การจัดการชีวิต
818

การจัดการชีวิต

อาจรย์ท่านนึงเดินเข้าห้องเรียนมาพร้อมด้วยของสองสามอย่างบรรจุอยู่ในกระเป๋าคู่ใจ
เมื่อได้เวลาเรียน เขาหยิบ เหยือกแก้ว ขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วใส่ ลูกเทนนิส ลงไปจนเต็ม
‘ พวกคุณคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง ?’
ขาหันไปถามนักศึกษาปริญญาโท แต่ละคนมีสีหน้าตาครุ่นคิดว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้จะมาไม้ไหนก่อนจะตอบพร้อมกัน ‘ เต็มแล้ว…’ เขายิ้มไม่พูดอะไรต่อหันไปเปิดกระเป๋าเอกสารคู่ใจ หยิบกระป๋องใส่กรวดออกมา แล้วเท กรวดเม็ดเล็กๆ จำนวนมากลงไปในเหยือกพร้อมกับเขย่าเหยือกเบาๆ กรวดเลื่อนไหลลงไปอยู่ระหว่างลูกเทนนิสอัดจนแน่นเหยือก เขาหันไปถามนักศึกษาอีก ” เหยือกเต็มหรือยัง ?’ นักศึกษามองดูอยู่พักหนึ่งก่อนจะหันมาตอบ ‘ เต็มแล้ว…’ เขายังยิ้มเช่นเดิม หันไปเปิดกระเป๋าหยิบเอาถุงทรายใบย่อมขึ้นมา และเททรายจำนวนไม่น้อยใส่ลงไปในเหยือก เม็ดทราย ไหลลงไปตามช่องว่างระหว่างกรวดกับลูกเทนนิสได้อย่างง่ายดาย เขาเทจนทรายหมดถุง เขย่าเหยือกจนเม็ดทรายอัดแน่นจนแทบล้นเหยือก เขาหันไปถามนักศึกษาอีกครั้ง ” เหยือกเต็มหรือยัง ?’ เพื่อป้องกันการหน้าแตกนักศึกษาปริญญาโทเหล่านั้นหันมามองหน้ากัน ปรึกษากันอยู่นาน หลายคนเดินก้าวเข้ามาก้มๆ เงยๆ มองเหยือกตรงหน้าอาจารย์หนุ่มอยู่หลายครั้ง มีการปรึกษาหารือกันเสียงดังไปทั้งห้องเรียน จวบจนเวลาผ่านไปเกือบห้านาที หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาจึงเป็นตัวแทน เดินเข้ามาตอบอย่างหนักแน่น ” คราวนี้เต็มแน่นอนครับอาจารย์’ ” แน่ใจนะ’ ” แน่ซะยิ่งกว่าแน่อีกครับ’ คราวนี้เขาหยิบ น้ำอัดลม สองกระป๋องออกมาจากใต้โต๊ะแล้วเทใส่เหยือกโดยไม่รีรอ ไม่นานน้ำอัดลมก็ซึมผ่านทรายลงไปจนหมด ทั้งชั้นเรียนหัวเราะฮือฮากันยกใหญ่ เขาหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ”
ไหนพวกคุณบอกว่าเหยือกเต็มแน่ๆ ไง’ เขาพูดพลางยกเหยือกขึ้น ” ผมอยากให้พวกคุณจำบทเรียนวันนี้ไว้

เหยือกใบนี้ก็เหมือนชีวิตคนเรา ลูกเทนนิสเปรียบเหมือนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต เช่น ครอบครัว คู่ชีวิต การเรียน สุขภาพ ลูก และเพื่อน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณต้องสนใจจริงจัง สูญเสียไปไม่ได้
เม็ดกรวดเหมือนสิ่งสำคัญรองลงมา เช่น งาน บ้าน รถยนต์
ทรายก็คือเรื่องอื่นๆ ที่เหลือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราจำเป็นต้องทำ แต่เรามักจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้

เหยือกนี้เปรียบกับชีวิตของคุณ ถ้าคุณใส่ทรายลงไปก่อน คุณจะมัวหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ อยู่ตลอดเวลา ชีวิตเต็มแล้ว… เต็มจนไม่มีที่เหลือให้ใส่กรวด ไม่มีที่เหลือใส่ให้ลูกเทนนิสแน่นอน’ ชีวิตของคนเราทุกคน ถ้าเราใช้เวลาและปล่อยให้เวลาหมดไปกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราจะไม่มีที่ว่างในชีวิตไว้สำหรับเรื่องสำคัญกว่า เพราะฉะนั้นในแต่ละวันของชีวิต เราต้องให้ความสนใจกับเรื่องที่ทำให้ตัวเราและครอบครัวมีความสุข ใช้ชีวิตเล่นกับลูกๆ หาเวลาไปตรวจร่างกาย พาคู่ชีวิตกับลูกไปพักผ่อนในวันหยุด พากันออกกำลังกาย เล่นกีฬาร่วมกันสักชั่วโมงสองชั่วโมง เพื่อสุขภาพและความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต เราต้องดูแลเรื่องที่สำคัญที่สุดจริงๆ ดูแลลูกเทนนิสของเราก่อนเรื่องอื่นทั้งหมด หลังจากนั้นถ้ามีเวลาเหลือเราจึงเอามาสนใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้นถาม ” แล้วน้ำที่อาจารย์เทใส่ลงไปล่ะครับ หมายถึงอะไร ?’ เขายิ้มพร้อมกับบอกว่า ”

การที่ใส่น้ำลงไปเพราะอยากให้เห็นว่า ไม่ว่าชีวิตของเราจะวุ่นวายสับสนเพียงใด ในความสับสนและวุ่นวายเหล่านั้นคุณยังมีที่ว่างสำหรับการแบ่งปันน้ำใจให้กันเสมอ...

Re: การจัดการชีวิต
818

Re: การจัดการชีวิต

ครั้งหนึ่งเล่าปี่ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนให้เป็นมหาเศรษฐีแห่งดินแดน  ขงเบ้งว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
เล่าปี่กล่าวว่า “ ข้าฯ เห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวันจนเวียนเกล้าเวียนศีรษะ ไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย “
ขงเบ้งบอกลูกน้องให้ไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่งพร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ
เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ “ ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร ”
ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัยพร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า “ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด”
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯเคยคิดว่าข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้วคือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีนุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าข้าฯ คือ แมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงานกลับกลายเป็นว่า ปัจจุบันมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง”
ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า “ เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสูง กลาง และต่ำ สามขั้น  ขั้นต่ำเน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก  ขั้นกลางเน้นการใช้แผนดำเนินงาน และตารางโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน ส่วนขั้นสูงเน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรีความสำคัญของงาน เพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว  ทั้งสามขั้นต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น ”
เล่าปี่สารภาพว่า “ หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯ ยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่สลิปบันทึก”
ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า “ คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี่แหละ!  ความจุของถังใบนี้ เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนคนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวดเปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน  ก้อนหินคือภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน  เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำคือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ”    ขงเบ้งอธิบายพลางวาดผังประกอบคำอธิบายดังตารางประกอบด้านล่างนี้



“ ปกติท่านเน้นงานประเภทใด ”  ขงเบ้งถาม
“ ก็ต้องเป็นประเภท ก.  ”  เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล
“ แล้วงานประเภท ข. ล่ะ ”  ขงเบ้งถามต่อไป
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯ ตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข. แต่ไม่มีเวลาพอที่จะสนใจมัน”
“ เป็นอย่างนี้ใช่ไหม ”  ขงเบ้งถามพลางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็มแล้วพยายามใส่ก้อนหินตามซึ่งใส่ไม่ได้ (กรวดเล็กกว่าหิน)
เล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ ”  ขงเบ้งถามต่อพลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้วจึงถามเล่าปี่อีกว่า  “ ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่ลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม? ”  ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ จริงหรือ ? ”  ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่าให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด  “ บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่? ” ขงเบ้งพูดพลางเทเม็ดทรายลงไปจนหมด  “ แล้วทีนี้ล่ะ ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม ? ”  ขงเบ้งถามต่อ แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด  “ ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้หรือยัง ? ” เล่าปี่ตอบว่า “ เข้าใจแล้ว นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภทและเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม ? ”
ขงเบ้งตอบว่า “ ใช่แล้ว  การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มด้วยก้อนกรวด ทราย  และน้ำ  ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้  แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อน  ในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆเข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทรายและน้ำ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก ”
เล่าปี่ยังถามว่า “ แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไร ”
ขงเบ้งตอบว่า “ บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวดย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า  พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์  ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน  พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบแม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง ”
เล่าปี่ถามว่า “เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน ? “
“ ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน? ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง ” ขงเบ้งตอบ “ คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย  คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด “  ขงเบ้งสอนต่อไปว่า  “ คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพ เพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลาและสิ่งแวดล้อม  สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วนและควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ  กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม  บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์  มีอุดมการณ์ เคารพ ระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง  ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้ ”
เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี “ วัตถุในถัง “ ของขงเบ้งเป็นอย่างมากพร้อมกับสารภาพว่า “ มาวันนี้ข้าฯเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่าการต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆดอนๆ  เพราะแม้ว่าข้ามีขุนพลเก่งๆเช่นกวนอูและเตียวหุย  แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย  กับทำงานลักษณะ“ เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม “ (เจี่ยนเลอจือหมา ติวเลอซีกวา)  ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ความฝัน ! ”



INSURANCETHAI.NET
Line+