INSURANCETHAI.NET
Sun 28/04/2024 18:50:28
Home » ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ » การประกันภัยผู้ตรวจสอบอาคาร\"you

การประกันภัยผู้ตรวจสอบอาคาร

2017/11/18 3073👁️‍🗨️

การประกันภัยผู้ตรวจสอบอาคาร

คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของผู้ตรวจสอบอาคารที่ทำการตรวจสอบอาคารแล้วเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

การประกันภัยผู้ตรวจสอบอาคาร เหมาะกับ วิศวกรผู้ตรวจสอบอาคาร

ความคุ้มครองครอบคลุมอะไร?

บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัยสำหรับความรับผิดตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารอันเป็นผลมาจากความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัยณ อาณาเขตประเทศไทยและเป็นผลทำให้เกิดความสูญเสีย ดังนี้

1. ความสูญเสียต่อร่างกาย และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุขณะที่ผู้เอาประกันภัยทำการ
ตรวจสอบอาคาร

2. ความสูญเสียต่อร่างกาย และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของผู้เอาประกันภัยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร

อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยใด?

• ประเภทของผู้ตรวจสอบอาคาร (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล)
• จำนวนเงินจำกัดความรับผิด

ผู้ตรวจสอบอาคาร คือผู้ที่ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ตามที่กฏหมายกำหนด มีหน้าที่เข้าตรวจสอบอาคารที่ใช้งานมาแล้วเกินหนึ่งปี ตรวจไปเรื่อยๆทุกปีจนกว่าจะหยุดการใช้อาคารนั้น

ตรวจสอบเรื่อง
โครงสร้างอาคาร
ความปลอดภัยในการใช้อาคาร
การดัดแปลงต่อเติม
ระบบแจ้งเหตุเพลิงใหม้
ระบบดับเพลิง
ป้ายทางออกฉุกเฉิน
ทางหนีไฟ
ระบบไฟฟ้า
แผนบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ฯลฯ

เมื่อตรวจเสร็จจัดทำเป็นรายงาน การตรวจสอบอาคารให้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้อาคารนั้นๆ
หากผ่านก็ได้ใบรับรอง หากไม่ผ่าน เจ้าของตึกอาคารต้องปรับปรุงให้ผ่าน จนกว่าจะได้ใบรับรอง(ใบร.1)

การเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร
ผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบอาคารได้ ต้อง
– เป็นวิศวกร/สถาปนิก ที่มีใบประกอบวิชาชีพ
– ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบอาคารไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง
– จึงจะมีสิทธิ์สอบเพื่อวัดความรู้จากสภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิก
– ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารกับกรมโยธาธิการและผังเมือง
– ต้องมีการทำประกันวิชาชีพ เรียกว่า “ประกันภัยผู้ตรวจสอบอาคาร” (Insurance for building inspectors)

กฏหมายได้กำหนดลูกค้าไว้ ให้แล้วนั่นคือ อาคารต่างๆที่เข้าข่ายต้องทำการตรวจสอบอาคารตาม พรบ.ควบคุมอาคาร
ซึ่งมีทั้งหมด 9 ประเภท
1 อาคารสูง
2 อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
3 อาคาร ชุมชนคน
4 โรงมหรสพ
5 โรงแรม
6 อาคาร ชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม. 2000ตรม. ขึ้นไป(คอนโดกับอพาร์ทเมนท์นั่นแหระ)
7 อาคารโรงงาน
8 ป้ายโฆษณาใหญ่ๆ
9 สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

