INSURANCETHAI.NET
Fri 11/10/2024 21:31:00
Home » ประกันภัย(ประกันวินาศภัย) » หน้าที่และสิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย\"you

หน้าที่และสิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย

2015/07/23 5966👁️‍🗨️

ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่อะไร

1. ต้องชำระเบี้ยประกันภัย
2. ต้องบอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัย
3. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัย

1. หน้าที่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย

ผู้เอาประกันภัยในระหว่างทำสัญญาผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่ บริษัทกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้ ถ้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยหรือตามที่ระบุไว้ใน กรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัย ได้ ถ้าหากเกิดเหตุวินาศภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยก็มีสิทธิที่จะปฎิเสธไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอา ประกันภัยจนกว่าผู้เอาประกันภัยจะยอมชำระเบี้ยกันภัยไว้ตามที่ระบุไว้ใน สัญญาประกันภัยหรือที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

2. หน้าที่ต้องบอกกล่าวเมื่อเกิดวินาศภัย

ทั้งนี้ต้องขออ้างมาตราที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อใน (2.1) นี้ไว้นะครับ คือ มาตรา ๘๘๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าความวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะภัยมีขึ้นดั่งผู้รับประกันภัยตกลงประกันภัย ไว้ไซร้ เมื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ทราบความวินาศภัยนั้นแล้ว ต้องบอกกล่าวแก่ผู้รับประกันภัยโดยไม่ชักช้า//ถ้ามิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ที่กล่าวมาในวรรคก่อน ผู้รับประกันภัยอาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นได้ เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้”

จากบทบัญญัติในมาตรา ๘๘๑ ที่กล่าวไปข้างต้นจะแปลได้ดังนี้ว่า “เมื่อมีเหตุวินาศภัยเกิดขึ้นตามที่ผู้รับประกันภัยตกลงประกันภัยไว้ตาม สัญญา สมมุติว่า เราเอาประกันวินาศภัยไฟไหม้ไว้กับบ้านของเรา ถ้าหากเกิดไฟไหม้บ้านผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ต้องรีบแจ้งแก่ผู้ รับประกันภัยทันที” หากไม่แจ้งผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้รับประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย เช่น จากตัวอย่างประกันวินาศภัยไฟไหม้ไว้กับบ้านของเรา ถ้าหากไม่ได้แจ้งไปทางบริษัทประกันภัยว่าเกิดไฟไหม้บ้าน บริษัทประกันภัยอาจจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายไฟไหม้จากเรา ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีข้องดเว้ยไว้ว่า “เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ ” เช่น เราออกไปเที่ยวต่างประเทศแล้วไม่มีใครเฝ้าบ้าน เป็นต้น

3. หน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัย

หน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อสัญญาประกันภัยจะอธิบายได้ว่า สมมุติว่า “ในกรณีที่เราต้องแจ้งการเอาประกันภัยเพิ่มเติมให้ผู้รับประกันภัยทราบ หรือต้องเก็บรักษาสมุดบัญชีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ในตู้นิรภัยป้องกัน ไฟ เป็นต้น” อธิบายแบบง่ายๆ คือว่า ถ้าเราเอาประกันภัยไฟไหม้ไว้กับทรัพย์สินสักอย่างของเรา เราก็ควรที่จะเก็บสมุดบัญชีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้อย่างปล่อยภัยเพื่อ ไม่ให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น

duties-and-rights-of-persons-insurance

สิทธิของผู้เอาประกันวินาศภัย

1. ลดเบี้ยประกันภัย
2. ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
3. เรียกให้ผู้รับประกันภัยหาประกัน
4. เรียกให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทน
5. บอกเลิกสัญญาประกันภัย

1. ลดเบี้ยประกันภัย

มาตราที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้คือ มาตรา ๘๖๔ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า “เมื่อคู่สัญญาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะขึ้นเป็นข้อพิจารณา ในการวางกำหนดจำนวนเบี้ยประกันภัย และ ภัยเช่นนั้นสิ้นไปหามีแล้วไม่ ท่านว่าภายหน้าแต่นั้นไปผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยลงตาม ส่วน” เช่น เราทำประกันอัคคีภัยบ้านที่ปลูกติดกันปั๊มน้ำมันซึ่งมีโอกาสที่ไฟจะไหม้ได้ มากกว่าบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป การเสี่ยงภัยย่อมสูงกว่าปกติ ดังนั้นผู้รับประกันภัยอาจจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวเรียกเบี้ยประกันภัยสูง ขึ้นหรือลดลงตามส่วนตามมาตรา ๘๖๔

2. ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย

ถ้าหากในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย หรือส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยลดน้อยลงไปมาก ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ได้ ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๗๓ ว่า “ถ้าในระหว่างอายุสัญญาประกันภัยนั้ มูลประกันภัยได้ลดน้อยถอยลงไปหนักไซร้ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้และลด จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย การลดจำนวนเบี้ยประกันภัยนั้น ให้เป็นผลต่อในอนาคต”

3. เรียกให้ผู้รับประกันภัยหาประกัน

ในข้อ 3.1 นี้มาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา ๘๗๖ วรรค ๑ บัญญัติไว้ว่า “ถ้าผู้รับประกันภัยต้องคำพิพากษาให้เป็นผู้ล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยจะเรียกให้หาประกันอันสมควรให้แก่ตนก็ได้ หรือจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้” จากมาตราดังกล่าวถอดความได้ว่า “ถ้าผู้รับประกันภัยอยู่ในหว่างคำพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้ล้มละลาย ผู้เอาประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาหรือเรียกให้บริษัทประกันภัยหาประกันอัน สมควรให้แก่ตนก็ได้”

4. เรียกให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทน

ในหัวข้อ 4.1 มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา ๘๗๗ บัญญัติไว้ดังนี้ “ผู้รับประกันภัย จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง (๒) เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ เพราะได้จัดการตามสมควร เพื่อป้องปัดความวินาศภัย (๓) เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควร ซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่ง เอาประกันภัยไว้ มิให้วินาศ//อันจำนวนวินาศนั้น ท่านให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาซึ่งเหตุวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้น อนึ่ง จำนวนเงินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้นั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นหลักประมาณ อันถูกต้อง ในการตีราคาเช่นว่านั้น ท่านห้ามมิให้ คิด ค่าสินไหมทดแทน เกินไปกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้

***จะกล่าวได้ว่า หากเราเอาเงินประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย 3 แสน ถ้าหากบ้านเราเกิดไฟไหม้ซึ่งตีค่าความเสียหายเป็นจำนวนเงินได้ 5 แสน ตามหลักมาตรา ๘๗๗ บอกว่า บริษัทประกันภัยจะชำระค่าสินไหมทดแทนไว้โดนที่จะไม่เกิดกับจำนวนเงินที่เอา ประกันภัยไว้หรือจำนวนค่าความเสียหายที่แท้จริง

5. บอกเลิกสัญญาประกันภัย

ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา ๘๗๒ โดยบัญญัติไว้ว่า “ก่อนเริ่มเสี่ยงภัยผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวน”
***มาตราดังกล่าวหมายความว่า ถ้าความเสี่ยงภัยเกิดขึ้นในขณะทำสัญญาประกันภัยแล้ว แต่คู่สัญญาไม่ประสงค์จะให้เริ่มมีการเสี่ยงภัยจนกว่าจะถึงเวลากำหนดไว้ใน สัญญาประกันภัย ดังนั้น ก่อนจะเริ่มเสี่ยงภัย ผู้เอาประกันภัยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้




สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow