INSURANCETHAI.NET
Fri 26/04/2024 18:11:06
Home » อัพเดทประกันภัย » เมื่อประกันคุมราคา อย่างเข้มข้นจนเกินรับ ทำอย่างไร?\"you

เมื่อประกันคุมราคา อย่างเข้มข้นจนเกินรับ ทำอย่างไร?

2017/09/15 3674👁️‍🗨️

คุณอาจจะบุกไปที่บริษัทประกันภัยแห่งนั้น เพื่อคุยกับประกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่เข้าถึงตัวและก็ได้ผลมาแล้วสำหรับขาลุย แต่ปัจจุบันมีวิธีการที่เร็วและง่ายกว่านั้นมาก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ คุณเป็นฝ่ายถูก คู่กรณีมีประกัน และยอมรับผิด ชดใช้ให้ คุณจะมีสิทธิ์จะใช้บริการประกันของตัวเอง หรือ ประกันของคู่กรณีก็ได้

กรณีที่คุณใช้ประกันของตัวเอง

ปกติเมื่อคุณต้องเข้าอู่ซ่อม ในเครือ ประกันจะคุมราคาค่าซ่อม กับ อู่ในเครือ อู่ในเครือประกัน ที่รับงานของประกันก็ทำอะไรมากไม่ได้ บางแห่งเพียงแค่หวังไว้ว่าจะพอมีเหลือบ้าง อาศัยรายได้ กำไรจากลูกค้าที่หามาเอง เมื่ออู่มีชื่อเสียง มีงานมากขึ้น

ถ้าคุณไปเข้าซ่อมอู่นอกเครือบริษัทประกัน

อู่นอกเครือบริษัทประกัน คือ อู่ไม่ได้สังกัดบริษัทประกัน จึงไม่ต้องรับเงื่อนไขของประกัน กระนั้นก็ตามบริษัทประกันก็ยังคงคุมราคา บีบราคา สิ่งที่ตามมาจากเรื่องนี้คือ งานที่ออกมาอาจจะไม่ดีนัก เพราะ เมื่อค่าแรงต่ำลงคุณภาพอาจจะลดลงไป ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อะไหล่มือสอง หรือ ผ่านมาหลายมือแล้ว อาจจะมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากงบที่จำกัด คุณอาจจะได้ถังน้ำมันที่มีรอบขีดข่วน มีตำหนิ สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัย สำหรับการใช้งาน หรือ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำ จากงบที่ได้รับการอนุมัติที่จำกัด แม้ว่าปกติแล้วอู่ประกัน จะมีระยะเวลารับประกันการซ่อมให้คุณก็ตาม เช่น 6 เดือน เป็นต้น ยิ่งหากเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น ช่วงล่าง เกียร์ เบรค ฯลฯ ให้คุณพิจารณาให้รอบคอบ

1.หากอู่ไม่สามารถรับงานได้ ก็จะคุยกับประกันและลูกค้า แล้วเจรจากับบริษัทประกัน
2.ประกันอาจจะอนุมัติค่าซ่อมเพิ่มให้ เช่น  อู่แจ้งค่าซ่อมรวมอะไล่ 53,xxx ประกันให้ 20,300 เจรจาเพิ่มเติมได้เป็น 25,300
3. หากอู่และคุณไม่ตกลง บริษัทประกัน จะเสนอให้ซ่อมอู่ในเครือของประกัน ด้วยเหตุผลว่า สามารถซ่อมให้ได้ในราคานี้
4. หากคุณไม่รับเงื่อนไข สามารถทำเรื่องสละสิทธิ์ และใช้ประกันของคู่กรณีแทน และ เริ่มการคุมราคาโดยนับหนึ่งใหม่จากบริษัทประกันของคู่กรณี
5. หากคุณไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้ เหลือทางสุดท้ายคือ…… ร้องเรียนไปที่ คปภ

ร้องเรียนทางเว็บไซต์
https://www1.oic.or.th/th/OIC/OiC_request.php

หรือ เดินทางไปร้องเรียนด้วยตัวเอง

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร.0-2515-3999 โทรสาร.0-2515-3970 หรือ สายด่วนประกันภัย 1186

Office of Insurance Commission 22/79 Ratchadaphisek Rd., Chantharakasem, Chatuchak, Bangkok 10900
Tel.0-2515-3999 Fax.0-2515-3970

ในทุกขั้นตอนที่คุณพบเจอปัญหา สิ่งแรก คุณ ควรบอก ตัวแทน/นายหน้าให้ได้รับทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างน้อยคุณก็ได้รู้ว่า ตัวแทน/นายหน้าของคุณ ที่คุณใช้บริการ เขาคิดอย่างไร ทำอะไรให้คุณได้บ้าง หรือ แนะนำอะไรให้คุณ ใส่ใจคุณเพียงใด ซึ่งถ้าเขาเห็นด้วย เขาอาจจะร้องเรียนไปยังบริษัทฯ ช่วยเหลือคุณอีกทางหนึ่ง





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow