INSURANCETHAI.NET
Fri 03/05/2024 3:47:11
Home » Uncategorized » ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว : หมิงตี้เคมีคอล\"you

ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว : หมิงตี้เคมีคอล

2021/07/06 2062👁️‍🗨️

5 บริษัทร่วมรับประกันภัย
ทุนประกันภัยรวม 420.90 ล้านบาท
บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ทำประกันภัย3 กรมธรรม์

  • กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ทุนประกันภัย 379,320,000 บาท
  • กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (PL) ทุนประกันภัย 20,000,000 บาท
  • กรมธรรม์ประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและ ถังอัดความดัน ทุนประกันภัย 21,584,989 บาท

เริ่มคุ้มครองวันที่ 5 เมษายน 2564
สิ้นสุดวันที่ 5 เมษายน 2565
โดยมีบริษัทร่วมรับประกันภัย
1.บมจ. คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย 40%
2.บมจ. ทิพยประกันภัย 20%
3.บมจ. นวกิจประกันภัย 20%
4.บมจ. คิงไวประกันภัย 10%
5.บมจ. วิริยะประกันภัย 10%

เกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้อย่างรุนแรง

5 ก.ค. 2021 ราว ตีสองกว่า การควบคุมสถานการณ์กินเวลาเกินกว่า 24 ชั่วโมง ประชาชนในรัศมี 5 km ต้องอพยพ ไม่ต้องอพยพในรัศมี 10km เพราะ ไร้สารเคมี 5 แสนลิตรใต้โรงงาน

ก่อนหน้านี้มีการสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ในรัศมี 5 – 6 กิโลเมตร เนื่องจากเกรงว่าถังเก็บสารเคมี ขนาด 2 หมื่นลิตร จะเกิดระเบิดขึ้น  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนได้

ต่อมา มีการแจ้ง พื้นที่เฝ้าระวังจากเหตุไฟไหม้โรงงาน ย่านกิ่งแก้ว ในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยระบุดังนี้ 
#สีแดง คือ พื้นที่ต้องอพยพ ห่างจุดเกิดเหตุ 5 กม.
#สีส้ม คือ พื้นที่เฝ้าระวังสูง ห่างจุดเกิดเหตุ 7.5 กม.
#สีเหลือง คือ พื้นที่เฝ้าระวัง ห่างจุดเกิดเหตุ 7.5 กม.

สภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุที่ประกอบด้วยชุมชนกว่า 994 แห่ง และโรงงานอีกกว่า 1,120 แห่ง
วันเกิดคาดว่าคนอพยพเป็นหมื่น ถนนรทางออกย่านกิ่งแก้วรถติด เหมือนกับในหนังยังไงยังงั้น

อย่าเปิดแอร์เพราะ มันจะดูดอากาศเข้ามา ให้ปิดหน้าต่างประตูช่องต่างๆ เพื่อป้องกันสารพิษ
ติดตามข่าวสารเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เข้า facebook / twitter
ดูทิศทางลมประกอบ https://www.windy.com/?13.689,100.459,5
ตรวจระยะห่างจากจุดเกิดเหตุ https://mapdemo.longdo.com/fire-soi-king-kaew/

ไฟไหม้โรงงานสารเคมีระเบิด ที่ซอยกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ มีคนจำนวนมากเข้าไปใช้เว็บไซต์หนึ่ง เพื่อตรวจสอบตำแหน่งว่าอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ หากอยู่ในระยะ 5 กม. จะได้อพยพเคลื่อนย้าย หรือหากอยู่ในระยะ 10 กม. ก็ควรปิดประตูหน้าต่างป้องกันสารเคมี

ผู้พัฒนาเว็บไซต์นี้ คือ “ปาล์ม – นิธิกร บุญยกุลเจริญ” หนึ่งในทีมบริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี ที่พัฒนา Longdo Map แล้วยังเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล และเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการดิจิทัลวิถีใหม่ (Digital New Normal)

ปาล์มเรียนจบจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นประธานรุ่นด้วยมีความสนใจด้านไอทีเป็นพิเศษ

หลังเกิดเหตุตอนตี 3 จนถึงเที่ยง เขาไม่เห็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหา จึงใช้เวลาประมาณ 2 ชม. เขียนระบบนี้ขึ้นผ่าน Longdo Map API เพื่อให้คนเข้าไปตรวจสอบพิกัดของตัวเองได้ เชื่อว่าหากเรานำเทคโนโลยีมาใช้ในงานสาธารณภัย ก็จะทำให้ช่วยคนได้มากขึ้น เร็วขึ้น ป้องกันความสูญเสียได้ และช่วยลดงานเจ้าหน้าที่-อาสาสมัครได้ด้วย เช่น ในหลายประเทศมี Emergency Alert หรือระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน โดยหน่วยงานรัฐจะส่งข้อความแจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์มือถือของประชาชนตามพิกัดผู้ใช้ โดยส่งแค่ครั้งเดียวแต่เข้าถึงคนจำนวนมาก และมือถือไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่ประเทศไทยยังไม่มีระบบนี้ ลิงก์ตรวจสอบพิกัด ลองเช็คพิกัดของคุณ
https://mapdemo.longdo.com/fire-soi-king-kaew/

ref. https://web.facebook.com/poetryofb

แอดรอดเพราะลิ้งนี้เยยยยย ฮืออออ ….

เทคโนโลยีที่สำคัญอีกอย่างของภาระกิจนี้ คือ ทีมโดรน Novy ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเข้าปิดวาล์วถังเคมีได้อย่างปลอดภัย แต่ที่จะขาดไม่ได้เลย คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เสี่ยงชีวิตเข้าไปปฏิบัติการในภาระกิจครั้งนี้ พวกเขาเสียสละและเสี่ยงมากมาย บาดเจ็บและเสียชีวิต RIP.

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
เสียชีวิต 1 ราย
บาดเจ็บราว 30 ราย
บ้านเรือนได้รับความเสียหายกว่า 70 หลัง
ยานยนต์เสียหายกว่า 15 คัน

ทรัพย์สินอื่น ๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการทำประกันภัยจากประชาชนที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือด้านประกันภัย ณ ศูนย์อพยพผู้ประสบภัยเพลิงไหม้ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง โรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) และวัดบางโฉลง ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันชีวิต การประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยทรัพย์สินอื่น รวมถึงการประกันภัยประเภทอื่น ๆ
หากพบว่าได้รับทำประกันภัยรองรับไว้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งบูรณาการช่วยเหลือติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาประกันภัยโดยเร็วที่สุด

หมิงตี้เคมีคอล : MINGTY CHEMICAL CO., LTD. บริษัทสัญชาติไต้หวัน
https://www.mingdih.com.tw/

บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด 87 หมู่ 15 ถนนวัดกิ่งแก้ว ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
จดทะเบียนบริษัทในไทย 20 มิถุนายน 2532 ทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท
ประเภทธุรกิจตอนจดทะเบียนคือ 22299 การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเม็ดโฟม

บริษัทแม่ที่ไต้หวัน ก่อตั้งปี 2529 จุดประสงค์หลัก ผลิตวัสดุขั้นต้นประเภท EPS (Expandable Polystyrene) เพื่อนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง, ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป
EPS เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งที่เกิดจากผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม มาในรูปเม็ดพลาสติกเรซิ่น เมื่อผสมสารพองตัวแล้วจะได้เม็ดโฟมที่น้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ป้องกันเสียงและน้ำได้ ตัดขึ้นรูปได้ง่าย นำไปใช้ เช่น งานก่อสร้างอาคาร บ้านแบบประหยัดพลังงาน งานก่อสร้างถนน สะพาน งานก่อสร้างบ้านลอยน้ำ งานกันฉนวนความร้อน

โรงงานในไต้หวัน มีการส่งออกสินค้าไปยังหลายประเทศทั่วโลก : สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, จีน, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาปริมาณการผลิตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากดีมานด์ที่เพิ่มสูงจึ้น และปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 160,000 ตันต่อปี
บริษัทระบุในเว็บไซต์ว่า เนื่องจากประเทศไทยเรียกเก็บอัตราภาษีนำเข้าสูง ทำให้การมาตั้งโรงงานในประเทศไทยเป็นข้อได้เปรียบของบริษัทอย่างไรก็ตาม การขยายธุรกิจมายังประเทศไทย ไม่เพียงแต่ผลิตสินค้าเพื่อป้อนให้กับตลาดในไทยเท่านั้น แต่เป็นความต้องการขยายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น และเพิ่มการผลิตและจำหน่ายในตลาดทั่วโลก โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 30,000 ตันต่อปี และส่วนใหญ่ผลิต EPS
https://www.mingdih.com.tw/list/cate-9321.htm

สัดส่วนผู้ถือหุ้น-รายชื่อกรรมการ
1.บริษัท เอเวอร์แกรนด์ จำกัด จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน (อังกฤษ) ถือหุ้น 48.1429%
2.นายเจิ้นเหวย หง (สัญชาติไทย) ถือหุ้น 21.8571%
3.นายฉงหาว หง (สัญชาติไทย) ถือหุ้น 21.8571%
4.นายหมิง อี้ หง (สัญชาติไทย) ถือหุ้น 8.1429%

รายชื่อคณะกรรมการ
1.นายจื้อกว๋อ อู๋
2.นายอี้ โชว ลี่
3.นายเจิ้น-เหวย หง
4.นายฉง-ห่าว หง

ผลประกอบการปีงบการเงิน 2563
สินทรัพย์รวม 699,095,810.07 บาท
รายได้รวม 1,202,795,860.31 บาท
กำไรสุทธิ 25,734,588.11 บาท

ผลประกอบการย้อนหลัง 5 ปี
ปี 2559 รายได้ 1,449 ล้านบาท กำไร 18.5 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 1,487 ล้านบาท กำไร 25.4 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,708 ล้านบาท กำไร 29.8 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 1,293 ล้านบาท กำไร 21.1 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 1,202 ล้านบาท กำไร 25.7 ล้านบาท

โฟม EPS คืออะไร

โฟม EPS (Expandable Polystyrene) ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกิดจากผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม มาในรูปเม็ดพลาสติกเรซิ่น เมื่อผสมสารพองตัว (Blowing agent) ก๊าซเพนเทนซึ่งเป็นสารประกอบคาร์บอนตามธรรมชาติ (ไม่ใช้สาร CFC ซึ่งทำลายชั้นโอโซน)  ผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากไอน้ำ (Steam) เกิดเป็นเม็ดโฟม EPS สีขาว ขยายตัวประมาณ 50 เท่าเป็นเม็ดๆ เป็นเซลล์ปิด ะเมื่อขยายตัวมีอากาศเข้ามาแทนที่ได้ 98% ของปริมาตร 2% เป็นเนื้อพลาสติก แล้วนำไปขึ้นรูปโฟมบล็อกและโฟมโมลด์แบบต่างๆ  
   
คุณสมบัติของโฟม    
 1. เบา แต่รับน้ำหนักได้
 2. ค่าการนำความร้อนต่ำ จึงเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี 
 3. ป้องกันการผ่านของเสียงได้
 4. ป้องกันการผ่านของน้ำได้
 5. ตัดหรือขึ้นรูปต่างได้ง่าย
 6. อายุการใช้งานนาน
 7. ยืดหยุ่น กันแรงกระแทกดี
   
EPS โฟมนำไปใช้งานได้หลายประเภท เช่น งานก่อสร้างอาคาร บ้านแบบประหยัดพลังงาน งานก่อสร้างถนน สะพาน งานก่อสร้างบ้านลอยน้ำ งานกันฉนวนความร้อน งานบรรจุภัณฑ์ งานศิลปะ อื่นๆ แล้วแต่จะเอาไปใช้ตามคุณสมบัติของมัน
   
EPS โฟม 2 ชนิด
ชนิดลามไฟ (P-Grade) – โฟมเกรดธรรมดา ติดไฟ ลามหมดอย่างรวดเร็ว เหมาะกับการใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่งานก่อสร้าง  
ชนิดไม่ลามไฟ (F-Grade) – โฟมที่ผสมสารกันไฟ ยังคงติดไฟแต่จะไม่ลามวอดรวดเร็ว และเมื่อนำแหล่งไฟออก ไฟที่โฟมจะดับเองใน10 วินาที เหมาะงานก่อสร้าง งานลดความเสี่ยงอัคคีภัย ความร้อน

สารพิษ

สไตรีน (Styrene)

ของเหลวใสและข้นเหนียว สูตรทางเคมี C8H8 , CAS #. 100-42-5 น้ำหนักโมเลกุล 104.16 ถ้าสารมีอุณหภูมิ 31°C (88°F) ขึ้นไป จะเป็นสารไวไฟขึ้น การดับเพลิงให้ใช้น้ำยาประเภทคาร์บอนไดออกไซด์หรือเคมีแห้ง จะทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับสารพวกออกซิไดซิ่ง เอเจ้นท์ (Oxidizing Agent) และกรดเข้มข้น เช่น กรดกำมะถัน
กลิ่น : หอมหวานคล้ายดอกไม้ ความเข้มข้นต่ำสุดที่มีกลิ่น 0.08-0.32 ppm

ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ และพลาสติก เรซิน สี ฉนวนที่เป็นโฟม ใช้ผลิตพลาสติกกับสารอื่นเช่น Acrylonitrile- butadiene- styrene plastics ใช้ทำกระเป๋าแบบแข็ง Acrylonitrile- styrene plastics ใช้ในชิ้นส่วนรถยนต์และของใช้ในบ้านและบรรจุภัณฑ์

เป็นสารระเหย แม้อยู่ในน้ำหรือดิน การปนเปื้อนในดินอาจนำไปสู่น้ำใต้ดินเพราะสารนี้ไม่ค่อยจับตัวกับดิน
ถ้าหายใจเข้าไป จะระคายจมูกและคอ ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และมึนเมา ถ้าได้รับสารปริมาณสูง จะชักและเสียชีวิตได้ การหายใจเข้าไปในระยะนานๆ แม้ว่าความเข้มข้นต่ำจะทำให้อาจมีอาการทางสายตา การได้ยินเสื่อมลง และการตอบสนองช้าลง ส่วนผลในระยะยาวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
ถ้าเข้าตา จะเคืองตา
ถ้าถูกผิวหนัง จะรู้สึกระคายผิว ถ้าสารซึมเข้าผิวหนังจะมีอาการเหมือนหายใจเอาสารเข้าไป ทำให้ผิวแดง แห้ง แตก
http://pcd.go.th/info_serv/Datasmell/l3styrene.htm

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการคำนวณค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน กรณีเหตุการณ์ไฟไหม้ ณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ Box Model ซึ่งใช้ข้อมูลอัตราการระบายจากแหล่งกำเนิด มาประมวลผลร่วมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ โดยคำนวณจากรัศมี ใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 กิโลเมตร 3 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตร ซึ่งจากการคำนวณจะได้ค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน ดังนี้
รัศมี 1 กิโลเมตร มีค่า 1,035.47 ppm
รัศมี 3 กิโลเมตร มีค่า 86.43 ppm
รัศมี 5 กิโลเมตร มีค่า 51.77 ppm

ประกาศ เรื่อง ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน กำหนดค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันของสารสไตรีนไว้ 3 ระดับ
ระดับที่ 1 มีค่า 20 ppm ซึ่งหมายถึงระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน)
ระดับที่ 2 มีค่า 130 ppm หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไม่ร้ายแรง
ระดับที่ 3 มีค่า 1,100 ppm หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
https://www.sikarin.com/health/สไตรีน-สารอันตรายก่อม

โรคพิษสไตรีน (Styrene Poisoning)

เป็นของเหลวใส มีสูตรเคมี C8H8 มีรหัสประจำตัวสารเคมี CAS# 100-42-5 น้ำหนักโมเลกุล 104.16 มีกลิ่นหอมหวาน ไม่ละลายน้ำแต่ละลายในเมทธานอล
เอทธานอล อีเธอร์ และอะซีโตน เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสามารถระเหยกลายเป็นไอได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวาง
ถ้าอุณหภูมิสูง 31 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะระเหยได้ง่ายและเสี่ยงต่อการติดไฟ

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
   การทำการ การทำวานิช การทำยาง การทำเรซิน การทำสารทำละลาย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผลิตภัณฑ์ซึ่งมีพลาสติกหรือยางสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบ
การเข้าสู่ร่างกาย
   สารนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางการหายใจ ทางการดูดซึมผ่านผิวหนัง และปนเปื้อนกับอาหารและน้ำดื่ม
   เข้าสู่ทางเดินอาหาร ตัวที่เป็นพิษคือสไตรีนที่แปรรูปเป็น styrene-7,8-oxide องค์การอนามัยโลก
   จัดว่าสารสไตรีนอาจก่อให้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้
พิษของสไตรีน
     • พิษเฉียบพลัน ระคายเคืองทางเดินหายใจ ผิวหนังอักเสบ มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย
ทำให้มึนงง เดินโซเซ คลื่นไส้ อาเจียน อาจชักและเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณสูง
     • พิษเรื้อรัง อาจทำให้เป็นมะเร็งปอดและมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
     สารสไตรีนจะเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมไอ และการดูดซึมทางผิวหนัง สไตรีนถูกเมตาโบไลท์ที่ตับเปลี่ยนเป็นกรดแมนเดลิก และกรดเฟนิลไกลออกซิลิค
   ขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สารสไตรีนเป็นสาร เสพติดได้จะถูกทำให้รู้สึกอิดโรย และไม่สบายอย่างไม่ทราบสาเหตุเมื่อทำงานเสร็จแต่ละวัน ไอระเหยของสารนี้
   จะระคายเคืองตา จมูก และระบบทางเดินหายใจส่วนบน และจะทำให้รู้สึกมีรสโลหะในปาก อาการแบบเฉียบพลัน การได้รับปริมาณสไตรีนที่มีความเข้มข้นสูงทำให้เกิด
   การระคายผิวหนัง และผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองจมูกและลำคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ง่วงซึม และอ่อนเพลีย เสียความสมดุลของระบบประสาทส่วนกลาง
   อาการแบบเรื้อรัง การได้รับสไตรีนติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย มีอันตรายต่อตับ ไต และระบบเลือด
   และอาจเป็นมะเร็ง
การวินิจฉัยโรคเพื่อการรายงาน
  1. มีอาการและอาการแสดงของโรคชัดเจน
  2. มีประวัติการสัมผัส โดยการทำงานที่มีการสัมผัสกับสารสไตรีน
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ระบุตัวบ่งชี้ทางชีวภาพว่ามีอาการของโรค หรือแสดงว่ามีการได้รับสัมผัสสไตรีน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและค่าดัชนีชี้วัดทางงชีวภาพ
   ตรวจหาระดับความเข้มข้นของผลรวมแมนเดลิกกับกรดฟีนิลไกลออกซีลิกในปัสสาวะ
   (Mandelic Acid + Phynylglyoxylic Acid in Urine) (ค่าเฝ้าระวัง/ค่ามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพ =
   400 มิลลิกรัมต่อกรัมครีอะตินีน (ACGIH, 2020) หรือตรวจหาระดับความเข้มข้นของสไตรีนในปัสสาวะ โดยมีค่าเฝ้าระวัง/ค่าความปลอดภัยสไตรีนในปัสสาวะ
   = 40 ไมโครกรัมต่อลิตร    (ACGIH, 2020)

มาตรฐานสภาพแวดล้อมการทำงาน
ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515
ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานในที่ทีมีปริมาณเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่าที่กำหนดไว้ได้ได้แก่สารสไตรีน ความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการ ทำงานปกติเกินกว่า
100 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดในช่วงเวลาที่จำกัด 600 ส่วนในล้านส่วน (ppm) โดยมีระยะเวลาที่กำหนดให้ทำงานได้ 5 นาทีใน
ทุกช่วงเวลา 3 ชั่วโมงและปริมาณความเข้มข้นที่อาจยอมให้มีได้คือ 200 ส่วนในล้านส่วน (ppm)NIOSH กำหนดค่า IDLH = 700 ส่วนในล้านส่วน (ppm)

การดับเพลิง
ใช้น้ำยาประเภทคาร์บอนไดออกไซด์หรือเคมีแห้งปกคลุม ห้ามฉีดน้ำเป็นลำไปยังถังที่เพลิงไหม้

การตรวจระดับสไตรีนในร่างกายและค่าเฝ้าระวัง/ค่าความปลอดภัย
– ตรวจระดับความเข้มข้นของผลรวมแมนเดลิกกับกรดฟีนิลไกลออกซีลิกในปัสสาวะ (Mandelic Acid + Phynylglyoxylic Acid in Urine)
ค่าเฝ้าระวัง/ค่าความปลอดภัย = 400 มิลลิกรัมต่อกรัมครีอะตินีน (ACGIH, 2020)
– ตรวจระดับความเข้มข้นของสไตรีนในปัสสาวะ ค่าเฝ้าระวัง/ค่าความปลอดภัยสไตรีนในปัสสาวะ 40 ไมโครกรัมต่อลิตร (ACGIH, 2020)
*ข้อสังเกต สารนี้มี Half Life สั้น ประมาณ 24 ชั่วโมงจะถูกขับออกจากร่างกายประมาณ 70 – 80 %

อุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคล (PPE)
ใช้หน้ากากชนิดป้องกันไอระเหยหรือหน้ากากที่มีวัสดุดุดซับเป็นผงถ่าน Chacoal (Charcaol Mask, Black Activated Carbon)
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/59

ตอนนี้มีสไตรีนโมโนเมอร์มีประมาณ 1,600 ตัน
โก่อนเกิดเหตุระเบิด บริษัทฯ ได้เก็บวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเม็ดโฟมเม็ดพลาสติกเอาไว้แบ่งเป็น เพนเทน ประมาณ 60-70 ตัน, สไตรีน โมโนเมอร์ ประมาณ 1,600 ตัน และน้ำ ประมาณ 300 ตัน ยังไม่ทราบสาเหตุของการรั่วไหลของสารเคมี

IAR : การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks Insurance)
การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR : Industrial All Risks Insurance)
ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งได้รับความเสียหาย ทางกายภาพโดยอุบัติเหตุใด ๆ ที่มิได้ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ การประกันอัคคีภัย เป็น การประกันภัยทรัพย์สินที่ให้ความคุ้มครองแบบ “ระบุภัย (Named Peril)” หรือก็คือ ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเนื่องมาจากภัยที่ระบุไว้เท่านั้น

สิ่งที่รับประกันภัย
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันภัยได้ เช่น ตัวอาคาร เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้สำนักงาน สต็อกสินค้า ตลอดจนเครื่องจักรต่างๆ ใช้กับการประกันภัยทรัพย์สินประเภทโรงงานอุตสาหกรรม และการค้าขนาดใหญ่

ความคุ้มครองมาตรฐาน
– คุ้มครองความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากอุบัติเหตุใดๆ ที่มิได้มีการระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์สำหรับอุบัติเหตุดังกล่าวประกอบไปด้วยภัยธรรมชาติ ได้แก่ ลมพายุ ลูกเห็บ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟป่า
– ภัยอื่นๆ ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ควัน ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ การถูกชนโดยยานพาหนะหรืออากาศยาน รวมถึงวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
– การจลาจล นัดหยุดงาน การกระทำป่าเถื่อน เจตนาร้าย
– อุบัติเหตุอื่นๆ ที่มิได้การระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์

ปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินได้กำหนดใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกบริษัท โดยได้แปลมาจากกรมธรรม์ประกันภัย Accidental Damage (property) Insurance (ABI FORM ) โดยได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขบางประเด็นที่เห็นว่าควรปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามหลักกฎหมายในประเทศไทย และเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยเพิ่มมากขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยนี้ใช้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่เห็นว่าการทำประกันอัคคีภัยซึ่งเป็นความคุ้มครองแบบระบุภัยยังไม่เพียงพอกับความเสี่ยงภัยที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของตนได้

ความคุ้มครอง
การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ณ เวลาที่เกิดการสูญเสีย ความสูญเสียหรือความเสียหาย หรือตามจำนวนที่เสียหายจริง หรือทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้ใหม่สำหรรัยการสูญหาย หรือความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยอุบัติภัยใด ๆ ที่มิได้ระยุยกเว้นไว้ ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัย จากความคุ้มครองที่กำหนดไว้ แยกการสูญหายหรือความเสียหายของทรัพย์สินออกเป็น 3 ประเด็นคือ
    1. ต้องเป็นความเสียหายทางกายภาพ (Physical loss or damage)
    2. ต้องเป็นอุบัติภัย (Accidental) ที่มิได้ระยะยกเว้นไว้ในข้อยกเว้น
    3. ต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาประกันภัย

ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ต้องระบุจำนวนเงินเอาประกันภัยแยกไว้ตามรายการแต่ละรายการ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมที่ระบุในตารางกรมธรรม์
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้แก่ อาคาร เครื่องจักร สต๊อกสินค้าหรือวัตถุดิบ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
การกำหนดความรับผิดส่วนแรก (Deductible)
เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินจะให้ความคุ้มครองกว้าง ดังนั้น โอกาสในการเรียกร้องค่าสินไหมย่อมมีมากตามไปด้วย บริษัทประกันภัยจึงมีการกำหนด ให้มี “ความรับผิดส่วนแรก” กล่าวคือ ให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบในจำนวนเงินส่วนแรกของค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น และบริษัทรับผิดชอบในส่วนที่เกินจากการรับผิดส่วนแรกของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยเพิ่มความระมัดระวังมิให้เกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งการกำหนดความรับผิดส่วนแรกย่อมมีผลให้อัตราเบี้ยประกันภัยลดลง

สาเหตุของความเสียหายที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
เนื่องจากความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนี้มีความคุ้มครองลักษณะกว้างดังนั้นผู้เอาประกันภัยจึงควรศึกษาข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการรักษาสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1) ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
      1.1) ความผิดพลาดหรือความบกพร่องในการออกแบบ การใช้วัสดุ หรือฝีมือแรงงาน
      1.2) การเสื่อมสภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
      1.3) การหยุดชะงักของระบบการจ่ายน้ำ ก๊าซ กระแสไฟฟ้า เชื้อเพลิง ระบบการกำจัดของเสีย
      1.4) การพังทลายหรือการแตกร้าวของอาคาร
      1.5) การกัดกร่อนหรือการผุกร่อน สนิม การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น ความแห้ง การบูดเน่าขึ้นรา หดตัว ระเหย สูญเสียน้ำหนัก มลภาวะ การปนเปื้อน การเปลี่ยนสี รส กลิ่น การกัดแทะของแมลงหรือสัตว์
      1.6) การลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังอย่างรุนแรงทำให้เกิดร่องรอยความเสียหายต่อตัวอาคาร
      1.7) การฉ้อโกงหรือไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
      1.8) การสูญเสีย หรือการขาดหายโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งพบเมื่อตรวจสอบ
      1.9) การร้าว แตก ยุบแฟบ ของหม้อกำเนินไอน้ำ ถังอัดความดัน
      1.10) การชำรุดเสียหายหรือขัดข้องของระบบกลไกหรือระบบไฟฟ้าของเครื่องจักร
      1.11) การเอ่อล้น การปล่อย การรั่ว การแตกของถังเก็บน้ำ หรืออุปกรณ์ หรือท่อในขณะที่สถานที่นั้นถูกทิ้งร้างไม่ใช้งาน
      1.12) การพังทลาย การเซาะของชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำลำคลอง
      1.13) การยุบตัว การโก่งตัว หรือการเคลื่อนตัวของพื้นดิน
      1.14) การทรุดตัวตามปกติของสิ่งปลูกสร้าง
      1.15) ลม ฝน ลูกเห็บ น้ำค้างแข็ง หิมะ น้ำท่วม ทรายหรือฝุ่น ซึ่งทำความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินที่อยู่กลางแจ้งหรือเก็บอยู่ในอาคารโปร่ง หรือต่อรั้ง ประตูรั้ว
      1.16) การแข็งตัวจากความเย็น หรือการแข็งตัว หรือการรั่วไหลของวัตถุหลอมละลาย
2) ความเสียหายอันมีสาเหตุมาจาก
      2.1) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
      2.2) การหยุดทำงาน การล่าช้า การสูญเสียตลาด หรือความเสียหายต่อเนื่อง
3) ความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้
      3.1) สงคราม การรุกราน การกระทำของศัตรูต่างชาติ การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์หรือการปฏิบัติการเยี่ยงสงคราม สงครามการเมือง
      3.2) การก่อความไม่สงบของประชาชนถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล การกบฏ การปฏิวัติ การยึดอำนาจ การปกครองโดยทหาร
      3.3) การก่อการร้าย โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการผู้ก่อการร้ายเพื่อผลทางการเมืองและสร้างความหวาดกลัวแก่สาธารณชน ข้อยกเว้นนี้ ไม่ใช้บังคับกรณีความเสียหายอันเกิดจากอัคคีภัย
      3.4) การสูญเสียการครอบครองเนื่องจากการถูกยึดทรัพย์ การโอนทรัพย์สินเป็นขอรัฐ การเวนคืนการเรียกเอาโดยคำสั่งโดยชอบตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่
      3.5) การสูญเสียการครอบครองอาคารจากการเข้าครอบครองที่มีชอบด้วยกฎหมาย
      3.6) การทำลายทรัพย์สินโดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามกฎหมาย
4) ความเสียหายอันสืบเนืองจาก
      4.1) อาวุธนิวเคลียร์
      4.2) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสี การตกตัวของประจุ การแผ่รังสี
5) การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองทรัพย์สินดังต่อไปนี้
      5.1) เงินตรา เช็ค แสตมป์ พันธบัตร บัตรเครดิต หลักทรัพย์ เพชรพลอย อัญมณี โลหะมีค่า ทอง ขนสัตว์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุหายาก เว้นแต่ระบุไว้ให้คุ้มครอง
      5.2) กระจก หรือกระจกที่ติดตั้งถาวร
      5.3) เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบดินเผา หินอ่อน หรือวัตถุอื่นที่เปราะหรือแตกง่าย
      5.4) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล
    ข้อยกเว้น 1-4 จะไม่นำมาบังคับสำหรับความเสียหายอันเกิดจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด อากาศยาน จลาจล นัดหยุดงาน การกระทำด้วยเจตนาร้าย ภัยยานพาหนะหรือสัตว์ ภัยแผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม ภัยเนื่องจากน้ำ
      5.5) ทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลของผู้เอาประกันภัย
      5.6) ยานพาหนะที่จดทะเบียนสำหรับใช้บนถนน
      5.7) ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่ง ซึ่งมิใช่เป็นการเคลื่อนย้ายภายในสถานที่ตั้งหรือเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่ระบุในตารางกรมธรรม์ฯ
      5.8) ทรัพย์สินหือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในระหว่างการรื้อถอน การก่อสร้างหรือการติดตั้งรวมทั้งวัตถุหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องนั้น
      5.9) ที่ดิน ทางสัญจร ทางเท้า ถนน ลานบิน รางรถไฟ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลอง บ่อน้ำ ท่อส่ง อุโมงค์ สะพาน อู่เรือ ท่าจอดเรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในเหมือง ใต้ดิน หรืออยู่นอกชายฝั่ง
      5.10) ปศุสัตว์ พืชไร่ หรือต้นไม้
      5.11) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการผลิต
      5.12) เครื่องจักรในระหว่างการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย หรือการเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง
      5.13) ทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซ่อมแซม ทดลอง การติดตั้งซ่อมบำรุงแต่ยังคงคุ้มครองต่อความเสียหายตามมาหากความเสียหายนั้นเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครอง
      5.14) ทรัพย์สินที่ได้มีการเอาประกันภัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
      5.15) ทรัพย์สินที่เสียหายที่สามารถเรียกร้องได้จากกรมธรรม์ฯ ทางทะเลและขนส่ง เว้นแต่ความเสียหายส่วนเกินซึ่งไม่ได้รับจากกรมธรรม์ฯ ทางทะเลและขนส่ง
      5.16) ความเสียหายของหม้อกำเนิดไอน้ำ อุปกรณ์หรือท่อประหยัดเชื้อเพลิง กังหันไอน้ำ เครื่องจักรอุปกรณ์ อันเกิดจากการระเบิด หรือแตกร้าวของตัวเอง
 

PL : การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อสาธารณชน เป็นการประกันภัยที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน โรงงาน เป็นต้น โดยที่ความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัย ต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุภายในสถานที่ประกอบการ หรือเกิดขึ้นจากสถานที่ประกอบการของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยซึ่งทำงานประจำ ณ สถานประกอบการ ในขณะที่ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ประกอบการ

ข้อตกลงคุ้มครอง
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัยให้แก่บุคคลภายนอกที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย สำหรับ
    1. จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายที่จะชดใช้เป็นค่าเสียหายสำหรับ
      1.1 การเสียชีวิตหรือความบาดเจ็บต่อร่างกายหรือความเจ็บป่วยของบุคคลใดๆนอกจาก
        1.1.1 ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างทางการที่จ้าง หรือบุคคลผู้ซึ่งในขณะเกิดอุบัติเหตุอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้างหรือการ ฝึกงาน
        1.1.2 บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับกิจการของผู้เอาประกันภัยดังระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
      1.2 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆนอกจาก
        1.2.1 ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของหรือครอบครอง หรืออยู่ในความดูแลหรือควบคุม หรือกำลังใช้ หรือกำลังปฏิบัติงานโดยผู้เอาประกันภัย
        1.2.2 ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัย ดูแล ควบคุม กำลังใช้ หรือกำลังปฏิบัติงาน เพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง
    ความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุอันเกี่ยวกับกิจการหรือ
ธุรกิจของผู้เอาประกันภัยภายใต้ขอบเขตของการเสี่ยงภัยที่เอาประกันภัยไว้ และเกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ณ อาณาเขตการคุ้มครอง ซึ่งระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย  
    2. จำนวนเงินอันเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ประกันภัยฉบับนี้สำหรับ
      2.1 ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้ให้กับ ผู้เรียกร้อง
      2.2 ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้จ่ายไปด้วยความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร จากบริษัท
    ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เอาประกันภัย ภายใต้บังคับเงื่อนไข ความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และเอกสารแนบท้ายแห่งกรมธรรม์ประกันภัยนี้ สำหรับความรับผิดซึ่งผู้เอาประกันภัยก่อไว้ แต่ผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องปฏิบัติครบถ้วนตาม และอยู่ภายใต้บังคับแห่งสัญญาประกันภัยนี้เท่าที่จะใช้บังคับได้เสมือนว่าตนเป็นผู้เอาประกันภัย
    ข้อยกเว้น
    การประกันภัยในหมวดนี้ไม่คุ้มครอง
    1. ความรับผิดส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเองตามที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
    2. ความรับผิดใดๆที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาหรือขบวนการยุติธรรม ซึ่งมิใช่ศาลไทยหรือที่เกิดขึ้น หรือสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลไทย เพื่อบังคับคดีให้ตัดสินนอกอาณาเขตราชอาณาจักรไทย
    3. ความรับผิดซึ่งเกิดจากการเป็นเจ้าของ การครอบครอง การดูแล การควบคุม การใช้ หรือการให้สัญญาหรือการชี้แนะโดยผู้เอาประกันภัย หรือในนามของผู้เอาประกันภัยสำหรับยานพาหนะทุกชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (รวมทั้งเครื่องจักรหรือยานใดๆที่ดันหรือลากโดยเครื่องยนต์)
    4. ความรับผิดใดๆซึ่งเกิดจาก หรือสืบเนื่องจาก
      4.1 การที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ ครอบครอง หรือใช้ หรือบำรุงรักษา เครื่องชักรอก ปั้นจั่น บันไดเลื่อน หม้อน้ำที่ใช้กำลังไอน้ำ หรือภาชนะอัดความดันไอน้ำ ท่าเทียบเรือ สะพานเทียบเรือ
      4.2 งานก่อสร้าง งานต่อเติม หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ
      4.3 สินค้าหรือสิ่งของใดๆซึ่งผลิต ขาย จัดหา ซ่อมแซม บริการ หรือดำเนินการโดยผู้เอาประกันภัยหรือผู้กระทำการแทนผู้เอาประกันภัย
    5. ความรับผิดใดๆอันเกิดจากหรือสืบเนื่องจากหรือเป็นผลมาจาก แผ่นดินทรุด หรือการเคลื่อนย้ายสิ่งค้ำจุนหรือทำให้สิ่งค้ำจุนอ่อนกำลังลง
    6. ความรับผิดซึ่งเกิดจากสัญญาที่ผู้เอาประกันภัยทำขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีสัญญาดังกล่าว ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยจะไม่ เกิดขึ้น
    7. ความรับผิด ซึ่งเกิดจาก
      7.1 คำแนะนำหรือบริการทางเทคนิคหรือวิชาชีพใดๆ โดยผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ทำแทนผู้เอาประกันภัย
      7.2 การที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ทำแทนผู้เอาประกันภัยในการรักษา เว้นแต่การปฐมพยาบาล
    8. การปรับทางแพ่ง อาญา หรือโดยสัญญา
    9. ความรับผิดไม่ว่าลักษณะใดๆ อันเกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องมาจาก หรือเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจาก
    หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นอย่างไร
    การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกมีหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้
    1. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย นั่นหมายถึง บริษัทประกันภัยสามารถที่จะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายได้โดยตรง แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับผู้เสียหายก็ตาม
    2. สาเหตุที่เกิดความรับผิดซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกนั้น จะต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและไม่ได้คาดคิดมาก่อน เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนา แต่เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
    3. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย หรือบุคคลภายนอกเฉพาะจำนวนเงินที่ ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายเท่านั้น ถ้าเป็นความรับผิดอย่างอื่นที่ไม่มีกฎหมายรองรับ บริษัทประกันภัยก็ไม่มีความผูกพันจะต้องจ่ายา
    4. บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ไม่ใช่เป็นบุคคลใน ครอบครัว หรือบุคคลที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับกิจการของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างทางการที่จ้าง หรือบุคคลผู้ซึ่งในขณะเกิดอุบัติเหตุอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงาน
    5. บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือเรียกว่า“จำนวนเงินจำกัดความรับผิด”
    เบี้ยประกันภัยคิดอย่างไร
    อัตราเบี้ยประกันภัยเป็นช่วง ระหว่าง 0.01% – 5.0% ต่อปี ของจำนวนเงินจำกัดความรับผิด เช่น จำนวนเงินจำกัดความรับผิด 100,000 บาทจะเสียเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 10 – 5,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละภัย

ประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน

ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดันอันเนื่อง จากการระเบิดและการยุบแฟบ รวมถึงความสูญเสียหรือเสียหายต่อการบาดเจ็บ
หรือเสียชีวิตและความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่อาจเกิดขึ้น จากการระเบิดนั้น
เหมาะสำหรับ เจ้าของกิจการที่ต้องใช้หม้อน้ำและถังอัดความดันในกระบวนการผลิต
ทรัพย์สินที่เอาประกัน/วัตถุที่เอาประกัน หม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน
ความคุ้มครอง คุ้มครองหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดันอันเนื่องจากการระเบิดและการยุบแฟบ
คุ้มครองการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

ความคุ้มครอง
– ความเสียหาย (เว้นที่เกิดจากอัคคีภัย) อันเกิดแก่หม้อกำเนิดไอน้ำหรือถังอัดความดัน ซึ่งระบุไว้ในตารางในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ และทรัพย์สินอื่นของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นของผู้เอาประกันภัยและผู้เอาประกันจะต้องรับผิดตามกฎหมาย
– ความรับผิดตามกฏหมายของผู้เอาประกันภัย ต่อความบาดเจ็บ หรือการเสียชีวิตอันเกิดแก่บุคคลใดๆ ซึ่งมิใช่ลูกจ้าง คนงาน หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายหรือความบาดเจ็บ หรือการเสียชีวิตดังกล่าวข้างต้น เฉพาะเกิดขึ้นจากการระเบิดหรือการยุบแฟบของหม้อกำเนิดไอน้ำ หรือถังอัดความดันl ซึ่งระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันนี้ในขณะที่หม้อกำเนิดไอน้ำหรือ ถังอัดความดันกำลังทำงานอยู่ตามปกติ

ความคุ้มครองหลัก
บริษัทฯจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ภายใต้บังคับแห่งข้อตกลงคุ้มครอง ข้อยกเว้น คำจำกัดความ และเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งแจ้งอยู่หรือได้สลักหลังไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ สำหรับ
– ความเสียหาย (เว้นแต่ที่เกิดจากอัคคีภัย) อันเกิดแก่หม้อกำเนิดไอน้ำ หรือถังอัดความดัน ซึ่งระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ และทรัพย์สินอื่นของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นของผู้เอาประกัน และผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย
– ความรับผิดชอบตามกฎหมายผู้เอาประกันภัย ต่อความบาดเจ็บหรือ การเสียชีวิตอันเกิดแก่บุคคลใด ๆซึ่งมิใช่ลูกจ้าง คนงาน หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย
– ความเสียหายหรือความบาดเจ็บ หรือการเสียชีวิตดังกล่าวข้างต้น เฉพาะเกิดขึ้นจากการระเบิดหรือการยุบแฟบของหม้อกำเนินไอน้ำ หรือถังอัดความดันซึ่งระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยนี้ในขณะที่หม้อกำเนิดไอน้ำหรือถังอัดความดันกำลังทำงานอยู่ตามปกติ

ทั้งนี้ความรับผิดชอบทั้งสิ้นของบริษัทเกี่ยวกับหม้อกำเนิดไอน้ำหม้อใดหม้อหนึ่ง หรือถังบรรจุความดันถังใดถังหนึ่งภายในระยะเวลาประกันภัย จะต้องไม่เกินกว่าจำนวนเงินเอาประกันที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

กรณีผู้เอาประกันภัยต้องต่อสู้คดีในศาล โดยบริษัทฯได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ บริษัทจะออกค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีบรรดาผู้เอาประกันภัยอาจต้องรับผิดตามกฎหมาย

การจ่ายสินไหมจะเป็นอย่างไร?

กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) ทุนประกันภัย 379,320,000 บาท
คุ้มครองตัวทรัพย์สินของต้นเพลิงเอง ไม่ได้ไปคุ้มครอง ทรัพย์สินคนอื่น
ถ้าบ้านข้างๆพังเสียหายก็ต้องไปเรียกค่าเสียหายกับผู้ก่อเหตุ และแม้คุณจะมีประกันอัคคีภัยบ้าน ซึ่งหากเป็นภัยมาตรฐานก็ไม่ได้คุ้มครองกรณีดังกล่าวอีกด้วย เพราะ อัคคีภัยบ้านของคุณก็คุ้มครองกรณีบ้านคุณเกิดไฟไหม้เอง
รถยนต์คุณเสียหาย ก็ใช้ประกันรถที่ซื้อไว้ แต่ต้องเป็นประกันชั้นหนึ่งเท่านั้น แล้วประกันของคุณจะไปไล่เบี้ยกับคู่กรณีต่อไป

กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (PL) ทุนประกันภัย 20,000,000 บาท
ต้องดูในกรมธรรม์เขียนไว้อย่างไร

กรมธรรม์ประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและ ถังอัดความดัน ทุนประกันภัย 21,584,989 บาท




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow