INSURANCETHAI.NET
Thu 05/12/2024 7:31:22
Home » ประกันรถยนต์ » การเบิก พรบ\"you

การเบิก พรบ

2018/12/16 1595👁️‍🗨️

การเบิกใช้สิทธิ์ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

หรือที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า ” ประกัน พรบ.ฯ หรือ เบิก พรบ.ฯ ”
ประกาศปรับเพิ่มโดยยึดวันที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2557

ผู้ประสบภัยจากรถมีสิทธิ์เบิกใช้สิทธิ์ แบ่งเป็น 2 วงเงิน

1.การเบิกใช้สิทธิ์ พรบ. วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น

ค่าเสียหายเบื้องต้น
ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ทุกคนที่ประสบภัยจากรถคันที่ขับขี่หรือนั่งซ้อนท้ายมา กรณีรถจยย.หรือนั่งโดยสารมาในรถกรณีรถยนต์ รวมถึงคนเดินถนน ที่ไม่ได้ขับขี่หรือซ้อนท้ายหรือโดยสารในรถคันอื่นๆ โดยไม่ต้องรอสรุปผลทางคดี ( หมายความว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือสูญเสียอวัยวะ พรบ. จะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคนทันที ) ตามลักษณะความเสียหายดังนี้

1.1 กรณีบาดเจ็บ เบิกจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ในวงเงินตามที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน (ปรับเพิ่มจากเดิมคุ้มครองเพียง 15,000 บาท) เช่น บาดเจ็บเล็กน้อย ค่ารักษาตามใบเสร็จ 5,720 บาท ผู้ประสบภัยจะเบิกเองหรือมอบอำนาจให้รพ. ตั้งเบิกกับบริษัทกลางฯ ผ่านระบบออนไลน์ ( e-claim online หรือระบบสินไหมอัตโนมัติ โดยบริษัทฯ จะโอนเงินจ่ายคืนรพ.ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รพ. ส่งเรื่องตั้งเบิก) กรณี บาดเจ็บปานกลาง ถึงสาหัส มีค่ารักษา 30,000 บาท เบิกได้ 30,000 บาท โดยบริษัทกลางฯ? จัดทำระบบ สินไหมอัตโนมัติและประสานขอความร่วมมือรพ. ทุกแห่งเข้าใช้ระบบ เพื่อลดภาระของประชาชนและผู้ประสบภัยจากรถ โดยรพ.เป็นผู้รับมอบอำนาจเบิกจ่ายจากบริษัทกลางฯ? แทนปชช. ซึ่งปัจจุบัน ทุกรพ.? จะรับมอบอำนาจเบิกแทนประชาชนอยู่แล้วค่ะ และหากกรณีบาดเจ็บสาหัส มีค่ารักษาเกินกว่า 30,000 บาท จะเบิกใช้สิทธิ์ได้จากวงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไปก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินที่เหลือ ผู้ประสบภัยหรือทายาท สามารถตัดสินใจเบิกส่วนเกินดังกล่าวจาก

  • สิทธิ์บัตรทอง 30 บาท ( ถ้ามี)
  • สิทธิ์ประกันสังคม ( ถ้ามี)
  • รอดูผลสรุปทางคดี กรณีมีคู่กรณี โดยหากคู่กรณีหรือ ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายประมาท เช่นผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสารในรถจยย.รับจ้าง ขับขี่ประมาทไปล้มเอง ไม่มีคู่กรณีเฉี่ยวชน ลักษณะเหตุแบบนี้ ผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองสูงสุดกรณีบาดเจ็บ ในวงเงินค่าสินไหมทดแทน ตามข้อ 2.

1.2 กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ
นิยามของ พรบ.ฯ กำหนดลักษณะของการสูญเสียอวัยวะตั้งแต่ 1 ข้อนิ้วขึ้นไป
เช่น นิ้วขาด ครึ่งข้อ ไม่ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะ กรณีนิ้วนิ้วใด ๆ ขาด 1 ข้อ หรือ สูญเสียมือทั้งมือ แขนทั้งแขน เบิกใช้สิทธิ์กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ ได้จำนวน 35,000 บาทต่อคน

1.3 กรณีถึงแก่ชีวิต เบิกจ่ายเป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน
วงเงินคุ้มครองกรณีค่าเสียหายเบื้องต้น คุ้มครองสูงสุด 65,000 บาทต่อคน
เนื่องจากผู้ประสบภัยจากรถ อาจได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือสูญเสียอวัยวะ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ หรืออาจเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ สามารถเบิกใช้สิทธิ์ในแต่ละลักษณะของการบาดเจ็บ

2.การเบิกใช้สิทธิ์ พรบ. วงเงินค่าสินไหมทดแทน

เป็นการเบิกใช้สิทธิ์หลังจากสรุปผลทางคดีแล้ว ว่าผู้ขับขี่รถคันใดเป็นฝ่ายประมาท ผู้ประสบภัยทุกคนจะเบิกใช้สิทธิ์จากวงเงินที่ใช้ไปแล้ว จากวงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อคน ได้จากกรมธรรม์คันที่เป็นฝ่ายผิด โดยเบิกจ่ายจากลักษณะความเสียหาย 3 ลักษณะเหมือนค่าเสียหายเบื้องต้นแต่วงเงินคุ้มครองสูงกว่า และเพิ่มการเบิกใช้สิทธิ์อีก 1 กรณี รวมเป็น 4 กรณี ดังนี้

2.1 กรณีบาดเจ็บ เบิกเป็นค่ารักษาพยาบาล วงเงินคัมครองสูงสุดต่อคน 50,000 บาท
โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นไปแล้ว 30,000 บาท
จะเหลือสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลอีก 20,000 บาท

2.2 กรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ วงเงินคัมครองสูงสุดต่อคน 200,000 บาท
โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีสูญเสียอวัยวะไปแล้ว 35,000 บาท และเบิกค่ารักษาพยาบาลไปอีก 30,000 บาท
จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000-30,000
จะเหลือสิทธิ์อีก 135,000 บาท

2.3 กรณีเสียชีวิต วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อคน 200,000 บาท
โดยหากผู้ประสบภัยเบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพไปแล้ว 35,000 บาท และเบิกค่ารักษาพยาบาลไปอีก 30,000 บาท
จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000-30,000
จะเหลือสิทธิ์อีก 135,000 บาท

หรือ กรณีทายาทผู้ประสบภัย เบิกใช้สิทธิ์ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพ อย่างเดียวเป็นจำนวน 35,000 บาท
โดยไม่ได้เบิกค่ารักษาพยาบาล จะเหลือสิทธิ์เบิกค่าสินไหมทดแทน = 200,000 – 35,000 จะเหลือสิทธิ์อีก 165,000 บาทต่อคน

2.4 เบิกเป็นค่าชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในรพ. วันละ 200 บาทต่อคน
สูงสุดไม่เกิน 20 วัน รวมวงเงินสูงสุด =20020 =4,000 บาทเช่นนอนพักรักษาตัวในรพ. 5 วัน จะได้รับค่าชดเชย 2005 วัน = 1,000 บาท

รวมวงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อผู้ประสบภัย 204,000 บาท ต่อผู้ประสบภัย

การเบิกจ่ายจากสิทธิ์ พรบ. เป็นการเบิกตามเงื่อนไขตามกฏหมาย

  • โทรสอบถามได้ที่สายด่วน Call Center บริษัทกลาง ฯ หมายเลข 1791
  • ติดต่อสอบถามที่จนท.บริษัทกลางฯ ซึ่งมีสาขาเปิดให้บริการอยู่ทุกจังหวัด
  • หน่วยบริการประชาชนของบริษัทกลางฯ ที่รพ. จังหวัดทุกแห่ง

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มีเวปไซต์เช็คข้อมูลเบอร์โทรสาขาทั่วประเทศ www.rvp.co.th

ประกัน พรบ.
เบี้ยประกันภัยกรณีรถจยย. เพียง 323 บาท (กรณี ซีซีรถไม่เกิน 125 cc. )
วันละไม่ถึง 1 บาท แต่ …
วงเงินสินไหมทดแทน ค้มครองสูงสุด 204,000 บาท ต่อคน
วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 65,000 บาทต่อคน
ปัจจุบันคุ้มครองเกือบทุกกรณี ทั้งผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ ,ทะเบียนขาด, เมาสุรา ฯลฯ ก็เบิกใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากเป็นการเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อลดผลกระทบทางอุบัติเหตุทางรถ โดยรถจยย.ทุกคันสามารถทำประกันภัยได้ ทั้งเก่า ใหม่ป้ายแดง คุ้มครองเท่ากัน






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow