของ
บริษัทการเงิน 3 แห่งทำให้สถาบันการเงินต่างๆรวมทั้งธนาคารพาณิชย์และบริษัทการเงินต้องกันเงินไว้เสริม
สภาพคล่อง

            ปี 2527 เกิดวิกฤติการณ์ทางเงินในบริษัทลงทุนและบริษัทเครดีตฟองซอเอร์บางแห่งรวมทั้งเงินนอกระบบ ประเภทวงแชร์เถื่อนทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่การซื้อขายกลับมากระเตื้องขึ้นในช่วงสุด ท้ายของปีภายหลังการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนและลดค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยเริ่มมีแนวโน้มลดลงและ มีการแก้ไขพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ไทยฉบับที่2 รวมมั้งข่าวร่วมทุนในทรัพยากรพลังงานและแร่ของบริษัท จดทะเบียนหลายแห่ง รวมไปถึงมีการลงทุนเพิ่มขึ้นของสถาบันประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและนักลงทุนจาก ต่างประเทศ เริ่มปรากฎเป็นมูลค่าอย่างมีนัยสาคัญ

              ปี 2528 ปริมาณการซื้อขายยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุมาจาก การประกาศใช้พระราชบัญญัติตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำเนินงาน
สามารถจ่ายเงินปัญผล ซึ่งในเวลานั้นหุ้นในบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้มีราคาถูกเมื่อเทียบกับการสูงขึ้นของค่าเงิน
ดอลล่าร์สหรัฐ

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์
734

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

ยุคเฟื่องฟูครั้งที่ 2 (2529-2536)

            ปี 2529เป็นปีที่ระดับราคาหลักทรัพยเคลื่อนไหวสูงขึ้นอย่างมั่นคง โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีของประเทศ
สนับสนุน นับตั้งแต่วิกฤติราชาเงินทุน มูลค่าเฉลี่ยการซื้อขายต่อวันมีประมาณ 100 ล้านบาทมีนักลงทุนต่างประ
เทศ เข้ามาลงทุนชัดเจนมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 4600 ล้านบาท ในปลายปีนั้นมีการจัดตั้งกองทุน Thailand fund
มีมูลค่า 30 ล้านเหรียญ เป็นกองทุนต่างประเทศกองทุนแรกที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพยไทย และเป็นจุด
เริ่มต้นของการจัดตั้งกองทุนลักษณะเดียวกันที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นตามมานับสิบกองทุน นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ย
ยังเอื้อ อำนวยและยังได้รับแรงสบับสนุนจากการปรับโครงสร้างภาษีการลดราคาของราคาน้ำมันและสาธาณูปโภค

            ปี 2530 นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มเห็นผล ทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
เพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับปีก่อน จนทำให้ตลาดหลักทรัพยได้เปลี่ยนแปลงอัตรา margin ในทางสูงขึ้น
เพื่อชลอความร้อนแรงขของตลาด

เหตุการณ์ Black Monday 2530

            เกิดขึ้นมนวันจันทร์ 19 ตุลาคม ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตกภายในวันเดียว 22.6 %วิกฤตการณ์ครั้งนั้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติจำเป็นต้องขายหุ้นในประเทศต่างๆออกมาเพื่อชดเชยการขาดทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์คทำให้ ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำ จนทำให้นักลงทุนภายในประเทศแห่ขายตามเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะ ถดถอยอีกครั้งทำให้ดัชนีราคาตลาดหุ้นตกจากระดับ 472.86 มาเหลือ 249.97 ในระยะเวลา 2 เดือน

            สาเหตุสำคัญของ Black Monday 4 ประการ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Black Monday กับตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อ 18 ปีที่แล้ววันนี้จะมาคุยถึงรายละเอียดของสาเหตุทั้ง 4 ข้อนั้น


                1)เกิดการปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงจากระดับ 2,000 จุด และขึ้นไปถึง 2,747 จุด ภายในระยะเวลา 3 เดือน
                2) อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ หรือ CPI ปรับตัวขึ้นมากกว่า 4%
                3) ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น 100% จากระดับ 10.80 ไปสู่ 22.40 เหรียญ ต่อบาร์เรล
                4) อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 6%

            ปี 2531 ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำจาก Black Monday เดือน ตุลาคม 2530
และเด่นชัดขึ้นระดับราคาหลักทรัพย์อยู่ในลักษณะทรงตัวในตอนต้นปี แล้วสูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมกับ
ปริมาณการซื้อขาย ซึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวส่งเสริม คือ อัตราการเจริญเติบโตของประเทศไทยที่ขยายตัวมาก
ถึงร้อยละ 11 ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่สูงขึ้น พร้อมๆกับการฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่ว
โลกหลังวิกฤตการณ์ Black Monday ภาวะการเงินระหว่างประเทศอยู่ในลักษณะที่ควบคุมได้ ดัชนีราคาตลาด
หลักทรัพย์มีระดับสูงสุด 471.45 ในวันที่ 8 สิงหาคม โดยมีมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งปีมากถึง 156457.23 ล้าน
บาท

            ปี 2532 ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ยังมั่นคงต่อไป ภาวะตลาดหุ้นสำคัญของโลกมีแนวโน้มพร้อมๆ
กับ อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ดัชนีราคาผ่านจุดสูงสุงก่อนเกิดวิกฤตการณ์
Black Monday ในวันที่ 18 เมษายน และขยับสูงขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 879.19 ในวันที่ 29 ธันวาคม ด้วยมูล
ค่าการซื้อขาย 377028.18 ล้านบาท

            ปี 2533 รัฐบาลแถลงประกาศยอมรับพันธะมาตรา 8 ของเงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นอกจาก
นั้นมีการจัดตั้งกองทุนต่างประเทศอีก 3 กองทุนมูลค่ารวม 8600 ล้านบาทและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพมีมติ
ให้ขยายเวลาการซื้อขายหลักทรัพย์จาก 2 ชั่วโมงเป็น 3 ชั่วโมง ทำให้ดัชนีราคาได้ไต่ระดับ 1143.78 เมื่อวันที่
25 กรกฎาคม มุลค่าการซื้อขายรวม 627232.75 ล้านบาท

วิกฤตการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซีย (2533)

            ในปีนั้นประเทศอิรักบุคยึดประเทศคูเวทอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 2 สิงหาคม 2533 ส่งผลกระทบทาง
จิตวิทยาของนักลงทุนและทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดัชนีราคาปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
เช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านั้นตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปซื้อขายสูงสุดที่ระดับ1,143.75 จุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533
แต่เพียง 3 สัปดาห์ดัชนีดิ่งลงมากถึง 39% ต่ำสุดที่ระดับ 695.81 จุด ตลาดหุ้นไทยต้องตกอยู่ในพะวังและความ
ไม่ชัดเจนของสงครามถึง 3 เดือนเต็ม ก่อนที่จะกระเตื้องดีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคมและปรับตัวลงมาเหลือ
544.30 ในเดือนพฤศจิกายน

            ปี 2534 การซื้อขายหลักทรัพย์ได้ฟื้นขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยมีปัจจัยที่สนับมนุนคือ การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจซึ่งยังคงเจริญเติบโตในระดับสูง รวมทั้งการฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนั้นตลาดถูกกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงทางการเมื่องโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ไม่มีเหตุเสียรุนแรงจนเสียเลือดเนื้อ
มากนักหลังจากวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ แต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนุญฉบับใหม่ในเดือนธันวาคม การซื้อขายจึงกลับ
มาคึกคักอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายปี

            ปี 2535 สภาพคล่องในตลาดเงินที่สูงมากและสถานการณ์การเมืองในช่วงเลือกตั้งทั่วไปที่ดูเหมือนมี
ความเรียบร้อยได้ส่งผลในภาวะการซื้อขายหุ้นคึกคักมา มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 1000 ล้านต่อวันดัขนีราคาที่
เปิด ณ ต้นปี 712.02 ได้ขยับตัวสูงขึ้น 832.39 ในวันที่ 7 เมษายน

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535

            เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ตลาดหุ้น
ไทยต้องสะดุดตัวเองอย่างแรงเหตุการณ์นี้สืบต่อมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช.เข้ายึด
อำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ตลาดหุ้นตกไปทันที 40.63 จุด และวันถัดมาตกลงอีก 57.40 จุดจน
กระทั่งเดือนพฤษภาคม 2535 ก็เกิดเหตุความไม่สงบขึ้น ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์เสียเลือดเสียเนื้อของประชาชน
จำนวนมาก ตลาดหุ้นตอบรับทางลบอย่างรุนแรง ดัชนีตกลงทันที 65 จุดเหลือเพียง 667.84จุด ก่อนจะดีดกลับ
61 จุดในวันที่ 21 พ.ค. 2535 หลังเหตุการณ์ความไม่สงบตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก มูลค่าการ
ซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 7,337 ล้านบาท ในไตรมาสแรกเหลือเพียง 4,871ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2

              อย่างไรก็ตามเมื่อภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองสิ้นสุดลง เมื่อได้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง ในวันที่ 13 กันยายน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยมีนาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีภาวะการซื้อขายเริ่มกับมาคึกคัก อีกรอบ โดยเฉพาะวันที่ 12 กันยายน มีมูลค่าการซื้อขายมากถึง 22,636.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายที่ สูงสุดในรอบ 17 ปี

              อย่างไรก็ตาเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2534 ตลาดหลักทรัพย์มีการขยายตัวที่สูงมาก จำนวนบริษัทจดทะเบียน เติบโตจาก 276 บริษัทเป็น 320 บริษัทคิดเป็นร้อยละ 15และมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเติบโตจาก3237 ล้าน บาทเป็น 7530 ล้านบาท ซึ่งเติบโนสูงถึงร้อยละ 133 และขนาดตลาด(market cap) ณ วันส้นปี 2534เท่ากับ 897159 ล้านบาท ขยายตัวเป็นเป็น 1,485,018 ล้านบาท เมื่อสินปี 2535 ซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 66

เหตุการณ์กล่าวโทษ ข้อหาปั่นหุ้น

            สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกของนักลงทุน คือ การประกาศความผิดข้อหาปั่น
หุ้นธนาคาร กรุงเทพพาณิชย์การ หรือ BBC กับนาย สอง วัชรศรีโรจน์และพวกอีก 11 คนกลางเดือนพฤศจิกายน
2535 โดย หน่วยงานใหม่คือคณะ กรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย (ก.ล.ต.)ที่มีหน้าที่รับผิด
ชอบดูแลกำกับตลาด ในข้อหาปั่นหุ้น ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2535ทำให้นักลงทุนตก
ตะลึง ขายหุ้นจนดัชนีราคาทรุดตัวลง 6% ในระยะเวลา 2 วันทำการและในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 กระทรวง
การคลังก็ประกาศจัดตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากธนาคารกรุงไทยเข้ามาพยุงหุ้นและยังขอความ
ร่วมมือจากกโบรกเกอร์ 40 รายลงขันจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นอีก 10,000 ล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้นธนาคาร กรุงเทพ
พาณิชย์การ

            ปี 2536 นักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรในตลาดไทยในครึ่งปีหลังทำให้ตลาดมีการปรับตัวขึ้นพร้อม
กับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นเป็น 2-30000 ล้านต่อวัน แลเพราะมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวนี้ ทำ
ให้มีการเข้ามาเก็งกำไรในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะมีกำไรจากมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาปรับตัว
จาก 877.52 ในเดือน มิถุนายน เป็น 1682.86 เมื่อสิ้นปี 2536 กลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มี
การปรับตัวเพิ่มมากกว่า 2 เท่าตัว

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์
734

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

ยุคตกต่ำครั้งที่ 2 (2537-2544)

          ปี 2537 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เปิดที่ 1753.73 เป็นจุดสูงสุดของปีในวันที่ 4 มกราคม แต่ต่ำสุดที่
ระดับ 1196.59 จุดในวันที่ 4 เมษายน โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 2,113,860.65 ล้านบาทมีค่า PE 31.49 เท่าทำ
ให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง

          ปี 2538 ดัชนีราคาตลาดเปิดทำการวันที่ 3 มกราคม ดัชนีราคา 1354.04 แต่หลังจากนั้นปรับตัวลดลง
มาตลอดเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศเม็กซิโก ที่เกิดในวันที่ 12 มกราคม ทำให้นักลงทุนต่าง
ประเทศ ไม่มั่นใจลงทุนในตลาดหลักทรัพยเกิดใหม่ พร้อมทั้งมีข่าวลือเรื่องการการลดค่าเงินบาทของไทยนอก
จากนี้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงในเมื่องโกเบของปประเทศญี่ปุ่นทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง

กรณีของธนาคารแบริ่ง

            ธนาคาร แบริ่ง ลงทุนในพันธบัตรและตราสารอนุพันธ์ซึ่งอิงกับดัชนีนิคเคอิในตลาดล่วงหน้าโอซากาของ ญี่ปุ่นเป็นจำนวน 15,000-20,000 สัญญา แต่ละสัญญามีมูลค่าประมาณ 120,000 ปอนด์ โดยหวังว่าดัชนีนิคเคอิ จะปรับตัวสูงขึ้น อันจะทำให้การตัดสินใจลงทุนาได้กำไร เมื่อดัชนีนิคเคอิดิ่งลงจึงกลายเป็นการลงทุนที่ผิดพลาด แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะได้เข้ามาช่วยเหลือโดยพยายามหาผู้มาซื้อกิจการ แต่ผลการขาดทุนที่ไม่อาจ ประเมินมูลค่าได้ว่าจะไปหยุดอยู่ที่เท่าไรทำให้ไม่มีสถาบันการเงินใดกล้าซื้อกิจการ

            ข่าวการขาดทุนของบริษัท แบริ่งส์ฯ ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง โดยเฉพาะ ตลาดหุ้นโตเกียวดัชนีนิคเคอิปรับตัวลดลงกว่า 800 จุด และปิดลงต่ำกว่าระดับ 17,000 เป็นครั้งแรกในรอบ14 เดือน ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงทันทีถึงกว่า 40 จุด

            ปี 2539 การซื้อขายหลักทรัพย์ โดยรวมนั้นซบเซาและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปี 2538 เป็นผลกระทบ มาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชลอตัวลงจากการส่งออกและการลงทุนต่ำกว่าที่คาดหมายและยังขาดดุล บัญฃีเดินสะพัดที่สูงมาก ทำให้เกิดความหวั่นเกรงเสถียรภาพของเงินบาทเนื่องมาจากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็ง ค่าตั้งแต่ต้นปีดัชนีราคาหลักทรัพย์เปิดที่ระดับ 1,323.43 จุด สูงสุดที่ 1,415.04 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และต่ำสุด ที่ระดับ 816.79 ในวันที่ 20 ธันวาคม และปิดที่ระดับ 831.57 จุด มีมูลค่าการซื้อขายตลอดทั้งปี 1.3 ล้านล้านบาท

            ปี 2540 การซื้อขายซบเซาราคาหลักทรัพยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและการ
อ่อนตัวของค่าเงินบาททำให้ผลการดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนขาดทุนเป็นจำนวนมาก ประกอบปัญหาทาง
การเงินจน ในที่สุดรัฐบาลสั่งให้ปิดกิจการบริษัทเงินทุนจำนวน 56 แห่ง

การประกาศลอยตัวค่าเงินบาท 2540

            ก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ตลาดหุ้นตกต่ำมาตั้งแต่เดือนมกราคม
2539 จากระดับ 1,410.33 จุดดิ่งลงมาตลอดต่ำสุดที่ระดับ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 ลดลง 953 จุด
หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน นับเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทยเพราะเป็นการตกต่ำที่หนัก
หน่วงยาวนานต่างจากวิกฤตการณ์ทุกครั้งที่ตกต่ำเพียงไม่กี่เดือนก็มักจะฟื้นตัวและเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์
ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน
จนผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ขาดความเชื่อมั่น ค่าเงินบาทถูกโจมตีอย่างหนัก ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เงินคงคลัง
พยุงค่าเงิน จนเงินหมด ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงตัดสินใจปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float
รวมทั้งต้องประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร ตลาดหุ้นตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ความมั่งคั่งของคนไทย
หายไปในระยะเวลาเพียง 1 คืนเป็นจำนวน 3,210,353 ล้านบาท ดัชนีราคาเปิดที่ 803.13 จุดสูงสุด 858.97 วันที่
22 มกราคม ต่ำสุด 357.13 วันที่ 26 ธันวาคม ปิดที่ 831.57 มีมูลค่าการซื้อขาย 929.59 พันล้านบาท PE ทั้ง
ตลาดปี 2540 มีค่า 6.59 เท่า และ P/BV มีค่า 0.89 เท่า Dividend Yield 6.04 %

          ปี 2541 ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งปรากฎในหนังสือเจตจำนงระหว่างรัฐบาลไทยกับ IMF การที่รัฐบาลผ่าน พ.ร.ก. การเงิน 4 ฉบับเพื่อรับรองการ แก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน การประกาศแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน ในวันที่ 14 สิงหาคม 2541 มาตรการปรับ โครงสร้างหนี้ การผลักดัดกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ สถาบันการเงินของไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตัวเลข หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ขาดทุนเป็นจำนวน มากและความถดถอยได้ลุกลาม ไปยังหลายประเทศในภูมิภาค วิกฤตค่าเงินของรัสเซียและลาตินอเมริกาความกังวล เกี่ยวกับการลดค่าเงินจีน

          ดัชนีราคาหลักทรัพย์ มีระดับสูงสุด 558.92 จุด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพัน์ และมีระดับต่ำสุดที่ 207.31 จุด วันที่ 4 กันยายน 2541 โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 855,170 ล้านบาท มีบริษัทจดทะเบียนถูกเพิกถอนจำนวน 14 บริษัท

            ปี 2542 การหดตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ อันผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศส่งผลกระทบ ต่อบริษัทจดทะเบียน โดยผลประกอบการเมื่อสิ้นไตรมาศ 3 อยู่ในภาวะขาดทุนทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของ ตลาดลดลงและมีบริษัทจดทะเบียนถูกเพิกถอน จำนวน 26 บริษัท ดัชนีราคาหลักทรัพย์ในวันสินปีปิดที่ระดับ 481.92 มี market Cap 2,193,070ล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขาย 1,609,790 ล้านบาท

            ปี 2543 สภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ซบเซาและสภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมฟื้นตัวอย่างช้าๆค่อยเป็น
ค่อยไปการปรับตัวด้านปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างช้าๆ ความซบเซาได้สะท้อน
ผ่านดัชนีราคาโดยปิดที่ 269.19 จุดโดยมีมูลค่าการซื้อขายรวม 923,697 ล้านบาท PE Ratio มีค่าเท่ากับ 5.52
เท่าและมี Dividend Yield 1.78 % มีบริษัทจดทะเบียนถูกเพิกถอนอีก 13 บริษัท

              ปี 2544 การซื้อขายหลักทรัพย์เริ่มคึกคักมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2543 โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมตลอด ทั้งปี 1,578,000 ล้านบาท โดยดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์เปิดตลาดที่ระดับ 272.03 ในวันที่ 3 มกราคมและ ปรับตัวสูงสุด 342.56 วันที่ 6 กันยายน และมีจุดต่ำสุด 265.22 วันที่ 7 พฤศจิกายน 265.22 และปิดที่ 303.8
5 มี market cap 1,607,000 ล้านบาท

ผลการก่อวินาศกรรม วันที่ 11กันยายน 2544

          ในวันที่ 11 กันยายน 2544 มีผู้ก่อการร้ายขับเครื่อบบินโดยสารชนตึกแผด world trade centre ประเทศ สหรัฐอเมริกาทำให้ตึกทั้ง 2 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและของโลกด้วยก.ล.ต. ใช้อำนาจตามมาตรา 186 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ออกคำสั่งห้ามการซื้อขาย หลักทรัพย์จดทะเบียนทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นการชั่วคราว รวมทั้งสามารถสั่งให้คณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์ฯ หรือผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีเวลาในการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบ ถ้วน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือให้ได้ข้อมูลกันให้ครบและมีเวลาตั้งสติกันก่อน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดกรณีที่นักลงทุนเทขาย หุ้นตามกันด้วยความตื่นตระหนก สุดท้ายก็จะเกิดความเสียหายทั้งกับตัวผู้ลงทุนเอง และระบบเศรษฐกิจการเงินของ ประเทศโดยรวม ผลในเหตุการณ์นั้น Market Cap .ของตลาดหุ้นไทย 6 วันทำการ (11-20ก.ย.2544) สูญไปแล้ว กว่า 2.51 แสนล้านบาทเป็นความเสียหายชนิดเฉียบพลันอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนซึ่งก่อนเกิดโศกนาฏกรรม ในสหรัฐตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 330 จุด มีมูลค่าตลาดรวม (Market Cap) อยู่ที่ 1.607 ล้านล้านบาทหลังเกิด เหตุการณ์ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับ 266 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 19% ตลาดหุ้นซึม อยู่นานกว่า 2 เดือน

ยุคฟื้นตัวครั้งที่ 2 (2545-กลางปี 2551)

            ปี 2545 เศรษฐกิจไทยเริ่มมีขยายตัวอย่างชัดเจนโดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมร้อยละ 4-6.1 ดอกเบี้ยมีอัตราต่ำ ทำให้มีบริษัทจดทะเบียน เข้ามาระดมทุนเสนอขายหลักทรัพย์ 120 บริษัท 52.9 เป็นการระดมทุนที่เสนอขายต่อ ประชาชน ทั่วไป มีมูลค่าถึง 90,126 ล้านบาท ในขณะที่การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคลภายในวงจำกัด (Private Placement) มีสัดส่วนมากกว่าคือประมาณร้อยละ 65 บริษัทจดทะเบียนเริ่มมีผลประกอบการที่ดี นักลงทุนต่าง ประเทศเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งในรอบ 4 ปี

            ปี 2546 ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อย 117 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่เริ่มดีขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า
ที่คาดไว้ โดยขยายตัวในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเทีบต่อไตรมาศโดยเริ่มจากไตรมาศ1 ร้อยละ 3.5 ร้อยละ 5.1 ร้อยละ
5.8 ร้อยละ 6.1 ดุลบัญฃีเดิยสะพัดมีแนวโน้มเกิน ดุลต่อเนื่องจากปี 2545 ที่เกินดุลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 ทำให้
บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีผลประกอบการดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในบริษัทจดทะเบียนทุก
บริษัทในกลุ่ม SET 50

            ปี 2547 ดัชนีหลักทรัพย์ เริ่มปรับตัวลงอีกครั้ง เนื่องมาจากการ ขายทำกำไรและปรับ Port การลงทุน
ของต่างชาติและต่างชาตินำหุ้นมา Short sell เป็นจำนวนมากทำให้ดัชนีราคา 800 ปรับตัวลดลงเหลือ 580 จุด

            ปี 2548-2549 นักลงทุนต่างชาติปรับเปลี่ยนกลยุทธการลงทุนใหม่โดยนำเงินมาลงทุน ในหุ้น กลุ่ม
พลังงาน ธนาคารพาณิชย์ กลุ่มสื่อสาร โดยหุ้นกลุ่มพลังงานมีการกระจุกตัวในการลงทุนมากที่สุด พร้อมยอดสะ
สมเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรม Finance เริ่มมีภาวะการแข่งขัน
ที่สูงขึ้นและผลประกอบการมีแนวโน้มลดลงจาก นโยบายค่าคอมมิชชั่นเสรี ทำให้หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีราคาต่ำ
ลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักทรัพย์ในปี 2549 มีบรรยากาศการซื้อขายอย่างคลุมเครือ

              การออกจากธุรกิจของกลุ่มเบญจรงคกุลซึ่งสาเหตุมาจากอัตราการแข่งขันโทรศัพท์เคลื่อนที่มีสูง และ
เกิดความยุ่งยากในการของสัมปทานจัดสรรคลื่นความถี่ในระบบ 3G กลุ่มเบญจรงคกุล การเจรจาขายหุ้นให้กลุ่ม
เทเลนอร์ ((Telenor) ของนอร์เวย์) ซึ่งในเวลาต่อมา UCOM ได้อนุมัตให้ออกจากตลาดหลักทรัพย์และและตลาด หลักทรัพย์อนุญาติให้ขายหุ้นบริษัทขายหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ("DTAC") แทนที่ นอกจากนี้ ตระกูลชินวัตรและดามาพงษ์ขายหุ้นกลุ่ม shin ให้กับ Tamasek อย่างน่าสงสัยหลาย ประเด็นและไม่เสียภาษี จนเกิดเป็นประเด็นทางการเมืองในเวลาต่อมา

              นอกจากนี้มีกรณีปัญหาของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด ข้อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่
ได้ถูกพลตรีจำลอง ศรีเมือง สร้างกระแสคัดค้านโดยให้เหตุผลว่า เป็นการสิ่งเสริมให้ประชาชนดืมสุรามากขึ้น ทำ
ให้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด ข้อเข้าจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในสิงคโปรแทน

              ในขณะนั้นมีความต้องการแปรรูปการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นบริษัทมหาชนแล้วนำเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ซึ่งก็มีกระแสคัดค้านเนื่องมาจากความเป็นโปร่งใส่จากการตีความในเรื่องสิ้นทรัพย์ของการไฟฟ้า นครหลวง และอื่นๆอีกมากมาย

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์
734

Re: ประวัติการขึ้นลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์

กรณีมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย

            เป็นเหตุการณ์ธนาคารแห่งประเทศไทยโดย นาง ธาริษา วัฒนเกส ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทยและมี นาย ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมตรีกระทรวงการคลัง ออกมาตรการสะกัดกั้น
เงินบาทแข็งค่าเป็นผลจากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30%
สำหรับการนำเข้า เงินทุนระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี การประกาศออกมาในเย็นวันที่ 18 ธค 2549 หลังตลาดหุ้นปิด
แบ็งค์ชาติประกาศออกมาตรการ 30% หุ้นปิด ลบ 5.74 จุด จากนั้นเช้าวันที่ 19 ธค 2549 ตลาดเปิดหุ้นดิ่งทันที
ลบกว่า100จุด ก่อนจะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที และทำการซื้อขายต่อเวลา 12.00 ตลาดปิดภาคเช้า ลบ 83
จุด ในภาคบ่ายตลาดลดลงไปมากสุดถึง -142.63 จุดและได้หยุดพักการซื้อขายครั้งที่ 2เป็นเวลา 60 นาที และ
ปิดตลาดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84% ซึ่งดัชนีปิดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นับจากระดับ 621.57
เมื่อ 28 ต.ค.47ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้นัก
ลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมามาก โดยต้องหยุดพักซื้อขายชั่วคราว30 นาทีระหว่าง 11.29-11.59 น. เนื่องจาก
ดัชนีปรับลงถึงระดับ 10% ณ. วันนั้นวันเดียวเงินในตลาดหุ้นลดลงกว่า 5แสนล้านบาท

            ปี 2550 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการท่ามกลางกระแสตื่นตระหนกจาก กรุงเทพมหานครถูกวางระเบิด เป็นจำนวน 6 จุดทำให้ดัชนี ราคาปรับตัวลดลงไป 628.19 จุด เป็นการปรับตัวลงในระยะสั้นๆ และได้ปรับตัวสูงขึ้น ในเวลาไม่นานนัก จากหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการเก็งกำไรในการซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีราคาสูงขึ้นมากถึง 140 เหรียญ โดยดัชนีปรับตัวสูงสุด 927.70ในระหว่างวันที่ 22-29 ตุลาคม ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในรอบ 10ปี พร้อมๆกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผลการตัดสินคดี บริษัท ปตท. จำกัด

          นิติมนตรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ซึ่งเป็นคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงสุดว่ากระบวน
การและขั้นตอนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิชอบ ขอให้ศาลปกครองสูงสุด
เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระ
ราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544กรรมการ-ขั้น
ตอนชอบด้วย กม

        ประเด็นปัญหาแรก ที่ศาลต้องวินิจฉัยคือ การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) และการดำเนินการของคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

            ในประเด็นนี้ ศาลรับฟังว่า นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้เป็นกรรมการหรือประธาน กรรมการในนิติบุคคลที่เป็นผู้ร่วมทุนกับภาครัฐ เพื่อประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัว จึงไม่อาจ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันมีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

            สำหรับกรณีที่ นายวิเศษ จูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และ นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวง
อุตสาหกรรมนั้น ได้เข้าถือหุ้นของบริษัท ปตท. ภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ.ปตท. จึงไม่มีผล
กระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนสภาพของ ปตท. ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ศาลเห็นว่า
การประชาสัมพันธ์มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึง
แล้ว การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่
ได้กระทำก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

          ประเด็นปัญหาสำคัญต่อมาคือ บทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตร
เลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้น มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่

            ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.ไปเป็น บมจ.ปตท. และได้นำหุ้น
ของ บมจ.ปตท.เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ วันที่ 6 ธ.ค. 2544 หาก
มีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายที่ได้มา
จากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ กลับไปเป็นของ ปตท.ดังเดิม ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระ
ทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้ง
ยังอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุน รวมถึงตลาดเงิน และบุคคลภายนอกที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ.ปตท. ทั้ง
อาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วย

โอนที่ดิน 32 ไร่ให้คลัง

            เมื่อพิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้ง
ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งมี
ผลใช้บังคับเป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2550 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับกิจ
การพลังงาน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย และการออก
ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ทั้งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการวางระบบโครงข่ายพลังงาน โดยในบท
บัญญัติมาตรา 104 มาตรา 105 และมาตรา 106 ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประ
โยชน์ในกิจการพลังงาน และการใช้อำนาจมหาชนของรัฐของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไว้ และในบท
เฉพาะกาล ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชกฤษฎี
กาฉบับดังกล่าวเป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว

            อีกทั้งคำฟ้องในประเด็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ทรัพย์สิน และสิทธิการใช้ที่ดินในระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ที่โอนให้แก่ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลโดยตรงต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ บทบัญญัติในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ที่จะต้องกระทำ การแก้ ไขการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท.

            ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้เป็นของกระทรวงการคลัง โดย ปตท.ยังมีสิทธิในการใช้ที่ดินต่อ
ไป โดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์เหตุแห่งการกระ
ทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา และบทบัญญัติแห่งพระราช
บัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่จำเป็นต้อง
เพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้าศาลปกครองสูงสุด จึงพิพากษาให้ผู้
ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อ
วางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำ
นาจและสิทธิของ บมจ.ปตท. ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญ
ญัติการระกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

ยกคำร้องมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

        ส่วนคำขอตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และ ประโยชน์ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ
สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อน
เวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้น ให้ยกคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า

ยุคตกต่ำครั้งที่ 3 (2551)

        ปี 2551 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงตลอดทั้งปีเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินกลุ่มประเทศ ฝั่งตะวันตกที่รุนแรงใกล้ตัวและรุกลามอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดกันไว้มากจากโลกซีกอเมริกาลุกลามไปสู่ยุโรป จนเข้าถึงเอเชียและไปยังตะวันออกกลาง ทุกส่วนของโลกโดนพิษวิกฤตการเงินกันทั้งหมด ความเชื่อมโยงถึงกัน เหมือนดังปัญหาที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและกระทบถึงตลาดทุน ซึ่งในวันเข้าขั้นวิกฤติหนักไม่แพ้การล้มละลายของ สถาบันการเงินหลายแห่งในต่างชาติ อันมีต้นเหตุจากปัญหาซัพไพร์ม

            ความจริงนักลงทุนต่างชาติจับสัญญาณได้ถึงปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2551 ต่างชาติเริ่ม
เทขายหุ้นในภูมิภาคเอเชียทิ้งเพื่อนำเงินกลับไปพยุงบริษัทแม่ที่ใกล้ล้มละลาย บางส่วนก็นำไปเติมสภาพคล่อง
กรณีที่เกิดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกำหนดเพราะความวิตกกังวลในปัญหา ซึ่งเป็นการทำทุกวิธีทางเพื่อความ
อยู่รอดแต่ในท้ายที่สุดแล้วการเทขายหุ้นออกไปก็ยังไม่สามารถชีวิตแก้ปัญหาบางบริษัทได้ จนต้องปล่อยให้ล้ม
ละลายไปความแรงของการเทขายยังมีอย่างต่อเนื่องเพราะความวิตกจากนักลงทุนโดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 51
ตลาดหลักทรัพย์หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวเนื่องด้วยดัชนีราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจาก
ดัชนีราคาปิดวันทำการก่อนหน้า 43.29 จุดคิดเป็น 10.00% อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ของข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การซื้อขายการชำระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.
2542ซึ่งกำหนดให้หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยดังกล่าวส่งผลให้ตลาด
หลักทรัพย์ต้องประกาศพักการซื้อขายชั่วคราวหลังดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรง 10% ในวันเดียว ปี 2551 เป็นปีที่มี
ข่าวหนาหูและปรากฏเป็นจริงที่สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาต้องเพิ่มทุนถูกเทกโอเวอร์ และล้มละลาย จนมา
ถึง “เลแมน บราเดอร์ส” และ “เอไอจี” ตลาดหุ้นของไทยโดยดัชนีปรับตัวลดลงในระดับต่ำสุด 380.05 จุด ในวัน
ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน ทั้งที่ในต้นปีเดียวกันนั้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 842.97 จุด เป็นดัชนีที่ลดลงต่ำพอๆ กับปี 2532และเป็นดัชนีที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์การเงินมื่อปี 2540



INSURANCETHAI.NET
Line+