INSURANCETHAI.NET
Sat 21/09/2024 2:58:39
Home » อัพเดทประกันภัย » ประมาทเลินเล่อ vs เหตุสุดวิสัย\"you

ประมาทเลินเล่อ vs เหตุสุดวิสัย

2017/06/18 4600👁️‍🗨️

ประมาทเลินเล่อ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีบทบัญญัติให้ความหมายของคำนี้เอาไว้ แต่ในมาตรา 59 วรรคสี่ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติเอาไว้ว่า การกระทำประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นแต่หาได้ใช้ไม่ และจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งปละพาณิชย์มาตรา 420 วรรค หนึ่ง จะโดยรวมความหมายของคำว่า

วิสัย หมายถึง สภาพเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ เช่น การเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หรือชั้นผู้น้อย เป็นเจ้าหน้าที่ธรรมดา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง และหมายรวมถึงระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นั้นด้วย เป็นต้น

พฤติการณ์ หมายถึง เหตุภายนอกหรือปัจจัยแวดล้อมตัวผู้กระทำ ซึ่งอาจมีผลต่อระดับความระมัดระวังและทำให้การใช้ความระมัดระวังของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป

ประมาทเลินเล่อ
การกระทำที่มิใช่จงใจ โดยเป็นการกระทำที่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวสัยและพฤติการณ์ ซึ่งผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้

เหตุสุดวิสัย

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญไม่มีบุคคลใดคาดหมายหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันไม่มีบุคคลใดป้องกันหรือลีกเหลี่ยงได้

มาตรา 8 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คำว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

จึงทำให้บุคคลที่ประสบเหตุสุดวิสัยย่อมไม่มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น

เหตุสุดวิสัย
ความเสียหายเกิดขึ้นแก่บุคคลใดก็ตาม บุคคลนั้นไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลอื่นได้

ประมาทเลินเล่อหรือกระทำละเมิด
เรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายต่างประมาทไม่หยิ่งหย่อนกว่ากัน หรือ ประมาทร่วมพอกัน

เหตุสุดวิสัย
วิ่งตัดหน้ารถยนต์กระชั้นชิด และเสียชีวิต ถือเป็นความประมาทของผู้ตายเอง ฎีกาที่ 2015/2520
ขับรถหลบรถที่ล้ำสวนทาง จึงชนรถที่จอดข้างทาง ฎีกาที่ 326 / 2522 เป็นต้น

ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
เบรคแตก ล้อหลุด ไม่รักษาซ่อมแซมรถ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัย ฎีกาที่ 2331/2520 เป็นต้น





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow