INSURANCETHAI.NET
Tue 17/09/2024 23:14:10
Home » ประกันภัยความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง » การประกันภัยความซื่อสัตย์ (Fidelity Guarantee Insurance)\"you

การประกันภัยความซื่อสัตย์ (Fidelity Guarantee Insurance)

2013/09/03 7234👁️‍🗨️

ให้ความคุ้มครองนายจ้างต่อการสูญเสียทรัพย์สิน หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำทุจริต หรือความไม่ซื่อสัตย์ของลูกจ้าง เช่นยักยอก ฉ้อฉล ฉ้อโกง ปลอมแปลงลายมือชื่อ หรือปลอมแปลงเอกสาร โดยมีเจตนาทุจริต ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำโดยลำพัง หรือสมรู้ร่วมคิดกับบุคคลอื่นก็ตาม
จึงมีข้อแตกต่างกับการประกันภัยสำหรับเงินและการประกันภัยโจรกรรม ที่มุ่งให้ความคุ้มครองความสูญเสียอันเนื่องมาจากการกระทำทุจริตของบุคคลภายนอกโดยทั่วไป โดยไม่เจาะจงบุคคลใดหรือกลุ่มใด แต่การประกันภัยความซื่อสัตย์จะมุ่งให้ความคุ้มครองความสูญเสียอันเนื่องมาจากการกระทำทุจริตของพนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งเป็นบุคคลภายในของกิจการเอง

fidelity-guarantee-insurance

การประกันภัยความซื่อสัตย์
สามารถแบ่งรับประกันภัยได้หลายรูปแบบ โดยอาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ความคุ้มครองลุกจ้างเพียงบางคน ( Collective Policies )
กรณีผู้เอาประกันภัยหรือนายจ้างจะมีการคัดเลือกลูกจ้างที่สมควรให้ความคุ้มครองออกมา โดยในการทำสัญญาประกันภัยของลูกจ้างแต่ละคนไว้ด้วย ซึ่งจำนวนเงินเอาประกันภัยของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของลูกจ้างแต่ละคน เพราะแต่ละหน้าที่จะมีความเสี่ยงภัยต่อการทุจริตไม่เท่ากัน และยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ระบุชื่อลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครอง ( Name Bond ) การประกันภัยความซื่อสัตย์ประเภทนี้ จะระบุชื่อลูกจ้างไว้ และกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองความเสียที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างที่ระบุชื่อไว้ ไม่ว่าลูกจ้างดังกล่าวจะปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ก็ตาม ก็จะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์

ระบุชื่อลูกจ้างเพียงคนเดียว ( Individual Bond ) กรมธรรม์ชนิดนี้หนึ่งฉบับจะออกให้ลูกจ้างเพียงคนเดียว ถ้ามีลูกจ้างหลายคนที่ต้องการให้ความคุ้มครองก็จะแยกกรมธรรม์ให้สำหรับลูกจ้างแต่ละคน เช่น ถ้าต้องการคุ้มครองลูกจ้าง 4 คน ก็จะแยกกรณีเป็น 4 กรมธรรม์ เป็นต้น
ระบุชื่อลูกจ้างเป็นกลุ่ม ( Name Schedule Bond ) กรมธรรม์ชนิดนี้จะใช้ในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างมากมายที่ต้องการให้ความคุ้มครอง จึงไม่สะดวกในการที่จะแยกออกกรมธรรม์โดยระบุชื่อเพียงคนเดียว ให้ลูกจ้างแต่ละรายแบบชนิดแรก ดังนั้น กรณีนี้จึงเหมาะที่ใช้กับกรมธรรม์แบบชนิดที่สองนี้ โดยจะใช้วิธีระบุชื่อลูกจ้างทั้งหมดที่นายจ้างต้องการให้ความคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์เดียวกัน และกำหนดจำนวนเงินความรับผิดชอบของลูกจ้างแต่ละคนที่ต้องการให้บริษัทประกันภัยคุ้มครอง
ระบุตำแหน่งที่ได้รับความคุ้มครอง กรมธรรม์ประเภทนี้จะระบุตำแหน่งของลูกจ่างที่จะให้ความคุ้มครองโดยไม่คำนึงถึงว่า ลูกจ้างผู้ใดจะอยู่ในตำแหน่งนั้น กรมธรรม์ประเภทนี้จึงเหมะสมสำหรับกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรือตัวลูกจ้างอยู่เสมอ แต่ถ้าตำแหน่งนั้นมีลูกจ้างเกินกว่า 1 คน บริษัทประกันภัยมักจะกำหนดให้ ผู้เอาประกันภัยหรือนายจ้างระบุจำนวนลูกจ้างในตำแหน่งนั้นด้วย และในกรณีเช่นนี้ ถ้าผู้เอาประกันภัยแจ้งจำนวนลูกจ้างในตำแหน่งนั้นน้อยกว่าความเป็นจริง หรือมีลูกจ้างเพิ่มในตำแหน่งนั้น แต่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้แจ้งจำนวนลูกจ้างให้บริษัทประกันภัยทราบ กรณีดังกล่าวนี้จำนวนความรับผิดชอบของบริษัทในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลง กล่าวคือ จะไม่ชดใช้ให้เต็มจำนวน ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งว่ามีลูกจ้างในตำแหน่งนั้นเพียง 10 คน แต่ที่จริงแล้วมีจำนวน 15 คน กรณีนี้หากเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย บริษัทจะชดใช้ให้เพียง 10/15 หรือ 2/3 ของความรับผิดสำหรับลูกจ้างแต่ละคนเท่านั้น

2. ประเภทความคุ้มครองลูกจ้างทุกคน
กรมธรรม์ประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองลูกจ้างทุกคน โดยไม่ระบุชื่อหรือตำแหน่ง การประกันภัยประเภทนี้มีข้อดี สำหรับผู้เอาประกันภัยหลายประการ เช่น ให้ความคุ้มครองที่กว้าง ยืดหยุ่นได้ง่าย และอัตราค่าเบี้ยประกันภัยก็ประหยัดกว่าประเภทอื่น การประกันภัยประเภทนี้จึงได้รับความนิยมสูง ส่วนในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลูกจ้าง ก็อาจใช้วิธีสลักหลังกรมธรรม์ได้ โดยไม่ต้องออกกรมธรรม์ฉบับใหม่ สำหรับกรมธรรม์ประเภทนี้ สามารถกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยของลุกจ้างแต่ละคน
กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นยอดรวมเพียงยอดเดียว

ความคุ้มครอง

ข้อตกลงคุ้มครองของการประกันภัยความซื่อสัตย์โดยทั่วไป จะมีสาระสำคัญดังนี้ บริษัทจะคุ้มครองความสูญเสียของเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ ของนายจ้างอันเกิดจากการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือทุจริตของลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามหน้าที่
เงื่อนไขความคุ้มครอง

การฉ้อโกง หรือการยักยอก หรือทุจริต จะต้องเกิดจากลูกจ้างที่ได้ระบุคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์
ความทุจริตดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาที่ประกันภัยและนายจ้างได้ทรายความสูญเสียไม่ช้ากว่า 3 เดือน นับตั้งแต่กรมธรรม์หมดอายุ หรือไม่ช้ากว่า 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือวันที่ไล่ลูกจ้างออก หรือวันที่ลูกจ้างตาย แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน

ระยะเวลาที่ค้นพบความสูญเสียดังกล่าว ในบางกรณีอาจจะกำหนดให้ช้ากว่า 3 เดือน ก็ได้ เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับข้อตกลงกันระหว่างนายจ้างและบริษัทประกันภัย แต่โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ 3 เดือน

บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายจ้างตามจำนวนเงินที่สูญเสียจริง ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยของลูกจ้างรายนั้นๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในหน้าตารามกรมธรรม์

เงื่อนไขทั่วไปของการประกันภัยความซื่อสัตย์

เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยความซื่อสัตย์ของบริษัทประกันภัยแต่ละบริษัท อาจจะมีข้อความที่แตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้เพราะยังไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามรายละเอียดส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เมื่อนายจ้างทราบถึงการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือทุจริตของลูกจ้าง นายจ้างจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

แจ้งคามสูญเสีย หรือความเสียหายดังกล่าวให้บริษัททราบเป็นลายลักษณ์อักษรทันที
ยื่นคำขอบริษัทให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทรายความสูญเสีย

2. บริษัทมีสิทธิที่จะให้นายจ้างแสดงรายการ และพยานหลักฐานสนับสนุนว่าค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องนั้นเป็นอันถูกต้อง รวมทั้งความถูกต้องของรายการที่แจ้งไว้ในใบคำขอเอาประกันภัย หรือได้แถลงเพิ่มเติมเมื่อมีการต่ออายุการประกันภัย ตามที่บริษัทจะเห็นสมควรให้แสดง โดยค่าใช้จ่ายของนายจ้างเอง และให้นายจ้างรับรองความถูกต้องของรายการนี้ทั้งหมดเป็นลายลักษณ์อักษร
3. ค่าเสียหายที่เกิดจากลุกจ้างคนเดียวกัน จะเรียกร้องให้ชดใช้ตามสัญญานี้เกินหนึ่งครั้งไม่ได้ ( บางบริษัทอาจไม่มีข้อกำหนดเช่นนี้ โดยให้สามารถเรียกร้องเกินหนึ่งครั้งได้ ) และจะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะความเสียหายที่เกี่ยวกับการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือทุจริตของลูกจ้างในหน้าที่ที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัย และนายจ้างต้องค้นพบความสูญเสียอย่างช้าไม่เกินระยะเวลา 3 เดือน หลังจากกรมธรรม์หมดอายุ ( บางบริษัทอาจกำหนระยะเวลาเป็น 6 เดือน หรือ 12 เดือน )

ความรับผิดชอบของบริษัทจะไม่เกิดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์
นายจ้างจะประกอบธุรกิจตามข้อตกลงที่แถลง ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญตามที่กล่าวไว้ข้างต้นทุกประการ และลูกจ้างต้องทำหน้าที่ตามข้อแถลงนั้นทุกประกานเช่นเดียวกัน โดยนายจ้างจะต้องไม่ลดสินจ้างที่ให้แก่ลูกจ้าง ถ้ามีพฤติการณ์เกิดขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยนายจ้างมิได้แจ้งให้บริษัททราบและมิได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการปกปิดข้อความจริง หรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จอันกระทบถึงการรับเสี่ยงภัยของบริษัท สัญญานี้เป็นโมฆียะ บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้นายจ้างหรือผู้ที่ควรรับ

** ถ้าภายหลังที่นายจ้างได้ทราบถึงการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือทุจริตของลูกจ้างแล้ว และนายจ้างยังคงมอบหมายให้ลูกจ้างนั้นเก็บรักษาเงินหรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไป กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะไม่มีผลบังคับนับแต่วันที่นายจ้างกระทำเช่นนั้น ดังนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่นายจ้าง โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับมาแล้วออก

การดำเนินคดีอาญาของนายจ้าง ต้องกระทำโดยรอบคอบทุกประการที่จะให้ศาลพิพากษาลงโทษลูกจ้างที่ทำการฉ้อโกง หรือยักยอก หรือทุจริตดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ถ้าศาลพิพากษาลงโทษ บริษัทจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดำเนินคดี และในกรณีดังกล่าวนี้นายจ้างต้อให้ข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่บริษัทรวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการที่บริษัทจะเข้ารัยช่วงสิทธิ์ของนายจ้างเพื่อสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทน
ถ้าในขณะที่ทำสัญญาประกันภัยนี้ หรือระยะเวลาประกันภัย มีการประกันภัยอื่นที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายอันเดียวกัน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่เกินกว่าส่วนเฉลี่ยตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่บริษัท ได้รับประกันภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น
เมื่อมีข้อโต้แย้งขึ้นภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ระหว่างบริษัทกับนายจ้าง หรือผู้ที่เรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายหรือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขใด ๆ คู่กรณีอาจตกลงเสนอข้อโต้แย้งนั้นให้อนุญาโตตุลาการสองนายเป็นผู้ชี้ขาด
การบอกกล่าวคำบอกกล่าว และการติดต่อระหว่างผู้เอาประกันภัย และบริษัทจะมีผลตามกรมธรรม์ ฉบับนี้ ต้องกระทำเป็นหนังสือจึงจะมีผลบังคับได้
การเลิกกรมธรรม์
บริษัทจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย ตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ ในกรณีนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน
ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบบยับนี้ได้โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นหนังสือ และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน หลังจากหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้พบว่า นายจ้างมีความต้องการทำประกันภัยความซื่อสัตย์ของลูกจ้างมากขึ้นกว่าในอดีตมาก โดยเฉพาะในกิจการใหญ่ๆ ซึ่งต้องการป้องกันความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการกระทำทุจริตของลูกจ้าง หรือสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างเหล่าลุกจ้างด้วยกัน





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow