INSURANCETHAI.NET
Fri 26/04/2024 13:16:11
Home » Uncategorized » การเลิกกิจการประกันภัย ?\"you

การเลิกกิจการประกันภัย ?

2022/02/07 550👁️‍🗨️

บริษัทใดๆที่จดทะเบียนนิติบุคคลเป็นบริษัทเพื่อทำธุรกิจ หากจะยกเลิกกิจการจะต้องเคลียร์อะไรต่างๆให้เรียบร้อย ไม่ใช่นึกจะเลิกก็เลิกได้

การเลิกกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย มีข้อกำหนดและเงื่อนไขในทางกฎหมาย ที่ต้องได้รับการพิจารณาและรอคำสั่งเลิกกิจการได้จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก่อน

เงื่อนไขและการดำเนินการการเลิกกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย ตาม กฎหมาย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 57 และมาตรา 59

การบอกเลิกประกอบกิจการบริษัทประกันวินาศภัย

มาตรการเริ่มต้น : หากบริษัทประกันภัยใด มีฐานะการเงินไม่มั่นคงจากการดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน มีสภาพคล่องไม่เพียงพอต่อการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะนายทะเบียน ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) จะอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะและการดำเนินการตามที่นายทะเบียนกำหนด และให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

จากนั้น สำนักงาน คปภ. จะเข้าควบคุมธุรกรรมการเงินระหว่างที่มีคำสั่งให้บริษัทหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวและอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาตามคำสั่ง จะไม่มีการโยกย้ายทรัพย์สิน หรือมีการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน เมื่อให้ระยะเวลาบริษัทแก้ไขฐานะการเงินแล้ว หากไม่มีความพร้อมและความสามารถในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้

มาตรการสูงสุด : คณะกรรมการ คปภ. จะมีมติให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทประกันภัยนั้น ๆ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยแล้ว บอร์ด คปภ. ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่งตั้งให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายจากการปิดกิจการ

การควบคุมบริษัทประกันวินาศภัย มาตรา 57

สำหรับข้อกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องการยื่นคำขอเลิกกิจการเอง จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุม มาตรา 57 ระบุว่า “บริษัทใดประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือผู้มีส่วนได้เสีย ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ให้บริษัทต้องปฎิบัติให้แล้วเสร็จก่อนที่คณะกรรมการจะอนุญาตให้เลิกกิจการ”

1. วิธีจัดการหรือการโอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันอยู่

2. วิธีการบอกเล่าให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและผู้มีส่วนได้เสียทราบ และใช้สิทธิตามกฎหมาย

3. การโอนหรือการขอรับเงินสำรองตามมาตรา 23 (1) ที่บริษัทวางไว้กับนายทะเบีนย ตามมาตรา 24

4. การจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการประกันวินาศภัย และกิจการที่ไดัรับอนุญาตให้ดำเนินการตามมาตรา 28

5. ระยะเวลาการดำเนินการตามข้อ 1, 2, 3, 4

กรณีที่คณะกรรมการอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และบริษัทประสงค์จะเลิกบริษัท การเลิกบริษัทให้มีผลนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและให้มีการชำระบัญชี

กรณีที่ไม่ประสงค์จะเลิกบริษัท ให้บริษัทดำเนินการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิโดยเปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์ไม่ให้เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

เลิกกิจการประกันวินาศภัย มาตรา 59

การเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เป็นไปตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหากมีสาเหตุ 5 ข้อ ประกอบด้วย

1. มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินหรือมีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน

2. ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฏกระทรวง เงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด หรือประกาศที่ออกหรือกำหนดตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรี นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในเมื่ออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน

3. หยุดประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยไม่มีเหตุอันสมควร

4. ประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายหรือคืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจ่ายหรือคืนไปโดยไม่สุจริต

5. ถ้าประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไป จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow