INSURANCETHAI.NET
Wed 08/05/2024 9:14:19
Home » ความรู้รถยนต์ » 200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter1]\"you

200 เรื่องน่ารู้ สำหรับคนใช้รถ[Chapter1]

2013/06/17 2351👁️‍🗨️

car-charpter1

1.ยางมะตอยติดล้อรถ หากคุณเผลอไผลหรือหลบเลี่ยงไม่ได้ ต้องขับรถเข้าไปในบริเวณที่มีการซ่อมถนนอยู่และมีการราดยางมะตอยใหม่ ๆ ยางมะตอยหรือน้ำมันดิบที่เปรอะเปื้อนล้อรถและตัวถัง ให้ใช้เบ็คกิ้งโซดา ละลายรอยเปื้อนต่าง ๆ ก็จะออกได้
2.สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
3.ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูงต้องควบคุมสติให้ได้ผ่อน คันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัยหากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆทุบกระจกที่แตกค้างออกแล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว และต้องระวัง ผงเศษกระจกปลิวเข้าตา
4. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
5. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตกใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
6.เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง
7. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัดอุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมากในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วยสำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลายก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแลอย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด
8.อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติกใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
9. กุญแจสำรอง ไม่มีใครที่ขับรถแล้วไม่เคยลืมกุญแจไว้ในรถ กุญแจสำรองจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งคุณควรนำติดตัวไว้อยู่เสมอ เมื่อเวลาคุณล็อคหรือทำกุญแจหายก็จะไม่เดือดร้อน
10. อย่าใช้น้ำทำความสะอาดขั้วไฟรถ น้ำจะทำให้เกิดความชื้นและทำให้เกิดสนิม เป็นปัญหาต่อเนื่องให้เกิดไฟช็อต จึงควรใช้เมทิลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดแทน ซึ่งจะขจัดคราบสกปรกและรอยต่าง ๆ ได้ดีกว่าอีกด้วย
11.ดินโคลนเจ้าปัญหา อย่าปล่อยให้ดินโคลนติดอยู่กับรถตลอดเวลา ควรเอาใจใส่ทุก ๆ จุดแม้ใต้ท้องรถที่คิดว่าดินโคลนจะไปจับเกาะติดไว้ ต้องล้างและฉีดด้วยสายยาง ออกให้หมดเพราะดินโคลนจะทำให้รถเป็นสนิมได้
12. เทคนิคล้างรถไม่ต้องเช็ดหลังจากล้างรถแล้ว น้ำสุดท้ายที่จะล้างให้ผสมน้ำยาล้างจานลงในถังด้วย ใช้ฟองน้ำชุบถูให้ทั่วคันรถทิ้งไว้ให้แห้งเองไม่ต้องใช้ผ้าขนหนูเช็ดเหมือนวิธีเก่า เท่านี้รถก็จะขึ้นเงาเอง
13. ขัดสีรถให้เงางามอยู่เสมอ รถที่ซื้อมาใหม่ ๆ สีเงางามน่าใช้ ขับไประยะเวลาหนึ่งสารเคมีที่ใช้ล้างและแสงแดดจะทำให้สีของรถหมองไปควรนำรถไปขัดสีตามอู่หรือศูนย์อย่างน้อยปีละ 4 ครั้งสี ของรถคุณก็จะเงางามอยู่เสมอ
14.ล้างรถอาทิตย์ละครั้ง ผู้ใช้รถบางคนมีปัญหากับการล้างรถ ไม่มีเวลาบ้างขี้เกียจบ้าง ควรล้างรถอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อขจัดเศษดินและหินที่เกาะติดกับรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้รถอยู่บริเวณที่อยู่ในเขตอุตสากรรมหรือใกล้ชายทะเลควรล้างบ่อยครั้งขึ้น เพราะเกลือและความเค็มจากชายทะเลจะจับผิวของรถทำให้รถเสียหายเร็วขึ้น
15. ป้องกันสีรถจากโรงรถ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ผู้ขับขี่ที่มีโรงรถแคบ ๆใหญ่กว่ารถไม่เท่าไหร่ให้มีฝีมือยังไงสักวันก็ต้องพลาดเฉี่ยวขูดสีรถถลอกทางที่ดีควรหาโฟมบาง ๆ มาติดกาวข้างกำแพงไว้สองข้าง ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
16. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิมจะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก
17 .เรื่องของสีรถ หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆเกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้า ศูนย์ซ่อมตัวถังและสี ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้
18. หม้อน้ำรั่วกะทันหัน การแก้ไขหม้อน้ำรั่วแบบชั่วคราว โดยการหาอะไรก็ได้มาอุดรอยรั่วไม่ให้น้ำรั่วซึมออกมา โดยใช้คลั่ง ดินน้ำมันหรือหมากฝรั่งที่เราเคี้ยวแล้วก็ได้หรืออาจจะใช้สบู่หรือเทียนไขในกรณีที่หาไม่ได้ แล้วรีบนำรถเข้าศูนย์บริการทันที
19. ฝาน้ำมันควรใช้แบบที่ล็อคได้ เป็นการป้องกันการที่ผู้อื่นจะนำรถของคุณ ออกไปใช้การล็อคฝาน้ำมันจะทำให้เติมน้ำมันไม่ได้ เมื่อน้ำมันหมดถัง ขโมยไปก็ไม่มีประโยชน์
20. ท่อไอเสียชำรุด มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ เมื่อออกรถไปได้ขณะหนึ่ง แล้วท่อไอเสียขาดครูดไปกับท้องถนนต้องซ่อมเดี๋ยวนั้นโดยผูกมัดด้วยลวดให้ใช้งานได้ชั่วคราวก่อน อย่าใช้เชือกผูก เพราะความร้อนจะทำให้เชือกขาดอีกครั้ง
21. ระดับของน้ำมันเครื่องควรเติมให้ต่ำกว่าระดับขีดของด้ามวัดเล็กน้อยหากเครื่องยนต์ยังร้อนอยู่ มิฉะนั้นหา เมื่อคุณติดเครื่อง น้ำมันเครื่องอาจขยายตัวล้นออกมาได้
22. การใช้น้ำมันหล่อลื่น การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่น เป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
23.น้ำมันท่วม รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วคอยอย่างน้อยสิบนาทีเพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง
24.. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง
25.. ฟิวส์ซองบุหรี่ ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหันแก้ปัญหาได้ โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแลตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว
26 . ตรวจเบรกก่อนจะไม่ได้เบรก จะรู้ว่าเบรคใช้งานได้หรือไม่ ก็ต้องออกรถเคลื่อนที่ซึ่งอันตรายมากหากรถไปอยู่บนท้องถนนแต่มีวิธีตรวจสอบขณะรถอยู่กับที่ โดยลองเหยียบเบรคประมาณ1 นาที เมื่อเริ่มติดเครื่องยนต์ หากแป้นเหยียบเบรคอยู่ในตำแหน่งใกล้ติดพื้น เบรคของเรามีปัญหาแน่ ๆเข้าอู่แก้ไขก่อนจะดีที่สุด
27. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
28..ดอกยางมาตรฐาน ดอกยางที่ดีที่ถือว่าเกาะถนนได้เยี่ยม ต้องมีขนาดอย่างน้อย 3-5มม. หากน้อยกว่านี้ถือว่าใช้ไม่ได้และผิดกฏหมาย เพราะจะจับถนนไม่ได้มีผลให้ตอนเบรก มันไม่สนิทอยู่กับที่
29.. ถนอมยางรถให้ใช้งานได้นาน ล้อรถสามารถสลับตำแหน่งกันได้ ควรเปลี่ยนตำแหน่งของมันจากข้างหน้า มาข้างหลังทุก ๆ 10,000 กม. แต่ไม่ควรสลับจากข้างหนึ่ง ไปยังอีกข้างหนึ่งจะเกิดอันตรายเวลารถเคลื่อนที่เร็ว ๆ ได้
30. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่
31.ยางโดนตะปูเจาะ ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย
32. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไปเพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
33. ยางรถยนต์เก่าก็มีประโยชน์ ยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้แล้ว นำไปผูกแขวนไว้ในโรงรถตรงที่หัวรถจะแล่นเข้าจอด ยางจะเป็นกันชนเมื่อเวลาเราถอยรถเข้าเก็บในที่จอดรถ
34. เบรกจม อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรกก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรกสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้น จากนั้นจึงค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
35. อาการแบตเตอรี่หมดอีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรีหมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันทีหากทำไม่เป็นให้โทรเข้าศูนย์บริการที่คุณใช้บริการ
36. ความร้อนสูงผิดปกติ สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดาอย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้งไว้ รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติ จึงค่อยเดินทางต่อไป
37. กรณีที่เกิดจากน้ำในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้
38. เบรกเสียกะทันหัน เบรกที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรกสึก มีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราว เพื่อให้เบรกพักการทำงานระยะหนึ่ง
39..รถเสียระวังเสียรถ เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ลดกระจกลงเล็กน้อยแล้วพูดผ่านกระจกล็อคประตูไว้ วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด
40.รถติดอย่าหยุดติดรถ ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้นขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัว ไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต
41. คลื่นรบกวนวิทยุ เกิดขึ้นหลายกรณี เพราะรถของเราเคลื่อนที่ตลอดเวลา โอกาสที่จะจับให้คลื่นคงที่คงเป็นไปได้ยาก แต่อาจเกิดจากเสาอากาศวิทยุเป็นสนิม คงต้องหมั่นดูแลโดยใช้น้ำมันหล่อลื่นเช็ดด้วยความระมัดระวังให้ทั่ว วิทยุก็อาจมีคลื่นรบกวนน้อยลง ฟังดูชัดขึ้นก็ได้
42.บำรุงรักษาแอร์รถรถที่จอดไว้เฉย ไม่ติดเครื่องนานหลายสัปดาห์ นอกจากจะมีปัญหาที่เครื่องยนต์ แอร์ก็มีปัญหาด้วย ควรเปิดแอร์ทิ้งไว้บ้างอย่างน้อย 10 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาทำความเย็นไหลแยกออกมาจนต้องเสียค่าใช้จ่ายเติมน้ำยาใหม่
43. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะอย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้ คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น
44. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
45.อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
46.. การปรับพวงมาลัยรถรุ่นใหม่ สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด
47.. การควบคุมอารมณ์ การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
48.โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
49.อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่นหากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่นต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่องอย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่
50.หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศ ที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา





สอบถาม บริษัทประกันภัย เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ ตัวแทน/นายหน้า ทั่วประเทศ



คอมเม้นท์ที่เพจ 💸 สินเชื่อ




up arrow