INSURANCETHAI.NET
Sun 28/04/2024 4:43:56
Home » บางกอกสหประกันภัย ประกันอัคคีภัย(สินค้า) » ประกันอัคคีภัย – บางกอกสหประกันภัย\"you

ประกันอัคคีภัย – บางกอกสหประกันภัย

2011/03/18 1037👁️‍🗨️

ประกันอัคคีภัย – บางกอกสหประกันภัย

การประกันอัคคีภัย เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น อาคารสิ่งปลูกสร้าง, สต๊อคสินค้า และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ที่ต้องสูญเสียหรือเสียหาย เนื่องจากเพลิงไหม้ หรือฟ้าผ่า หรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยในระหว่างระยะเวลาที่ได้เอาประกันภัยไว้ โดยบริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามราคาเสียหายที่แท้จริงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ ในขณะเกิดการสูญเสียหรือเสียหายแต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันไว้

นอกจากการให้ความคุ้มครองจากภัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยยังสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากภัยดังต่อไปนี้ได้ด้วย เช่น ภัยแผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม และภัยพายุ เป็นต้น

การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)

“อัคคีภัย” เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่นอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ หรือความประมาท อันนำมาซึ่งความสูญเสีย แก่ทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินอันมีค่าของท่าน

จากที่ได้มีการสำรวจถึงสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย พบว่าสาเหตุอันดับหนึ่งนั้นเกิดจากความประมาท โดยจะเกิดเหตุกับอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และร้านค้า ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูง ดังนั้น การทำ “ประกันอัคคีภัย” จะทำให้ท่านได้รับความคุ้มครองความสูญเสีย หรือ เสียหายที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการเพิ่มความอุ่นใจ และทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 กรมการประกันภัย ยังได้ประกาศใช้กรมธรรม์อัคคีภัยฉบับใหม่ที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะกับที่อยู่อาศัย เรียกว่า “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย” (Household Policy) ซึ่งกรมธรรม์ฉบับนี้จะได้รับการปรับปรุง ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้รับประโยชน์ จากการทำประกันอัคคีภัยอย่างเหมาะสม และเป็นธรรมมากขึ้น โดยมีความคุ้มครองเพิ่มเติม จากกรมธรรม์อัคคีภัยปกติ

ผู้มีสิทธิทำประกันอัคคีภัย
เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์มีผลประโยชน์ และส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัย
* สิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย หมายถึง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต คอนโดมีเนียม

ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันได้
* ตัวอาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน)
* เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ตรึงตรา
* ทรัพย์สินที่อยู่ในตัวอาคารนั้นๆ

ทรัพย์สินที่ไม่รวมอยู่ในการประกันภัย (เว้นแต่ได้ระบุในกรมธรรม์โดยชัดเจน)
* สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัย ในฐานะผู้ดูแลรักษา
* เงินแท่ง หรือทองแท่ง อัญมณีที่มีค่า
* โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเกินกว่า 2,000 บาท (10,000 บาท สำหรับกรมธรรม์ที่อยู่อาศัย)
* ต้นฉบับเอกสาร แบบแปลน แผนผัง หรือ เอกสารสำคัญต่างๆ ไปรษณียากร อากรสแตมป์ เงินตรา ธนบัตร
* เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย เพราะเดินเครื่องเกินกำลัง วงจรลัด หรือไฟฟ้ารั่ว จนทำให้เกิดเพลิงไหม้
* วัตถุระเบิด

ภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐาน
ความคุ้มครอง | กรมธรรม์อัคคีภัยปกติ | กรมธรรม์อัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
# เพลิงไหม้ | คุ้มครอง |คุ้มครอง
# ฟ้าผ่า | คุ้มครองแต่ไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า | คุ้มครอง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อเครื่องไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า
# ภัยระเบิด | คุ้มครองเฉพาะการระเบิดของก๊าซที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย | –
# ภัยจากยานพาหนะ | ไม่คุ้มครอง | คุ้มครอง
# ภัยจากอากาศยาน | ไม่คุ้มครอง | คุ้มครอง
# ภัยจากน้ำ | ไม่คุ้มครอง | คุ้มครอง

ภัยพิเศษที่สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้
ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์มาตรฐานผู้เอาประกันภัย สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ดังนี้
* ภัยจากลมพายุ
* ภัยจากน้ำท่วม
* ภัยจราจล นัดหยุดงาน
* ภัยจากควัน
* ภัยแผ่นดินไหว

ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
* ภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่น ไฟป่า
* อาวุธนิวเคลียร์ และการแผ่รังสี
* ภัยสงคราม การรุกรานจากศัตรูต่างประเทศ หรือสงครามกลางเมือง
* การกบฎ ปฏิวัติ จลาจล ยึดอำนาจ

ปัจจัยในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย, BUI จะพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
* ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง
* ลักษณะการใช้สถานที่อยู่อาศัยเท่านั้น
* สถานที่ตั้งของทรัพย์สิน
* อุปกรณ์สำหรับการดับเพลิง
* สิ่งแวดล้อม

สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัย กำหนดจากมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่ต้องการเอาประกันภัย
การแจ้งขอทำประกันอัคคีภัย
ฝ่ายรับประกันภัย โทร 02-233-6920 โทรสาร 02-237-1856 Email : underwrite@bui.co.th

การแจ้งขอรับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
BUI จะพิจารณาจากความคุ้มครองในกรมธรรม์ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัย ตามความเสียหายที่แท้จริง ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่เอาประกันภัย
ฝ่ายสินไหมทดแทน โทร 02-233-6920 โทรสาร 02-237-1856 Email : claim@bui.co.th






คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow