ลงทุนอะไรดี , Money Market Fund
81

ลงทุนอะไรดี , Money Market Fund

ลงทุนอะไรดี , Money Market Fund

มีเงินก้อน ไม่มีภาระหนี้สิน เอาไปทำอะไรดี?
คนเราทุกคนถนัด และเข้าใจในเรื่องต่างๆไม่เหมือนกัน
ดูก่อนว่าถนัดอะไร? หรือลองถามตัวเองดูดีๆว่าชอบอะไร? และอยากทำอะไร? แต่ยังไม่ได้ทำ (ที่ไม่ขัดกับศีลธรรมจรรยา) เพราะถ้าบอกว่า ช่วงนี้ หอพัก กำลังมาแรง ให้หาทำเล ใครๆก็พูดได้ครับ แต่ทำจริงๆ มันจะคุ้มกับที่ลงแรงไปหรือเปล่านะสิ

ถ้าไม่อยากทำงานแล้ว ก็ให้เงินก้อนนี้ทำงานแทนเรา มีหลายช่องทางให้เลือก
1. ลงทุนในทองคำ
2. ลงทุนเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์
3. ลงทุนในหุ้น หรือ ตราสารหนี้
4. ลงทุนผ่านกองทุนรวม
5. เงินฝากธนาคาร
6. ซื้อหวย
7. ซื้อกิจการ
8. อื่นๆ

ซึ่งส่วนหนึ่งต้อง ขึ้นอยู่กับขนาดของเงินลงทุน และความเสี่ยงที่รับได้ ที่สำคัญคือ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และมีวินัยกับมัน

ตัวอย่าง
เงินลงทุน 4 ล้าน และรับความเสี่ยงได้น้อย

คิดจากเงินฝากประจำนะ ตอนนี้ 1 ปี อยู่ประมาณ 4.75%ต่อปี ได้ผลตอบแทนต่อปีเท่ากับ 190,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เหลือ 161,500 บาท
ที่หายไป 28,500 บาท สามารถยื่นขอ credit คืนภาษีได้ตามแต่ฐานเงินได้
หากเสียฐาษีที่ rate 10% ก็สามารถ credit คืนได้ 5% (เลือกหักที่ฐาน 10% แทน)
สมมติว่าขอคืนมาได้นะครับ จะได้ 171,000 บาท ต่อปี ตกต่อเดือนก็อยู่ที่เดือนล่ะ 14,250 บาท
(พอใจไหมครับ ถ้าพอใจก็จบเลย)

แล้วมีอย่างอื่นอีกไหม?
ขยับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย ผ่าน กองทุนรวมตราสารตลาดเงิน (MMF)
ผลตอบแทนอยู่ประมาณ 4.1% ไม่แน่นอน แล้วแต่ภาวะดอกเบี้ย (แต่กำลังขาลงเลย -*-)
คิดดูได้ 164,000 บาทต่อปี หรือ 13,666 บาท ต่อเดือน
โดยผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมทุกประเภท ที่คิดผลตอบแทนเป็นกำไรส่วนต่าง ไม่ต้องนำมาคิดรวมเพื่อเสียภาษีกับเงินได้พึงประเมิณ
เพราะฉะนั้น 164,000 บาท ต่อปี (สุทธิแล้ว)

ขยับความเสี่ยงแล้ว ทำไมผลตอบแทนใกล้เคียงกันเลยล่ะ?
จริงๆแล้ว ผลตอบแทนก็อย่างที่เห็น แต่ MMF มีข้อดีมากกว่าเงินฝากประจำ 1 ปี อยู่หลายข้อด้วยกัน
- เงินฝากประจำ หากถอนมาก่อน จะถือว่าผิดเงื่อนไข ไม่ได้อัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ (สภาพคล่องน้อย)
- เงินฝากประจำต้องเสียภาษี ตามแต่ฐานภาษีของแต่ละบุคคล ในขณะที่กองทุนรวม ไม่ต้องเสีย
- MMF มีสภาพคล่องใกล้เคียงเงินฝากออมทรัพย์ และบางแห่ง ก็สามารถใช้ MMF แทนเงินฝากออมทรัพย์ได้เลย ในขณะที่ผลตอบแทน พอๆกับฝากประจำ ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ และได้ผลตอบแทนเป็นรายวัน

ถ้าอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงดีไหม?
มีอยู่ 2 วิธี คือ เพิ่มความเสี่ยง ขยับเลือกกองทุนประเภทที่เสี่ยงขึ้นไปเลย หรือ ขยับเพิ่มความเสี่ยง โดยลงทุนกับกองทุนประเภทเดียวกับ SCBSFF แต่ผลตอบแทนสูงกว่า

มีกองทุนแบบ SCBSFF แต่ผลตอบแทนสูงกว่าด้วยหรอ?
มี, แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ บางแห่งก็ความเสี่ยงต่ำกว่า และผลตอบแทนดีกว่าก็มีเหมือนกัน (ต้องวัดผลการดำเนินงาน MMF ทั้งตลาดกัน)

มีกองทุนตราสารตลาดเงินอีก 2 กอง ที่ผลตอบแทนชนะ SCBSFF มาตลอดทุกช่วง
1. T-CASH ของ บลจ.ธนชาติ
2. ING TCMF ของ บลจ.ไอเอ็นจี
ING ไม่ได้ขายประกันอย่างเดียวครับ บริหารกองทุนด้วยเหมือนกัน

2 กองนี้ผลัดกันไปมา ปัจจุบัน T-CASH ชนะ โดย ผลตอบแทน 3 เดือนย้อนหลัง
T-CASH  เกือบๆ 4.6%ต่อปี
ING TCMF อยู่ที่ 4.5% ต้นๆ

สาเหตุที่กองทุน Money Market Fund ด้วยกัน แต่ผลตอบแทนไม่เท่ากัน ก้มี 2 ปัจจัยหลักๆด้วยกัน
1. สัดส่วนการลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทน vs. ความเสี่ยง ไม่เท่าดันในแตละกอง
2. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ แต่ละกองก็หักไม่เท่ากัน

ประเด็นที่ 2 กระทบกับ นักลงทุนค่อนข้างน้อย แต่แสดงให้เห็นเหมือนกันว่า บลจ. ไหนคิด premium ค่าบริหารเราแพงแล้วผลตอบแทนคุ้มกับที่จ่ายหรือไม่

สัดส่วนการลงทุนของทั้ง 2 กอง
T-CASH
พันบัตรรัฐบาล 39%
พันธบัตรแบงก์ชาติ 17%
ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน 1%
หุ้นกู้เอกชน 2.61%
ที่เหลือเป็นเงินฝากธนาคาร กับอื่นๆอีก 40% ครับ
http://www.thanachartfund.com/th/of/offund.asp?fund=48#

ING TCMF
พันบัตรรัฐบาล 27%
พันธบัตรแบงก์ชาติ 0%
ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน 2.68%
หุ้นกู้เอกชน 42%
เงินฝากธนาคาร 24%
http://www.ingfunds.co.th/TH/upload/fund/mbook-4.pdf

ดูเหมือน ING TCMF จะเสี่ยงกว่า เพราะมีหุ้นกู้เอกชนถึง 42% เลยทีเดียว

อย่างนี้ เลือก T-CASH ดีกว่าหรอ
ถ้ามองประเด็นผลตอบแทนก็ใช่ แต่อย่าลืมว่าความสะดวกในการทำธุรกรรม ก็สำคัญด้วย
ถ้ามีธนาคารธนชาตใกล้ๆ อาจต้องพึ่งตัวแทนขายหน่วยลงทุนแทน ส่วน ไอเอ็นจี นั้น ต้องพึ่งตัวแทนอย่างเดียว แต่ชำระเงินค่าซื้อหน่วยได้หลายธนาคารมากๆ

" ถ้าหุ้นกู้เอกชน ยิ่งมากเท่าไหร่แสดงว่าความเสี่ยงในการลงทุนจะสูงตาม "
- เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปอย่างเรา ไม่มีเวลาเข้าไปตามถึงขนาดว่า กองทุนไปลงทุนในตราสารหนี้บริษัทอะไรบ้าง และงบการเงินของบริษัทนั้นๆ มีความมั่นคงแค่ไหน (แต่ถ้าได้ศึกษาก็จะเป็นผลดีแก่นักลงทุนเอง) ทำให้ การดูสัดส่วนการลงทุนแบบคร่าวๆนั้น จะบอกไว้ว่า กองทุนเหล่านั้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงมากแค่ไหน

เรียงลำดับความเสี่ยงตามนี้
พันธบัตรรัฐบาล หรือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ เสี่ยงต่ำที่สุด (เพราะรัฐค้ำประกันเงินต้น)
ตราสารหนี้ภาคสถาบันการเงิน เช่น หุ้นกู้ของธนาคารพาณิชย์ หรือ ตราสารหนี้เอกชนที่ สถาบันการเงิน อาวัล หรือค้ำประกัน (เสี่ยงกลางๆ)
ตราสารหนี้ภาคเอกชน เช่น หุ้นกู้บริษัทจดทะเบียน หรือ ตั๋วแลกเงินต่างๆ (เสี่ยงสูงสุด)

แต่ทั้งนี้ การดูสัดส่วนการลงทุนก็อาจบอกเราไม่หมด ยกตัวอย่างเช่น AYFSMUL ของ บลจ.อยุธยา ที่มีลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ Credit Rating ถึงแม้ว่าสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจะน้อยกว่ากองทุนอื่น

" การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงนั้น ย่อมจะมีผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ ใช่ไหม "
- ต้องพูดใหม่ ว่า "การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย"

เรากำลังพูดถึงโอกาสในการลงทุนนะครับ ซึ่ง มี 2 ด้านตลอด คือ กำไร กับ ขาดทุน เพราะอย่างนี้ นักลงทุนควรตรวจสอบความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก่อน

สรุปคือ ความเสี่ยงสูง ไปจำเป็นต้องผลตอบแทนสูงเสมอไป แต่ โอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า มีมากกว่า



INSURANCETHAI.NET
Line+