INSURANCETHAI.NET
Tue 23/04/2024 23:50:41
Home » ประกันรถยนต์ » cash before cover หรือ CBC คืออะไร?\"you

cash before cover หรือ CBC คืออะไร?

2012/06/30 4346👁️‍🗨️

cash before cover หรือ CBC คืออะไร?

จ่ายก่อนคุ้มครองทีหลัง ! (ซื้อประกันรถยนต์ต้องจ่ายเงินก่อน จึงจะคุ้มครองให้)
ปี 2552 ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจประกันภัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันภัยรถยนต์ เมื่อทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)ได้ตัดสินใจนำหลักการจ่ายเบี้ยประกันก่อนถึงได้รับความคุ้มครอง หรือ Cash Before Cover มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 เป็นต้นไป

มาตรการ เหล่านี้ทำให้ต่อไปนี้ผู้ทำประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทจะต้องจ่ายเงินค่าเบี้ย ให้กับตัวแทน บริษัทนายหน้า หรือบริษัทประกันก่อน ถึงจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ดังนั้นการได้รับเครดิตแบบเดิมๆ ที่ให้ลูกค้ายืดเวลาจ่ายค่าเบี้ยประกันได้ภายหลังจากที่กรมธรรม์ได้มีผลคุ้ม ครองไปแล้วจึงไม่สามารถทำได้อีก

cash before cover หรือ CBC มีหลักการและเหตุผลอย่างไร?

จุดเริ่มต้นของ Cash Before Cover มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ในต่างประเทศมีใช้กันมานานแล้ว อย่างในมาเลเซียก็ใช้มาตั้งแต่ปี 2523 ซึ่งก็น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะการที่จะได้ของมาก็ควรต้องจ่ายเงินก่อน และการนำระบบ Cash Before Cover มาใช้ จะส่งผลดีให้กับผู้ทำประกันเกิดความมั่นใจมากขึ้น เมื่อจ่ายค่าเบี้ยแล้วก็จะได้รับเอกสารจากตัวแทนมาเก็บไว้ ซึ่งก็จะได้รับความคุ้มครองทันที เป็นการแก้ไขจุดอ่อน ที่ผ่านมาที่บางครั้งซื้อประกันไปแล้วแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากบริษัท ประกัน
นอกจากนี้ เมื่อบริษัทประกันได้เงินค่าเบี้ยไปเร็วขึ้น ก็จะทำให้เกิดความมั่นคง ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องสภาพคล่อง ทำให้มีกระแสเงินสดมากขึ้น การจ่ายเคลมให้ผู้ซื้อประกันก็จะไม่มีปัญหา ไม่ต้องติดค้างกัน

มีผลดีที่เกิดขึ้นกับประกันภัยทั้งระบบอย่างไร?
จะทำให้เรื่องของเบี้ยค้างรับของบริษัทประกันดีขึ้น บริษัทประกันก็ต้องเก็บเบี้ยจากตัวแทน หรือบริษัทนายหน้าเร็วขึ้นตามเวลาที่คปภ.กำหนด เพราะหากไม่ทำตาม คปภ.ก็จะไม่ประเมินผลตรวจสอบให้บริษัทประกัน ซึ่งเมื่อบริษัทมั่นคง ฐานะการเงินดี ลูกค้าก็มั่นใจได้

เรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจไปถึงไหนแล้ว?
เราเตรียมการมานานพอสมควร โดยเฉพาะการร่วมมือกับสมาคมประกันวินาศภัยในการเผยแพร่ความรู้ให้กับพนักงาน บริษัทประกัน ตัวแทน และบริษัทนายหน้าทั่วประเทศ ซึ่งในเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ก็ได้จัดประชุมชี้แจงไปตามจังหวัดใหญ่ๆ ถึง 6 ครั้งแล้ว และเดือนธ.ค.นี้ก็จะไปที่ภูเก็ตอีก ส่วนประชาชนทั่วไปก็ได้ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ให้รับรู้ว่าต่อไปเมื่อนำ Cash Before Cover มาใช้ ผู้ซื้อประกันต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งบริษัทประกันแต่ละแห่งก็ช่วยกันแจ้งให้ลูกค้าตัวเองรับทราบ และคิดว่าคงจะไม่มีปัญหาอะไรเมื่อถึงเวลาใช้จริง

แล้วจะนำ Cash Before Cover มาใช้กับประกันแบบอื่น นอกจากรถยนต์หรือไม่?
ใน ส่วนของแบบประกันชีวิตนั้นได้ใช้มาตลอด มีใช้มานานแล้ว ส่วนแบบประกันภัยอื่นนั้น คปภ.ก็มีแผนจะนำมาใช้ในอนาคต แต่ต้องขอดูผลของประกันภัยรถยนต์ก่อน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

ประชาชนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพราะความจริงการซื้อประกันก็ทำเหมือนเดิมเกือบทุกอย่าง เพียงแต่ต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยเลยเท่านั้น และต่อไปผู้ซื้อประกันก็ต้องวางแผนให้ดี ต้องรู้ว่าจะหมดอายุคุ้มครองวันไหน ก็ให้แจ้งและจ่ายค่าเบี้ยประกันก่อนที่จะถึงวันหมดอายุเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อประกันอุ่นใจมากขึ้น อย่ารอให้หมดก่อนอายุแล้วถึงจะมาทำ ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาเวลามีเรื่องเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ ต่อไปเวลาตัวแทนมาขายประกันก็ต้องแสดงใบอนุญาตให้เราดู รวมถึงบริษัทนายหน้า หรือพนักงานบริษัทประกัน ก็ต้องมีหนังสือรับมอบอำนาจแสดงให้ลูกค้าดูด้วย และเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เวลาที่ผู้ซื้อประกันซื้อประกันกับใครแล้ว ก็จะต้องเรียกใบเสร็จมาตรฐานที่คปภ.กำหนดจากผู้ขายทันที เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานแสดงให้บริษัทประกันได้ดูเวลามีปัญหา

ภาพรวมของประกันภัยรถยนต์ในปีหน้าเป็นอย่างไร?
คงมีผลกระทบบ้าง จากยอดขายรถยนต์ที่คาดว่าจะลดลง แต่ก็คาดว่าไม่มากนัก เพราะช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 อัตราการเติบโตของประกันภัยรถยนต์ก็ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในปัจจุบันก็มีแบบประกันรถชั้น 2 หรือชั้น 3 พิเศษมาให้ลูกค้าได้เลือกมากขึ้น เพราะหากต้องการลดค่าใช้จ่ายไม่ยากทำประกันชั้น 1 ก็ยังหนีลงมาทำประกันรถชั้น 2 หรือชั้น 3 พิเศษได้อีก

นอกจากนี้ ในปีหน้าก็จะมีการนำแบบประกันใหม่ที่รวมระหว่างแบบประกันพ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกัน ภัยภาคบังคับมารวมเป็นฉบับเดียวกับประกันภาคสมัครใจอย่างประกันชั้น 1 ซึ่งจะทำให้ผู้ทำประกันสะดวกขึ้น ซื้อประกันฉบับเดียวก็ได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิม เวลาหมดอายุก็ตรงกันและการคุ้มครองก็จะต่อเนื่องจากบริษัทเดียวกัน ไม่ต้องมาแยกซื้อเป็นประกันพ.ร.บ. 1 ฉบับ และประกันชั้น 1 อีก 1 ฉบับ

ดังนั้น เท่ากับว่าในปีหน้าจะมีแบบประกันภัยรถยนต์หลักๆ 3 แบบ คือ 1.แบบประกันพ.ร.บ. 2.แบบประกันภาคสมัครใจ และ 3.แบบประกันที่รวมกันระหว่างประกันพ.ร.บ. กับประกันภาคสมัครใจ ซึ่งการปรับปรุงแบบประกันดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความชัดเจนและสะดวกต่อผู้ทำ ประกันมากขึ้น






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow