INSURANCETHAI.NET
Sat 20/04/2024 19:27:11
Home » ข่าวประกันภัย » กฏหมายใหม่ติดดาบ คปภ.กำราบบริษัทแตกแถว/ตัวแทน-ลูกค้าขี้ฉ้อ (2555)\"you

กฏหมายใหม่ติดดาบ คปภ.กำราบบริษัทแตกแถว/ตัวแทน-ลูกค้าขี้ฉ้อ (2555)

2017/11/26 1242👁️‍🗨️

เกือบปีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ซุ่ม “ปฎิรูป”กฎหมายแม่บทประกันภัย 2 ฉบับคือพ.ร.บ. ประกันชีวิตและพ.ร.บ. ประกันวินาศภัยพ.ศ.2535 เพราะของเดิมล้าสมัย ไม่ทันต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมาก แม้ปี 2551 จะมีการแก้ไขไปบ้างแต่กรอบใหญ่ๆ ยังยึดของเดิม

โดยขอให้หน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของกฤษฎีกา เป็นผู้ยกร่างกฎหมาย ฉบับใหม่ให้รวบรวมจากข้อปัญหาต่างๆควบคู่ไปกับการศึกษากฎหมายจากต่างประเทศ

กฤษฎีกายกร่างพ.ร.บ.ใหม่เสร็จเพิ่มอำนาจ คปภ.แทรกแซง

“ตอนนี้กฤษฎีกาได้จัดทำร่างกฎหมายฉบับใหม่เสร็จแล้วพร้อมกับส่งมอบให้เราแล้ว การศึกษาของกฤษฎีกาดูจากหลายปัจจัยทั้งข้อหารือต่างๆ เรื่องประกันภัยที่มีการถามไปที่กฤษฎีกาให้ช่วยตีความให้ เช่น อำนาจของนายทะเบียน สำนักงานคปภ.มีแค่ไหนจะมีการเขียนให้ชัดเจนขึ้น “วิวัฒน์ เกิดไพบูลย์” รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ คปภ. กล่าวกับ “สยาม ธุรกิจ”

สาระสำคัญของร่างกฎหมายใหม่ ได้แก่ 1.ให้อำนาจหน่วยงานกำกับกำหนดคุณสมบัติและลักษณะที่เหมาะสมของคณะกรรมการบริษัท ผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท ผู้สอบบัญชี และนักคณิตศาสตร์ ประกันภัย 2.การกำกับดูแลบริษัทประกันภัย ตามความเสี่ยง 3.ธรรมาภิบาลในบริษัทประกันภัย (Good Corporate Governance) บริษัทต้อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งให้หน่วยงานกำกับมีอำนาจในการกำหนด หลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการของบริษัทเพิ่มเติมได้ 4.การกำกับดูแลแบบรวมกลุ่มนำการดำเนินการของบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มมาประเมินภาพรวมของความเสี่ยงด้วย 5.การปรับปรุงแก้ไขมาตรการบังคับทางกฎหมาย อำนาจสั่งการให้บริษัทแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานให้ชัดเจนขึ้นรวมทั้งสร้างมาตรการบังคับทางกฎหมายอื่นๆ ที่ใช้ในการกำกับดูแลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ นอกจากโทษปรับและหรือโทษจำคุก ซึ่งเป็นโทษทางอาญา เช่น โทษของกรรมการบริหาร เอ็ม ดี ที่ทำให้บริษัทเสียหายจะต้องมีการกำหนดบทลงโทษชัดเจนมากขึ้น

ล้อมคอกผู้เอาประกันตัวแทนขี้ฉ้อเพิ่มคุ้มครองผู้บริโภค/30มิ.ย.เฮียริ่ง

6.กองทุนประกันชีวิต/วินาศภัยเช่นเพิ่มอำนาจให้กองทุนกู้ยืม ออกตั๋วเงินเพื่อนำมาช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่กองทุนมีเงินไม่เพียงพอ เป็นต้น 7.การกำกับดูแลการฉ้อฉลโดยเฉพาะการ ฉ้อฉลของผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเพราะทำให้ผู้เอาประกันรายอื่นได้รับความเสียหายและ 8.การกำกับคนกลางประกันภัยซึ่งถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมาก ต้องมีการออกกฎเกณฑ์การกำกับดูแลป้องกัน ไม่ให้มีการทุจริต เช่น รับเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันแล้วไม่นำส่งบริษัทประกัน เป็นต้น

“ในเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเราเน้นมากเพิ่มการคุ้มครองให้เข้มข้นขึ้น เพราะภารกิจของเราคือการดูแลประชาชน นอกเหนือจากส่งเสริมธุรกิจ จะมีกฎหมาย ย่อยๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคออกมา เช่นที่ญี่ปุ่นเขาจะมีกฎให้ตัวแทน นายหน้าเปิดเผยข้อมูลค่าตอบแทนจากการขาย เช่น ค่าคอมมิสชั่น เงินรางวัลต่างๆให้ลูกค้ารู้ด้วยเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจซื้อประกันของเขา เขาจะได้รู้ว่าตัวแทนคนนี้ไม่ได้มุ่งหวังแต่หาลูกค้า ซึ่งกฎข้อนี้บ้านเรายังไม่มี การเปิดเผยข้อมูล ที่ว่านี้เฉพาะเมื่อลูกค้าถามเท่านั้น”

ส่วนการฟอกเงินจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกฎหมายฟอกเงินมากขึ้น ป้องกันผู้หวังมาใช้ประโยชน์จากประกันภัย เช่น มาซื้อประกันภัยทุนประกันสูงต้องแสดงตัวตน แหล่งที่มาของเงินละเอียดมากขึ้น “วิวัฒน์” กล่าวว่า ในวันที่ 30 มิถุนายน คปภ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับโดยจะเชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่ อาทิ บริษัทประกันภัยนักวิชาการ หน่วยงานด้านผู้บริโภคเพื่อประมวลความคิดเห็นนำมาปรับปรุงต่อไปซึ่งในวันนั้นทางกฤษฎีกาที่เป็นคนจัดทำจะเป็นผู้ชี้แจงให้ฟังถึงที่มาที่ไปของร่างกฎหมายใหม่

“แนวความคิดในการจัดทำร่างกฎหมายใหม่ออกมารองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 อยู่แล้ว เพราะตามแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 ปี 2553-2557 พยายามจะผลักดันให้เสร็จก่อนปี 2557 แต่กระบวน การเสนอกฎหมายก็ขึ้นกับสภา การแก้ไข กฎหมายเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมประกันบ้านเรา”





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow