INSURANCETHAI.NET
Fri 19/04/2024 13:50:00
Home » Uncategorized » กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ,กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ฉบับแก้ไขใหม่\"you

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ,กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ฉบับแก้ไขใหม่

2023/03/22 92026👁️‍🗨️

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

SSF เป็นกองทุนใหม่ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมเงินระยะยาวมากขึ้น
– เลือกลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท (กองทุน LTF เน้นลงทุนในหุ้นไทยโดยเฉพาะ)
– ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน
– ไม่กำหนดเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
– ซื้อกองทุน หักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
– และเมื่อนำไปรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (กองทุน RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) แล้ว … ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ต้องถือครอง 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ จึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ปัจจุบันสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน SSF ถูกกำหนดไว้ที่ 5 ปี (2563 – 2567) จากนั้นกระทรวงการคลังจะประเมินผลและทบทวน พิจารณาแนวทางต่อไป

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ฉบับแก้ไขใหม่

กองทุนรวม Retirement Mutual Fund (RMF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนไทยเก็บออมเงินระยะยาวเพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุ ทำให้มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย เพื่อให้เข้ากับสไตล์การลงทุน รวมถึงความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน ซึ่งมีจุดประสงค์คล้ายกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ของพนักงานบริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของข้าราชการ

ก่อนนี้ กองทุน RMF
– หักลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี
– และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนำไปรวมกับ ..
— กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
— กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
— ประกันชีวิตแบบบำนาญ
— กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
– ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำกว่า
– ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี เว้นได้แต่ไม่เกิน 1 ปี (นับเวลาแบบวันชนวัน เริ่มจากวันแรกที่ได้ซื้อหน่วยลงทุน)

ปัจจุบัน ปรับกฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อสนับสนุนให้คนไทยลงทุนเพื่อการเกษียณมากขึ้น โดยปรับสัดส่วนการหักลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนRMF จากเงื่อนไขเดิมไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เป็นไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน และยกเลิกการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF

กองทุน SSF Extra (SSFX)

กองทุน SSF พิเศษ = SSF เฉพาะกิจ = SSF Extra (SSFX)
กองทุนเพื่อการออมที่มีการปรับเกณฑ์ให้คล้ายกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คือ มีการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน ระบุว่าต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เหมือน LTF) โดยเราสามารถซื้อกองทุน SSF Extra เพื่อลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นอีก 200,000 บาท

สิทธิลดหย่อนภาษีก้อนนี้จะแยกจากวงเงินลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF และ SSF

หากซื้อกองทุน SSF ปกติ เต็ม 200,000 ยังซื้อ SSF Extra (SSFX) ได้อีก 200,000 เท่ากับสามารถใช้สิทธิ SSF ลดหย่อนภาษี ได้เต็ม 400,000

หากซื้อกองทุนทั้ง RMF, SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ได้เต็ม 500,000 ยังซื้อ SSF Extra (SSFX) เพิ่มได้อีก 200,000 เท่ากับใช้สิทธิจากการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีถึง 700,000

แม้กองทุน SSF Extra จะช่วยลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าต้องซื้อกองทุน ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2563 – 30 มิ.ย. 2563 เท่านั้น และต้องรับความเสี่ยงในการลงทุนไว้ได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี เพราะต้องถือครองเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ซื้อ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow