INSURANCETHAI.NET
Sun 08/09/2024 21:19:14
Home » ข่าวประกันภัย » ชับบ์ประกันภัย ควบรวมขึ้นTop5 ประกันภัย ใช้เทเลฯ แก้ แบงก์แอสชัวรันส์\"you

ชับบ์ประกันภัย ควบรวมขึ้นTop5 ประกันภัย ใช้เทเลฯ แก้ แบงก์แอสชัวรันส์

2018/04/22 982👁️‍🗨️

“ชับบ์” ควบรวมขึ้นท็อป 5 ประกันภัย
ผนึกจุดแข็งดึงเทเลฯ เติม แบงก์แอสชัวรันส์ ชูทุนปึ๊กรับเสี่ยง ประกันภัย 2 หมื่นล้าน / ภัย

ภายหลังจาก 3 บริษัท ประกันภัย ที่อยู่ในเครือ “เอซ กรุ๊ป” ประกอบด้วย บมจ.สามัคคีประกันภัย บมจ.เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันช์ จำกัด สาขาประเทศไทย และบมจ.เอซ ไลฟ์ อินชัวรันส์ ได้เปลี่ยนแบรนด์และโลโก้ใหม่เป็น “ชับบ์” ตามนโยบายของบริษัทแม่ที่สหรัฐฯ ที่ให้ใช้ “ชับบ์” เป็นแบรนด์ในการทำตลาดทั่วโลก หลังจากได้เข้าไปซื้อกิจการกลุ่ม “บริษัทชับบ์” เมื่อตอนต้นปี

เมื่อกระบวนการเปลี่ยนชื่อเสร็จสิ้น ทางบริษัทแม่มีนโยบายให้ ชับบ์สามัคคีและเอชฯ ที่ดำเนินธุรกิจ ประกันวินาศภัย เหมือนกันควบรวมกิจการเข้าด้วยกันทันที โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ชับบ์สามัคคี กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้ ทั้ง 2 บริษัทจะรวมกันเป็นบริษัทเดียว คือ ชับบ์สามัคคี แต่การรวมกันยังไม่หมดทั้ง 100% ยังเหลือการรับ ประกันภัย พิเศษบางประเภท อาทิ ประกันภัย ที่เกี่ยวกับด้านการเงิน (ไฟแนนเชียล ไลน์) และ ประกันภัย ทรัพย์สินอื่นๆ ที่ลูกค้าและคู่ค้าต้องการเครดิต เรตติ้งไม่ต่ำกว่า A- ที่ยังต้องให้เอชฯ ดูแลอยู่

“เนื่องจาก ชับบ์สามัคคี ยังไม่มีเครดิต เรตติ้งที่ว่านี้ ขณะที่แอชฯ มีอยู่แล้ว เพราะเป็นสาขาต่างประเทศ ต้นปีหน้าเราจะดำเนินการขอเครดิต เรตติ้ง พอเสร็จแล้วจะโอนกิจการทั้งหมดของเอชฯ เข้ามา ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2560 หรือไม่เกินกลางปี 2561 เรื่องการเปลี่ยนชื่อและการควบรวม เราทยอยแจ้งลูกค้าและคู่ค้าแล้ว”

ขึ้นท็อป 5 / ที่ 2 “นอน มอเตอร์“
ทั้งนี้หลังจากควบรวมแล้ว ชับบ์สามัคคีจะมีส่วนแบ่งตลาดเบี้ย ประกันภัย รับรวม 5% อยู่ลำดับที่ 5 ของอุตสาหกรรม โดยมีเบี้ย ประกันภัย รวมกันกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในปี 2558 แต่ถ้าดูเฉพาะ ประกันภัย ไม่ใช้รถยนต์ (นอน มอเตอร์) ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท มีสัดส่วนอยู่เกือบ 80% นั้นจะมีส่วนแบ่งตลาด 10% อยู่ลำดับที่ 2 รองจาก บมจ.ทิพยประกันภัย ขณะที่ ประกันภัยรถยนต์ มีส่วนแบ่งตลาดแค่ 1% อยู่ลำดับที่ 24

“ รถยนต์ เราเติบโตอย่างระมัดระวัง เราเป็น “อันเดอร์ไรติ้ง คัมปะนี” บริษัทไม่มีนโยบายทำธุรกิจขาดทุน วันนี้ รถยนต์ ทำกำไรยากเพราะการแข่งขันสูง ต้องถอนคันเร่งเพราะถ้าเหยียบเราขาดทุน การเติบโตของ รถยนต์ จะไม่หวือหวา เกาะไปกับตลาด โดย Loss Ratio ประกันรถยนต์ ของเราต่ำกว่า 60% ส่วน นอน มอเตอร์ น่าจะอยู่ซัก 30% ปลายๆ ตลาด นอน มอเตอร์ เป็นงานหลักของเรา เรามีสินค้าและบริการคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยจากช่องทางธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) และขายผ่านโทรศัพท์ (เทเลมาร์เก็ตติ้ง) ไปจนถึงลูกค้าเอสเอ็มอี และองค์กรขนาดใหญ่ ถ้าวัดจากเบี้ยเรามีลูกค้ารายย่อย 70% รายใหญ่ 30%”

รับเสียงได้สูง ทุนถึง 2 หมื่นล้าน
สำหรับการขยายงานด้าน นอน มอเตอร์ นั้นจุดแข็งหลักของบริษัท คือกำลังในการรับ ประกันภัย (คาปาซิตี้) ที่มีสูงมาก เนื่องจากชับบ์เป็น “โกลบอล คัมปะนี” สามารถรับ ประกันภัย เองด้วยทุนประกันสูงถึง 2 หมื่นล้านบาทต่อภัย โดยไม่ต้องผ่านสำนักงานที่สิงคโปร์ หรือส่งให้บริษัทอื่น อีกทั้งยังมีความสามารถในการเก็บความเสี่ยงภัยไว้เองสูงมาก สะท้อนด้วยเบี้ย ประกันภัย รับสุทธิที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด นอน มอเตอร์ อยู่ ซึ่งจะแตกต่างจากบริษัทอื่น ที่ส่วนใหญ่จะต้องกระจายความเสี่ยงด้วยการทำ ประกันภัย ต่อ ออกไปเยอะ ซึ่งเป็นจุดแข็งดังกล่าว ทำให้บริษัทสามารถซัพพอร์ตทุกกลุ่มลูกค้าในทุกๆ ช่องทางจำหน่ายได้

“การรับเบี้ยสุดที่ไว้เองเยอะๆ ถ้าไม่มีเคลมเกิดขึ้นก็ดีกับเรา ได้เบี้ยเต็มๆ แต่ถ้ามีเคลมเกิดขึ้น เราก็มีร่มอีกคันคลุมไว้ด้วยการซื้อ ประกันภัย ต่อ จากกรุ๊ป ที่จะซื้อคลุมความเสี่ยงให้กับชับบ์ทั่วโลก เป็นการดิวซื้อด้วยฐานใหญ่จะได้เบี้ยถูกลง อีกส่วนที่เราเก็บไว้ไม่หมดต้องส่ง ประกันภัย ต่อ ตามกฎเกณฑ์ เราก็ส่งไปให้บริษัทแม่ดูแลให้อีกเช่นกัน การมีกำลังในการรับ ประกันภัย เยอะ สมมุติรับเองทั้งหมดก็ดีกับลูกค้าเวลาเกิดเคลม ดิวจบที่เรา ไม่ต้องดิวกับ ประกันภัย ต่อ รายที่”

ศักยภาพของ ชับบ์สามัคคี
มาจากฐานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วย
ไตรมาศที่ 3 ชับบ์สามัคคี มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Ratio) 850%
ขณะที่เอชฯ มีอยู่ประมาณ 150% และเมื่อทดสอบ RBC2 แล้วมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 350% เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงสูงด้านการลงทุนเพราะ 90% ลงทุนในการลงทุนที่มีความมั่นคง โดยมีเงินลงทุนรวม 13,000 ล้านบาท

ดึง “เทเลฯ” ปิดจุดอ่อนแบงก์
ผลดีอีกข้อหนึ่งของการควบรวม คือ การนำจุดเด่นและความชำนาญที่ทั้ง 2 บริษัทมีไม่เหมือนกันมาเสริมให้แก่กัน ยกตัวอย่างในธุรกิจรายย่อยที่ ชับบ์สามัคคี ชำนาญ คือ แบงก์แอสชัวรันส์ ส่วนทางเอชฯ ชำนาญในธุรกิจเทเลมาร์เก็ตติ้งในรายย่อย ทาง ชับบ์สามัคคี จะนำศักยภาพเทเลมาร์เก็ตติ้งมาเป็นเครื่องมือเสริมให้กับ แบงก์แอสชัวรันส์ ทั้งด้านการขายและบริการ ปิดจุดอ่อนของธุรกิจ แบงก์แอสชัวรันส์ เช่น ด้านการบริการ ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจ แบงก์แอสชัวรันส์ มีความสมบูรณ์และเติบโตยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันเอชฯ มีพนักงานขายทางโทรศัพท์ 700 คน

“เบี้ยต่ออายุของ แบงก์แอสชัวรันส์ 60% น่าจะเพิ่มขึ้นได้ ใครๆ อยากเห็นเบี้ยต่ออายุเกิน 80% ช่วยลดต้นทุนลงได้ ซึ่งหลังจากควบรวมแล้ว แบงก์แอสชัวรันส์ ยังเป็นช่องทางใหญ่อยู่สัดส่วนราว 50% ที่เหลือเป็นช่องทางอื่นๆ โดยสัญญากับไทยพาณิชย์เหลือประมาณ 3 ปี เราก็มีธนาคารเล็กๆ อย่าง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่เติบโตได้ดี ขณะเดียวกันก็พยายามหาธนาคารอื่นๆ มาเพิ่ม รวมถึงคุยกับพาร์ทเนอร์ของธนาคารต่างๆ ว่าเราจะเข้าไปรองรับจุดไหนได้”

ถามถึงเบี้ย ประกันภัย ภายในปีนี้ อาจต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย แต่ยังเติบโตสูงกว่าตลาด

อย่างไรก็ดี หลังจากรวมบริษัทแล้ว ชับบ์สามัคคี จะมีฐานลูกค้ารวมประมาณ 3.5 ล้านคน พนักงาน 1,500 คน

จากข้อมูลของ คปภ.ในช่วงครึ่งปีนี้ ชับบ์สามัคคี มีเบี้ย ประกันภัย 2,862.77 ล้านบาท ขณะที่เอชฯ มีเบี้ย ประกันภัย 2,015.56 ล้านบาท

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow