INSURANCETHAI.NET
Thu 25/04/2024 16:41:34
Home » ข่าวประกันภัย » ธนาคารกรุงเทพ จับมือเอไอเอ ให้บริการแบงก์แอสชัวรันส์\"you

ธนาคารกรุงเทพ จับมือเอไอเอ ให้บริการแบงก์แอสชัวรันส์

2017/10/12 1728👁️‍🗨️

ธนาคารกรุงเทพ จับมือเอไอเอ ประกาศความร่วมมือระยะยาวในการให้บริการแบงก์แอสชัวรันส์ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศไทย และกลุ่มบริษัทเอไอเอ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและมีการบริหารจัดการอย่างอิสระ ได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจระยะเวลา 15 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพ สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตหลากหลายประเภทของเอไอเอให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยผ่านเครือข่ายสาขาและจุดให้บริการอื่นๆ ของธนาคารท่ครอบคลุมทั่วประเทศ

ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ทันสมัย และหลากหลายของเอไอเอต่อลูกค้าของธนาคารจำนวนหลายล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าบุคคลที่กว้างขวางลำดับต้นๆ ในประเทศไทย ผ่านช่องทางการให้บริการต่างๆ ของธนาคาร รวมถึงเครือข่ายสาขาประมาณ 1,200 สาขาทั่วประเทศ และช่องทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า…
“ลูกค้าของธนาคารในปัจจุบันมีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการประกันชีวิตในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือ สำหรับการสะสมความมั่งคั่ง การออมเพื่ออนาคต และการสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว โดยธนาคารและเอไอเอจะผสานความเชี่ยวชาญทางการเงินเพื่อช่วยให้ลูกค้าของธนาคารสามารถเลือกแผนบริหารการเงินท่ีเหมาะสมที่สุดสำหรับทุกช่วงชีวิต ซึ่งความร่วมมือกับเอไอเอจะทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและการออมที่หลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”

กลุ่มบริษัทเอไอเอเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดประกันชีวิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) และมีประสบการณ์ยาวนานในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการประกันชีวิตที่มีคุณภาพสูงสำหรับลูกค้าของธนาคาร โดยเอไอเอจะนำเอาศักยภาพในการให้บริการแบงก์แอสชัวรันส์ในระดับภูมิภาค และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในประเทศไทยมาให้การสนับสนุนธนาคารกรุงเทพในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีท่ที นัสมัยและพัฒนาบุคลากร เพื่อนำเสนอความคุ้มครองจากบริการประกันชีวิตและการออมระยะยาวให้แก่ลูกค้าของธนาคาร

นาย อึง เค็ง ฮุย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทเอไอเอ กล่าวว่า …
“การเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพในครั้งนี้ ทำให้สถาบันการเงินซึ่งได้รับความเชื่อถือและมีความมั่นคงในระดับสูงในประเทศไทย 2 สถาบันได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน บริษัทมีความภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยมายาวนาน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพ เพื่อนำเสนอความคุ้มครองและแผนการออมในระยะยาวแก่ลูกค้าของธนาคาร

เอไอเอถือว่าการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญ และบริษัทเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกับธนาคารกรุงเทพจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์ที่ยั่ังยืนในระยะยาวสำหรับลูกค้า บุคลากร และผู้ถือหุ้น”

นาย ตัน ฮาค เลห์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า …
“เรารู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกับธนาคารกรุงเทพเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีคุณภาพสูงแก่ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ของเอไอเอในประเทศไทย ควบคู่ไปกับช่องทางตัวแทนที่บริษัทดำเนินการมายาวนานและเป็นผู้นำในตลาดนี้ในขณะเดียวกันก็จะเปิดโอกาสให้เอไอเอได้สนับสนุนคนไทยอีกเป็นจำนวนมากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาพแข็งแรง และมีอายุยืนยาว”

คณะผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกับเอไอเอจะช่วยให้ธนาคารสามารถสร้างความตระหนักของประชาชนถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน และขยายธุรกิจประกันชีวิตจากฐานลูกค้าเดิมของธนาคาร ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งสององค์กรเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

ทั้งนี้ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ยังคงเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตสะสมทรัพย์และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อส่วนใหญ่ แก่ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพต่อไป ในการทำข้อตกลงความร่วมมือกับเอไอเอในครั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีบริษัท Citigroup Global Markets Asia เป็นบริษัทที่ปรึกษา ส่วนเอไอเอมีบริษัท Evercore Partners International LLP เป็นบริษัทที่ปรึกษา

กรุงเทพประกันชีวิตพร้อมแข่งแบงก์แอสชัวร์รันส์
ดร. ศิริ การเจริญดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า …
“การที่ “ธนาคาร” มีพันธมิตรในการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพิ่มขึ้นเพื่อเติมเต็มและช่วยพัฒนาสินค้าที่หลากหลายขึ้นในการให้บริการต่อลูกค้าธนาคาร อีกทั้งช่วยพัฒนาและเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีคุณภาพให้แก่ “ธนาคาร” ถือเป็นประโยชน์ต่อ “ธนาคาร” และกลุ่มพันธมิตรในระยะยาว ที่จะสามารถเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันให้บริการลูกค้า “ธนาคาร” ได้ดียิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งการขยายตัวของธุรกิจโดยรวมร่วมกัน นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายทางการ ที่ส่งเสริมให้สถาบันการเงินทำธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตโดยเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตมากกว่าหนึ่งแห่งเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคอีกด้วย”

เป็นผลดีกับตัวแทนธรรมชาติของกรุงเทพประกันชีวิตเพราะบริษัทจะเห็นความสำคัญของตัวแทนมากขึ้นในช่องทางการขายผ่านตัวแทนจากเมื่อก่อนกี่ทุ่มเททรัพยากรและมุ่งไป ช่องทางการขายผ่านธนาคารโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของกรุงเทพประกันชีวิต​แม้ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคนละตัวกัน ที่ขายผ่านช่องทางตัวแทน แต่ก็ถือว่าเป็น คู่แข่งทางการค้า ระหว่างตัวแทน ในช่องทางตัวแทนและ ช่องทางธนาคารที่ ขายผลิตภัณฑ์ประกัน ที่ออกจาก บริษัทเดียวกัน

ตัวแทนธรรมชาติ = สมัครขายประกันโดยระบบปกติทั่วไป
ตัวแทนเส้น = ได้สิทธิพิเศษ ดูแลงานธนาคาร ทำหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานธนาคาร และได้ยอด
ตัวแทนสร้างโดยบริษัท = บริษัทรับสมัครเข้ามาให้เงินเดือน และ ให้ขายประกัน

เอไอเอสยายปีกผนึกแบงก์กรุงเทพฯ รุกขายประกันผ่านแบงก์แอสชัวรันส์

นับเป็นปรากฎการณ์สั่นสะเทือนวงการสถาบันการเงิน เมื่อ “ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)” หรือ BBL ยอมหักเหลี่ยมพี่น้อง “ตระกูลโสภณพนิช” ด้วยการจับมือบิ๊กประกันชีวิตรายใหญ่สุดของไทย กลุ่มบริษัทเอไอเอ (AIA) ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคาร (Bancassurance) โดยแบงก์กรุงเทพจะเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทต่างๆ ของ บริษัท เอไอเอ ให้แก่ลูกค้าของธนาคารในประเทศไทย ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร โดยมีระยะเวลาทั้งสิ้น 15 ปี

แม้ BBL จะยังคงสนับสนุนและเสนอขายผลิตภัณฑ์หลักของ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ BLA อย่างต่อเนื่อง แต่ BLA จะไม่ใช่เป็นที่หนึ่งเดียวในประกันชีวิตแบงก์กรุงเทพอีกต่อไป จึงส่งผลกระทบต่อหุ้น BLA ไม่มากก็น้อย เพราะกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของกรุงเทพประกันชีวิตขายผ่านธนาคาร คิดเป็นยอดขายมากกว่า 90% ในระหว่างปี 2559

ระยะหลายปีมานี้ กรุงเทพประกันชีวิตทุ่มไปที่ การขายประกันผ่านช่องทางธนาคาร โดยมีการออกแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ต่างออกไปจาก ช่องทางตัวแทนปกติ และนอกจากนี้ ยังรุกตลาดด้านการเงิน ขายกองทุน

สาเหตุที่ทำให้ BBL จับมือกับ AIA หนึ่งในนั้นก็คือ “ผลประโยชน์” ที่ AIA ให้ยากที่จะปฏิเสธ!
แม้ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับตัวเลขที่ AIA ให้กับ “ธนาคารกรุงเทพ” เพื่อเป็นตัวแทนขายประกัน แต่มีการประเมินกันว่าตัวเลขครั้งนี้ทะลุทะลวงมากกว่า “2 หมื่นล้านบาท”

ย้อนกลับไปตรวจสอบ ดีลใหญ่เมื่อครั้ง เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต (FWD) ของบุตรชายมหาเศรษฐีลีกาชิง เซ็นสัญญากับ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อขายกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแบงก์ TMB เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา จะพบว่า FWD ควักกระเป๋าจ่ายค่า ธรรมเนียมให้ TMB จำนวน 2.1 หมื่นล้านบาท แลกกับการใช้เครือข่ายแบงก์ 15 ปี อย่างง่ายๆ

การจ่าย 2.1 หมื่นล้านบาท ของ FWD ให้กับธนาคารทหารไทย เป็นเพียงการจ่ายแค่ค่าวางผลิตภัณฑ์เท่านั้น คล้ายๆ กับ แป๊ะเจีย ค่าแรกเข้า ไม่รวมค่าคอมมิชชั่นที่จะได้มาเพิ่มเติมตามยอดขายกรมธรรม์ ท่ามกลางข้อเปรียบเทียบความยิ่งใหญ่ของดีลนี้ ที่มีขนาดใหญ่กว่า

ธนาคารกรุงเทพ มีสินทรัพย์มากกว่า 3 ล้านล้านบาท
ณ สิ้นปี 2559 ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ประเภทบริการตนเอง หรือ Self-Services มากกว่า 1,200 แห่ง
เครื่องเอทีเอ็มกว่า 9,300 เครื่อง
เครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติกว่า 1,200 เครื่อง
และที่สำคัญก็คือฐานลูกค้าแบงก์กรุงเทพฯ เป็น “รายใหญ่” ค่อนข้างมาก
ขณะที่ธนาคารทหารไทย
มีสินทรัพย์ 840,565 ล้านบาท
ปี 2559 มีสาขา 452 สาขาทั่วประเทศ และ me by tmb อีก 1 สาขา
มีเครื่องเอทีเอ็มให้บริการจำนวน 2,049 เครื่อง
เครื่องฝากถอนเงินสดจำนวน 700 เครื่อง
และเครื่องออลอินวัน 34 เครื่องทั่วประเทศ

ขนาดที่ใหญ่กว่าจึงทำให้ธนาคารกรุงเทพได้เปรียบในด้านของการตกลง

เมื่อประกอบกับอำนาจเม็ดเงินของ เอไอเอ ขนาดใหญ่ ณ เดือน สิงหาคม 2560 มีสินทรัพย์มากกว่า 775,000 ล้านบาท
AIA มีรายได้ในปี 2559 จำนวน 150,000 ล้านบาท ซึ่งโดยกว่า 1 ใน 3 ของกรมธรรม์ประกันชีวิตในประเทศไทยเป็นของเอไอเอ1 ให้บริการลูกค้ากว่า 5.5 ล้านคน ด้วยจำนวนกรมธรรม์กว่า 8,000,000 ฉบับ
ดังนั้นการจ่ายเม็ดเงินย่อมจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าจะสูงกว่า 2 หมื่นล้านค่อนข้างมาก …
ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุ ว่ามีโอกาสที่แบงก์กรุงเทพจะได้ค่าธรรมเนียม จาก bancassurance ซึ่งรวมการขายกองทุนเพิ่มขึ้น
โดยงวดครึ่งแรกปี 60 นี้ ของ BBL มีสัดส่วนค่าธรรมเนียมจาก bancassurance 17% ของรายได้ค่าธรรมเนียมรวม ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ราว 20%

การที่ BBL จะขายประกัน AIA จึงช่วยผลักดันรายได้ค่าธรรมเนียม ที่เป็นจุดอ่อนของ BBL ได้ โดยประมาณการปี 61 ก่อนหน้าได้คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียม BBL โต 6% แต่เมื่อมีดีล AIA เข้ามา โอกาสโต 8-10% จึงเป็นไปได้สูง ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำซื้อหุ้น BBL ใช้ราคาเหมาะสมปี 61 ที่ 210 บาท พร้อมกับเลือกเป็นหุ้น top pick ของกลุ่มแทน SCB
รายงาน : เฉลิมชัย ศิรินันทวิทยา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow