INSURANCETHAI.NET
Tue 23/04/2024 22:08:02
Home » Uncategorized » ขอสินเชื่อกับธนาคาร จำเป็นต้องทำประกันอัคคีภัยหรือไม่?\"you

ขอสินเชื่อกับธนาคาร จำเป็นต้องทำประกันอัคคีภัยหรือไม่?

2021/01/26 1038👁️‍🗨️

ระเบียบการของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดว่า ธนาคารผู้ให้สินเชื่อต้องมีทางเลือกให้ลูกค้า สามารถเลือกบริษัทประกันภัยที่จะทำได้ แปลว่า จะทำกับบริษัทประกันไหนก็ได้ที่มั่นคง พอที่ธนาคารจะไม่ปฎิเสธ เพราะบางกรณีไปทำประกันิัคคีภัยกับบริษัทประกันภัยที่มีฐานะการเงินไม่มั่นคง ก็จะมีปัญหาตามมาได้ ถือเป็นความเสี่ยงของธนาคารเจ้าของสินเชื่อนั่นเอง

การขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์
การกำกับดูแลด้าน marketing conduct อ่านต่อ
การประกันภัยผ่านธนาคาร อ่านต่อ
ห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับให้ลุกค้าทำประกันภัยผ่านธนาคารธนาคารพาณิชย์ หรือ บังคับให้ลูกค้าทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อ่านต่อ

กู้แบงก์ต้องเลือกประกันบ้านได้ ธปท. สั่งปรับ SCB-KTB บังคับลูกค้าซื้อประกันบ้าน

ธปท. สั่งปรับ ธ.ไทยพาณิชย์-ธ.กรุงไทย บังคับลูกค้าซื้อประกันอัคคีภัย
รณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ธปท. สั่งปรับ ธนาคารกรุงไทย จำนวนเงิน 3,540,000 บาท และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นจำนวนเงิน 3,210,000 บาท เพราะ ธปท. ลงไปสุ่มตรวจล่าสุดเจอว่าสาขาของธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ บังคับให้ลูกค้าทำประกันอัคคีภัยเมื่อเข้ามาขอสินเชื่อบ้าน โดยไม่ให้สิทธิลูกค้าเลือกทำประกันภัยกับบริษัทอื่นๆ (บังคับให้ทำประกันภัยที่เดียวไม่ให้เลือกเจ้าอื่น)

ซึ่งถือว่าทำผิดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2551 (ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551) เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 36 ต้องระวางโทษตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เลยมีคำสั่งปรับ

ธปท. เป็นผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินผ่านแนวทางที่ชื่อว่า Market Conduct (การกำกับดูแลสถาบันการเงินในเรื่องการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการเงินที่ตรงความต้องการตัวเอง ธปท.จะสุ่มตรวจธุรกรรม และระบบบริการ สม่ำเสม

คปภ. ยืนยันห้ามแบงก์พ่วงประกันให้ลูกค้า

สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เคยบอกว่า คปภ. หารือร่วมกับ 15 ธนาคารพาณชิย์ วางแนวทางในการกำกับและดูแลการขายประกันภัย รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคที่ทำธุรกรรมการเงิน
และเมื่อเจอข้อร้องเรียน ก็มีแนวทางแก้ปัญหาตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2551  ที่ครอบคลุมถึงการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านธนาคาร ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น
การทำหน้าที่ในการเสนอขายต้องแสดงให้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยอธิบายความแตกต่างระหว่างการประกันชีวิตกับการฝากเงินกับธนาคารก่อนเสนอขายทุกครั้ง
การทําประกันภัยของลูกค้าธนาคารต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ ห้ามมิให้มีการบังคับ หรือใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อรองการให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมอื่นใดของธนาคาร เป็นต้น
ก่อนหน้านี้สำนักงาน คปภ. จึงได้ลงนาม MOU ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อร่วมกันดูแลคุ้มครองผู้บริโภคด้านประกันภัย ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมความเชื่อมั่นให้เกิดกับประชาชน นำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจประกันภัย ลดข้อร้องเรียนและสางปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้นทาง

การต้องไม่บังคับขายผลิตภัณฑ์ในลักษณะพ่วงผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง
เว้นแต่กรณีที่ขายผลิตภัณฑ์นั้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์หลักอย่างมีนัยส าคัญ เช่น ขายประกันอัคคีภัยร่วมกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขายประกันภัยรถยนต์ร่วมกับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รวมถึงไม่ส่งมอบผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับการร้องขอจากลูกค้าก่อน เช่น ออกบัตรเครดิตหรือให้สินเชื่อส่วนบุคคลโดยที่ลูกค้าไม่ได้ร้องขอ สำหรับการขายผลิตภัณฑ์บางประเภทกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การให้เช่าตู้นิรภัย ผู้ให้บริการต้องกำหนดเงื่อนไขและราคาให้เหมาะสมและเปิดเผยให้ชัดเจน เช่น บนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ อ่านต่อ

บังคับซื้อประกันภัย

ทำธุรกิจแบบขายพวงบังคับลูกค้า หรือผู้ซื้อ ต้องซื้อของเพิ่มโดยไม่สมัครใจ ถือว่าเป็นนโยบายอันไม่ชอบ ไม่เป็นธรรม มีหลายหน่วยงานที่เกียวข้องดูแลควบคุม
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ดูแลธนาคารและบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนไว้ในตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดูแลความเป็นธรรมของผู้บริโภค
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ธปท. ได้รับข้อร้องเรียนการขายผลิตภัณฑ์พ่วงประกันชีวิต คุมแบงค์-ประกันขายพ่วง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกกฎคุมเข้มห้ามธนาคารใช้นโยบายขายพ่วงโดยเด็ดขาด

ธปท. หารือร่วมกับ กลต. คปภ. เพื่อออกประกาศกำหนดมาตรการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้มีผลบังคับใช้กับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์ ด้านธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัยจาก กลต. และ คปภ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี2556 เป็นต้นไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์ เป็นระยะๆ เช่น เจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์เสนอขายประกันชีวิตพ่วงกับบริการตู้นิรภัย ให้สินเชื่อ หรือชักชวนผู้บริโภคซื้อหน่วยลงทุน ตราสารหนี้ หรือทำประกันชีวิตแทนการฝากเงิน โดยไม่ชี้แจงถึงความเสี่ยง หรือให้ข้อมูลผู้บริโภคไม่ชัดเจน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า เรื่องร้องเรียนดังกล่าวอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ประกาศนี้ได้คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค
– สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
– สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการการเงินได้อย่างอิสระ
– สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
– สิทธิที่จะได้รับพิจารณาค่าชดเชย หากเกิดความเสียหาย

กำหนดหน้าที่ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค กำหนดแนวทางเสนอขายผลิตภัณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องแสดงความต่างให้ผู้บริโภคเห็นชัดระหว่างผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ไม่ใช่เงินฝากเหมือนผลิตภัณฑ์ธนาคารพาณิชย์ อาจมีความเสี่ยงได้รับเงินต้นไม่เต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน และไม่คุ้มครองเงินต้น รวมถึงเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทน ทรัพย์สินที่จะได้รับนอกจากดอกเบี้ย เช่น อัตราผลตอบแทนรายปี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่สามารถและไม่สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ะเบียบยังห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัย ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ หรือกำหนดเงื่อนไขขาย หรือให้บริการผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ให้ผู้บริโภคทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพื่อเป็นเงื่อนไขพิจารณาให้สินเชื่อ หรือให้ผู้บริโภคทำประกันชีวิตก่อน เมื่อขอใช้บริการเช่าตู้นิรภัย โดยธนาคารต้องให้สิทธิผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคปฏิเสธซื้อผลิตภัณฑ์ได้

ห้ามธนาคารพาณิชย์ส่งเสริมการขาย ลักษณะชิงโชคจับฉลาก ยกเว้นกรณี ลด แลก แจก แถม การใช้สื่อการตลาด ต้องไม่ชวนเชื่อเกินจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ไม่เป็นเท็จ ซึ่งการเสนอขายผลิตภัณฑ์ทุกช่องทางควรอยู่ในช่วงเวลาเหมาะสม ไม่ทำให้ผู้บริโภครำคาญ หรือสูญเสียความเป็นส่วนตัว เป็นต้น

“แบงค์ต้องมีมาตรการ วิธีการทำให้ลูกค้า ผู้บริโภคมั่นใจว่า ผู้ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ สามารถให้ข้อมูลความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ ผลตอบแทน และการคุ้มครองที่ผู้บริโภคจะได้รับ ตลอดจนผลดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา รวมถึงภาษีที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายหรือได้รับการผ่อนผัน และสิทธิตามความเป็นจริง โดยไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด”

ให้ธนาคาร ต้องแยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ออกจากเคาน์เตอร์ ที่ให้บริการรับฝากถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยมีป้ายบ่งบอก หรือสัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นชัดเจน เว้นแต่การทำธุรกรรมต่อเนื่องกับการขาย หรือให้บริการผลิตภัณฑ์ เช่น ทำธุรกรรมโอนเงิน หรือฝากเงินหลังซื้อหลักทรัพย์ สามารถให้บริการที่เคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์ และด้านประกันภัยได้ เพื่อประโยชน์ให้บริการ ณ จุดเดียว

ให้ธนาคาร ต้องมีกระบวนการหลังการขาย และรับเรื่องร้องเรียน ดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค หากพิสูจน์แล้วว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ธนาคารพาณิชย์ต้องชดเชยตามความเหมาะสม อีกทั้งต้องรักษาข้อมูลของผู้บริโภคไว้เป็นความลับ และห้ามให้ข้อมูลผู้บริโภคแก่หน่วยงานอื่นตลอดจนบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงิน ที่ได้รับอนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำไปใช้เสนอขายบริการอื่น เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากผู้บริโภค
ในด้านธนาคารพาณิชย์พร้อมปฏิบัติตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทยต้นปีหน้า แต่ก็ยังโต้แย้งว่าไม่เคยบังคับขายสินเชื่อพ่วงประกัน แต่รับต้องทบทวนกระบวนการขาย แต่ห่วงต้นทุนลูกค้าเพิ่ม

“หลายประเด็นที่ ธปท. จะควบคุมนั้น ธนาคารเห็นด้วย และได้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว ทั้งเรื่องการแยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และประกัน ออกจากเคาน์เตอร์ฝากถอนของธนาคาร หรือการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของธนาคาร”

การขายพ่วงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ต้องยอมรับว่าเมื่อมีการแยกผลิตภัณฑ์ออกจากกันแล้ว ลูกค้าจะต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรณีทำประกันภัยควบคู่กับการขอสินเชื่อที่ทำประกันภัย ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงสินเชื่อลง

ในแง่ของการปฏิบัติ พนักงานธนาคารซึ่งต้องทำยอด จึงอาจใช้ความต้องการของลูกค้า เป็นเครื่องมือขายผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามเป้า ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ขัดแย้งกัน คือ นโยบายก็ปฎิบัติแต่ตัวธนาคารเองก็ยังอยากได้เบี้ยประกัน อยากได้ยอด และ ใส่เข้าไปในการพิจารณาผลงานของพนักงาน เพราะ ถ้าไม่ใส่ไปก็ไม่มีใครกระตือรือร้น จะขาย สุดท้ายยอด ธุรกิจของธนาคารก็เสียผลประโยชน์ที่น่าจะทำได้นั่นเอง

สรุป เรื่องการบังคับ ซื้อประกัน

  • ประกันอัคคีภัย ต้องทำ แต่ทำกับประกันที่ไหนก็ได้ที่มั่นคงพอ ลูกค้าเลือกทำได้ตั้งแต่ปีแรกที่ขอสินเชื่อ ไม่จำเป็นว่า จะเลือกได้เมื่อเลยปีแรกแล้ว
  • ประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องทำ
  • ถ้าคุณเจอธนาคารไม่ยอมให้ไปทำที่อื่น ให้แจ้ง ธปท จะโดนโทรไปเตือน ฉะนั้นบอก จนท ว่า จะให้แจ้ง ธปท ไหม? แต่ในบางกรณี หากธุรกิจต้องพึง่งกันในเรื่องการช่วยเหลือ ทำสินเชื่อให้ ก็อาจจะเป็นอีกกรณีหนึ่งแบบนี้ เบี้ยเเพงก็ยังต้องจ่าย แต่เวลาคุยกับ จนท ว่า ปีนี้ขอเปลียนไปทำที่อื่นได้ไหม เบี้ยเเพง เขาอจะมีรูปแบบการตอบที่ได้ฝึกมาอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เช่น อาจจะตอบว่า หลักประกันตัวนี้ยังค้ำหนี้ให้ บจ…. อยู่นะครับ/ค่ะ ซึ่งเป็นการตอบที่ไม่เป็นการผูกมัดตัวเอง เพราะไม่ได้บอกว่า ย้ายไปทำที่อื่นไม่ได้ แถมยังอาจทำให้ผู้กู้เข้าใจอย่างนั้รอีกด้วย (สำหรับผู้กู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้) หรือ หมดความพยายามหรือสร้างความยุ่งยาก จะอะไรก็แล้วแต่ มันเป็นการสร้างความไม่สะดวกขึ้นมานั่นเอง คุณจึงต้องประเมินดูว่า ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเขาอยุ่อีกหรือไม่ เพราะ ในธุรกิจที่ดีจริงๆ ความจริงใจเป็นเรื่องสำคัญ กรณีนี้แม้การตอบจะดูดีแต่ ไม่ได้มีความจริงใจอยู่เลย แต่หากบอกไปตรงๆว่า ย้ายได้ แต่ขอผม/ขอดิฉันดูแลต่อได้ไหม อย่างนี้ก็อาจน่ารักกว่าหรือไม่ เพราะอย่างน้อย ก็ไม่ได้แสดงออกถึงการดูถูกหรือข่มเหงลูกค้า และแถมยังเป็นลูกค้าระกับเจ้าของกิจการอีกด้วย

ผู้ที่ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคารต้องนำบ้านที่ซื้อมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนั้น ธนาคารจะให้ผู้ขอสินเชื่อบ้านต้องทำ “ประกันอัคคีภัย” เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวบ้าน โดยทั่วไปจะให้ความคุ้มครองกรณีไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยจากการถูกรถชน อากาศยาน ยานพาหนะ ภัยเนื่องจากน้ำ การโจรกรรม .. ค่าเบี้ยประกันไม่ได้สูงมากนัก โดยทั่วไปอยู่ที่ปีละ 0.35% ของราคาบ้าน หรือ 3,500 บาทต่อบ้าน 1,000,000 บาท ค่าเบี้ยประกันภัยอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง มักจ่ายเป็นแบบปีต่อปี แต่จ่ายแบบราย 2 ปี หรือ 3 ปี หรือ มากกว่าก็ได้

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เพื่อคุ้มครองภาระหนี้สินของผู้ขอสินเชื่อ ธนาคารไม่ได้บังคับว่าผู้ขอสินเชื่อบ้านจะต้องทำ หากไม่ได้ทำประกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถขอสินเชื่อบ้านได้ เพราะโดยทั่วไป การอนุมัติสินเชื่อบ้านจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของรายได้ ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ผ่านมา

http://www.thaifa.org/16923338/NEW-22

ประกันอัคคีภัย
ธนาคารบังคับให้ทำประกันอัคคีภัย สำหรับผู้กู้ซื้อบ้าน หรือ ใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยธนาคารแต่ละแห่งจะมีบริษัทประกันที่ทำข้อตกลงทางธุรกิจกันไว้แล้ว เพื่อรองรับธุรกรรมนี้ ซึ่งตามระเบียบที่ถูกต้องแล้ ธนาคารจะต้องจัดบริษัทประกันภัยให้ผู้กู้สามารถเลือกได้ ไม่จำกัดแค่บริษัทใดบริษัทหนึ่งอันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้บริโภคที่ต้องได้มีสิทธิ์เลือกสินค้าได้เอง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว แต่ละธนาคารก็มักจะเสนอเพียงบริษัทประกันแห่งเดียวให้ ผู้กู้เองก็ อาจจำเป็นต้องใช้บริการเพื่อแลกกับความสะดวกในการทำธุรกิจกับธนาคาร นอกจากนี้ ผู้กู้ยังสามารถเลือกจำนวนปีที่จะให้คุ้มครองได้ อาจเลือกไม่เกิน 3 ปี ถ้าจะมีการ refinance

ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
ธนาคารจะขอร้องให้ทำเพื่อลดความเสี่ยงเมื่อผู้กู้เสียชีวิต ถ้ามีประกันชีวิตอยู่แล้วใช้กรมธรรม์ที่มีอยู่ได้หรือไม่? ตามหลักได้ โดยยกผลประโยชน์ให้ธนาคาร แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างนั้น มักจะมีการซื้อใหม่จากธนาคาร แล้วให้ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้สินเชื่อบ้าน เป็นผู้รับประโยชน์

การทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อจะช่วยลดความเสี่ยงการให้สามี/ภรรยา หรือบุตรรับมรดกหนี้บ้านเมื่อผู้กู้เสียชีวิตและไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้หมด ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับเพศ อายุ วงเงินคุ้มครองและระยะเวลาคุ้มครอง (เท่ากับราคาประเมินบ้าน )อาชีพ ในทางปฏิบัติแล้ว ธนาคารจะไม่บังคับแต่จะใช้ข้อเสนอที่จูงใจแทน เช่น ถ้าไม่ทำประกันจะเสียดอกเบี้ยสูงกว่า ทำประกัน เมื่อผู้กู้เห็นดังนี้ก็ต้องคำนวณว่าอันไหนคุ้มกว่า แน่นอนว่า คำตอบที่ได้ คือ ซื้อประกันจะได้ความคุ้มค่ากว่านั่นเอง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow