หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ
85

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ หุ้นสามัญ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) คือ หุ้นกู้ที่มีสิทธิในการได้รับชำระหนี้คืนเป็นอันดับรองจากหุ้นกู้

ถ้าธนาคารกรุงไทยเจ๊ง จะมีการขายสินทรัพย์ทั้งหมดและนำมาชำระหนี้คืนโดยจะต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ทั่วไป (รวมถึงผู้ฝากเงิน) จนได้รับเงินครบถ้วน แล้วจึงจ่ายให้ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (และหากยังเหลือเงินอีก จึงจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้น)

การด้อยสิทธิ จะมีผลเฉพาะ bankrupt เท่านั้น อย่างอื่นไม่มีปัญหาอะไร ได้ดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วตามปกติ

แต่หุ้นกู้ บางอันมี call option เช่น ธนาคารอาจจ่ายเงินต้นคืนก่อนกำหนดได้หลังปีที่ 5 (และคิดว่าน่าจะใช้สิทธิครับ เพราะหลังปีที่ 5 การนับเป็นกองทุนขั้นที่ 2 จะลดลง ทำให้แรงจูงใจในการไม่ใช้สิทธิลดลง รวมถึงที่ดอกเบี้ยแพงด้วย สู้ไปออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิล็อตใหม่ดีกว่า)

ส่วนใหญ่แล้วที่แบงค์ออกหุ้นกู้ ไม่ได้ต้องการเงินเท่าไรหรอกครับ ถ้าอยากได้เงิน ไปเพิ่มดอกเบี้ยหาเงินฝากง่ายกว่า ต้นทุนต่ำกว่า
เหตุผลหลักที่ออกคือต้องการกองทุนเพื่อนำไปคำนวณเพื่อรับสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่าครับ

ข้อด้อยของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ไม่ใช่เรื่องกลัวเจ๊ง (ถ้าเจ๊งก็ได้เงินก่อนกระทรวงการคลัง ก็หรูแล้ว) แต่เป็นเรื่องสภาพคล่อง คือ ขายได้ยากมาก และหากขายได้ ก็โดนกดราคามาก
เหมือนซื้อรถ แค่ถอยออกมา ราคาก็วูบไปแล้ว
ถ้าจะซื้อ คิดไว้เลยว่า มันคือหุ้นกู้ 5 ปี และหากขายก่อนกำหนดก็มีโอกาสขาดทุนมากกว่า  ถ้าถือได้ 5 ปี ก็เอาเลย อย่าลืมเรื่องภาษีดอกเบี้ย 15% ด้วย

ด้วยกว่าผู้ฝากเงิน เพราะกฎหมายกำหนกให้ใช้เงินคืนผู้ฝากเงินก่อนถ้าธนาคารล้ม

1. สาเหตุที่ Bank ของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เพื่อผลักภาระความเสี่ยงไปให้กับผู้ซื้อหุ้นกู้ โดยเอาเงินไปค้ำประกันกองทุนสินทรัพย์เสี่ยง หมายถึงว่า ถ้าเกิด NPL เยอะๆ คนที่เสียงไม่ใช่ Bank แต่เป็นคนที่ซื้อหุ้นกู้

2. เท่าที่ทราบพอครบกำหนด 5 ปี ส่วนใหญ่ Bank จะไถ่ถอนก่อนกำหนด เนื่องจากหมดอายุการค้ำประกันกองทุน Bank ก็เลยไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินแล้ว ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้ดอกเบี้ย 6% หลังจากปีที่ 5 จึงมีค่อนข้างน้อย

ขายก่อนกำหนดค่อนข้างยาก ไม่ค่อยมีใครรับซื้อ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ ธนาคารเป็นผู้ออก มีความน่าเชื่อถือกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ที่ธุรกิจประเภทอื่นๆออก  น่าจะนำไปขานในตลาดรองได้ อย่างไรก็ตามราคามันขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือเมื่อวันขาย  ถ้ามันใกล้ล้มในวันที่อยากขายก็คงไม่มีใครซื้อ

ในประเทศไทย
1. มีแต่ธนาคารเท่านั้น ที่ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ เพราะเป็นเรื่องของการเพิ่มกองทุนเพื่อรองรับสินทรัพย์เสี่ยง (Capital adequacy ratio, BIS) บริษัททั่วไปจะไม่ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (เพราะไม่รู้จะออกไปทำไม ไม่ได้ประโยชน์อะไร ออกไปก็ต้องเพิ่มดอกเบี้ยให้มากกว่าหุ้นกู้ธรรมดา) จะออกเฉพาะหุ้นกู้ธรรมดา
2. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ซื้อขายในตลาดรองยากจริงๆ ด้วยเหตุผลคือ
2.1 มีข้อกำหนดให้แบงค์ และสหกรณ์ไม่สามารถซื้อหุ้นกู้ด้อยสิทธิได้ แค่นี้ player ก็เหลือแต่รายย่อยแล้ว
2.2 รายย่อยก็ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (จะเห็นว่ากระทู้ถามเรื่องนี้เต็มไปหมด) เมื่อไม่เข้าใจ ก็ไม่เล่นดีกว่า
2.3 กระทู้ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I7499603/I7499603.html

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็น tier 2 มันต้องมีคุณสมบัติตามที่แบงค์ชาติกำหนด มันจะสามารถไถ่ถอนได้หลังปีที่ 5 และการถูกลดการคำนวณเป็นกองทุนที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้แรงจูงใจที่ทำให้แบงค์ call ก็สูง  ดอกเบี้ย stepก็มักจะไม่มาถึง เพราะโดน call ก่อน ซึ่งสรุปว่า model การคิด pricing จริง ๆ ซับซ้อน และทำให้มันไม่ดีอย่างที่คิด
สรุปว่า รายย่อยที่พอเข้าใจ และสามารถเล่นได้ พอไปคำนวณ model yield แล้วก็จะพบว่า ผลตอบแทนมันไม่ค่อยดีเท่าไร ถ้าจะซื้อ ก็ต้องได้ราคาดีจริง ๆ (หรือถูกจริง ๆ ) นั่นเป็นที่มาว่า ถ้าอยากขาย คนซื้อก็จะกดราคา
ในทางความเป็นจริง ต่อให้ rating เท่ากัน เวลาเท่ากัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิจะซื้อขายที่ yield สูง (หรือราคาต่ำ) กว่าหุ้นกู้ปกติของบริษัททั่วไปครับ ตย นะครับ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ TMB153A  ขายกันที่ yield 6.5% ขณะที่ หุ้นกู้ที่ rating A เท่ากัน ของบริษัทอื่น ที่อายุเท่ากัน  (6 ปี)ขายกันที่ yieldประมาณไม่เกิน 6% ครับ
ขอบคุณครับ

หุ้นกู้บุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือ
ตราสารที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ (Hybrid) ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับผลตอบแทนในรูป ของเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นอื่นและมีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญแต่หลังเจ้าหนี้
 
หุ้นสามัญ (Common Stock)
คือ ตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทเป็นรายสุดท้าย หลังจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นประเภทอื่น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับอยู่ในรูปเงินปันผล เฉพาะกรณีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล ซึ่งได้มาจาก กำไรจากการประกอบการ



INSURANCETHAI.NET
Line+