INSURANCETHAI.NET
Wed 24/04/2024 8:05:54
Home » Uncategorized » ความรับผิดในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพ : เวชกรรม\"you

ความรับผิดในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพ : เวชกรรม

2018/01/29 1325👁️‍🗨️

ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ก็ตาม แต่ก็มิได้กำหนดความรับผิดในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไว้แต่อย่างใด ดังนั้นในการพิจารณาความรับผิดในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงต้องอาศัย บทบัญญัติในมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ ซึ่งผู้ป่วยมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ศาลเห็นถึงองค์ประกอบอันเป็นละเมิดที่แพทย์กระทำต่อตน ทั้งนี้เป็นไปตามหลักกำหนดภาระนำสืบตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งอันถือเป็นภาระที่หนักยิ่งแก่โจทก์ที่จะต้องรับภาระในการนำสืบดังกล่าว นอกจากนั้น

เมื่อพิจารณาถึงบทบัญญัติในมาตรา 422 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นบทสันนิฐานความผิดในกรณีที่บุคคลฝ่าฝืนบทบัญญัติอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบบุคคลอื่นแล้ว การที่จะอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อบรรเทาภาระการ พิสูจน์ ของผู้ป่วยซึ่งเป็นโจทก์นั้นก็มิอาจจะกระทำได้ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นแต่อย่างใดเพราะเป็นเพียงกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมไว้อย่างกว้าง ๆ เท่านั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า ตัวอย่างคดีในศาลไทยที่เกี่ยวกับการละเมิดในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมมีไม่มากนัก ผู้เขียนจึงต้องอาศัยแนวการวินิจฉัยของศาลในกฎหมายระบบ Common Law ในคดีความรับผิดในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาเวชกรรม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงความรับผิดในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้เพราะผู้เขียนเห็นว่าวิธีการในการประกอบวิชาชีพเวชการรม ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในต่างประเทศนั้นจะมีลักษณะไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้นผู้เขียนเสนอว่าการดำเนินคดีในศาลไทยอาจอาศัยแนววินิจฉัยของศาลในระบบ Common Law เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการพิจารณาความรับผิดในคดีละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้ และในอนาคตอาจจะนำไปสู่การพัฒนากฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในอันที่จะต้องกระทำเพื่อปกป้องความเสียหายต่อบุคคลอื่น อันจะทำให้ภาระการพิสูจน์ ตกอยู่แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์ มาตรา 422 ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นผู้เขียนได้เสนอแนวทางไว้เพื่อการศึกษารายละเอียดตอไปในอนาคตถึงการปรับปรุงกฎหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ตลอดจนการใช้วิธีป้องกันความเสียหายโดยกหารเน้นจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในหลักสูตรการศึกษา และการเผยแพร่สิทธิของผู้ป่วยตลอดจนได้เสนอแนวการเยียวยาชดใช้โดยระบบประกันภัยรวม หรือการเอาประกันในการประกอบวิชาชีพนอกเหนือจาก ระบบกฎหมายละเมิดไว้เพื่อเป็นการศึกษาพิจารณาต่อไปในอนาคตด้วย

https://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082535000604





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ

no related articles to display.




up arrow