INSURANCETHAI.NET
Tue 12/11/2024 11:00:11
Home » ข่าวประกันภัย » “ประกันไซเบอร์” คุ้มครอง”ขโมย”ข้อมูล!\"you

“ประกันไซเบอร์” คุ้มครอง”ขโมย”ข้อมูล!

2017/08/21 895👁️‍🗨️

คปภ.คลอดประกันภัยไซเบอร์ในประเทศไทย 2 ราย ยึดโมเดลสิงคโปร์ คุ้มครอง 6 ปัญหา ทั้งโจรกรรมข้อมูล ธุรกิจหยุดชะงัก เคาะเบี้ย 0.1-5%
อาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2559 เวลา 07.00 น

คปภ.ได้อนุมัติให้บริษัทประกันภัยสามารถรับทำกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ในประเทศไทยได้แล้ว 2 รายเพื่อให้ความคุ้มครองกรณีเกี่ยวกับภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆจนสร้างความเสียหายแก่ผู้ทำประกันโดยกำหนดให้คิดค่าเบี้ยประกันภัยรายปี 0.1-5%ของจำนวนเงินจำกัดความรับผิดหรือรายได้ต่อปีหรือขนาดของทรัพย์สินแล้วแต่กรณี

“ประกันภัยไซเบอร์ยังเป็นเรื่องใหม่มากในไทยการพิจารณาของคปภ.จึงยึดโมเดลของต่างประเทศเป็นแนวทางเช่น โมเดลของสิงคโปร์ แต่จะต้องปรับให้เหมาะสมกับไทยเช่นกันหากบริษัทประกันภัยได้พัฒนาออกแบบกรมธรรม์มีเงื่อนไขความคุ้มครองนอกเหนือกรมธรรม์พื้นฐานก็สามารถชี้แจ้งและร่วมมือกันพัฒนาได้เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการในเมืองไทยให้มากที่สุดอย่างไรก็ดีในช่วงที่ผ่านมามีการทำประกันภัยดังกล่าวเพียง 1 ฉบับมีจำนวนเงินจำกัดความรับผิด 39 ล้านบาท เบี้ยประกันที่ 0.42%และยังไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้น”

นายสุทธิพลกล่าวว่า การคุ้มครองค่าเสียหายมี 6 ประเภท ได้แก่ค่าเสียหายจากการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการที่ผู้เอาประกันได้ทำการโอน ชำระหรือส่งมอบเงินทุนหรือทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการโจรกรรมข้อมูลโดยฉ้อฉลถัดมาเป็นค่าเสียหายจากการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากลูกค้า หรือสำนักหักบัญชีอัตโนมัติหรือผู้เก็บรักษาทรัพย์หรือสถาบันการเงินที่ได้ทำการโอน ชำระหรือส่งมอบเงินทุนหรือทรัพย์สินจากการเชื่อถือการสื่อสารที่ฉ้อฉลซึ่งมีความประสงค์เพื่อให้เสมือนการออกคำสั่งจากผู้เอาประกันภัยได้ออกคำสั่ง

นอกจากนี้ยังมีค่าเสียหายจากการคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการทำลาย การสูญหาย การยึด หรือการเอาโดยทุจริตอันเกิดจากการขู่เข็ญ กรรโชกระหว่างการยึดถือหรือขนส่งโดยผู้เอาประกันภัยค่าเสียหายจากการทำลายทรัพย์สินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับจากสื่อที่ไม่มีข้อมูลและต้นทุนค่าแรงสำหรับการถ่ายสำเนาอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการสร้างความเสียหาย การลบทิ้งหรือการทำลายข้อมูล ซึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow