INSURANCETHAI.NET
Tue 17/09/2024 23:34:51
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » ลักษณะสำคัญของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้\"you

ลักษณะสำคัญของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้

2012/03/22 2179👁️‍🗨️

ลักษณะสำคัญของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้

บริษัทประกันภัยโดยทั่วไปจะรับประกันภัยเฉพาะความเสี่ยงภัยที่แท้จริง (PURE RISKS) ได้เพียงบางประเภทเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของความเสี่ยงภัยที่สามารถจะเอาประกันภัยได้ไว้ดังนี้.
1. ต้องมีหน่วยของความเสี่ยงภัยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก (THERE MUST BE A LARGE NUMBER OF HOMOGENOUS EXPOSURE UNITS )
2. ความเสียหายที่เกิดชึ้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย (THE LOSS MUST BE ACCIDENTAL AND UNINTENTIONAL BY THE INSURED )
3. ควานเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้อง สามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ (THE LOSS MUST BE DETERMINABLE AND MEASURABLE)
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย (THE LOSS SHOULD NOT BE CATASTROPHIC )
5. ความเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นความเสี่ยงที่แท้จริง (PURE RISK) และเป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม (PARTICULAR RISK)
6. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหาย จะต้องคำนวณหรือประมาณได้ (THE PROBABILITY OF LOSS MUST BE CALCULABLE)

1. ต้องมีหน่วยของความเสี่ยงภัยที่คล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก (THERE MUST BE A LARGE NUMBER OF HOMOGENOUS EXPOSURE UNITS )
วัตถุประสงค์ของข้อกำหนดนี้ก็เพื่อ ช่วยให้บริษัทประกันภัย คำนวณความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยอาศัยกฎ LAW OF LARGE NUMBER ถ้าหากมีหน่วยของความเสี่ยงภัยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นจำนวนมาก และอยู่ในกลุ่มเดียวกัน บริษัทที่ประกันภัยนั้นก็สามารถที่จะคำนวณความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ค่อน ข้างแม่นยำ ทั้งในแง่ของความถี่และความรุนแรงโดยเฉลี่ยของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น (AVERAGE FREQUENCY AND AVERAGE SEVERITY OF LOSS)
จากข้อกำหนดนี้จะเห็นได้ว่า บริษัทประกันภัยต้องจัดสิ่งที่จะรับประกันภัย ไว้เป็นกลุ่มๆ เช่น การประกันอัคคีภัย ซึ่งแบ่งออกเป็น บ้านไม้ทั้งหมด บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ และตึกที่สร้างด้วยคอนกรีตทั้งหมด เป็นต้น หรือในการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่จัดแบ่งกลุ่มของผู้เอาประกันภัยตามลักษณะอาชีพและหน้าที่การงานซึ่งมีตาม ความเสี่ยงภัยด่างกัน เช่น กลุ่มอาชีพที่ทำงานอยูในสำนักงาน กลุ่มอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องกลต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงภัยสูงขึ้น เป็นต้น

2. ความเสียหายที่เกิดชึ้น ต้องเป็นอุบัติเหตุและไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัย (THE LOSS MUST BE ACCIDENTAL AND UNINTENTIONAL BY THE INSURED )
โดยทั่วไป บริษัทประกันภัยจะชดใช้ความเสียหายที่เกิด ขึ้นโดยอุบัติเหตุไม่อาจคาดคะเนหรือทราบมาก่อนได้ และต้องไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากรกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกัน
ถ้าหากบริษัทประกันภัยชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาของผู้เอา ประกันภัยแล้ว อาจจะก่อให้เกิดความไม่สุจริตใจ (MORAL HAZARD) ของผู้เอาประกันภัยที่จะทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งที่เอาประกันภัยนั้น เพื่อหวังเอาเงินค่าสินใหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย เช่น โกดังของนาย ก. ซึ่งเก็บสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ติดกับโรงงานผลิตวิทยุของนาย ข. ต่างฝ่ายต่างเอาประกันอัคคีภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ต่อมากิจการค้าของนาย ก. ประสบกับการขาดทุนอย่างหนัก เพราะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีอยู่เป็นจำนวนมา นั้นล้าสมัยและจำหน่ายไม่ได้เลย นาย ก. ตัดสินใจจ้างคนมาวางเพลิงเผาโกดังและสต๊อกเสื้อผ้าสำเร็จรูปเหล่านั้น เพื่อหวังเอาเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ปรากฏว่าไฟได้ไหม้โกดังและสต๊อกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของนาย ก. จนหมดสิ้น และไฟนั้นได้ลามมาถูกโรงงานของนาย ข. เสียหายโดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกัน โดยที่นาย ข ไม่ได้รู้ เห็นเป็นใจกับการกระทำที่ไม่สุจริตของนาย ก. มาก่อนเลย กรณีเช่นนี้ บริษัทประกันภัยที่รับประกันอัคคีภัยของนาย ก. ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมแก่นาย ก. ทั้งนี้เพราะไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในโกดังของนาย ก. ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ แต่เกิดจากการกระทำโดยทุจริตของผู้เอาประกันภัย คือ นาย ก. ที่หวังจะไต้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
อย่างไรก็ตาม ไฟที่ไหม้ลามจากโกดังของนาย ก. ไปถึงโรงงานของนาย ข. นั้นถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยเจตนาหรือรู้เห็นเป็น ใจของนาย ข. กรณีเช่นนี้ความเสียหายจากอัคคีภัยที่มีต่อโรงงานของนาย ข. จะต้องได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทดแทนตามกรมธรรม์ประกัน อัคคีภัย

3. ควานเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้อง สามารถหาสาเหตุและประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้ (THE LOSS MUST BE DETERMINABLE AND MEASURABLE)
การที่มีข้อกำหนดนี้ก็เพื่อให้เจ้า หน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมแทนของบบริษัทประกันภัย ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้นว่าเป็นสาเหตุที่ได้รับการคุ้มครอง ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นหรือไม่ และถ้าหากคุ้มครองบริษัทประกันภัยจะชดใช้สินไหมแก่ผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวน เงินเท่าใด หากไม่มีข้อกำหนดนี้แล้ว จะเกิดความยุ่งยากในการพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมเป็นอันมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากสาเหตุใด และได้รับเป็นการคุ้มครองตามกรมธรรม์หรือไม่ นอกจากนั้น หากไม่สามารถประเมินความเสียหายเป็นตัวเงินได้แล้ว บริษัทประกันภัยก็ไม่สามารถชดใช้เสียหายตามจำนวนที่ถูกต้องได้

4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นต้องไม่เป็นมหันตภัย (THE LOSS SHOULD NOT BE CATASTROPHIC )
ภัยบางอย่างซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายในแต่ละครั้งคิดเป็นเงินรวมกัน จำนวนมหาศาลมากเกินกว่ากำลังของบริษัทประกันภัยแห่งเดียวหรือหลายแห่งรวมกัน จะรับไว้ได้ เช่นความเสียหายจากภัยสงคราม ภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ย่อมถือว่าเป็นมหันตภัยที่บริษัทประกันภัยไม่สามารถรับประกันภัยไว้ได้

5. ความเสี่ยงภัยนั้นควรเป็นความเสี่ยงที่แท้จริง (PURE RISK) และเป็นความเสี่ยงภัยที่มีผลกระทบเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางกลุ่ม (PARTICULAR RISK)
ข้อกำหนดนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อที่แล้ว ซึ่งความเสียหายนั้นควรจะเกิดกับบุคคลบางคน หรือบางกลุ่มเท่านั้น หากมีความเสียหายเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นพร้อมๆ กันจะก่อให้เกิดปัญหาการดำเนินงาน และปัญหาทางการเงินแก่บริษัทประกันภัยเหล่านั้นได้ ขณะเดียวกัน ผู้เอาประกันภัยก็ควรจะได้รับการชดใช้เท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เท่านั้น และไม่ควรจะได้รับผลกำไรจากการเอาประกันภัย เพราะจะก่อให้เกิดความไม่สุจริตของผู้เอาประกันภัยขึ้นได้

6. ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหาย จะต้องคำนวณหรือประมาณได้ (THE PROBABILITY OF LOSS MUST BE CALCULABLE)
บริษัทประกันภัยจะต้องคำนวณความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหาย และความรุนแรงของความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างใกล้เคียงพอสมควร ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณเบี้ยประกันภัยที่พอเพียงสำหรับ จ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและมีเหลือเป็นเงินสำรองสำหรับความเสียหายที่คาด ไม่ถึง ในทางปฏิบัติ ถ้าภัยใดมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้นข้อหนึ่งใด หรือหลายข้อแต่ไม่จำเป็นต้องครบทุกข้อ ผู้รับประกันภัยถือว่า เป็นภัยที่รับประกันภัยได้





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow