INSURANCETHAI.NET
Thu 25/04/2024 15:10:46
Home » Uncategorized » ลูกจ้างขโมยกุญแจรถ/เบรคแตก/แจ้งเหตุช้า/เจ้าของรถขับเองหรือนั่งโดยสารไปด้วย/บุคคลอื่นยืมรถ\"you

ลูกจ้างขโมยกุญแจรถ/เบรคแตก/แจ้งเหตุช้า/เจ้าของรถขับเองหรือนั่งโดยสารไปด้วย/บุคคลอื่นยืมรถ

2019/06/21 1145👁️‍🗨️

1.ลูกจ้างขโมยกุญแจรถแล้วไปกระทำละเมิดกับผู้อื่น เป็นการกระทำนอกหน้าที่ นายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ต้องร่วมรับผิด (ฎ.1486/2497)

การที่พลตำรวจเอารถของกรมตำรวจขับไปโดยพลการมิได้ขออนุญาตจากผู้ครอบครองรักษารถไปชนรถโจทก์เสียหาย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ขับรถไปชนรถโจทก์นั้นได้กระทำไปในทางที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 กรมตำรวจก็ไม่ต้องรับผิด และตามพฤติการณ์เช่นว่านี้ พลตำรวจเป็นผู้ครอบครองรถในขณะเกิดเหตุกรมตำรวจมิได้ครอบครองอันจะต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 (เข้าที่ประชุมใหญ่)

2. คนขับรถที่ก่อเหตุจะอ้างว่าเบรคแตกเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ เพราะตัวเองมีหน้าที่ต้องตรวจสอบดูแลให้รถมีสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา (ฎ.3081/2533)

3. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้เอาประกันต้องแจ้งบริษัทประกันภัยทันที หากแจ้งช้าถือว่าผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ บริษัทประกันภัยไม่ต้องร่วมรับผิด (ฎ.1944/2542,204/2545)

1944/2542
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือสูญหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้

204/2545
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และ ป.พ.พ.มาตรา 867 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

(การที่ ฉ. เอารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปในครั้งเกิดเหตุแล้วไม่นำมาคืนภายในเวลาที่เคยยืมไปใช้ จำเลยที่ 1 ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของ ฉ. อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งความดำเนินคดีแก่ ฉ. โดยไม่ชักช้า แต่จำเลยที่ 1 กลับเพิ่งแจ้งความหลังจากที่ ฉ. เอารถยนต์ไปใช้แล้วนานถึง 6 เดือน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 3 จึงอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้ )

4. เจ้าของรถนั่งไปด้วยในรถแต่เมาและหลับขณะเกิดเหตุ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับคนขับเพราะไม่ใช่ผู้ครอบครองและผู้ควบคุมรถ (ฎ.3076/2522)

เจ้าของรถเมาสุรานอนหลับอยู่ในรถยนต์ เพื่อนของเจ้าของรถขับรถไปธุระของเพื่อน รถชนผู้อื่น เจ้าของไม่ใช่ผู้ครอบครองรถหรือควบคุมรถตาม มาตรา 437
 

5. เจ้าของรถขับเองหรือนั่งโดยสารไปด้วย ต้องรับผิดฐานละเมิด (อ้างอิง ฎ.2378-2380/2532)

2380/2532
ความว่า จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาโดยผู้ขอประกันได้เสนอบัญชีทรัพย์มาพร้อมคำร้องแล้ว
หมายเหตุ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งระวาง โทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี ปรากฏว่าขณะกระทำความผิด จำเลยอายุสิบเจ็ดปีสามเดือน และทรัพย์ที่จำเลยปล้นเอาไปมีราคา เล็กน้อย ทั้งผู้เสียหายก็ได้รับทรัพย์ดังกล่าวคืนไปแล้ว เห็นควรลงโทษจำเลยสถานเบาและลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง วางโทษจำคุกหกปีจำเลยรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ทั้งเป็นผู้พาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปนำยึดเสื้อของกลาง ถือว่าการกระทำ ของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษจำเลยกึ่งหนึ่ง คงจำคุกสามปีคำขอนอกจากนี้ให้ยก คดีนี้เนื่องจากจำเลยมีอายุน้อยและกำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ ศาลจึงได้ปรานีลงโทษจำเลย สถานเบาแต่ไม่อาจรอการลงโทษให้จำเลยได้ เพราะโทษจำคุกจำเลยมีกำหนดเกินกว่าสองปีต้องห้ามมิให้รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว โดยมีคำร้องประกอบ (สำนวนธุรการอันดับ 19,18)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวทั้งในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยในชั้นอุทธรณ์ตีราคาประกัน 150,000 บาท (สำนวนธุรการ อันดับ 2,9 แผ่นที่ 2)

คำสั่ง
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยยังไม่ได้ยื่นฎีกาจึงไม่มีเหตุที่จะปล่อยชั่วคราวในระหว่างนี้ ให้ยกคำร้อง

6. บุคคลอื่นยืมรถไปกระทำละเมิดผู้อื่น เจ้าของรถไม่ต้องร่วมรับผิด (ฎ.2659/2524, ฎ.5676/2545, ฎ.5542/2552, ฎ.6243/2541)

2659/2524
ผู้ครอบครองตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา437 หมายถึงผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดความเสียหายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งหมายถึงผู้ที่ได้ครอบครองยานพาหนะนั้นอยู่ในขณะเกิดเหตุ

5542/2552
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 หาได้บัญญัติให้การเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนการเช่าในทันทีหรือในขณะทำสัญญาไม่ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยสมัครใจทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือมีกำหนด 20 ปี 5 เดือนนั้น ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ 3 ปี และข้อกำหนดทุกข้อตามสัญญาโดยเฉพาะข้อที่ระบุให้ผู้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2536 โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนการเช่านั้นก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย เพราะข้อตกลงไปจดทะเบียนการเช่าภายหลังเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามที่มาตรา 538 กำหนดไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าภายในกำหนดที่ระบุในสัญญาแล้ว จำเลยไม่ยอมไป โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าและข้อกำหนดยังมีผลบังคับได้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow