INSURANCETHAI.NET
Sat 27/07/2024 9:08:51
Home » ข่าวประกันภัย » ช่องทางการขายประกันชีวิต “ตัวแทน” ช่องทางการขายประกันวินาศภัย “นายหน้า”\"you

ช่องทางการขายประกันชีวิต “ตัวแทน” ช่องทางการขายประกันวินาศภัย “นายหน้า”

2018/02/20 4937👁️‍🗨️

ช่องทางการขายผ่าน“ตัวแทนชีวิต”ครองแชมป์!
เบี้ยรับกว่า 3 แสนล้านบาท ครองสัดส่วนร้อยละ 50 ด้านวินาศภัย “นายหน้า” นำโด่ง

จากนโยบายยกระดับมาตรฐานพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันภัย โดยการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย ส่งเสริมและกำกับดูแลให้ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยมีมาตรฐานจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติที่ดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยต่อประชาชน ตลอดจนดูแลประชาชนผู้เอาประกันภัยภายหลังที่มีการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างเกิดความเชื่อมั่นในระบบประกันภัยและใช้ประโยชน์จากระบบประกันภัยได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ส่งผลให้ปี 2560

ธุรกิจประกันชีวิต

มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงผ่านช่องทางการขายจาก
– ตัวแทน
– ธนาคาร
– โทรศัพท์
– นายหน้า
– ไปรษณีย์
– ช่องทางอื่น

รวมทั้งสิ้น 608,666 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ช่องทางการขายผ่านตัวแทน

ครองแชมป์มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงสูงสุด จำนวน 302,401 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.68 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือช่องทางการขายผ่าน “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง จำนวน 268,538 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.12 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านธนาคารมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การขายผ่านช่องทาง “นายหน้า” มีเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรง จำนวน 16,627 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.73 ของเบี้ยประกันชีวิตรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจประกันวินาศภัย

มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงผ่านช่องทางการขายจาก
– นายหน้า
– ธนาคาร
– ตัวแทน
– องค์กร
– ติดต่อโดยตรง
– โทรศัพท์
– อินเตอร์เน็ต
– ไปรษณีย์
– ช่องทางอื่น
รวม 218,932 ล้านบาท
ขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตามหลักแล้ว ช่องทางมีทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ บริษัทตรง /นายหน้า /ตัวแทน
แต่ “นายหน้า” ในที่นี้ ที่เขาพูดถึง หมายถึง นายหน้าทั่วไป 2 ประเภท หลัก คือ นายหน้าบุคคล และ นายหน้านิติบุคคล
ซึ่ง ธนาคาร ก็ถือเป็น นายหน้า แต่ในที่นี้ อาจจะจัดให้อยู่ในกลุ่มนายหน้า ประเภทหนึ่ง แยกต่างหากไป เพื่อให้ง่ายต่อการพูดถึง

ช่องทางการขายผ่านนายหน้า

ยังคงมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงสูงสุด จำนวน 126,550 ล้านบาท =57.8% ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง
1.ช่องทางการขายผ่านนายหน้ามีอัตราการขยายตัว 7.42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.ช่องทางการขายผ่าน “ตัวแทน” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 31,683 ล้านบาท =14.47% ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านตัวแทนมีการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3.การขายผ่านช่องทาง “ธนาคาร” มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงเป็นอันดับ 3 จำนวน 28,841 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.17 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทุกช่องทาง โดยช่องทางการขายผ่านธนาคารมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ

ในปี 2561 สำนักงาน คปภ. มีแผนยกระดับการให้บริการและพฤติกรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัย โดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขายและการดูแลกรณีเกิดปัญหาในเรื่องประกันภัย ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนประกันภัยและสำนักงานนายหน้าประกันภัยโดยจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั่วประเทศ และดำเนินการตามแผนการเข้าตรวจสอบ อาทิ การตรวจสอบประจำปี (annual examination) เพื่อตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทประกันภัยป้องกัน/หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนผู้เอาประกันภัยในอนาคต รวมทั้งตรวจสอบบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อตรวจสอบแนะนำการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยให้ถูกต้อง การตรวจสอบเฉพาะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบช่องทางการขายผ่านธนาคารพาณิชย์ และการตรวจสอบสื่อโฆษณา รวมถึงการเชิญบริษัทประกันภัย เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจและการควบคุมคุณภาพการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมทั้งรับทราบประเด็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย และ “เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้บริโภคในยุคดิจิทัล สำนักงาน คปภ.ได้พัฒนา Application : รอบรู้ประกันภัย ซึ่งผู้สนใจสามารถโหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย Application นี้ จะให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับประกันภัย ที่สำคัญคือทำให้ประชาชนสามารถตรวจสอบว่าตัวแทน/นายหน้าที่เข้ามาเสนอขายประกันภัยกับท่านได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow