INSURANCETHAI.NET
Tue 16/04/2024 14:19:53
Home » ประกันชีวิต » พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535\"you

พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535

2012/04/01 2504👁️‍🗨️

พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตราที่ 7-27

life-ins-policy

หมวด 1 บริษัท
มาตรา 7 ภายใต้บังคับ มาตรา 8 การประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะ กระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับ
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี การจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามวรรคหนึ่งต้องได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ในการนี้จะกำหนดเงื่อนไข ให้ปฏิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดและได้วาง หลักทรัพย์ประกันตาม มาตรา 20 กับทั้งได้ดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตาม มาตรา 27 แล้ว จึงให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตต่อรัฐมนตรีภายใน ระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ได้ จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดแล้ว
การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและการออกใบอนุญาต ประกอบธุรกิจประกันชีวิต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง และในการอนุญาตรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
มาตรา 8 บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อ ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจาก รัฐมนตรี โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ในการนี้รัฐมนตรีจะอนุญาตโดยมีเงื่อนไขก็ได้
การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและการออกใบอนุญาต ประกอบธุรกิจประกันชีวิตโดยตั้งเป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันชีวิต ต้องดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยตามจำนวน ชนิด วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จำนวนทรัพย์สินที่รัฐมนตรีกำหนดต้อง ไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดำรงตาม มาตรา 27

รัฐมนตรีจะออกใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งก็ต่อเมื่อบริษัทได้วาง หลักทรัพย์ประกันตาม มาตรา 20 และดำรงไว้ซึ่งทรัพย์สินในประเทศไทย ตามวรรคสามแล้ว
บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศจะเปิดสาขา ณ ที่ใด ๆ มิได้
สาขาให้หมายความรวมถึงสำนักงานที่แยกออกจากสำนักงานใหญ่ของ บริษัทไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด และได้รับเงินค่าใช้จ่ายจากบริษัทไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ที่ได้รับความเห็นชอบ จากนายทะเบียนให้ใช้เป็นที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการข้อมูล สถานที่เก็บเอกสาร และสถานที่ฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
มาตรา 9 หุ้นของบริษัทจะต้องเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อผู้ถือ มีมูลค่า ของหุ้นไม่เกินหุ้นละหนึ่งร้อยบาท และข้อบังคับของบริษัทต้องไม่มีข้อจำกัด ในการโอนหุ้น
มาตรา 10 บริษัทต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ ไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และต้องมีกรรมการ เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา 11 บุคคลใดได้หุ้นของบริษัทใดมา และการได้มานั้นเป็น เหตุให้จำนวนหุ้นหรือบุคคลผู้ถือหุ้นอยู่เป็นไปโดยฝ่าฝืน มาตรา 10 และ ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 12 บุคคลนั้นจะยกเอาการถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวน ที่ถือไว้ขึ้นใช้ยันต่อบริษัทนั้นมิได้ และบริษัทจะจ่ายเงินปันผลหรือเงิน ตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลนั้น หรือให้บุคคลนั้นออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม ของผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นส่วนที่เกินมิได้
มาตรา 12 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตาม มาตรา 10 และ มาตรา 11 ให้บริษัทตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าสามเดือนก่อนการ ประชุมผู้ถือหุ้นทุกคราว และแจ้งผลการตรวจสอบต่อนายทะเบียนตามรายการ และภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ในกรณีที่พบว่ามีจำนวนหุ้นที่ ผู้ถือหุ้นถือหุ้นโดยฝ่าฝืน มาตรา 10 ให้บริษัทแจ้งให้ผู้นั้นทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตรวจพบและให้ผู้นั้นดำเนินการแก้ไขภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรับแจ้ง
มาตรา 13 บทบัญญัติ มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 และ มาตรา 12 มิให้นำมาใช้บังคับแก่บริษัทที่เป็นสาขาของบริษัทประกันชีวิต ต่างประเทศตาม มาตรา 8
มาตรา 14 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะ ควบกับบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอื่นมิได้ เว้นแต่จะควบกับบริษัทที่ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตด้วยกัน
การควบบริษัทตามวรรคหนึ่งเข้ากัน ให้กระทำได้เมื่อได้รับความ เห็นชอบจากรัฐมนตรี ในการให้ความเห็นชอบรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขให้ ปฏิบัติก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้
เมื่อได้จดทะเบียนควบบริษัทเข้ากันตามกฎหมายแล้ว บริษัทใหม่ที่ควบ เข้ากันต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตาม มาตรา 7 ภายใน ระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันจดทะเบียน บริษัทใหม่ที่ควบเข้ากันนั้น ในระหว่างขอรับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจประกัน ชีวิตไปพลางได้ตามใบอนุญาตเดิม หากไม่ขอรับใบอนุญาตภายในกำหนด ดังกล่าวหรือควบบริษัทเข้ากันโดยฝ่าฝืน มาตรา นี้ ให้ถือว่าใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจประกันชีวิตเดิมที่ออกให้แก่บริษัทก่อนควบเข้ากันนั้นเป็นอันสิ้นอายุ
มาตรา 15 นอกจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันชีวิต บริษัทต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับการประกอบธุรกิจ ประกันชีวิตทุกปี เว้นแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
บริษัทใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีป ฏิทิน ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตของบริษัทนั้นสิ้นอายุ
มาตรา 16 เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใบอนุญาต ประกอบธุรกิจประกันชีวิตของบริษัทใดสิ้นอายุ ให้ถือว่าบริษัทนั้นถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต
มาตรา 17 บริษัทตาม มาตรา 7 ที่จะเปิดสาขาหรือย้ายที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขา ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและ ให้นำความใน มาตรา 8 วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 18 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญา ประกันชีวิตกับบุคคลใด ๆ เว้นแต่จะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า”ประกันชีวิต” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน นอกจากบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บริษัท
(2) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นบริษัทหรือสมาคมที่มีสมาชิก ส่วนมากเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(3) สมาคมที่มีสมาชิกส่วนมากเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้า ประกันชีวิต
(4) สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกส่วนมากเป็น พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท
(5) ตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตที่ใช้เพื่อเป็นคำ แสดงชื่อในธุรกิจการเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตของตน แล้วแต่กรณี
(6) สถาบันการศึกษาวิชาประกันชีวิตหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจประกันชีวิตซึ่งใช้เพื่อเป็นคำแสดงชื่อของสถาบันนั้น
(7) กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก หรือผู้มีฐานะ มีตำแหน่ง หรือหน้าที่ใด ๆ ในบริษัท สมาคม สหภาพแรงงาน สถาบันการศึกษาวิชา ประกันชีวิต หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิตตาม (1) (2) (3) (4) และ (6) ซึ่งใช้เพื่อแสดงความเป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง สมาชิก
หรือความมีฐานะ มีตำแหน่ง หรือหน้าที่ของตนในบริษัท สมาคม สหภาพแรงงาน หรือสถาบันดังกล่าว
มาตรา 20 บริษัทต้องมีหลักทรัพย์ของบริษัทวางไว้กับนายทะเบียน เป็นหลักทรัพย์ประกันมีมูลค่าตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
หลักทรัพย์ของบริษัทที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนจะเป็นเงินสด พันธบัตร รัฐบาลไทย หรือทรัพย์สินอย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศ กำหนดก็ได้ บริษัทอาจขอเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ประกันที่วางไว้ได้ ทั้งนี้ ภายใต้ บังคับวรรคหนึ่งและวรรคสอง
มาตรา 21 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าลดต่ำ ลงกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 20 ให้นายทะเบียน สั่งให้ บริษัทนั้นนำหลักทรัพย์ประกันมาเพิ่มจนครบจำนวนที่กำหนดภายในสองเดือน นับแต่วันได้รับคำสั่ง
มาตรา 22 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันของบริษัทใดมีมูลค่าเพิ่มขึ้น กว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 20 ให้นายทะเบียนมีอำนาจ สั่งถอนหลักทรัพย์ประกันส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นนั้นได้ ตามคำขอของบริษัท ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
มาตรา 23 ให้บริษัทจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรอง ประกันภัย สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยัง มีความผูกพันอยู่ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดให้บริษัท จัดสรรเงินสำรองอื่นอันจำเป็นด้วยก็ได้
มาตรา 24 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้บริษัทวางเงินสำรอง ประกันภัยเป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสำรองประกันภัยตาม มาตรา 23 ไว้กับนายทะเบียน
เงินสำรองประกันภัยที่วางไว้กับนายทะเบียนจะเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือทรัพย์สินอย่างอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ก็ได้ และให้นำความใน มาตรา 21 และ มาตรา 22 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา 25 ในกรณีที่หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้กับ นายทะเบียนตาม มาตรา 20 และเงินสำรองที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียน ตาม มาตรา 24 เป็นทรัพย์สินที่การโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือต้องกระทำต่อ บุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้น
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้ าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง นั้นทราบ และห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องนั้นโอน หรือให้ไปซึ่งทรัพย์สินนั้น จนกว่านายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งการถอน หรือการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินนั้น
มาตรา 26 หลักทรัพย์ประกันที่บริษัทวางไว้ตาม มาตรา 20 และ เงินสำรองตาม มาตรา 23 ที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบียนตาม มาตรา 24 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่บริษัทยังมิได้ เลิกกัน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกัน ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจาก การเอาประกันภัย มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ ประกันตาม มาตรา 20 และเงินสำรองตาม มาตรา 23 ที่วางไว้กับ นายทะเบียนตาม มาตรา 24 และมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าว ก่อนเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษอื่น
ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ให้เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิด จากการเอาประกันภัยมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์สินที่วางเป็นหลักทรัพย์ ประกันตาม มาตรา 20 และเงินสำรองตาม มาตรา 23 ที่วางไว้กับ นายทะเบียนตาม มาตรา 24 มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินดังกล่าว อย่างเดียวกันกับเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ทรัพย์สินของบริษัทนอกจากหลักทรัพย์ประกันตาม มาตรา 20 และ เงินสำรองตาม มาตรา 23 ที่วางไว้กับนายทะเบียนตาม มาตรา 24 ให้ เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยมีสิทธิได้รับ ชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 27 บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ ประกอบธุรกิจประกันชีวิตเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสองของเงินสำรอง ตาม มาตรา 23 แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow