การวางแผนเกี่ยวกับมรดก
88

การวางแผนเกี่ยวกับมรดก

การวางแผนเกี่ยวกับมรดก

การวางแผนเกี่ยวกับมรดกเป็นขั้นตอนสำคัญในการจัดการความ มั่งคั่งโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพินัยกรรมและกองทุนทรัสต์ส่วนบุคคล/ครอบครัว ในคอลัมน์นี้เราจะชี้ให้เห็นความสำคัญของพินัยกรรมและจะเน้นในประเด็นที่ว่า เหตุใดการวางแผนเกี่ยวกับมรดกตั้งแต่วันนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าที่จะรอ ต่อไปเรื่อยๆ และเราจะพูดถึงรายละเอียดเรื่องกองทุนทรัสต์ส่วนบุคคล/ครอบครัวในเว็บไซ ต์นี้

ในขั้นตอนแรก ท่านต้องถามตนเองด้วยคำถามต่อไปนี้ แล้วท่านจะทราบว่าทำไมมันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเริ่มต้นขั้นตอนการวาง แผนมรดกไว้ก่อนแม้ในขณะที่ท่านยังสุขภาพแข็งแรงดี

. จะเกิดอะไรขึ้นกับทรัพย์สินของท่านทันทีที่ท่านเสียชีวิต

ไม่มีการวางแผน
ผู้รับผลประโยชน์ (คู่สมรส , บุตร หรือ เครือญาติ) อาจแย่งชิงมรดกกันเองเพื่อครอบครองทรัพย์สินของท่านและหากไม่สามารถตกลงกัน ได้ด้วยดีก็จำเป็นต้องหาข้อยุติกันในศาลซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลและ ที่แย่ที่สุดคือการเปิดเผยต่อสาธารณะ

มีการวางแผน
ท่านเลือกผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของท่าน แล้วทรัพย์สินของท่านจะถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบระเบียบตามความประสงค์ของท่าน

• จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินของเราจะอยู่กับครอบครัวของเราต่อไป

ไม่มีการวางแผน
คู่สมรสของท่านอาจสมรสใหม่และครอบครัวใหม่นี้อาจได้รับประโยชน์จากทรัพย์สิน ของท่าน และหากบุตรชายของท่านเสียชีวิตไปก่อนเวลาอันควร ลูกสาวกับลูกเขยและคู่สมรสใหม่อาจได้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของท่าน เหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือครอบครัวผสมผสานที่เกิดจากการสมรสต่างๆ ลำดับความสำคัญของท่านอาจถูกมองข้ามไป ลูกที่เกิดจากการสมรสต่างๆอาจไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างที่ท่านปรารถนา

มีการวางแผน
ท่านเลือกผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของท่าน แล้วทรัพย์สินของท่านจะถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบระเบียบตามความประสงค์ของท่าน

  •  ใครจะเป็นผู้ดูแลบุตรของท่าน

ไม่มีการวางแผน
โดยปกติแล้วญาติสนิทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร แต่ก็ไม่มีสิ่งใดสามารถรับประกันได้เลยว่าบุตรของท่านจะได้รับการเลี้ยงดู ด้วยความรักใคร่เมตตาและได้รับการศึกษาที่ดีดังที่ท่านปรารถนา
มีการวางแผน
ท่านสามารถแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามความต้องการของท่านเป็นผู้ดูแลบุตรหรือ ท่านอาจจัดตั้งกองทุนทรัสต์ขึ้นมาเพื่อดูแลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพื่อการครอง ชีพและเพื่อการศึกษา

  •  การเงินของคู่สมรสและบุตรจะเพียงพอสำหรับการดำรงชีพหรือไม่

ไม่มีการวางแผน
ครอบ ครัวของท่านอาจไม่มีเงินทุนเพียงพอในการที่จะรักษาแบบแผนการดำรงชีพแบบเดิม ไว้ได้ แม้ว่าอยากจะคงไว้ซึ่งมาตรฐานเดิมแต่พวกเขาอาจไม่มีความสามารถในการบริหาร เงิน
มีการวางแผน : ครอบครัวของท่านจะสามารถดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานการกดำรงชีพแบบเดิมไว้ได้ตลอดไป โดยการปกป้องคุ้มครองจากเงินประกันชีวิตและกองทุนทรัสต์ส่วนบุคคล/ครอบครัว

ความสำคัญของพินัยกรรม

คำสั่งเสียสุดท้ายและ พินัยกรรมของท่านจะถูกนำไปปฏิบัติในการจัดการแบ่งทรัพย์สินของท่านให้แก่ผู้ รับผลประโยชน์เมื่อท่านเสียชีวิต แต่จงระลึกไว้เสมอว่าพินัยกรรมเป็นเอกสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ได้ จึงควรมีการพิจารณาเป็นระยะๆ เช่น ทุกๆ 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าพินัยกรรมของท่านได้ถูกนำไปฏิบัติตามเป้าหมายและความรู้สึก ของท่าน ณ ขณะนั้นๆ หลักสำคัญต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านควรระลึกไว้ในใจเมื่อร่างพินัยกรรม
• การมอบฉันทะ
คำถามทั่วไปที่ต้องนำมาพิจารณาในขั้นตอนระหว่างการวางแผนมรดก คือ ใครจะเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของท่านในสถานการณ์ที่ท่านเป็นบุคคลไร้ ความสามารถหรือเสมือนบุคคลไร้ความสามารถ ทนายความที่ไว้วางใจได้น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี คนจำนวนมากมักแต่งตั้งคู่สมรสของตนเป็นผู้จัดการมรดก แต่บ่อยครั้งที่พบว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอในการจัดการ โดยเฉพาะเวลาที่มีเงินจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง

• พยาน
ด้วยความช่วยเหลือจากทนายความที่ดี ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในพินัยกรรมและปรับปรุงให้ทันเหตุการณ์ได้ กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าในขณะร่างพินัยกรรมท่านจะต้องอยู่ในภาวะที่แข็งแรงทั้ง สุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งต้องมั่นใจด้วยว่าผู้รับผลประโยชน์นั้นต้องไม่ใช่บุคคล

• ติดตามความเคลื่อนไหวของทรัพย์สินของท่าน
พินัยกรรม นั้นอย่างดีก็เป็นเพียงแค่กระดาษบันทึกแผ่นหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ รายงานบัญชีและรายงานสถิติทรัพย์สินทั้งหมดของท่าน ซึ่งรายละเอียดยิ่ งมากก็ยิ่งดี หากเป็นไปได้เอกสารแนบท้ายควรนำมาแนบไว้กับตัวพินัยกรรมเพื่อแสดงรายละเอียด ทั้งหมดเกี่ยวกับทรัพย์สินตั้งแต่บัญชีธนาคาร บัญชีหลักทรัพย์ ไปจนถึงโฉนดที่ดิน และอื่นๆ

• ผู้รับผลประโยชน์
ภาย ใต้กฎหมายไทย ท่านสามารถแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ แต่โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะแต่งตั้งคู่สมรส บุตร และเครือญาติเป็นผู้รับผลประโยชน์ แม้ว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่บริจาคให้วัดและมูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆเป็นผู้ รับผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี บุตรนอกสมรสอาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมาย เว้นเสียแต่ว่าบุตรนอกสมรสนั้นมีสูติบัตรซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย วิธีหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ คือ แยกเงินก้อนหนึ่งเอาไว้เพื่อการณ์นี้โดยเฉพาะในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

• กองทุนทรัสต์ส่วนบุคคล/ครอบครัว
เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับกองทุน ทรัสต์ส่วนบุคคล/ครอบครัว แต่หวังว่าอีกไม่นานคงมีการเปลี่ยนแปลง (โปรดดูบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้) อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีทรัพย์สินและการลงทุนในต่างประเทศแล้ว โครงสร้างที่ดีในการจัดตั้งและถือครองทรัพย์สินกองทุนทรัสต์มีความสำคัญ อย่างมาก เพราะหากท่านเสียชีวิตโดยฉับพลัน การลงทุนต่างๆของท่านจะต้องรอการพิสูจน์พินัยกรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจกฎหมาย ต่างๆ มันจะกลายเป็นฝันร้ายสำหรับผู้รับผลประโยชน์ของท่านแน่ๆในการคลี่คลายความ ยุ่งเหยิงเหล่านี้

• ผู้รับมรดก/กฎหมายมรดก
และอีกเช่นกันที่ยังไม่มีกฎหมายมรดกในประเทศไทยซึ่งเป็นที่มองกันว่ายังคงจะ ไม่มีการนำมาใช้ในระยะเวลาอันใกล้นี้เพราะผู้ที่เสียประโยชน์คือพวกนักการ เมืองชนชั้นปกครองผู้ที่มีมรดกมหาศาล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ เราขอแนะนำให้ท่านปรึกษานักกฎหมายด้านภาษีในเรื่องดังกล่าว เช่นเดียวกันกับขั้นตอนรอการพิสูจน์พินัยกรรม ภาษีมรดกเป็นเรื่องที่ สลับซับซ้อนมากและนี่คือเหตุผลว่าทำไมทุกคนจึงควรจัดตั้งกองทุนทรัสต์ส่วน บุคคลเพื่อปกป้องทรัพย์สินและการลงทุน เพราะกองทุนทุนทรัสต์ส่วนบุคคลแตกต่างจากบุคคลธรรมดาตรงที่ไม่มีวันตาย ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียภาษีมรดก



INSURANCETHAI.NET
Line+