ค่าตรวจสอบอาคาร แล้วแต่ตกลงกันระหว่าง ผู้ตรวจกับเจ้าของตึกอาคาร แต่ก็มีราคาแนะนำจากสมาคมผู้ตรวจสอบให้เป็นแนวทางไว้เช่นกัน
ปัจุบันมีผู้ผ่านการขึ้นทะเบียน ประมาณ 3,000 คน แต่ต่อใบอนุญาตกันแค่ครึ่งเดียว และคาดว่าจะไปทำงานเป็นอาชีพกันเพียงหลักร้อย เพราะ เป็นการที่คนเดียวจะรู้ทั้งตึก ซ฿่งตอนทำงานก็ถูกแบ่งให้ทำงานเป็นเรื่องๆไป
– วิศวกรโยธา ดูโครงสร้าง
– สถาปนิก ดูงานสถาปัตย์
– วิศวะไฟฟ้า ดูไฟฟ้า
แต่ทว่างานตรวจสอบอาคาร นั้นต้องตรวจทั้งตึกอาคาร นั่นหมายความว่า ผู้ที่จะตรวจได้ อย่างน้อยต้องผ่านตำแหน่ง Project Manager มาจึงจะรู้ทุกระบบ ดังนั้นคนที่จะทำอาชีพนี้ ประสบการณ์สำคัญที่สุด สอบเพื่อให้ได้เป็น มันไม่ยากแต่เป็นให้ได้ดี มันก็ไม่ง่าย

การจะเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร จึงควรต้องเก่งทั้งงาน Design และงานหน้าSite เก็บประสบการณ์ให้รอบด้านครบถ้วน

เรื่องการทำสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องจัดส่งให้แก่คณะกรรมการควบคุมอาคารเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร (Insurance for building inspectors)

กรมธรรม์ประกันภัยจะต้องเป็นการประกันความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ขอขึ้นทะเบียนในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบ

ซึ่งค่าประกันภัยเริ่มต้นที่โดยประมาณ 6000 บาท ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัย และ ทุนประกันภัย ระยะเวลาในการคุ้มครอง 3ปี

– จำนวนเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทต่อครั้ง และไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาทต่อปี
– ระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า3ปี

ในกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบฯ ระบุว่า..

สัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องจัดส่งให้คณะกรรมการควบคุมอาคาร

  • มีจำนวนเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาทต่อครั้ง และไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาทต่อปี
  • มีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • ผู้ขอต่ออายุผู้ตรวจสอบต้องยื่นกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครอง 3 ปีหากใบอนุญาติเดิมมีเหลืออยู่อีก 1 ปี และยังไม่หมดสมมติ…ว่าถ้าคณะกรรมการควบคุมอาคารรับต่ออายุ ทีนี้ทางคณะกรรมการควบคุมอาคารก็ต้องคอยตรวจสอบอายุกรมธรรม์หากสิ้นสุดความคุ้มครองเมื่อใดก็ต้องเพิกถอนใบอนุญาตตามเงื่อนไขในข้อ 11(3) หากไม่เพิกถอนก็จะเข้าข่ายละเว้น (เนื่องจากกฎหมายให้สั่งให้เพิกถอน) ทีนี้มีใครรับรองไหมว่าจะไม่มีผู้ตรวจสอบคนใดหลงลืมหรือขาดต่ออายุกรมธรรม์ให้เป็นปัญหา

อายุใบอนุญาตผู้ตรวจสอบ (รต.1) นั้น อายุ 2 ปี หากเงื่อนไขในกฎกระทรวงให้ยื่นกรมธรรม์อายุ 2 ปี เท่าใบอนุญาตผู้ตรวจสอบจะเกิดความเสียหายอย่างไร? สมมติตัวอย่าง ดังนี้

นาย A เป็นผู้ตรวจสอบขึ้นทะเบียนใบ รต.1 ลว. 1 /1/2552 สิ้นสุด 1/1/2554 รวมระยะเวลา 2 ปี มีการเคลมสินไหมดังนี้

ปีที่ 1
เดือน 3/2552 เคลมสินไหม ครั้งที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
เดือน 10/2552 เคลมสินไหม ครั้งที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท

ปี่ที่ 2
เดือน 1/2553 เคลมสินไหม ครั้งที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท
เดือน 2/2553 เคลมสินไหม ครั้งที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท

ตั้งแต่เริ่มขึ้นทะเบียนจนกระทั่งเคลมครั้งสุดท้าย ระยะเวลา 14 เดือน
หากกรมธรรม์มีความคุ้มครองตลอดระยะเวลาเอาประกัน 4,000,000 บาทถ้วน กรมธรรม์ฉบับดังกล่าวจะสิ้นสุดความคุ้มครองทันที

ในกรณีนี้คณะกรรมการควบคุมอาคารต้องเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของผู้ตรวจสอบรายนั้นตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง ผู้ตรวจสอบต้องพิจารณาอย่างรอบคอบสำหรับกรมธรรม์ประเภทนี้ (ไม่มีค่า Safety Factor เลย)

เงื่อนไขให้ความคุ้มครองในกรมธรรม์ต้องมีอายุ 3 ปี เพื่อให้ครอบคลุมอายุของใบอนุญาต

เรื่องของทุนประกันภัยตลอดระยะเวลา 3 ปี จะเป็น 6,000,000 บาท หรือ 4,100,000 บาท ก็ตาม แต่ผู้ตรวจสอบจะพิจารณา

เหตุใดกฎหมายให้ทำประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 3 ปี และบริษัทประกันภัยบางบริษัทที่เขาทราบถึงลักษณะงานผู้ตรวจสอบและเข้าใจถึงกฎหมายตรวจสอบอาคาร จึงได้ออกทุนประกันภัยตลอดระยะเวลาเอาประกันที่ 4,100,000 บาท (แยกเป็น ปีที่ 1 จำนวน 2 ล้าน ปีที่ 2 จำนวน 2 ล้าน ปีที่ 3 จำนวน 1 แสนบาท ปีที่ 3 มีกันไว้เพื่อไม่ให้กรมธรรม์สิ้นสุดความคุ้มครอง และเบี้ยประกันก็จะถูกว่าแบบ 3 ปี 6 ล้าน)

อย่างไรก็ตาม ทุนประกันในปัจจุบัน ของบริษัทประกันภัยหลายบริษัท มีเพียง 6,000,000 กับ 4,000,000 เท่านั้น

จำนวนปีที่เหลือในกรมธรรม์อีก 1 ปี สำหรับผู้ตรวจสอบที่กำลังจะต่ออายุในครั้งแรก
เดิมซื้อความคุ้มครองตามกฎหมายไว้ 3 ปี หากเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยที่เข้าใจในตัวกฎหมายและลักษณะงานของผู้ตรวจสอบ เขาจะคิดเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าเดิมเพียง 2 ปี และอีก 1 ปีที่เหลือบริษัทจะรวบเอามาออกกรมธรรม์ให้ใหม่โดยมีระยะเวลาคุ้มครองตามกฎหมายกำหนดคือ 3 ปี ให้ผู้ตรวจสอบสามารถนำกรมธรรม์ใหม่ อายุ 3 ปี ไปยื่นต่ออายุได้ ตามเงื่อนไข โดยซื้อประกันกับที่เดิมจ่ายเงินเพิ่มเพียง 2 พันกว่าบาท

ปีแรกหากพิจารณาดูว่าซื้อประกันผู้ตรวจสอบราคา 6 พันกว่า ความคุ้มครอง 1,000,000 ต่อครั้ง 2,000,000ต่อปี 4,100,000 บาทตลอด 3 ปี พอต่อใบอนุญาตครั้งนี้ก็จ่ายอีกเพียง 2 พันกว่าบาท

การเคลมสินไหมสำหรับกรมธรรม์ประเภทนี้ เคลมเมื่อไหร่ ,อย่างไร, ให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำผู้เอาประกัน(ผู้ตรวจสอบ) อย่างไร เป็นหน้าที่ของตัวแทน/นายหน้าที่ท่านใช้บริการ

ผู้ตรวจสอบอาคาร คือผู้ที่ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ตามที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนด มีหน้าที่เข้าตรวจสอบอาคาร โดยตรวจสอบเรื่องโครงสร้างอาคาร ความปลอดภัยในการใช้อาคาร การดัดแปลงต่อเติม ระบบแจ้งเหตุเพลิงใหม้ ระบบดับเพลิง ป้ายทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ ระบบไฟฟ้า และแผนบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น เพื่อจัดทำเป็นรายงานการตรวจสอบอาคารให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้อาคารนั้นๆ

การเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร

ผู้ที่จะเป็นผู้ตรวจสอบอาคารได้นั้นจะต้องเป็นวิศวกรหรือสถาปนิกที่มีใบประกอบวิชาชีพ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบอาคารไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะมีสิทธิ์สอบเพื่อวัดความรู้จากสภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิก จึงจะไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารกับกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ และต้องมีการทำประกันวิชาชีพจึงจะเป็นผู้ตรวจสอบอาคารได้โดยสมบูรณ์

ทั้งนี้ขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าว ทั้งการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบอาคาร หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน และหลักเกณฑ์การตรวจสอบ พ.ศ. 2548 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมพ.ศ. 2548 ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่เกิดวิชาชีพผู้ตรวจสอบอาคารขึ้น

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (14) ได้กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารมีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะ และลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจสอบอาคาร ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

คณะกรรมการควบคุมอาคาร ได้กำหนดให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร จะต้องเข้ารับการอบรมโดยสถาบันซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโยธาธิการ โดยแบ่งการอบรมเป็นภาคทฤษฎีจำนวน 33 ชั่วโมง และภาคการปฏิบัติจำนวน 12 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง และจะต้องมีการทดสอบความรู้ความสามารถของผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ คณะกรรมการควบคุมอาคารมีแนวความคิดให้สภาวิศวกร และ / หรือ สภาสถาปนิก เป็นหน่วยงานกลางที่ดำเนินการดูแลเรื่องการจัดสอบ และส่งผลการทดสอบให้กรมโยธาธิการเพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตผู้ตรวจสอบอาคารต่อไป ซึ่งสภาวิศวกรได้ทำหนังสือตอบรับยินดีจะเป็นหน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการดังกล่าว

อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบอาคาร

อาคารที่เข้าข่ายต้องทำการตรวจสอบอาคารตาม พรบ.ควบคุมอาคาร มีทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่

  • อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพท้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของ ชั้นสูงสุด)
  • อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่ อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป)
  • อาคาร ชุมชนคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการ ชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป)
  • โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)
  • โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
  • อาคาร ชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำกรับหลายครอบ ครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป

สำหรับอาคารชุด และอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับการผ่อนผันการตรวจสอบคือ – กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555 – กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553

  • อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • ป้าย สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
  • สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550 สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ

คุณสมบัติผู้ตรวจสอบอาคาร

1. เป็นวิศวกร หรือ สถาปนิก ที่มีใบประกอบวิชาชีพ
2. ต้องผ่านการอบรม “ผู้ตรวจสอบอาคาร” จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากกรมโยธาธิการ และผังเมือง
3.ต้องผ่านการสอบวัดความรู้จากทางกรมโยธาธิการ และผังเมือง
4.ต้องทำประกันภัย วงเงิน 6,000,000 บาท
5.ต้องขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบกับ ทางกรมโยธาธิการ และผังเมือง

อาคารของท่านเข้าข่ายที่ต้องตรวจสอบอาคาร หรือไม่

กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 ได้กำหนดอาคาร 9 ประเภท ที่ต้องจัดให้มี การตรวจสอบและส่งรายงานผลการตรวจสอบ ต่อท้องถิ่น
1. อาคารสูง
ตั้งแต่ 23 เมตร ขึ้นไป โดยวัดความสูงของอาคารจากระดับพื้นดินจนถึงพื้นดาดฟ้า หรือถึงยอดผนังของชั้นสูงสุดกรณีเป็นหลังคาทรงจั่ว
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นใดชั้นหนึ่งในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
3. อาคารชุมนุมคน
อาคารที่จัดให้บุคคลเข้าไปภายในเพื่อการชุมนุมคนมีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
4. โรงมหรสพ
อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือแสดงการรื่นเริง และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดง
5. โรงแรม
เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6. สถานบริการ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
7. อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม
เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดและอาคารที่อยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2000 ตารางเมตรขึ้นไป สำหรับอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมได้รับการผ่อนผัน ดังนี้
1. อาคารที่มีพื้นที่ ไม่ เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีการตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 7 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ (28 ต.ค. 2548) ดังนั้นต้องยื่นรายงานการตรวจสอบ ครั้งแรก ภายในวันที่ 23 ตุลาคม 2553
2. อาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีการตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ (28 ต.ค. 2548) ดังนั้นต้องยื่นรายงานการตรวจสอบ ครั้งแรก ภายในวันที่
8. อาคารโรงงาน
ความสูงมากกว่า 1 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5000 ตารางเมตรขึ้น
9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย
สูงจากพื้นดิน 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้น

ประเภทของการตรวจสอบอาคาร

  • การตรวจสอบใหญ่ กระทำทุก 5 ปี กำหนดให้การตรวจสอบครั้งแรก เป็นการตรวจสอบใหญ่ และกระทำทุก 5 ปี
  • การตรวจสอบประจำปี ซึ่งเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารโดยผู้ตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี มิให้ขาด

หน้าที่รับผิดชอบ ในการตรวจสอบอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  1. หน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร
  2. หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการ นิติบุคคล
  3. หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

หน้าที่ของ ผู้ตรวจสอบอาคาร

  • ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ตามแผนบริหารจัดการ ของผู้ตรวจสอบ
  • จัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบ ให้แก่เจ้าของอาคาร
  • หากพบว่ามีบางรายการ ไม่ผ่านเกณฑ์ ให้จัดทำข้อ เสนอแนะ และแนวทางการปรับปรุงแก้ไข แก่เจ้า ของอาคาร

หน้าที่ของเจ้าของอาคาร หรือ ผู้จัดการนิติบุคคล

  • จัดหา หรือ จัดทำแบบแปลนการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ ประกอบอาคารทุกรายการที่ต้องตรวจสอบ
  • เสนอรายงานผลการตรวจสอบ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยเสนอภายใน 30 วัน ก่อนใบรับรองการตรวจสอบฉบับเดิมครบกำหนด
  • ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคารติดไว้ในที่เปิดเผยที่เห็นได้ง่าย
  • จัดให้มีการตรวจและทดสอบระบบโดยละเอียดตามแผนที่กำหนด
  • จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่กำหนด
  • จัดให้มีการทดสอบสมรรถนะระบบความปลอดภัย การซ้อมหนีไฟ การบริหารจัดการความปลอดภัย และ อบรมพนักงาน

หน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
– เมื่อได้รับรายงานแล้ว ให้แจ้งเจ้าของอาคารทราบถึง ผลการพิจารณา ใน 30 วัน นับแต่วันได้รับรายงาน ผลการตรวจสอบ
– ในกรณีที่เห็นว่าอาคารดังกล่าว ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยในการใช้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกใบรับรองการตรวจอาคาร ให้แก่เจ้าของอาคาร โดยไม่ชักช้า โดยไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

ขณะนี้กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 กำหนดให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารต้องส่งสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียน โดยมีจำนวนเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
ต่อครั้ง และไม่น้อยกว่าสองล้านบาทต่อปี และมีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่าสามปีให้แก่คณะกรรมการควบคุมอาคาร ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวได้มีกำหนดระยะเวลาว่าเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพอาคารโดยผู้ตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 ธั นวาคม 2550

โดยจัดทำรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารเพื่อใช้ประกอบการขอขึ้นทะเบียนแล้ว ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะให้ความคุ้มครอง ดังนี้

1) ความสูญเสียต่อร่างกาย และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุขณะที่ผู้เอาประกันภัยทำการตรวจสอบอาคาร

2) ความสูญเสียต่อร่างกาย และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของผู้เอาประกันภัยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารโดยอุบัติเหตุขณะที่ผู้เอาประกันภัยทำการตรวจสอบอาคาร
สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัยของการประกันภัยดังกล่าวนี้ กำหนดไว้เป็นช่วง คือ
– ผู้ตรวจสอบอาคารที่เป็นบุคคลธรรมดา อัตราฯ 0.15%-2% ของจำนวน เงินจำกัดความรับผิดตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

– ผู้ตรวจสอบอาคารที่เป็นนิติบุคคล อัตราฯ 0.50%-2% ของจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

– ผู้ตรวจสอบอาคารที่เป็นนิติบุคคล อัตราฯ 0.50%-2% ของจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ให้จัดทำประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจาก
ความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร

นอกจากจะเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายแล้วยังเกิดประโยชน์ต่อตนเองนั่นคือ หากเกิดมีความสูญเสียหรือความเสียหายขึ้นบริษัทประกันภัยก็จะชดใช้ค่าความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้ได้รับความสูญเสียหรือความเสียหายนั้น อันเป็นการช่วยบรรเทาภาระทางการเงิน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมอีกด้วย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow