INSURANCETHAI.NET
Tue 17/09/2024 22:14:57
Home » Uncategorized » SCB ขายธุรกิจประกันชีวิตให้ FWD 92,700 ล้านบาท\"you

SCB ขายธุรกิจประกันชีวิตให้ FWD 92,700 ล้านบาท

2019/12/18 1378👁️‍🗨️

Deal ธุรกิจประกันชีวิตใหญ่ที่สุดใน SEA
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ( SCB ) รายงาน กลต. เรื่องขายหุ้นกิจการ SCB Life ให้แก่ FWD มูลค่าประมาณ 92,700 ล้านบาท หรือ 3,000 ล้านเหรียญ พร้อมประกาศความร่วมมือระหว่างกันเพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตในระยะยาว นับเป็น Deal ด้านประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ FWD เผยว่าการซื้อกิจการ SCB Life สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มูลค่าธุรกิจประกันชีวิตของ SCB Life 92,700 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของมูลค่าธุรกิจทั้งหมดของ SCB ที่ 473,675 ล้านบาท

ธนาคารและไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจะเข้าทำสัญญาจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคารระยะยาว (Distribution Agreement) เพื่อสร้างความร่วมมือทางธุรกิจในธุรกิจประกันชีวิต โดยธนาคารจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของ FWD แก่ลูกค้าในประเทศไทยผ่านช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ ของธนาคารเป็นเวลา 15 ปี ตามข้อกำหนดในสัญญาจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคารระยะยาว

FWD Group

FWD Group เป็นกลุ่มบริษัท ที่ก่อตั้งในปี 2013 เป็นบริษัทประกันภัยของ Pacific Century Group ซึ่ง Richard Li นักธุรกิจใหญ่ของฮ่องกงเป็นผู้ก่อตั้ง ปี 2012 กลุ่ม Pacific Century Group ได้ซื้อกิจการประกันชีวิตของ ING ทั่วเอเชีย ด้วยมูลค่า 64,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 5ล้านรายในเอเชีย มีตัวแทนขายประกัน 18,000 ราย เวลาที่ผ่านมาใช้เงินซื้อกิจการไปแล้วกว่า 360 ล้านเหรียญ หรือ 11,000 บาท

FWD มีจุดแข็งด้านเครื่องมือและแพลตฟอร์มดิจิทัล ในการพัฒนาสินค้าประกันชีวิต เพื่อนำเสนอให้กับผู้บริโภคตามความสนใจและสร้างความพอใจให้ลูกค้า

FWD Group มีเครือข่ายธุรกิจประกันภัยในฮ่องกง มาเก๊า ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และมาเลเซีย มุ่งสร้างเน็ตเวิร์คธุรกิจครอบคลุมเอเชีย FWD สร้างฐานลูกค้ากว่า 5 ล้านรายภายใน 5 ปี ประเทศไทยมีลูกค้า 2.2 ล้านราย

https://www.scblife.co.th/completion

ก่อนหน้านั้นจะพบว่า ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต มีการเปลียนชื่อไปมาหลายรอบ เช่น ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ แล้วสุดท้ายเปลี่ยนกลับมา เป็นไทยพาณิชย์ประกันชีวิตเหมือนเดิม และ ท้ายที่สุด ก็ขายกิจการให้กับ FWD ไป ด้วยมูลค่า 92,700 ล้านบาท และเป็นคู่ค้ากับ FWD ลักษณะ Bancassuance ซึ่งก็คือ การให้ขายประกันของ FWD นั่นเอง

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (“SCB”) รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ว่า ธนาคารได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นซึ่งมีผลผูกพันเพื่อการขายหุ้นที่ธนาคารถืออยู่ทั้งหมดในบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“SCB Life”) ให้แก่กลุ่มเอฟดับบลิวดี (FWD Group Financial Services Pte. Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านประกันชีวิตในเอเชีย โดยภายหลังการซื้อขายหุ้นดังกล่าวแล้วเสร็จ ธนาคารและ SCB Life จะเข้าทำสัญญาจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคารระยะยาว โดยการเข้าทำรายการครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือด้านประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์

ธนาคารจะเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของเอฟดับบลิวดี ให้แก่ลูกค้าของธนาคารผ่านช่องทางจัดจำหน่ายต่าง ๆ ของธนาคารเป็นเวลา 15 ปี โดยภายใต้ข้อกำหนดของสัญญา ธนาคารจะได้รับค่าตอบแทนทั้งหมดเป็นจำนวน 9.27 หมื่นล้านบาท ธนาคารจะยังได้รับค่าตอบแทนสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตตลอดช่วงระยะเวลาความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคาร

ลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ของ SCB Life จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ลูกค้าจะยังคงได้รับผลประโยชน์ ความคุ้มครอง รวมถึงบริการอย่างต่อเนื่องดังที่กำหนดในกรมธรรม์ อีกทั้งกรมธรรม์ของ SCB Life จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดย FWD

ธนาคารไทยพาณิชย์ ขายหุ้นที่ธนาคารถืออยู่ทั้งหมดในบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (SCB Life) ให้แก่กลุ่มเอฟดับบลิวดี (FWD Group Financial Services Pte. Ltd.) 

โดยภายหลังการซื้อขายหุ้นดังกล่าวแล้วเสร็จ ธนาคารไทยพาณิชย์จะเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของเอฟดับบลิวดีให้แก่ลูกค้าของธนาคารผ่านช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ ของธนาคารเป็นเวลา 15 ปี

ดีลนี้ธนาคารไทยพาณิชย์จะได้รับค่าตอบแทนทั้งหมด 9.27 หมื่นล้านบาท รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตตลอดช่วงระยะเวลาความร่วมมือ

ลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ของ SCB Life อยู่จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

ธนาคารได้รับเงินทั้งสิ้น 9.27 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดกําไรจากธุรกรรม การขาย (หลังหักภาษี) จํานวน 1.1 หมื่นล้านบาทโดยประมาณ

ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ของบริษัทประกันชีวิตแต่ละแห่ง
BBL ถือหุ้น กรุงเทพประกันชีวิต
KBank ถือหุ้น เมืองไทยประกันชีวิต
KTB ถือหุ้น กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต
TBank ถือหุ้น ธนชาตประกันชีวิต
SCB ถือหุ้น ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต

กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ขายตามธนาคารเรียกว่า Bancassurance หรือ ก็คือ ธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้ขายประกันชีวิตประเภท “นายหน้าประกันชีวิต” และ จนท ธนาคารก็จมี บัตรนายหน้าประกันชีวิตด้วย (ไม่ใช่ บัตรตัวแทนประกันชีวิต) ธนาคารจึงเป็นเพียงผู้ขาย ไม่ได้มีส่วนผูกพันธ์ทางกฎหมายในรายละเอียดกรมธรรม์ ในกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ซื้อกับธนาคาร (Bancassurance) ระบุว่า “เงื่อนไขในการให้บริการประกันภัย/ประกันชีวิต ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันชีวิต……”

การควบรวมบริษัทประกันชีวิตในไทย
– ING ประกันชีวิต ควบรวมกับ FWD ประกันชีวิต
– ประกันชีวิตนครหลวงไทย ที่เปลี่ยนชื่อ/ผู้ถือหุ้นเป็น MBK ไลฟ์ประกันชีวิต
– ไทยพาณิชย์นิวยอร์กไลฟ์ประกันชีวิต ถูกไทยพาณิชย์ซื้อ และควบรวมเป็น ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต
– FWD ประกันชีวิต ซื้อ SCB Life

ไม่เพียงแต่บริษัทประกันชีวิต จะมีการควบรวมกันเท่านั้น บริษัทประกันวินาศภัย ก็มีการควบรวมกิจการด้วยเช่นกัน

จะว่าไปแล้ว SCB ขายทิ้งธุรกิจประกันชีวิต ให้ FWD แล้วถือเงินแสนล้าน รับมือ ดิจิทัล ดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีแผน “SCB Transformation” รับมือ Digital Disruption มาตั้งแต่ปี 2017 ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจธนาคารที่รุนแรงทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ช่องทางที่ง่ายสะดวกอย่างเช่น internet แทน) การทำธุรกิจจึงต้องโฟกัสไปที่ Core Business และตัดทิ้งสิ่งที่ไม่ถนัด

SCB มีสาขาธนาคารกว่า 1,000 สาขา เป็นช่องทางขาย ฐานลูกค้า 16 ล้านคน แต่ไม่เก่งเรื่องออกสินค้าประกันชีวิต

กระบวนการซื้อขายธุรกิจ จะแล้วเสร็จในปี 2562 โดยไม่ส่งผลต่อทีมผู้บริหาร พนักงาน รวมไปถึงลูกค้าของ SCB Life ที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ราว 2 ล้านราย ซึ่ง FWD จะเข้ามาดูแลต่อเนื่อง

Digital Disruption คือ การเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีดิจิทัล มีผลทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยนวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ มีผลกระทบกับธุรกิจเดิมอย่างรุนแรง

เช่น บริการ Taxi หรือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้บริโภค เปลี่ยนมาใช้ Grab เพราะ สะดวกสะบายบริการดีตรงไปตรงมา มีโปรโมชั่น ส่วนลดค่าใช้บริการ รวมไปถึงส่วนลดที่ทำร่วมกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ ทำให้กระทบกับผู้ใช้บริการในรูปแบบเดิม ถึงขนาดต้องไปรวมตัวประท้วง บริษัท Grab กันเลย

เรามิอาจปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลง Digital เป็นเพียงปัจจัยใหม่ๆที่เกิดขึ้นมา หากเรายังคงต้องหมุนตามโลก สิ่งที่ต้องทำคือเรียนรู้ ในการอยู่ร่วมกับมัน ปรับเปลี่ยนให้เข้ากัน แล้วหาช่องว่างของโอกาสต่อไป

2018 SCB Life กำไร 5,000 ล้านบาท 11% ของกำไร SCB จาก 40,000 ล้านบาท ธุรกิจประกันชีวิต หรือ ธุรกิจต่างๆ ต้องลงทุนพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ นอกจากนี้ยังต้องนำเงินที่ได้จากเบี้ยประกัน มาบริหารการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการมีเครือข่ายอยู่ในหลายประเทศของ FWD จะบริหารการเงินและกระจายการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

ส่วนเงินที่ได้จากการขยายหุ้น SCB Life จะทำให้ SCB มีศักยภาพลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจของธนาคารมากขึ้น โดยกำลังศึกษาลงทุนแพลตฟอร์ม Digital Lending การปล่อยสินเชื่อออนไลน์ให้กับบุคคลทั่วไป ทั้งรูปแบบซื้อกิจการทั้งหมดและร่วมลงทุน รวมทั้งแพลตฟอร์มการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งมีพาร์ตเนอร์จากจีนให้ความสนใจลงทุนร่วมกัน

ในการขายกิจการของ SCB ในครั้งนี้ มีลูกค้าประกันชีวิตบางรายไม่เห็นด้วย เพราะกังวลเรื่องการลดมาตรฐานบริการที่ตนได้รับ แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ ในระดับ ผู้ถือหุ้นเองก็มีมติเห็นด้วยไม่เต็ม 100% คือ เห็นด้วย 94.15% และไม่เห็นด้วย 5.80% และนั่นก็เป็นวิถีของธุรกิจ หลังการขายหุ้นดังกล่าว SCB Life จะไม่ได้เป็นบริษัทย่อยของธนาคารอีกต่อไป

ในปี 2557 ธนาคารไทยพาณิชย์ซื้อกิจการ SCB Life ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมูลค่ากิจการของ SCB Life ขณะนั้นอยู่ที่ 75,145 ล้านบาท ก่อนที่จะขายให้กลุ่มเอฟดับบลิวดี

ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทยเมื่อปี 2561
SCB Life เบี้ยประกันชีวิตรับรวม 50,910 ล้านบาท
อันดับ 5 ของอุตสาหกรรมจากส่วนแบ่งการตลาด (Market share) 8.11%

FWD เบี้ยประกันชีวิตรับรวม 28,045 ล้านบาท
อันดับ 8 Market share 4.47%

คาดการณ์เมื่อรวมแล้วจะมีเบี้ยรวม 80,000 ล้าน ขึ้นมาอยู่อันดับ 4




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow