INSURANCETHAI.NET
Tue 17/09/2024 22:16:55
Home » ข่าวประกันภัย » เพิกถอนใบอนุญาตของคนกลางประกันภัย 50 ราย 2560\"you

เพิกถอนใบอนุญาตของคนกลางประกันภัย 50 ราย 2560

2018/01/05 1471👁️‍🗨️

เพิกถอนใบอนุญาตของคนกลางประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560
มีการเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัยประเภทบุคคลธรรมดาไปแล้วทั้งสิ้น 50 ราย
สาเหตุจาก …
– การรับชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แต่ไม่นำส่งบริษัทประกันภัย
– การกระทำการทุจริตการสอบการชักชวน/ชี้ช่องให้ทำสัญญาประกันภัย โดยไม่อธิบายเงื่อนไข
– การยินยอมให้ผู้อื่นเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่มีใบอนุญาต
– การปลอมรายมือในใบรับมอบกรมธรรม์ประกันภัย

มีการเพิกถอนใบอนุญาตนายหน้าประกันภัยประเภทนิติบุคคล จำนวน 1 บริษัท
เนื่องจาก…
– มีนายหน้ากระทำการแทนน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
– ไม่ยื่นรายงานงบการเงิน/งบรายไตรมาส
– ไม่ยื่นรายงานผลของการประกอบธุรกิจและเงินกองทุน ตามแบบ รปว.

สถิติการรับประกันสะสม ระหว่างเดือน มกราคม – ตุลาคม 2560 จำแนกตามช่องทางการขาย

ประกันชีวิต

ช่องทางการขายที่ทำรายได้ 3 อันดับแรกคือ
1.ช่องทางการขายผ่านตัวแทน
มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง 236,815 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 48.16 ขยายตัวร้อยละ 5.43 (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
2.ช่องทางการขายผ่านธนาคาร
มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง 223,263 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.40 ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 11.46
3.ช่องทางการขายผ่านนายหน้า
มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง 14,190 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.89 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 17.29

ประกันวินาศภัย

ช่องทางการขายที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก
1.ช่องทางการขายผ่านนายหน้า
เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 104,664 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 58.15 ขยายตัวร้อยละ 7.66
2.ช่องทางการขายผ่านตัวแทน
มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 26,276 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.60 หดตัวร้อยละ 7.17
3.ช่องทางการขายผ่านธนาคาร
มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 23,241 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.91 ขยายตัวร้อยละ 3.21

สำนักงาน คปภ. ยังคงเข้มงวดเกี่ยวกับมาตรฐานในการกำกับดูแลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยผ่านช่องทางการขายต่างๆ และยังคงเฉียบขาดในการดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาลงโทษอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นยกระดับมาตรฐานคนกลางประกันภัยให้มีความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยในปีที่ผ่านมาสายตรวจสอบคนกลางประกันภัยของ สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการตรวจสอบในเชิงรุกพร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบนายหน้าประกันภัย นิติบุคคล ประจำปี 2560

โดยแบ่งเป็นการตรวจสอบ 2 ประเภท
1.การตรวจสอบการปฏิบัติงานของนายหน้าประกันภัย ประเภทนิติบุคคล ณ ที่ทำการบริษัท (Annual Examination) จำนวน 40 บริษัท ซึ่งผลการตรวจสอบพบกรณีปฏิบัติไม่สอดคล้องกับกฎหมายจำนวน 29 บริษัทได้แก่ ไม่ยื่นรายงานผลการประกอบธุรกินายหน้าประกันวินาศภัยในส่วนงบการเงินประจำปี 2559 จัดทำสมุดทะเบียนไม่เป็นไปตามแบบที่ สำนักงาน คปภ. กำหนด
– ไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงนายหน้ากระทำการแทน
– ไม่ทำหนังสือถึงธนาคารเพื่อให้ความยินยอมให้นายทะเบียนตรวจสอบบัญชีรับจ่ายเบี้ยประกันภัย
– ดำรงเงินกองทุนไม่ครบตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย
ซึ่งได้แจ้งให้ทั้ง 29 บริษัทดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
แต่มี 1 บริษัทในจำนวน 29 บริษัทที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
เนื่องจากกระทำความผิดในหลายประเด็น
– มีจำนวนนายหน้ากระทำการแทนน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
– ย้ายสำนักงานแต่ไม่แจ้งนายทะเบียนภายใน 5 วัน
– จัดทำสมุดทะเบียนไม่เป็นไปตามแบบที่สำนักงาน คปภ. กำหนด
– ไม่ยื่นรายงานผลการประกอบธุรกิจและเงินกองทุนตามแบบ รปว.
– การนำส่งงบการเงินไม่มีการยื่นรายงานไตรมาส 3-4/2558 ไตรมาส 3-4/2559 และไตรมาส 1/2560
ซึ่งบริษัทไม่สามารถแก้ไขประเด็นความผิดได้ทุกข้อตามระยะเวลาที่กำหนด จึงนำมาสู่การเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยประเภทนิติบุคคล ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2560

2.การตรวจสอบการปฏิบัติงานของนายหน้าประกันภัย ประเภทนิติบุคคลเป็นการเฉพาะ
นอกเหนือจากการตรวจสอบประจำปี (Target Examination) จำนวน 9 บริษัท โดยได้มีการสุ่มตรวจโดยการโทรศัพท์ไปยังบริษัท ตรวจสอบเกี่ยวกับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งที่เผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ เว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งผลคือไม่พบประเด็นความผิดตามกฎหมาย

แต่จากการตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนนายหน้านิติบุคคลพบประเด็นความผิดคือกรรมการบริษัทได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัยประเภทการจัดการประกันวินาศภัยโดยตรงและใบอนุญาตยังมีผลบังคับแต่บริษัทไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย จึงได้ทำงานในเชิงบูรณาการโดยประสานงานกับกองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำประชาชนผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายกับบริษัทไปแล้วเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560 พร้อมทั้งยังได้ดำเนินการตรวจสอบตามหนังสือร้องเรียนจากผู้เสียหายที่ได้แจ้งยกเลิกการทำประกันภัยรถยนต์แต่ยังไม่ได้รับค่าเบี้ยประกันภัยคืนจากบริษัท ซึ่งได้มีการประสานไปยังบริษัททำการคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยแก่ผู้ร้องเรียนเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560

“ในปี 2561 สำนักงาน คปภ. มีนโยบายจะเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัยซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยโดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขายและการดูแลกรณีเกิดปัญหาเรื่องประกันภัย ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนและสำนักงานนายหน้าประกันภัย โดยจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สายตรวจสอบคนกลางประกันภัยได้เสนอแผนการตรวจประจำปี 2561 มาให้พิจารณาและได้เห็นชอบแล้ว” เลขาธิการ กล่าวในตอนท้าย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow