INSURANCETHAI.NET
Sun 08/09/2024 21:18:35
Home » ข่าวประกันภัย » คปภ.เล็งเซ็นต์ MOU สรรพากร ด้าน ประกันภัย\"you

คปภ.เล็งเซ็นต์ MOU สรรพากร ด้าน ประกันภัย

2018/08/12 1608👁️‍🗨️

สางภาษีเก่าคั่งค้างเดินหน้าของใหม่ ใช้ระบบภาษี ส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกันภัย

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.อยู่ระหว่างหารือกับทางกรมสรรพากร ถึงการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ “เอ็มโอยู” ระหว่าง 2 หน่วยงาน โดยกรอบความร่วมมือหลักๆ จะเป็นการผลักดันมาตรการภาษีต่างๆ ที่จะกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ ประกันภัย ทั้งที่ยื่นขอไปแล้วและยังคั่งค้างอยู่ รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ที่จะขยายเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า
การที่ คปภ.หารือโดยตรงกับกรมสรรพากรจะทำให้การดำเนินการต่างๆ ง่ายกว่าที่ภาคธุรกิจผลักดันเอง เพราะ คปภ.สามารถสะท้อนภาพได้ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล สมมุติมุมมองจากภาคเอกชนมาถกกับกรมสรรพากร จะมาพูดคุยกันมีผลดีอย่างไร มีผลกระทบอย่างไร โดยกรมสรรพากรมีระบบของเขา การจะเก็บภาษี หรือการหักลดหย่อน เขามีแนวคิด ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างไปหักภาษีได้ ต้องดูว่าในมิติของกรมสรรพากรที่ทาง คปภ.และภาคธุรกิจต้องการให้มีการสนับสนุนระบบ ประกันภัย มีอะไรที่สามารถเชื่อมโยงกันได้บ้าง

“มีหลายเรื่องที่จะหารือกับกรมสรรพากร
เรื่องลดหย่อนภาษีจะเอาแค่ไหน อย่างไร
มีโอกาสที่จะขยายกรอบไปได้อีกไหม
มีอะไรเพิ่มเติมอีก

หากจะใช้ระบบภาษีมาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกันภัย ตัวที่มองว่าจะต่อยอดหลังจากลดหย่อน ประกันสุขภาพ ก็คือตัวสุขภาพนั่นแหละ อาจจะเพิ่มขึ้นหรือขยายให้มากขึ้น แต่ก็ไม่ง่าย จริงๆ เริ่มคุยกันตั้งแต่รับตำแหน่ง แต่ยังไม่สะเด็ดน้ำ ท่านอธิการอธิบดีกรมสรรพากรก็เจอในงาน แต่ยังไม่ได้คุยเป็นทางการ ส่งคนไปทาบทามคุยกัน แต่เวลาทำเขาจะมีทีมมาดูว่าจะวางกรอบแค่ไหน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการจูงใจทางด้านภาษีที่ภาคธุรกิจ ประกันภัย เคยยื่นขอไว้ และยังคั่งค้างอยู่ ในส่วนประกันวินาศภัย อาทิ ให้ผู้นำเข้า-ส่งออกที่ทำ ประกันภัย ทางทะเลและขนส่งสินค้า (มารีน) กับ บริษัทประกันภัย ในประเทศ สามารถนำเบี้ย ประกันภัย มาหักภาษีได้ 2 เท่า ขณะที่ ประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ที่ขอให้นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาทนั้น รัฐบาลอนุมัติรวมกับ ประกันสุขภาพ ในวงเงินไม่เกิน 15,000 บาทแล้ว

ธุรกิจประกันชีวิต

การหักลดหย่อนภาษีของกรมธรรม์พ่วงลงทุน (อินเวสต์เมนต์ลิงค์) ต่างๆ เช่น ยูนิต ลิงค์ ที่ปัจจุบันให้หักลดหย่อนฯ ได้แค่ส่วนของคุ้มครองชีวิต ซึ่งน้อยมาก กรมธรรม์บำนาญที่การหักลดหย่อนฯ ยังต้องรวมกับ LTF และ RMF อยากให้แยกออกมา ขณะที่ตัวแทนขอยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต (VAT) และการหักค่าใช้จ่ายของตัวแทนแบบเหมาจ่าย 30% ไม่มีเพดาน โดยขอให้ตัวแทนอยู่ในกลุ่มวิชาชีพอิสระที่เสียภาษีในมาตรา 40 ( 8 )





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow