INSURANCETHAI.NET
Thu 05/12/2024 7:45:33
Home » Uncategorized กรุงเทพประกันชีวิต » ตัวแทนประกัน ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่บริษัทประกัน\"you

ตัวแทนประกัน ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่บริษัทประกัน

2019/11/22 1693👁️‍🗨️

ตัวแทนประกันภัย และ นายหน้าประกันภัย

ตัวแทนประกันชีวิต / ตัวแทนประกันวินาศภัย / นายหน้าประกันภัย โดยทั่วไปมีรายได้จาก คอมมิสชั่น จากลูกค้าที่ซื้อประกันผ่านเขาเหล่านั้น และ ไม่ได้รับเงินเดือน เงินใดๆ ยกเว้นแต่ตัวแทนประกันชีวิตที่อยู่ในสายงานบริหาร คือ เป็น ผู้จัดการหน่วย ผู้จัดการขาย ผู้จัดการภาค ฯลฯ อาจจะมีเงินเดือนให้ แต่ต้องทำโค้วต้าถึงตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด อาจจะได้เงินเดือนตั้งแต่ 2000 – 6000 แล้วแต่ระดับตำแหน่ง

ตัวแทนประกันชีวิต

ตัวแทนประกันชีวิตอิสระ ทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในสายบริหาร หรือ ตัวแทนประกันชีวิต ที่มีหน้าที่ขายประกันอย่างเดียว ไม่ได้บริหารทีมงาน รายได้ทุกบาท จะเกิดจาก คอมมิสชั่นที่เกิดจากผลงานของตัวเองที่ขายได้ ถ้าไม่มีลูกค้าก็ไม่มีรายได้ ดังนั้นอาจอุปมาได้ว่า ลูกค้าเหล่านั้น คือ นายจ้างของตัวแทนประกันชีวิตเหล่านั้น นั่นเอง

ตัวแทนประกันชีวิตในระบบ หรือ ในบริษัทประกันชีวิต เป็นเพียง คอนแทรคเตอร์ (Contractor) หรือ มีสัญญาที่ทำกับบริษัทประกันชีวิต มีหน้าที่อะไรบ้าง ทำอะไรได้แค่ไหน ซึ่งโดยทั่วไป ก็เหมือนกับ การรับจ้างขายงานทั่วไปนั่นเอง (เพียงแค่คุณมีบัตรตัวแทน โดยไปสอบ แล้วก็มาสมัครก็ขายได้ โดยทั่วไปบริษัทประกันก็รับเป็นตัวแทนหมด ตามคุณสมบัติทั่วไป) โดยไม่ได้สวัสดิการใดๆ แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ แม้แต่ บัตรห้อยคอ สมัยก่อนบางบริษัทประกันชีวิตยังต้องเรียกเก็บเงินจากคุณเลย 20 บาท ทุกอย่างต้องจ่ายเองทั้งนั้น นามบัตร ค่ารถ ค่าน้ำมัน ไม่ได้อะไรเลย ยกเว้น คอมมิสชั่น ที่จะได้จากการขายประกัน

ตัวแทนประกันชีวิตจึงไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในบริษัทประกัน (เว้นแต่คุณรวมตัวกันมากพอแล้วสไตรท์ ต่อรอง แต่ก็จะถูกเช็คบิลในภายหลังอยู่ดี) ไม่มีอำนาจใดๆในระบบนั้นงานบริหารงานของบริษัท ที่จะให้บริษัทเปลี่ยนแปลงแก้ไข มีแต่บริษัทฯ ที่จะเป็นฝ่ายมีอำนาจเหนือตัวแทนประกันชีวิตเหล่านั้น เช่น ออกกฏระเบียบมาให้ต้องเข้าออฟฟิศกี่ครั้งต่อเดือน ต้องขายงานให้ได้กี่รายต่อเดือน ต้องทำยอดเท่าไรต่อเดือนต่อปี ถ้าทำไม่ถึงเกณฑ์ก็จะถูกตัดสัญญา ไม่ให้ขายแล้ว ไปที่ไหนก็ไป ไม่ได้เงินทดแทนใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่ใช่พนักงานบริษัท เป็นเพียง Contractor คุณคิดดูสภาพแบบนั้นมันดีกว่า พนักงานที่รับเงินเดือนหรือไม่? อาจจะมีดีที่สามารถ ทำงานอิสระวางแผนงานพบลูกค้า จัดการดูแลลูกค้าเอง โดยไม่ให้ขัดกับนโยบายของบริษัท และมีโอกาสสร้างรายได้ไม่จำกัด

ตัวแทนประกันชีวิต มีความเกี่ยวข้องในระบบ ลักษณะที่เป็นตัวกลาง ระหว่างลูกค้าและบริษัทประกันชีวิต เสนอขายให้ตอบโจทย์ลูกค้า คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าของเขา และบริการหลังจากนั้น

เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นกับลูกค้าประกันชีวิต

เมื่อมีเรื่องใดๆ เกิดขึ้นกับลูกค้าประกันชีวิต ลูกค้ามักจะติดต่อตัวแทนประกันชีวิตของเขาก่อน ว่า ทำไมเกิดเรื่องแบบนี้ เพราะอะไร ตัวแทนที่ดีจะต้องให้คำตอบลูกค้า ช่วยเหลือ ประสานงานแก้ปัญหาให้เขา

การบริการจากตัวแทนประกันชีวิต เมื่อเกิดปัญหากับลูกค้าในระบบของบริษัทประกันชีวิต

ขั้นตอนในการอธิบายที่ถูกต้อง ตัวแทนประกันชีวิต ควรต้อง ปรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ลูกค้าได้ทราบก่อน ไม่อย่างนั้น อาจเข้าใจกันคลาดเคลื่อนเพราะต่างฝ่ายต่างใช้ความรู้และข้อมูลเดิมของตัวเองในการสื่อสารแปลความ

บางกรณีควรถามคำถามเพื่อให้ลูกค้าได้คิดก่อน แล้วค่อยโยงเข้าสู่การตอบคำถาม เช่น
1.DUE ประกันของคุณวันที่เท่าไร? (ตอบ 25)
2.วันที่ 25 เบี้ยประกันจะต้องถูกจ่ายเข้าบริษัท (ประกันจ่ายก่อนคุ้มครอง) แต่เงินของคุณถูกหักในวันที่ 3 ใช่ไหม? เท่ากับที่ผ่านมา คุณค้างเบี้ยประกันบางส่วนถูกไหม?
3.คุณไม่สงสัย หรือว่า ทำไมเขาหักเงินจากบัญชีของคุณวันที่3 ไม่ตรงกับวันที่ DUE

คำถามเหล่านี้สามารถนำเข้ามาสู่การตอบคำถามที่เป็นระบบและเกิดประสิทธิผลได้

เคสปัญหาตัวอย่าง

ปลายปี 2519 บริษัทกรุงเทพประกันชีวิต ได้เปลี่ยนระบบการหักเบี้ยประกันจากธนาคาร จากเดิมที่ยึดถือจาก ธนาคารที่ลูกค้าแต่ละคนใช้ยื่น เปลี่ยนเป็น ให้ยึดตาม วันที่ ประกันครบกำหนด

ข้อมูลที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน เช่น หลักเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆ
เงื่อนไขเดิมในการหักบัญชีธนาคาร เป็นอย่างไร (เดิมบริษัทยึดวันที่ของแต่ละธนาคารในการหักเบี้ยประกัน)
– ประกันชีวิต ต้อง จ่ายเงินก่อนคุ้มครองทีหลัง ไม่เหมือนกับ ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่คุณใช้ก่อนจ่ายทีหลัง

บางครั้งการที่ตัวแทน ตอบอธิบาย อาจกลับกลายเป็นว่า ลูกค้าอาจเข้าใจหมายเอาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มาจากฝีมือตัวแทนประกันชีวิตเป็นคนทำ ตัวแทนรู้เห็นเป็นใจ หรือ อาจมองได้ว่าตัวแทนประกันชีวิตเป็นพนักงานบริษัท ตัวแทนประกันชีวิตเป็นคนของบริษัท แท้จริงแล้วไม่ใช่ เพราะสถานะของตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันใด เป็นทั้ง ตัวแทนของบริษัทนั้น และ ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของคุณ ผู้เป็นลูกค้าของเขาด้วยเช่นกัน เขาจะทรยศต่อลูกค้าผู้ให้การสนับสนุนเขาอย่างนั้นหรือ?

อาชีพตัวแทนประกันชีวิต จึง เป็นหนังหน้าไฟ และ รับศึกสองด้าน

หนังหน้าไฟ หมายถึง ผู้ที่คอยออกรับหน้าหรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่นเป็นอันดับแรก

รับศึกสองด้าน ทั้งฝั่งของบริษัทประกันชีวิต ที่คอยควบคุมกฏระเบียบ การขู่ตัดสัญญา การทำยอด และอีกด้าน คือ ฝั่งลูกค้า เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้ายใดๆ ส่วนมากตัวแทนประกันชีวิตก็จะเป็นด่านหน้าที่ต้องรับก่อน ดังนั้น การทำงานของบริษัทประกันชีวิต มีผลอย่างมากต่อ ตัวแทนที่เขาสังกัดอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นหากตัวแทนประกันชีวิตได้ลูกค้าที่มีความเข้าใจ ในระบบการทำงาน สภาวะของตัวแทน ก็นับว่าโชคดี

วิธีที่ถูกต้องในการตอบปัญหาลักษณะแบบนี้ ให้ตัวแทนทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อน (หรือออกตัว) ว่าตัวแทนไม่ใช่บริษัท (ซึ่งความจริงก็เป็นอย่างนั้น) ทั้งนี้ เมื่อลูกค้ามี mindset ที่ตรงกันแล้ว จึงค่อยอธิบาย ไม่อย่างนั้น สถานการณ์นี้ คุณจะถูกมองว่ากำลังแก้ตัวให้ตัวเอง แก้ตัวให้บริษัท ทั้งๆที่คุณพยายามอธิบาย บางทีวิธีที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาลักษณะนี้ อาจเป็นการพูดสั้นๆ เเละดูฟีดแบค ว่าเป็นอย่างไรอย่างไร ถ้าพบว่า ไม่มีแนวโน้มจะฟัง หรือ พยายามเข้าใจ หรือ เข้าใจมากขึ้น แม้แต่น้อย หรือใช้อารมณ์ หรือ อยู่ในสภาวะอารมณ์ไม่ปกติ คุณควรหยุด แล้ว ให้เขาโทรหาบริษัทประกัน เพื่อฟังคำตอบจากคนที่ทำเรื่องนี้ ด้วยตัวของเขาเอง น่าจะเป็นการดีกว่า เพราะถ้าคู่สนทนาคุณตั้งแง่ ไม่ฟัง ไม่เชื่อใจคุณอธิบายไปก็ไร้ประโยชน์

รายละเอียดการอธิบายเรื่องการเปลี่ยนหลัเกณฑ์การหักบัญชีเพื่อชำระเบี้ยประกันชีวิต …
https://www.insurancethai.net/bla-change-deposit-date-insurance-premiums/






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow