INSURANCETHAI.NET
Tue 10/12/2024 10:07:17
Home » Uncategorized » รถจักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุ ไม่มี พรบ\"you

รถจักรยานยนต์ประสบอุบัติเหตุ ไม่มี พรบ

2018/12/07 4355👁️‍🗨️

รถจักรยานยนต์ ที่มักไม่ต่อทะเบียนและซื้อ พรบ.
บางคนไม่มีใบขับขี่ ประสบอุบัติเหตุ ชนกับรถยนต์ ที่มี พรบ.และทะเบียนถูกต้อง
คนขับอยู่ในสภาวะปกติ ไม่เมา เหตุเกิดในตอนกลางวัน ไม่สามารถชี้ว่าใครผิดถูกได้ชัดเจน
ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ได้รับบาดเจ็บ ต้องรักษาตัว
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ไม่มีพรบ. ไม่มีทะเบียน ไม่มีใบขับขี่
1.จะได้รับความคุ้มครองจาก พรบ. ของรถยนต์คู่กรณีในส่วนค่ารักษาเบื้องต้นก่อนหรือไม่?
2.ถ้าเบิกได้ จะเบิกได้ทันทีที่ต้องรักษากับทางโรงพยาบาลเลยหรือไม่?
3.ญาติทางผู้บาดเจ็บ ต้องดำเนินการอย่างไรในการเบิกจาก พรบ. ในกรณีที่เบิกได้ หรือทางโรงพยาบาลจะดำเนินการเบิกให้เอง?
4.ถ้าต่อมา คดีมีการขึ้นศาล และศาลตัดสินแล้วว่าฝ่ายรถยนต์ผิด ตามสิทธิ์พรบ. จะสามารถเบิกอะไรได้อีกไหม?
5.ถ้ารถมอเตอร์ไซด์ผิด ที่เคยเบิกได้จาก พรบ. ของรถยนต์ ( ถ้าเคยเบิกได้แล้ว ) จะต้องชดไใช้คืนให้กับบริษัทฯ ประกันไหม?

รถ 2 คันชนกัน
1.หากต่างฝ่ายมีประกันภัยให้เบิกจากประกันตนเอง
2.หากไม่มี ให้เบิกจากกองทุน
3.หากต่อมา ทราบว่ารถฝ่ายมีประกันเป็นฝ่ายผิด ผู้ประสบภัยจากรถที่ไม่มีประกันภัย สามารถเรียกร้องจากรถคู่กรณีได้


รถไม่มี พรบ ใช้ประกันสังคมได้

ในกรณีอุบัติเหตุจากรถหากผู้ประกันตน เข้ารับการรักษาที่รพ.ตามบัตรฯไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
แต่ทางรพ.ตามบัตรฯ อาจจะขอความร่วมมือให้ใช้พรบ.ในกรณีที่อุบัติเหตุจากรถ
แต่ถ้าผปต.พรบ.ขาดไม่ประสงค์จะใช้พรบ.คุณก็ยังสามารถใชสิทธิรักษากับประกันสังคมได้
สำหรับกรณีที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่รพ.ตามบัตรฯไปเข้ารพ.อื่นที่ใกล้เมื่อสำรองจ่ายไปแล้วให้ทำเรื่องเบิกกรณีอุบัติเหตุตามเงื่อนไขที่กำหนดที่สปส.พื้นที่/จังหวัดที่คุณสะดวกยกเว้นสำนักงานใหญ่

การไม่จัดทำ พรบ แล้วเอามาขับขี่ ผิดกฏหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 การนำรถไม่จัดทำ พ.ร.บ. มาขับขี่ ปรับไม่เกิด 10,000 บาท
เมื่อไม่ทำ พรบ. ค่ารักษาจึงต้องจ่ายเอง
เพราะกฏหมายให้สิทธการรักษาอื่นยกเว้นอุบัติเหตุจราจร เอาไว้ให้ประกันจ่าย

เคสตัวอย่าง
เกิดขับมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุ แต่มี ประกันชีวิต ,ประกันอุบัติเหตุ ,สิทธิ์รักษาราชการ ,มีสิทธิ์30บาท
รถที่ขับ #พรบ.ขาด คือถ้าเกิดอุบัติเหตุจากรถ. #เราไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันอะไรได้เลย
ถ้ายอดของสิทธิ์ พรบ.ยังไม่หมด แต่รถมอเตอร์ไซค์ พรบ.ขาดเบิกไม่ได้ หมายความว่า
ถ้าเราจะเบิกประกันอื่นได้เราต้องจ่ายเงินเองในส่วนของ พรบ 30,000บาท

เคสนี้ความจริงแล้วเบิกเคลมประกันได้ อุบัติเหตุที่ทำไว้ได้ ทำไมจะไม่ได้ล่ะ
การที่เราซื้อประกันควรต้องศึกษาข้อมูล ผลประโยชน์ ให้เข้าใจ หรือ เป็นไปได้ควรมีตัวแทน/นายหน้า ดูแล
คุณเห็นหรือังว่า การมีตัวแทน/นายหน้า คอยช่วยเหลือดูแล บริการ ปรึกษา นั้น เป็นสิทธิ์ที่คุณจะได้มาฟรีๆก็ว่า แล้ว ทำไม จึงไม่เลือกซื้อประกันผ่านคนเหล่านั้นละ

พรบ.รถจักรยานยนต์ขาด/ไม่ได้ทำ แล้วประสบอุบัติเหตุ จะไปเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกับใคร?

ถ้าต่างฝ่าย ไม่มี พรบ
เบิก พรบ.ไม่ได้ ต้องจ่ายเอง หรือ หากใครได้ทำประกันส่วนตัวไว้ เช่น  ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ,ประกันสุขภาพ ก็เบิกเคลมได้ปกติ หรือ ประกันสังคมก็ใช้ได้

หากได้ทำ พรบไว้
ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 15,000 บาท โดยไม่ต้องพิสูจน์ความถูกผิด หลังพิสูจน์ความถูกผิดแล้ว ปรากฏว่าเป็นฝ่ายถูก ก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม

พรบ. เบี้ยประกันถูกมาก ปีละหลักร้อย คนที่ไม่ทำพรบ จะต่อภาษีรถไม่ได้ แสดง ภาษีก็ขาดต่อด้วยเพราะ จะต่อภาษีรถต้องต่อ พรบ ก่อนด้วย

อาจจะจ่ายก่อนแล้วเบิกทีหลัง หรือ ไม่ต้องจ่ายก็แล้วแต่ทางโรงพยาบาลว่าจัดการแบบไหน

ผู้ประสบภัยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. สามารถไปใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น(ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000บาท) ได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ

ในกรณีที่เป็นสถานพยาบาลต้องให้ผู้ประสบภัยเซ็นต์มอบอำนาจให้ในใน บ.ต.๒ ด้วย สำหรับเอกสารประกอบที่ต้องใช้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ และสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากรถไม่มีประกันภัย กองทุนจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐานฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย และผู้ขับขี่ฐานนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้อีกคนละไม่เกิน 10,000 บาท

กรณีคุณเป็นฝ่ายที่ถูก
– ใช้ประกัน พรบ
– เบิกประกันส่วนตัว เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสังคม ฯลฯ
– ฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากรถที่ละเมิด

กรณีคุณเป็นฝ่ายที่ผิด
– ใช้ประกัน พรบ
– เบิกประกันส่วนตัว เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสังคม ฯลฯ

ถึงแม้ พรบ.ของคุณจะขาดหรือไม่มีใบขับขี่ก็ไม่เกี่ยวกัน คุณจะได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้ประสบภัย ถ้าคุณเป็นฝ่ายถูก จะต้องได้รับค่าสินไหมทดแทนจากทางฝั่งของคู่กรณี เบื้องต้นไม่เกิน 15,000 บาท

ให้คู่กรณีติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยให้เข้ามาดูแลคุณเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการเบิกจ่ายทั้งหมด

เบื้องต้นคุณจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจาก พรบ.ก่อน

การไม่จัดทำ พรบ แล้วนำมาขับขี่ นั้น ผิดกฏหมาย พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 นำรถไม่จัดทำ พ.ร.บ. มาขับขี่ ปรับไม่เกิด 10,000 บาท เมื่อไม่ทำ ค่ารักษา ต้องจ่ายเอง เพราะกฏหมายให้สิทธการรักษาอื่น ยกเว้นอุบัติเหตุจราจร เอาไว้ให้ประกันจ่าย

อย่างไรก็ตาม ประกันสังคม สามารถใช้ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=UYSU73v61fw

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

ผู้ประสบภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วยนั้น และหมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย“ความเสียหาย” หมายความว่า ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยอันเกิดจากรถ

“ค่าเสียหายเบื้องต้น” หมายความว่า ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ทั้งนี้ ตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง

“ผู้ซึ่งอยู่ในรถ” หมายความว่า ผู้ซึ่งอยู่ในหรือบนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถนั้นด้วย

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๘ เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท
มาตรา ๑๗ บริษัทจะยกเอาความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยมิได้
มาตรา ๒๐ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้ประสบภัย
ความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น และการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา ๒๐ ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวนที่ต้องจ่าย ให้ผู้ประสบภัยแจ้งการไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวนจากบริษัทต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๒ การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา ๒๐ ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๓ ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยจากรถในกรณีดังต่อไปนี้ให้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากเงินกองทุน
(๑) รถนั้นมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ และเจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
(๒) รถนั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะที่เกิดเหตุเพราะถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
(๓) รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙
(๔) รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
(๕) บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา ๒๐ ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน หรือ
(๖) รถตามมาตรา ๘ ที่มิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา ๗
มาตรา ๒๔ ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง แต่ผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทดังกล่าวร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยทุกคนโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน
สำหรับกรณีตามมาตรา ๒๓ ให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายหรือร่วมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๕ ให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๓ หรือมาตรา ๒๔ ให้แก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด
ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่เจ้าของรถหรือบริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวนตามมาตรา ๒๓ (๑) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี หรือกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยเพราะเหตุตามมาตรา ๒๓ (๓) หรือ (๔) เมื่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามมาตรา ๒๕ แล้ว ให้นายทะเบียนเรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัท แล้วแต่กรณี รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนส่งเข้าสมทบกองทุนอีกต่างหาก เว้นแต่กรณีที่ความเสียหายเกิดแก่ผู้ประสบภัยเพราะเหตุตามมาตรา ๒๓ (๔) และเจ้าของรถหรือบริษัทไม่ทราบถึงเหตุนั้นโดยสุจริตหรือเจ้าของรถที่กรมธรรม์หมดอายุแต่ยังไม่เกินสามสิบวันโดยเจ้าของรถไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการทำประกันภัย หรือในกรณีอื่นที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด นายทะเบียนอาจงดหรือลดเงินเพิ่มลงได้
หลักเกณฑ์ในการเรียกเงินคืน การงดและลดเงินเพิ่ม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยประกาศกำหนด
[คำว่า “คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย” แก้ไขเพิ่มเติมโดยผลของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐]
มาตรา ๒๗ การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow